-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 243 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย





ความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพ บ้านนาคู  ต.นาคู อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา


วัตถุประสงค์โครงการ :
1. ได้ทราบถึงความคิด พฤติกรรม และเงื่อนไขข้อจำกัดของเกษตรกรต่อการทำเกษตรแบบชีวภาพ 2. ได้บทเรียนการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกร สู่การทำเกษตรชีวภาพ 3. ได้แนวทางหรือรูปแบบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สู่การทำเกษตรชีวภาพที่เหมาะสมกับเกษตรกรกลุ่มเป้
บทคัดย่อ :
ความเป็นมา
ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอผักไห่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีคลองธรรมชาติตัดผ่านกลางตำบลเมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมพื้นที่ทุกปี ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลักทั้งนาปีและนาปรัง แต่เดิมชาวบ้านทำนาปีละ 1 ครั้ง เป็นการทำเพื่อการกินการอยู่ของครอบครัวก่อน ผลผลิตที่ได้โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ ตั้งแต่พ.ศ. 2520 ชาวนาได้เปลี่ยนมาทำนาปรังโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น แต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง และสภาพดินเสื่อมลง นอกจากอาชีพทำนาข้าวแล้วเกษตรกรส่วนหนึ่งเริ่มปลูกผักในช่วงปี 2530 เริ่มมีการปลูกผักแบบใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันเกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำนาและปลูกผักเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้สารเคมีชนิดต่างๆ กันอย่างแพร่หลายทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สิ่งแวดล้อมและสุขภาพเสื่อมลง
ต่อมาในปี 2537 เกษตรกรรวมกลุ่มเป็น กลุ่มเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ ต. นาคู เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักโดยใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมี และมีการสอนให้กับสมาชิกในกลุ่มรู้ถึงวิธีการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีและสอนวิธีการทำ วิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมนสมุนไพรทดแทนปุ๋ยเคมี สารเคมี
เมื่อปลายปี 2546 แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพ ได้ถอดบทเรียนองค์ความรู้ด้านการจัดการเกษตรกรรมยั่งยืนของชุมชน โดยการสนับสนุนของสถาบันกรุงเก่าเพื่อการพัฒนา และวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) พบว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีกลุ่มผักปลอดสารพิษและกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ ส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการลดสารเคมีและการทำเกษตรแบบชีวภาพแต่ก็ยังไม่สามารถขยายผลได้เท่าที่ควร โดยมีเกษตรกรที่เชื่อมั่นและทำการเกษตรแบบชีวภาพอย่างจริงจังจำนวน 8 ราย ขณะที่เกษตรกรจำนวนมากที่ทำนาและปลูกผักยังใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีอยู่
จากการสรุปบทเรียนของชุมชน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นว่าในการทำเกษตรแบบชีวภาพเป็นทางออกของเกษตรกรแทนที่เกษตรแบบเคมีได้ เนื่องจากเกษตรกรยังขาดข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนร่วมกันในการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการการผลิต ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากการทำเกษตรแบบชีวภาพทั้งในด้านต้นทุนการผลิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผลผลิตและสภาพแวดล้อม ทำให้เกษตรกรที่มีความสนใจในเรื่องการทำเกษตรแบบชีวภาพได้มีการรวมกลุ่มเป็น “กลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู” เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบชีวภาพให้มีรูปธรรมที่ชัดเจนและส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบชีวภาพมากขึ้น ตลอดจนจัดการปัญหาทางการเกษตรร่วมกันในด้านต่างๆ ซึ่งทางกลุ่มได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นในปี 2547 เรื่อง “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรแบบชีวภาพ ตำบลนาคู” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค โดยมีการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการทำเกษตรชีวภาพ ทำแปลงทดลองในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ แปลงนาชีวภาพล้วน แปลงนากึ่งเคมีกึ่งชีวภาพ แปลงผักชีวภาพล้วน แปลงผักกึ่งเคมีกึ่งชีวภาพ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทำการทดลอง ผลจากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นในเรื่องของผลผลิต
ที่จะได้จากการทำเกษตรแบบชีวภาพ จากข้อมูลดังกล่าวทีมวิจัยจึงได้มีการทำแปลงทดลองการทำนาและการปลูกผักแบบชีวภาพในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรตลอดจนจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทำการทดลอง เพื่อให้เกษตรกรรู้ถึงกระบวนการและผลที่ได้จากการทำเกษตรแบบชีวภาพ ต้นทุนการผลิต และการทำการใช้ปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลงสูตรต่างๆ ไว้ใช้เอง
ถึงแม้ผลจากการวิจัยจะทำให้กลุ่มได้รูปแบบการทำเกษตรแบบชีวภาพในรูปแบบต่างๆ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและขยายผลการทำเกษตรแบบชีวภาพไปสู่เกษตรกรในตำบลนาคูได้เท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนระบบการผลิตมาสู่ระบบเกษตรชีวภาพได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีเป็นหลักในการทำการเกษตร แม้จะสะท้อนให้เห็นว่าการผลิตแบบชีวภาพ ได้ผลดีกว่าการทำเกษตรแบบเคมี เกษตรกรยังมีลักษณะการผลิตที่แตกต่างกัน มีทั้งกลุ่มที่เชื่อมั่นและทำเกษตรแบบชีวภาพซึ่งมีจำนวนน้อย กลุ่มที่มีการใช้แบบผสมผสานระหว่างการใช้สารชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และกลุ่มที่ยังทำเกษตรแบบใช้สารเคมีเป็นหลัก อีกทั้งเกษตรกรยังมีชีวิตความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน มีปัญหาข้อจำกัด และความคิดในการแก้ไขปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต และการปรับเปลี่ยนการผลิตมาทำการเกษตรแบบชีวภาพหรือการลดละการใช้สารเคมีที่ต่างกัน
ทีมวิจัยเห็นว่าการทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบชีวภาพนั้น ต้องศึกษาถึงความคิดและพฤติกรรมตลอดจนเงื่อนไขข้อจำกัดของเกษตรกรในแต่ละรายให้ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรมาสู่การทำเกษตรแบบชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าทีมวิจัยได้ศึกษาถึงความสนใจ ความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรต่อการทำเกษตรแบบชีวภาพ แต่ข้อมูลที่ศึกษายังไม่ลงลึกและชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรบนพื้นฐานของ (1) การทำเกษตรอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ (2) สามารถพึ่งพาตนเองได้ (3) มีจิตสำนึกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นทางกลุ่มจึงต้องการให้ความสำคัญในการศึกษาถึงเรื่องความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรต่อการทำเกษตรแบบชีวภาพที่ลึกซึ้งมากขึ้น เพราะมองว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้เกษตรกรคิดเป็น ทำเป็น มีความรู้ ตระหนักถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม และเกิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสู่ระบบเกษตรชีวภาพอย่างยั่งยืน
เมื่อผู้วิจัยทราบถึงโครงการ CBMAG จากการจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริม CBMAG ในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้ทราบถึงประเด็นการทำวิจัยในท้องถิ่น จึงมีความสนใจที่จะทำวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนโดยตรง โดยได้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่เข้าไปเรียนรู้กับทีมวิจัย “โครงการแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรแบบชีวภาพ ตำบลนาคู” ซึ่งอยู่ในช่วงการเขียนรายงานสรุปผลการวิจัย เมื่อได้เข้าไปพูดคุยกับทีมวิจัยพบว่าทางทีมวิจัยเองสนใจที่จะต่อยอดงานวิจัยเดิม โดยได้ทบทวนปัญหาต่างๆ กับทางกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู และได้พัฒนาโจทย์ขึ้นมา จึงทำให้ได้มาซึ่งประเด็นวิจัย เรื่องการศึกษาความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู เพื่อหาแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ระบบเกษตรชีวภาพ ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้วิจัยและทีมวิจัยชุมชนจะศึกษาถึงความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรต่อการทำเกษตรชีวภาพ และบทเรียนการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกรที่ทำเกษตรชีวภาพ
งานวิจัยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู ในการขับเคลื่อนการขยายกลุ่มสู่การทำเกษตรชีวภาพ เพื่อหาแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ระบบเกษตรชีวภาพ ในส่วนของผู้วิจัยงานวิจัยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมเกษตรแบบชีวภาพ และใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมขยายผลเกษตรชีวภาพ ของหน่วยงานหรือเครือข่ายอื่นๆ ที่สนใจในการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงความคิด พฤติกรรม และเงื่อนไขข้อจำกัดของเกษตรกรต่อการทำเกษตรแบบชีวภาพ
2. เพื่อศึกษาบทเรียนการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกร สู่การทำเกษตรชีวภาพ
3. เพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สู่การทำเกษตรชีวภาพที่เหมาะสมกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

โจทย์วิจัย
1. กลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพ มีความคิดและพฤติกรรมต่อการทำเกษตรชีวภาพอย่างไร
2. แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ระบบเกษตรชีวภาพของกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพ บ้านนาคูควรเป็นอย่างไร

วิธีการดำเนินงานวิจัย
1. ประชุมทบทวนแผนงานร่วมกันระหว่าง นักวิจัย ทีมวิจัยชุมชน พี่เลี้ยง ที่ปรึกษาภายใน ที่ปรึกษาภายนอกและอาจารย์ที่ปรึกษา
2. เตรียมการเก็บข้อมูลทีมวิจัย
3. จัดเวทีทำความเข้าใจกับเกษตรกร“กลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพ” ในแต่ละหมู่
4. ทีมวิจัยทดลองเก็บข้อมูล กับเกษตรกรจำนวน 10 ราย
5. ผู้วิจัยและทีมวิจัยชุมชนลงพื้นที่เก็บข้อมูล เกษตรกร “กลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู”
6. ประชุมทีมวิจัยระหว่างการเก็บข้อมูล 4 ครั้ง
7. จัดเวทีถอดบทเรียนเกษตรกร 2 ครั้ง
8. การวิเคราะห์ข้อมูล
9. จัดเวทีสะท้อนข้อมูลกลับสู่เกษตรกร “กลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู”
10. จัดเวทีคืนข้อมูล
11. จัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานร่วมกัน ของผู้วิจัย ทีมวิจัย และพี่เลี้ยง
12. จัดทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงความคิด พฤติกรรม และเงื่อนไขข้อจำกัดของเกษตรกรต่อการทำเกษตรแบบชีวภาพ
2. ได้บทเรียนการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกร สู่การทำเกษตรชีวภาพ
3. ได้แนวทางหรือรูปแบบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สู่การทำเกษตรชีวภาพที่เหมาะสมกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
4. ได้ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสู่การทำเกษตรชีวภาพ
ที่มา  :  สกว. 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (931 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©