-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 447 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 2/2





การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน


       
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า สามารถปลูกได้ทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม ซึ่งถ้าปลูกในสภาพที่ดอน เรียกว่า "ไร่ผักบุ้ง" เช่นที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ถ้าปลูกในที่ลุ่ม เรียกว่า "นาผักบุ้ง" เช่น จังหวัดนครปฐมและสุโขทัย เป็นต้น ในด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มแบบนาข้าวจะให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีกว่าการปลูกในที่ดอน โดยทั่วไปการปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มแบบนาข้าวจะให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนในที่ดอนสภาพไร่จะให้ผลผลิตประมาณ 150-200 กิโลกรัมต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพพื้นที่ปลูก และการปฏิบัติดูแลรักษา 
 
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในที่ดอน (ไร่ผักบุ้ง) 
       
เป็นการปลูกผักบุ้งจีนแบบหยอดเมล็ดลงปลูกในไร่โดยตรง เช่น เดียวกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป โดยมีการปลูกและปฏิบัติดูแล ดังนี้

การเลือกพื้นที่ปลูก            
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ในสภาพที่ดอนนั้น ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก ไม่เป็นที่ตามแนวเขาหรือที่มีลักษณะลาดเทเกินไป พื้นที่ปลูกผักบุ้งจีนนั้นไม่ควรอยู่ใกล้กับแหล่งปลูกฝ้ายหรืออยู่ติดกับป่าเขามาก เพราะในพื้นที่ที่มีการปลูกฝ้ายหรือพื้นที่สภาพป่าจะมีแมลงศัตรูพืชอยู่มาก โดยเฉพาะฝ้ายจะมีหนอนกระทู้ผักหรือหนอนเจาะสมออเมริกันเข้าทำลายมาก ซึ่งหนอนเหล่านี้สามารถทภลายผักบุ้งจีนได้เช่นกัน ส่วนพื้นที่ใกล้ป่าเขาหรือป่าไม้ทั่วไปนั้น นอกจากจะมีหนอนที่กัดกินใบผักบุ้งจีนแล้วยังมีตั๊กแตนอีกหลายชนิดที่ชอบกัดกินใบผักบุ้งจีน ทำให้เสียแรงงานและค่าใช้จ่ายเป็นการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชสูง ซึ่งพื้นที่ใดที่เกษตรกรเคยปลูกถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือข้าวโพดได้ดี  ก็สามารถปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้ดีเช่นเดียวกัน

ฤดูปลูกที่เหมาะสม 
           
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จะปลูกได้ปีละครั้ง ซึ่งการปลูกผักุ้งจีนในสภาพที่ดอนจะต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำค้างช่วยในการเจริญเติบโตเท่านั้น และที่สำคัญผักบุ้งจีนจะออกดอกปีละครั้งในช่วงวันสั้นตรงกับฤดูหนาวพอดี ถ้าปลูกเร็วเกินไป เช่น ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม หรือต้นเดือนสิงหาคม ผักบุ้งจีนอาจมีการเจริญเติบโตและทอดยอดได้ดีมากจนเกิดความจำเป็น โดยยอดและใบผักบุ้งจีนที่ปลูกในช่วงดังกล่าวอาจเลื้อยทับกัน หรือมีเถาซ้อนกันอยู่มาก มีผลทำให้เกิดโรคใบจุดหรือโรคเถาเน่าได้ง่ายกว่าก่อนถึงช่วงออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงสูง ฉะนั้น
ช่วงการปลูกผักบุ้งจีนในที่ดอนที่เหมาะสมควรเริ่มปลูกตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมในแหล่งที่ฝนตกน้อย และปลูกตั้งแต่กลางเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ในแหล่งที่มีฝนตกมาก

การเตรียมดิน
           
ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะตากไว้ประมาณ 15-30 วัน หรือจะมากกว่านี้ก็ได้ ต่อจากนั้นทำการไถแปรหรือไถพรวนดินปลูกให้ร่วนพร้อมที่จะหยอดเมล็ดลงปลูกได้

การปลูก        
หลังจากไถพรวนดินจนร่วนดีแล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่จัดเตรียมไว้มาปลูกลงแปลงหลุมละ 3-5 เมล็ด ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร แต่ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ดีจะใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ก็ได้โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม เมื่อขุดหลุมปลูกและหยอดเมล็ดผักบุ้งจีนแล้วให้ใช้ดินกลบหลุมปลูกด้วย หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร แต่ถ้ามีเครื่องหยอดเมล็ดแบบเครื่องหยอดถั่วเหลือง หรือถั่วเขียวก็สามารถนำมาใช้ในการปลูกผักบุ้งจีนได้ หลังจากปลูกแล้วประมาณ 3-5 วัน ถ้าดินปลูกมีความชื้นหรือมีฝนตกผักบุ้งจีนจะเริ่มงอกเป็นต้นกล้าต่อไป


ลักษณะการปลูกผักบุ้งจีนแบบไร่
การปฏิบัติดูแล            
การถอนแยกและการตัดแต่งยอด    
หลังจากปลูกผักบุ้งจีนลงแปลงได้ประมาณ 10-15 วัน ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์หรือมีจำนวนตันขึ้นมากออกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น ส่วนหลุมที่ไม่ขึ้นอาจจะใช้วิธีการหยอดเมล็ดปลูกซ่อมหรือจะใช้วิธีการถอนต้นจากหลุมข้างเคียงที่มีหลายต้นมาปลูกซ่อมก็ได้ ไม่ควรปล่อยให้หลุมปลูกว่างเปล่า หลังจากปลูกได้ 3 อาทิตย์ จนถึง 1 เดือน ถ้ามีเวลาว่างหรือแรงงานเพียงพอ ควรใช้กรรไกรตัดปลายยอดผักบุ้งจีนออกทุกต้นเพื่อกระตุ้นให้มีการแตกแขนงหรือออกยอดทางด้านข้างมากขึ้นหลาย ๆ ยอดในเวลาใกล้เคียงกันทุกต้นทั้งไร่ ซึ่งถ้าผักบุ้งจีนแต่ละต้นแตกแขนง หรือทอดยอดจากต้นในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อถึงช่วงการออกดอกติดเมล็ดผักบุ้งจีนทั้งไร่จะมีเมล็ดที่สมบูรณ์ดี และสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเวลาใกล้เคียงกันทำให้ได้ผลผลิตสูงและเมล็ดมีคุณภาพดีอีกด้วย         

การพรวนดินและกำจัดวัชพืช 
    
หลังจากปลูกผักบุ้งจีนไปแล้วประมาณ 10-15 วัน หรือก่อนที่ผักบุ้งจีนจะแตกแขนงทอดยอด ควรมีการพรวนดินและกำจัดวัชพืชในไร่ผักบุ้งจีนให้สะอาด ส่วนสารเคมีกำจัดวัชพืชหลังจากปลูกต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นอันตรายกับผักบุ้งจีน โดยฉีดพ่นประมาณ 1-3 ครั้ง จนถึงช่วงผักบุ้งจีนเลื้อยคลุมแปลงก็ไม่ต้องพรวนดินกำจัดวัชพืชอีกเพราะอาจจะเหยียบย่ำเถาผักบุ้งเสียหายได้         

การใส่ปุ๋ย
        
ในแหล่งปลูกที่หาปุ๋ยคอกมาใส่แปลงปลูกได้ไม่ยากนัก เช่น ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย ควรมีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูก โดยจะใช้วิธีหว่านแล้วไถกลบ หรือจะใส่รองก้นหลุมก็ได้เพื่อให้โครงสร้างขอดินปลูกดีขึ้น อีกทั้งปุ๋ยคอกจะมีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้ผักบุ้งจีนเจริญเติบโตได้ดีกว่าไม่มีการใส่ปุ๋ยคอกเลย ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองพื้นก่อนปลูกและเมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ 60 วัน หรือใกล้ช่วงออกดอกติดผลให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบ โดยเลือกปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวกลางสูง ๆ เช่น 20-30-20 เป็นต้น จะช่วยให้ผักบุ้งจีนออกดอกและติดเมล็ดด้ดีขึ้น         

การจัดเถา
         
เมื่อผักบุ้งจีนเริ่มทอดยอดหลายยอดแล้ว ควรมีการจัดเถาผักบุ้งจีนให้เลื้อยคลุมแปลงหลายทิศทางเต็มพื้นที่ ไม่ควรปล่อยให้ผักบุ้งจีนทอดยอดหรือเลื้อยไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป เพราะยอดหรือเถาผักบุ้งจีนจะทับถมกันมาก ส่วนเถาหรือใบที่อยู่ด้านล่างจะเป็นโรคใบจุดหรือเน่าเสียหายได้ง่าย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีน         

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
    
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ในสภาพที่ดอนจะใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ประมาณ 4 เดือน ซึ่งช่วงดังกล่าวอาจมีโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนเข้าทำลายทำให้ผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโต ออกดอกและติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตและเมล็ดมีคุณภาพต่ำ หรือเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้เลย ดังนั้นผู้ปลูกควรดูแลเอาใจใส่ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนอยู่เสมอ        

การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์        
หลังจากปลูกผักบุ้งจีนได้ 4 เดือน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจะเริ่มแก่ และเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ได้ โดยสังเกตจากใบผักบุ้งจีนจะมีสีเหลืองเถาเริ่มเหี่ยว ผักบุ้งจีนหยุดการออกดอก ผักที่ติดเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก เมื่อเห็นว่าผักบุ้งจีนแก่ได้ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ ของต้นทั้งไร่แล้ว ให้นำจอบมาถากที่โคนต้นทิ้งไว้ 2-3 วัน ต่อจากนั้นให้ม้วนเถาผักบุ้งจีนมากองรวมกันผึ่งแดดไว้จนแห้ง

เมื่อผักบุ้งจีนออกดอกและติดผลแก่
ให้ถากเถาผักบุ้งจีนเพื่อนำมาตากแดดให้แห้ง
ม้วนเถาผักบุ้งจีน
และผึ่งตากแดดทิ้งไว้ให้แห้ง


การนวดและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
            
หลังจากตากเถาผักบุ้งจีนจนแห้งสนิทดีแล้ว ให้นำเถาผักบุ้งจีนที่ม้วนไว้ไปนวดกับเครื่องนวดเมล็ดพันธ์ โดยอาจจะใช้เครื่องนวดข้าวหรือเครื่องนวดถั่วเหลืองที่ได้ดัดแปลงตะแกรงให้มีขนาดเหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์ เพื่อนวดเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนออกจากฝัก แล้วทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ ถูกแมลงทำลายหรือมีสิ่งเจือปน เช่น ก้อนหินและก้อนดินเล็ก ๆ ออกให้หมด จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนมาบรรจุกระสอบเพื่อจัดส่งตลาดต่อไป ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไปนั้นให้นำมาคลุกกับปูนขาว โดยใช้ปูนขาว 10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน 1 กิโลกรัม หรือจะเก็บไว้ในปิ๊บใส่ขนมปังที่ทำความสะอดาแล้ว โดยใส่ลงไปในปิ๊บสูงประมาณ 3-5 นิ้ว แล้วนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาปิดทับ จากนั้นให้นำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ใส่ถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษมาวางบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ก็จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไว้ทำพันธุ์ หรือไว้ปลูกเพื่อการบริโภคสดได้ นอกจากนี้อาจจะนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนมาคลุกด้วยเมทาแลคซิล เช่น เอพรอน 35 เพื่อป้องกันกำจัดโรค และใช้สารคาร์บาริล เช่น เซฟวิน 85 เพื่อป้องกันกำจัดแมลงทำลายเมล็ดพันธ์ด้วย


เมื่อผักบุ้งจีนออกดอกและติดผลแก่
 
นำเมล็ดมาตากแดดเพื่อลดความชื้น

บรรจุเมล็ดพันธุ์ที่แห้งแล้วลงในกระสอบ
เพื่อรอการจำหน่าย

      
ทั้งนี้การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไม่ว่าจะเก็บไว้จำหน่ายหรือเก็บไว้ทำพันธุ์จะต้องเก็บไว้ในร่มอย่าให้เปียกฝน ไม่กองทับถมกันมาก ไม่เก็บไว้ในที่ร้อนหรือชื้นเกินไป และจะต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากเมล็ดผักบุ้งจีนจะเสื่อมความงอกได้เร็วมาก ทำให้ไม่สามารถนำไปปลูกเพื่อการบริโภคสดหรือใช้ทำพันธุ์ต่อไปได้

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในที่ลุ่ม (นาผักบุ้ง) 
เป็นการปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มโดยการปักดำยอดผักบุ้งหรือท่อนพันธุ์ผักบุ้งลงปลูกในนาเช่นเดียวกับการทำนาข้าว ซึ่งมีวิธีการปลูกและปฏิบัติดูแลดังนี้

การเลือกพื้นที่ปลูก        
การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ในที่ลุ่มนั้น ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวกเช่นเดียวกับการปลูกผักบุ้งจีนในสภาพที่ดอน แหล่งใดที่ปลูกข้าวได้ดีก็สามารถนำผักบุ้งจีนไปปลูกได้ แต่นาข้าวในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีผักบุ้งไทยอยู่มาก ฤดูปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วไปจะเริ่มเพาะกล้าหรือหยอดเมล็ดลงเพาะกล้าตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป พอถึงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม จึงสามารถตัดยอดผักบุ้งจีนลงปลูกในนาต่อไป

การเตรียมดิน
        
โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถดะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วไถแปรเอาน้ำเข้าแปลง ใช้รถแทรกเตอร์แบบไถเดินตามคราดย่อยดิน ทำเทือกแบบนาข้าว หรือจะทำการเตรียมดินแบบทำนาข้าวก็ได้

การเพาะกล้า
        
ต้องนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งพันธุ์การค้าที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์มาหยอดเมล็ดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกผักบุ้งจีนได้ 1,600 หลุม ก่อนหยอดเมล็ดให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1-2 กำมือ รดน้ำให้ความชื้นแก่แปลงเพาะกล้าอยู่เสมอ เมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ 10-15 วัน ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์และไม่แข็งแรงออก แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ประมาณ 20-30 วัน ให้ใช้กรรไกรตัดยอดผักบุ้งจีนออกทุกต้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผักบุ้งจีนมีการแตกแขนงหรือมีการทอดยอดทางด้านข้างจำนวนมากขึ้น โดยแปลงเพาะกล้าในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถตัดยอดผักบุ้งจีนไปปักดำได้ประมาณ 5-8 ไร่

การเตรียมท่อนพันธุ์        
ก่อนที่จะนำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนลงปลูกในนาข้าว 2-3 วัน ควรมีการตัดยอดผักบุ้งจีนออกจากแปลงเพาะกล้า โดยตัดจากยอดลงมาหาโคนต้นยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร หรือให้มีข้อ 5-6 ข้อ และช่วงยอดที่ถัดมาหาโคนต้นข้อที่ 7-12 ก็สามารถตัดมาเป็นท่อนพันธุ์ได้ ท่อนพันธุ์ส่วนที่มียอดให้ตัดยอดออกแล้วนำมารวมกับท่อนพันธุ์ช่วงที่ตัดต่อ ห่อด้วยใบตองหรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่ รดน้ำให้ความชื้นแล้วเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 1-2 เดือน จะมีรากงอกออกมาตามข้อของผักบุ้งจีนก็สามารถนำท่อนพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกลงแปลงได้ท่อนพันธุ์ที่มีรากออกมาแล้วจะตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนที่มีโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนอยู่มากควรนำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมาจุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงชนิดดูดซึมก่อนนำไปปลูก

การปลูกหรือการปักดำผักบุ้งจีน
        
หลังจากเตรียมดินทำเทือกในนาผักบุ้งจีนแล้วให้ระบายน้ำออกจากแปลง จากนั้นนำยอดหรือท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมาปักดำแบบนาข้าวใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1 เมตร การปลูกผักบุ้งจีนแต่ละจุดหรือแต่ละครั้งจะใช้ท่อนพันธุ์ 1-3 ท่อน ขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกช้าหรือเร็วกว่าช่วงปกติ ถ้าปลูกเร็วกว่าปกติมากใช้ท่อนพันธุ์ 1 ท่อนก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าปลูกช้ากว่าปกติมากก็ควรมีการเพิ่มจำนวนท่อนพันธุ์ต่อหลุมหรือต่อหนึ่งปักดำให้มากขึ้น เพื่อให้ผักบุ้งจีนมีการทอดยอดเต็มนาได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะสิ้นเปลืองท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนมากกว่าการปลูกยอดหรือท่อนพันธุ์ท่อนเดียวมาก ในการปักดำผักบุ้งจีนแต่ละครั้งควรหันยอดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปในทิศทางเดียวกัน เช่นให้ยอดพันธุ์เฉียงออกทางด้านขวามือของผู้ปักดำทั้งหมดเป็นต้น และหลังจากปักดำผักบุ้งจีนแล้วควรมีการควบคุมวัชพืชในนาผักบุ้งจีนด้วย



ลักษณะการปักดำผักบุ้งจีนในการทำนาผักบุ้ง
การปฏิบัติดูแล        
การให้น้ำ    
หลังจากปลูกผักบุ้งจีนได้ประมาณ 5-7 วัน ท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนจะเริ่มตั้งตัวได้ก็ให้นำน้ำเข้าแปลงเพียงเล็กน้อย ระดับน้ำสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังจากปลูกได้ 30 วันขึ้นไป ก็นำน้ำเข้าแปลงให้มีระดับน้ำสูง 40-50 เซนติเมตร เมื่อผักบุ้งจีนอายุประมาณ 90-100 วัน จะทอดยอดคลุมทั้งนาผักบุ้งและมีการออกดอกติดผลเต็มที่แล้วให้ระบายน้ำออกจากแปลงทั้งหมด เมื่อเมล็พันธุ์ผักบุ้งจีนแก่สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ได้ พื้นที่ปลูกผักบุ้งจีนก็จะแห้งพอดีทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์         

การกำจัดวัชพืช    
หลังจากปักดำท่อนพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงนาแล้วควรมีการกำจัดวัชพืชโดยวิธีถอนด้วยมือ หรือฉีดพ่นสารเคมีคุมการงอกของวัชพืชด้วยทุกครั้ง เพราะจะสะดวกและประหยัดแรงงานกว่าการกำจัดวัชพืชด้วยมือ         

การใส่ปุ๋ย
    
ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนแบบนาผักบุ้งที่สามารถหาปุ๋ยคอกมาใส่แปลงปลูกได้ไม่ยากนัก เช่น ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย เป็นต้น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหว่านลงแปลงหลังจากใช้รถแทรกเตอร์ไถดะเตรียมแปลงครั้งแรก พอถึงช่วงการไถครั้งที่ 2 หรือช่วงการคราดดินทำเทือก จะคราดปุ๋ยกลบลงไปในแปลงปลูกผักบุ้งจีนได้ ส่วนปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านรองพื้นก่อนปลูก และเมื่อผักบุ้งจีนมีอายุได้ 60 วัน หรือใกล้ช่วงออกดอกติดผล ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ตัว (เอ็น-พี-เค) โดยการเลือกปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวกลางสูง ๆ เช่น 20-30-20 จะช่วยให้ผักบุ้งจีนมีการออกดอกและติดผลได้ดีขึ้น         

การจัดเถา
        
เมื่อผักบุ้งจีนเริ่มทอดยอดหลายยอดแล้ว ควรมีการจัดเถาผักบุ้งจีนให้เลื้อยคลุมแปลงเต็มพื้นที่ ไม่ควรปล่อยให้ผักบุ้งจีนทอดยอดไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปเพราะยอดหรือเถาผักบุ้งจีนจะทับกันมากทำให้เป็นโรคใบจุดหรือเน่าเสียหายได้ง่าย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนมากขึ้น         

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง        

การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์แบบนาผักบุ้งนั้น จะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ประมาณ 4-5 เดือน ซึ่งช่วงดังกล่าวอาจมีโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนเข้าทำลายใบ ลำต้น ดอกผล และเมล็ด ทำให้ผลผลิตต่ำ เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพไม่ดี หรือไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ฉะนั้นผู้ปลูกผักบุ้งจีนในที่ลุ่มจะต้องมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักบุ้งจีนอยู่เสมอ ทั้งในแหล่งปลูกหรือในบริเวณใกล้เคียงออกให้หมดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างผักบุ้งจีนกับผักบุ้งไทยเพราะจะทำให้เมล็ดผักบุ้งจีนมีคุณภาพต่ำและมีการกลายพันธุ์ได้

การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธ
ุ์ 
       
หลังจากปลูกผักบุ้งจีนได้ 4-5 เดือน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปีจะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ โดยสังเกตจากฝักผักจีนจะแห้งมีสีน้ำตาลจำนวนมากประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของต้นที่ปลูก ก็ให้นำน้ำออกจากแปลง พอดินแห้งดีให้ใช้จอบถากที่โคนต้นหรือจะใช้เคียวเกี่ยวข้าวเกี่ยวที่โคนต้นก็ได้แล้วปล่อยทิ้งไว้ที่แปลง เมื่อผักบุ้งจีนแห้งให้ม้วนเถามากองรวมกัน ผึ่งไว้จนแห้งแล้วนำมานวดด้วยเครื่องนวดและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้เช่นเดียวกับผักบุ้งจีนที่ปลูกในที่ดอน

โรคและแมงศัตรูของผักบุ้งจีน
โรคที่สำคัญของผักบุ้งจีน
1.โรคราสนิมขาว
จะเกิดกับทั้งผักบุ้งจีนที่บริโภคสดและที่นำมาผลิตเมล็ดพันธุ์ สาเหตุเกิดจากเชื้อราอัลบูโก ไอโปเมีย แพนดูราเต้ (Albugo ipomoeae-panduratae) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่แปลงปลูกมีความชื้น
       
ลักษณะอาการ 
    
จะเกิดเป็นจุดหรือตุ่มนูน ๆ สีขาวอยู่ใต้ใบ ถ้าเป็นมาก ๆ จะพบตุ่มนูนขาวที่ใบเต็มไปหมด และหลังใบจะเป็นจุดสีเหลือง ทำให้ผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโตและไม่น่ารับประทาน 
       

การป้องกันกำจัด 
    
ในแปลงปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสด มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ควรคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเมทาแล็คซิล เช่น เอพรอน 35 อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือจะใช้สารไดเทนเอ็ม 45 อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงที่มีโรคระบาด ส่วนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนซึ่งมีอายุการปลูกยาวนานกว่าการปลูกเพื่อบริโภคสด ควรใช้สารเมทาแล็คซิล เช่น ริโดมิล อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบมีการระบาดของโรคราสนิมขาว


2. โรคเน่าคอดิน
     
จะพบมากในแปลงปลูกที่มีการหว่านเมล็ดพันธุ์แน่นเกินไปและดินปลูกมีความชื้นสูงมาก สาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟเที้ยม (Pythium spp.)        

ลักษณะอาการ     
จะเกิดแผลเน่าที่โคนต้นกล้าของผักบุ้งจีนที่ขึ้นมาใหม่ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว
        
การป้องกันกำจัด    

ควรมีการคลุกเมล็ดผักบุ้งจีนก่อนปลูกด้วยสารเมทาแล็คซิล เช่น เอพรอน 35 อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน 1 กิโลกรัม หรือใช้สารฟอเซฟิล เช่น อาลิเอท อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบมีการระบาดของโรคเน่าคอดิน


3. โรคใบจุด
    
จะพบระบาดทั้งผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดและเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ แต่ผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งใช้เวลาปลูกหลายเดือนจะพบมีโรคใบจุดมากกว่า สาเหตุเกิดจากเชื้อราเชอโคสปอร่า (Cercospora spp.)        

ลักษณะอาการ    
จะเริ่มมีจุดวงกมหรือจุดสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลแดงบนใบผักบุ้งจีน ต่อมาแผลจะขยายเป็นจุดใหญ่ บริเวณตรงกลางแผลจะสังเกตเห็นมีจุดไข่ปลาสีดำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อราขึ้นเป็นกระจุก ถ้าเป็นมากใบผักบุ้งจีนจะเหลืองและแห้ง 
       

การป้องกันกำจัด
ในแปลงปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล้ดพันธุ์ควรมีการจัดเถาผักบุ้งจีนบ้าง อย่าให้เถาผักบุ้งจีนทอดยอดเลื้อยมาทับถมกันมาก และควรมีการฉีดพ่นสารเบนโนมิล เช่น เบนเลท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบมีการระบาดของโรคใบจุด


4. โรครากปม        
จะระบาดเฉพาะแหล่งโดยจะพบทั้งในผักบุ้งจีน เพื่อการบริโภคสดและเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย        

ลักษณะอาการ
        
รากของผักบุ้งจีนจะมีลักษณะเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ทำให้ต้นแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต
 การ ป้องกันกำจัด ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อบำรุงดิน และก่อนปลูกควรหว่านสารคาร์โบฟูเรน เช่น ฟูราดาน แต่ถ้าพบการระบาดมากควรเปลี่ยนพื้นที่ปลูกใหม่หรือมีการปลูกพืชหมุนเวียนหลาย ๆ พืช แล้วกลับมาปลูกผักบุ้งจีนใหม่



แมลงศัตรูที่สำคัญของผักบุ้งจีน

1.  ตั๊กแตน        
จะกัดกินใบผักบุ้งจีนเสียหายทั้งในแปลงผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดและแปลงผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล้ดพันธุ์ ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนที่มีวัชพืชรอบ ๆ แปลงปลูกมาก หรือบริเวณที่อยู่ใกล้ป่าเขาจะพบตั๊กแตนหลายชนิดกัดกินใบผักบุ้งจีนมาก 
       

การป้องกันกำจัด        
หมั่นทำความสะอาดวัชพืชรอบ ๆ แปลงปลูกผักบุ้งจีน หรือใช้สารคาร์บาริล เช่น เชฟวิน 85 อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงที่พบการระบาดของตั๊กแตน


2.  ด้วงเต่าแตง
        
เป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดลำตัวยาว 0.8 เซนติเมตร สีแดงอมแสดและสีน้ำตาลเกือบดำ ปีกคู่แรกแข็งเป็นมัน เคลื่อนไหวช้า เป็นแมลงที่ระบาดเฉพาะแหล่ง พบมากในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน โดยด้วงเต่าแตงจะกัดกินใบผักบุ้งจีนให้เสียหายได้        

การป้องกันกำจัด       
หมั่นตรวจดูแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในเวลาเช้าขณะที่แดดไม่จัด ถ้าพบด้วงเต่าแตงให้จับทำลาย แต่ถ้ามีการระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารคาร์บาริล เช่น เชฟวิน 85 อัตรา 20  กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร


3. หนอนกระทู้ผัก
        
เป็นหนอนผีเสื้อ ลำตัวอ้วนป้อม ตัวโตเต็มที่ยาว 3-4 เซนติเมตร ผิวหนังเรียบคล้ายหนอนกระทู้หอม มีการระาดเฉพาะแหล่งพบมากในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน โดยหนอนกระทู้ผักจะกัดกินใบผักบุ้งจีนให้เป็นรูพรุนไปหมด 
       

การป้องกันกำจัด        
ใช้สารโพรทีโอฟอส เช่น โตกุไธออน อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารเดลทาเมทริน เช่น เดชิส อัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงที่มีการระบาดของหนอนกระทู้ผัก


4. ด้วงเจาะฝักและเมล็ดพันธุ์
        
พบมากในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน โดยจะเข้าทำลายตั้งแต่ฝักอ่อนจนถึงเมล็ดพันธุ์ ทำให้ผลผลิตต่ำเมล็ดไม่ได้คุณภาพ 
       

การป้องกันกำจัด
ใช้สารเมทโธมิล เช่น แลนเนท อัตรา 6-8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงที่พบด้วงเจาะฝักและเจาะเมล็ดระบาด สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการเก็บรักษาควรมีการคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารคาร์บาริล เช่น เชฟวิน 85 อัตรา 15-20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม


5.  เพลี้ยอ่อน
        
เป็นแมลงขนาดเล็ก ขนาดตั้งแต่ 1.5-2 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีเขียวชอบอยู่เป็นกลุ่ม ๆ จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ผักบุ้งจีนอ่อนแอ ถ้าดูดกินช่อดอกจะทำให้ผักบุ้งจีนไม่ติดฝักหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์ เป็นแมลงที่ระบาดเฉพาะแหล่ง พบในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน
         
การป้องกันกำจัด        
ถ้าระบาดไม่มาก ให้ตัดใบหรือลำต้นไปเผาทำลาย แต่ถ้าระบาดมากให้ใช้สารโมโนโครโตฟอส เช่น นูวาคอน อัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใข้สารคาร์บาริล เช่น เชฟวิน 85 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยอ่อน




http://web.ku.ac.th/agri/vetgetab/index1.htm







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (11441 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©