-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





บร็อคโคลี่


1.พันธุ์
มีอยู่หลายพันธุ์และที่ปลูกให้ผลผลิตดีในประเทศไทยคือ พันธุ์19,  ชิกโก,  พันธุ์ซากาต้า,  พันธุ์กรีนโคเมท และพันธุ์ของบริษัทเจียไต๋


2. การเตรียมดิน
ทำการไถดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน แล้วไถพรวนให้ละเอียด ยกร่องเช่นร่องผัก ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ขุดหลุมระยะปลูก ระหว่างตั้น x ระหว่างแถว ประมาณ 30-50 x 50 เซนติเมตร


3. การเพาะกล้า
เตรียมแปลงเพาะกล้า โดยการขุดหรือไถดินตากดินให้แห้งประมาณ 10 วัน พรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าดินให้เข้ากับปุ๋ยคอก ยกร่อง ปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ หว่านเมล็ดพันธุ์บร็อกโคลี่ บางๆสม่ำเสมอ โรยด้วยฟางข้าว รดน้ำ เช้า-เย็น จนกว่าเมล็ดจะงอก และรดน้ำทุกวัน หมั่นดูแลใส่ปุ๋ย และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูอยู่เสมอ จนอายุ 30-35 วันก็นำกล้าไปปลูกในแปลงได้


4. การปลูก
ก่อนย้ายกล้าปลูกควรรดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และถอนกล้านำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 1 ต้น โดยใช้มือกด หรือบีบที่โคนต้นให้ดินแน่น รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ


5. การให้น้ำ
ช่วงแรกๆ ของการปลูก ควรรดน้ำเช้า-เย็น และระยะต่อไป เมื่อต้นบร็อกโคลี่ติดดีแล้ว ควรรดวันละ 1 ครั้ง และให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำช่วงบร็อกโคลี่เริ่มออกดอก เพื่อให้ดอกใหญ่ และเจริญเติบโตสม่ำเสมอ


6. การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 หรือ 13-13-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ละประมาณ 25-30 กก.ต่อไร่ โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 10-15 วัน และครั้งที่2 ประมาณ 20-30 วัน


7. การเก็บเกี่ยว
บร็อกโคลี่สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 70-90 วัน แล้วแต่พันธุ์ที่ปลูก โดยเลือกตัดต้นที่กลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่น ก่อนบานเป็นสีเหลือง โดยใช้มีดตัดโคน นำมาตัดแต่งนอกแปลง โดยเหลือใบไว้ประมาณ 2 ใบ เพื่อเอาไว้พันดอก นำบรรจุถุง หรือเข่ง ส่งตลาด


8. โรคและแมลง
เนื่องจากบร็อกโคลี่เป็นพืชตระกูลกะหล่ำ ฉะนั้นโรคและแมลงศัตรู จึงเหมือนกัน ฉะนั้นการป้องกันกำจัดจึงเหมือนกับพืชตระกูลกะหล่ำปลี หรือคะน้า


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร







บร็อคโคลี่ จัดเป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleraceae var. italica บร็อคโคลี่เป็นผักที่ปลูกเพื่อ บริโภคส่วนของดอกอ่อน และก้าน ส่วนของดอกบร็อคโคลี่ จะมีสีเขียวประกอบด้วย ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว เป็นจำนวนมาก ที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะแน่น แต่ไม่อัดตัวกันแน่น เหมือนดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่มีถิ่นกำเนิด อยู่ทางตอนใต้ ของยุโรป แถบประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในเมืองไทย โดยปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผัก ชนิดใหม่ และปลูกได้ดี ในช่วงหน้าหนาว ทำให้ราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้ทนร้อนมากขึ้น ทำให้สามารถผลิตได้ดี เฉพาะบนที่สูง หากมีการเลือกใช้สายพันธุ์ ที่เหมาะสม


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

บร็อคโคลี่ ต้องการสภาพแวดล้อม ที่คล้ายคลึงกับกะหล่ำดอกทั่วไป คือชอบดินร่วน มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6-6.5 มีความชื้นดินที่เหมาะสม และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร


บร็อคโคลี่
มีรสชาติหวาน กรอบ สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด และมีคุณค่าทางอาหารสูง ชึ่งเชื่อกันว่า มีสารที่สามารถ ต่อต้านสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง


การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโ๋ต

การเตรียมดิน ขุดดินลึก 10-15 เซนติเมตร พลิกดินตากแดด และโรยปูนขาว อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ย่อยพรวนดินให้เป็นก้อนเล็กๆ ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูก


การเตรียมกล้า
- เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทรายและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 2:1 เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน จึงย้ายไปปลูกในถาดหลุม ที่ใส่วัสดุเพาะ(Media)

- หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้า โดยตรงหลังจากต้นกล้า บร็อคโคลี่มีอายุประมาณ 25 วัน หรือมีใบจริง อย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก (หากต้นกล้าเหลือง หรือก่อนย้ายปลูก 1 สัปดาห์ ควรพ่นปุ๋ยทางใบเสริม)


การปลูก ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร สำหรับฤดูฝน ให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-50 ซม. เพื่อการระบายน้ำ รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ซม. หรือ 50 กก./ไร่ ใ่ส่ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ตรม. เมื่ออายุได้ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง


ช้อควรระวัง

  1. บร็อคโคลี่เป็นพืชที่มีความต้องการปุ๋ยมาก โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
  2. ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยโรแรกซ์

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยใช้สปริงเกอร์

การให้ปุ๋ย ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อย่างละ 20-25 กรัม/ตร.ม. และใ่ส่ปุ๋ยครั้่งที่ 2 เมื่ออายุได้ 25-30 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ 45-50 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช แล้วพ่นสารเคมี ป้องกันศัตรูพืช ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช


ข้อควรระวัง

  1. ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ฝนตกชุก และมีน้ำขัง แสงแดดน้อย
  2. เป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก หากปุ๋ยไม่เพียงพอจะ ทำให้อายุการเติบโต ยาวนานมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว อายุ 90-100 วัน ตามฤดูกาลและสายพันธุ์


โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 18-21วัน ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน, โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคโคนเน่า, โรคโคนเน่า,


ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ,


ระยะเข้าหัว 40-45 วัน หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ,


ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ,




ที่มา:
- การปลูกผักบนพื้นที่สูง
- สมุดบันทึกฝึกงาน

http://www.vegetweb.com/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%BAbroccoli/







การปลูกบร็อคโคลี่




บร๊อคโคลี(Broccoli)บร๊อคโคลี(Broccoli) หรือ กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica olercea L.var.italica Pleneck อยู่ในตระกูล Cruciferae เป็นพืชผักเมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปหรือแถวๆ ประเทศอิตาลี มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยในระยะแรกเริ่มมีการปลูกในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นในการออกดอก แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้มากขึ้น จึงสามารถกระจายพื้นที่ปลูกไปสู่ภูมิภาคอื่นได้เช่นกัน แต่การผลิตบร๊อคโคลีนอกฤดูนั้นยังคงผลิตๆได้ในเขตภาคเหนือเท่านั้น
 




ประโยชน์ :
นิยมทานในดอก ส่วนลำต้นและใบนิยมทานรองลงมา แต่ในด้านคุณค่าทางอาหารโยเฉพาะวิตามินซี กลับมีอยู่เป็นจำนวนมากในส่วนของลำต้น ดังนั้นหลังจากเก็บบร๊อคโคลี ไว้นานๆ แล้วพบว่าดอกเริ่มมีสีเหลืองไม่น่าทาน ยังไม่ควรทิ้งเพราะยังสามารถบริโภคในส่วนของลำต้นซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงได้อีก ทั้งในส่วนของลำต้นนี้ยังมีรสชาติหวานกรอบ จึงกลายเป็นที่นิยมรับประทานของคนไทยมากขึ้นในปัจจุบัน ที่จะทานในส่วนของดอกควบคู่กับลำต้นไปด้วย

ลักษณะโดยทั่วไป
:
บร๊อคโคลีเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของดอกอ่อนและก้านดอกที่ปลอกเปลือกแล้ว ส่วนของดอกมีสีเขียว ประกอบด้วยดอกสีเขียวขนาดเล็กจำนวนมากที่รวมตัวกันแน่น ดอกแรกหรือดอกประธานอาจมีขนาดใหญ่ มีใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอยๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร มีคุณค่าทางอาหารสูงสภาพดินฟ้า

อากาศที่เหมาะสม
:
บร๊อคโคลีมีความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศที่ใกล้เคียงกับกะหล่ำดอก แต่บร๊อคโคลีจะถูกกระทบกระเทือนจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ง่ายกว่ากะหล่ำดอก บร๊อคโคลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีค่า pH ประมาณ 6.0-6.5 มีความชุ่มชื้นในดินสูง ชอบแสงแดดตลอดวัน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 18-27 องศาเซลเซียส มีอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม พันธุ์ : มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่พันธุ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยได้ดี คือ

1. พันธุ์ เด ซิกโก ( De Cicco) มีอายุประมาณ 65 วัน

2. พันธุ์ ซากาต้าหรือพันธุ์ Green Duke มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วัน

3. พันธุ์ กรีน โคเมท ( Green Comet) เป็นพันธ์จากญี่ปุ่น เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีอายุประมาณ 40 วัน ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะตรงความต้องการของตลาด

4. พันธุ์ของเจียไต๋ ให้ผลผลิตสูง

** พันธุ์บร๊อคโคลีที่ดีและเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ควรเป็นพันธุ์เบาและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดอกอ่อนมีสีเขียวเข้มและรวมตัวกันแน่น ขนาดของดอกสม่ำเสมอ ขนาดดอกประธานควรมีความใหญ่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เจริญเติบโตเร็วและทนทานต่อโรค

** สำหรับพันธุ์บร๊อคโคลีที่มีจำหน่ายในบ้านเรา ได้แก่ พันธุ์ Di cico] ryoT6N Morakot ,พันธุ์ Negro , พันธุ์ Toro พันธุ์ Top green ,พันธุตราช้างเบอร์ 12 ,พันธุ์ตราช้างเบอร์ 30,พันธุ์โคย่า,พันธุ์ไต้หวัน เป็นต้น


การปลูกและการดูแลรักษา
:
เนื่องจากบร๊อคโคลีเป็นพืชผักที่มีทรงพุ่มกว้างกว่าผักจำพวกกินใบชนิดอื่น จึงต้องการระยะปลูกระหว่างต้นพอสมควร และเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง วิธีการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าลงปลูกจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า ฉะนั้นการเตรียมดินจึงควรมีการเตรียมดินในส่วนของแปลงเพาะกล้าและแปลงเพาะปลูก เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบร๊อคโคลี ดังนี้ การเตรียมดินแปลงเพาะกล้า ให้ขุดพลิกดินลึก ประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้5-7วัน ทำการย่อยพรวนดินให้ให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยขี้เป็ดผสมกากถั่ว ในอัตรา 300 กก./ไร่ สำหรับพื้นที่การปลูก 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาดประมาณ 5-10 ตารางเมตรการเตรียมดินแปลงปลูก ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนดินใส่ปุ๋ยขี้เป็ดปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 300 กก./ไร่ และ ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในอัตรา 380-1,000 กก./ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินในแปลงปลูก การเพาะกล้า การเพาะกล้าบร๊อคโคลีเพื่อทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 100 – 150 กรัม หว่านลงในแปลงปลูก ขนาด 5 - 10 ตารางเมตร หากต้องการเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่ปลูกลงจาก 1 ไร่ สามารถเทียบลดสัดส่วนอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงเพาะกล้าได้จากอัตราส่วนดังกล่าว หรือหากในบริเว๊ณที่ทำการเพาะปลูกมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เช่น ความชื้นในดินไม่เหมาะสม มีโรคและแมลงรบกวนมาก ก็ควรใช้เมล็ดพันธุ์เพาะกล้าให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์หนัก 100 กรัมหลังจากเพาะกล้าแล้วประมาณว่าจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงประมาณ 17,800 ต้น(ประมาณจากเมล็ดหนัก 100 กรัมจะมีจำนวนเมล็ดประมาณ 31,770 เมล็ด)

** อุณหภูมิในดินที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดพันธุ์บร๊อคโคลี อยู่ในระหว่างช่วง 7.2 - 29.4 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 26.6 องศาเซลเซียส


วิธีการเพาะปลูก :
หลังจากต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงถอนย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการย้ายกล้าพืชผักชนิดอื่นๆ คือ ทำการถอนกล้าไว้ก่อนในช่วงเช้าที่ยังไม่มีแดดจัด และก่อนถอน ย้ายกล้าควรรดน้ำลงแปลงกล้าให้ชุ่มชื้นก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการถอนแยกและไม่ทำให้กล้าเหี่ยวเฉาเร็วเกินไป ควรระมัดระวังขณะถอนกล้าอย่าให้กล้าได้รับความกระทบกระเทือนหรือช้ำ เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและกล้าอาจตายได้ ส่วนวิธีการถอนกล้า ให้ใช้มือดึงตรงส่วนของใบขึ้นมาโดยตรง แต่ไม่ควรจับที่ลำต้นเพาะจะทำให้ต้นได้รับความกระทบกระเทือนและช้ำได้ง่าย จากนั้นนำต้นกล้าที่ถอนแยกออกมาแล้วใส่ในเข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุมเก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อรอปลูกลงแปลงในช่วงเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ประมาณ 3-4 โมงเย็น จึงนำมาปลูกลงในแปลง โดยก่อนปลูกให้รดน้ำแปลงให้ชุ่มแล้วใช้นิ้วหรอไม้จิ้มรูปักต้นกล้าลงดิน แล้วกดดินโคนต้นพอประมาณแต่ไม่ต้องแน่น ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 30-60 เซนติเมตร และ ระยะระหว่างแถว 50-100 เซนติเมตรสำหรับหลักการเลือกระยะปลูกให้มีความห่างเท่าไหร่นั้น ควรพิจารณาจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ประกอบด้วย ถ้าอากาศในพื้นที่ค่อนข้างร้อนให้ปลูกถี่ ถ้าอากาศเย็นให้ปลูกห่าง หรือ ตามแต่สภาพความสมบูรณ์ของดิน โดยใช้หลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง เพราะผลของการปลูกห่างในสภาพดินดีจะทำให้บร๊อคโคลีมีลำต้นโตได้เต็มที่ไม่เบียดเสียดกันแน่นมากจนเกินไป หลังจากปลูกแล้วควรคลุมแปลงด้วยฟางข้าวแห้ง หรือหญ้าแห้งบางๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น และหลังจากเปื่อยยุ่ย ฟางข้าวเหล่านี้จะย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุให้กับดินได้ดีอีกด้วย


การให้น้ำ :
แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก คือ หลังจากย้ายปลูกลงแปลงใหม่ๆ พืชจะไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่มีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอดี ไม่ควรให้น้ำจนดินแฉะ ระยะนี้ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น โดยการใช้เครื่องพ่นฝอยหรือใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วแปลง ช่วงที่ 2 คือ เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ จนถึงระยะเกิดดอก ผักต้องการน้ำมากขึ้นเพราะเมื่อผักโตขึ้นจะเกิดขบวนการที่ทำให้ต้องมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น และในขณะที่พืชผักเจริญเติบโตจนถึงระยะที่เริ่มมีการพัฒนาการเจริญเติบโตของดอก น้ำจะกลายเป็นปัจจัยหลักที่จำเป็นมากที่จะมีส่วนช่วยให้ผักเติบโตสมบูรณ์ มีดอกใหญ่ ฉะนั้นจึงไม่ควรให้บร๊อคโคลีขาดน้ำในช่วงนี้ และควรให้น้ำผักอย่างสม่ำเสมอในช่วงนี้ด้วย การให้น้ำในระยะนี้จะให้ 2 เวลา คือ เช้า-เย็นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าการให้ในช่วงแรก


การให้ปุ๋ย :
ปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบร๊อคโคลี คือ สูตร 10-10-20 หรือ สูตร 13-13-21 การใส่ควรแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 25-27 กก./ไร่ โดยใส่ครั้งแรกเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกหรือใช้กลบฝังข้างร่องแถวปลูก ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ สำหรับปลูกแบบเป็นไร่ ส่วนแปลงปลูกแบบเป็นร่องมีคูน้ำล้อมรอบแบบภาคกลาง การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะทำไม่สะดวกการหว่านปุ๋ยจึงเป็นเป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่า แม้จะเป็นวิธีการที่ทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยมากก็ตามที แต่เพื่อความประหยัดและได้ผลดีจริงการใส่ปุ๋ย ข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดอาจพิจารณาให้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรทเป็นปุ๋ยเสริม เมื่อเห็นว่าพืชมีการเจริญเติบโตช้าลง โดยให้ในอัตรา 20 กก.ไร่ โดยวิธีการใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ แบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 7 วัน ครั้งที่ 2 ให้เมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 30 วัน ในการปลูกบร๊อคโคลี ควรมีการให้ธาตุโบรอนและโมลิบดีนัมเสริมด้วย เพื่อป้องกันการขาดธาตุดังกล่าว แต่ในดินที่มีการปรับปรุงด้วยปูนขาวก่อนปลูกมักจะไม่พบว่าบร๊อคโคลีมีอาการขาดธาตุนี้




โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของบร๊อคโคลี :
ได้แก่โรคเน่าเละ, โรคอึนหรือโรคไส้ดำ  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกะหล่ำปลี
หนอนกระทู้หอม  เป็นต้น


การเก็บเกี่ยว :
อายุของบร๊อคโคลีนับตั้งแต่วันย้ายปลูกจนถึงวันที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ จะประมาณ 70–90 วัน โดยเลือกตัดดอกที่มีกลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่น โตขนาดประมาณ 10-16 เซนติเมตร และต้องรีบตัดดอกก่อนที่ดอกจะบานกลายเป็นสีเหลือง เพราะจะทำให้ขายไม่ได้ ควรใช้มีดมีคมตัดให้ชิดโคนต้น แล้วขนออกมาตัดข้างนอกแปลงปลูก การตัดแต่งควรตัดแต่งให้เหลือดอกและต้นยาวประมาณ 16-20 เซนติเมตร ตัดใบออกให้เหลือติดดอกประมาณ 2–3 ใบ เพื่อเอาไว้พันรอบดอก เป็นการป้องกันการกระทบกระเทือนระหว่างการขนส่ง สำหรับผลผลิตโดยเฉลี่ย ช่วงฤดูร้อนจะได้ผลผลิตประมาณ 1,300-1,500 กก.ไร่ ในช่วงฤดูหนาวจะได้ผลผลิตประมาณ 2,000-3,000 กก./ไร่



การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว :
ปัญหาดอกบร๊อคโคลี หลังกการเก็บเกี่ยวก็คือ การเปลี่ยนแปลงสีของดอกที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวดอกที่ดอกย่อยใกล้บานแล้ว จะทำให้กลายเป็นสีเหลืองและขายไม่ได้ราคา บางครั้งการเปลี่ยนแปลงสีของดอกนี้อาจเปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงและสภาพอากาศร้อนเกินไป ฉะนั้นควรระวังเรื่องอุณหภูมิที่จะใช้ในการเก็บรักษาผลผลิตให้ดี เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3845 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©