-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 324 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





ถั่วพู


1.พันธุ์
ถั่วพูที่ใช้ปลูกส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งได้ปลูกมานานแล้ว ลักษณะฝักจะมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และพันธุ์ฝักใหญ่ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร


2. การเตรียมดินปลูก
ถั่วพูเป็นพืชที่มีรากลึกปานกลาง การเตรียมดินควรไถดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก พรวนดินให้ละเอียด ยกร่องเป็นแปลง มีทางเดิน พร้อมปลูกได้


3. การปลูก
ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 60 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ถั่วพูนิยมปลูกด้วยเมล็ด หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ให้ขุดหลุมปลูกตามระยะปลูก หยอดเมล็ดลงหลุมๆ ละ ประมาณ 5 เมล็ด ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร กลบด้วยดินบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มชื้น หลังจากเมล็ดงอกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้ถอนแยกเหลือหลุมละ 3 เมล็ด


4. การทำค้างถั่วพู
มีวิธีทำได้หลายแบบ เช่น ค้างเดี่ยว ปักตรงหลุมละ 1 หลัก โดยใช้ไม้ลวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 2 เมตร หรือ ค้างแบบคู่ คือ ปักค้างตรงทุกร่อง และรวมปลายเป็นคู่ๆ ไป หรือใช้ตาข่ายขึงเป็นร่องๆ ก็ได้ แต่ต้องมีหลักไม้ปักทุกหลุม คอยจับเถาถั่วพูพันหลักด้วย จะช่วยให้เต็มค้างไวขึ้น


5. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ ตามความต้องการของพืช


6. การใส่ปุ๋ย
ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เริ่มใส่หลังปลูกประมาณ 30 วัน


7. การกำจัดวัชพืช
คอยถอนหรือถากหญ้าอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำแย่งปุ๋ยถั่วพูและเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง


8. การเก็บเกี่ยว
การปลูกถั่วพูด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน จึงจะออกดอก และให้ฝักเมื่อฝักโตจนได้ขนาดก็เก็บฝักไปขายหรือบริโภคได้


9. โรค
ถั่วพูไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคมากนักแต่นานๆ จึงพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชบ้าง เช่น เมนโคเชป


10. แมลง
แมลงที่พบได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารเคมี เช่น เชฟวิน หรือ ไซเปอร์เมทริน


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร





ถั่วพู (Winged bean)

พืชตระกูลถั่ว (Leguminosae) ชื่อวิทยาศาสตร์ Psophocarpus tetragonolobus (Linn) DC. เป็นไม้เลื้อยประเภท climbing perennial ส่วนเหนือดินเป็นพืชล้มลุก แต่ส่วนใต้ดินจะอยู่ได้นานข้ามฤดูกาล

ใบเป็นใบย่อย 3 ใบ มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปคล้ายสามเหลี่ยม (deltoid) รูปไข่ (ovate) รูปใบหอก (lanceolate) ลำต้นมีสีเขียวและเขียวปนม่วง

ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะเป็นช่อ (inflorescence) ตั้งตรงแบบ raceme ช่อหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย 3-12 ดอก แต่พบดอกที่บาน 2-4 ดอก และติดฝักเพียง1-2 ฝักเท่านั้น

ฝักมีความยาวตั้งแต่ 11.2-29.9 เซนติเมตร รูปร่างฝักเป็นฝักสี่เหลี่ยมมีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture สีฝักมีทั้งสี เขียว ม่วง และเหลือง ผิวฝักแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ ผิวเรียบและผิวหยาบมาก ในฝักหนึ่ง ๆ มีเมล็ดตั้งแต่ 8-20 เมล็ด

เมล็ดมีสีตั้งแต่ขาว เหลือง ครีม น้ำตาล ดำและลวดลายต่าง ๆ เมล็ดมีขนาดต่าง ๆ กัน โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ดอยู่ในช่วง11-45.6 กรัม ส่วนใหญ่เมล็ดมีสีน้ำตาล

รากของถั่วพู เป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก

การบริโภค ฝักอ่อน นิยมบริโภคเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร ผัด ลวก แกง ยำถั่วพู คุณค่าทางอาหาร ในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม ประกอบด้วยแคลเซียม 33 มิลลิกรัม เหล็ก 3.7 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 567 หน่วยสากล วิตามิน ซี 21 มิลลิกรัม ปริมาณโปรตีน ใบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ ดอก 5.6 เปอร์เซ็นต์ ฝัก1.9-3.0 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดแก่ 29.8-37.4 เปอร์เซ็นต์ และหัว 10.9 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดแก่ มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับถั่วเหลือง ช่วยเสริมวิตามินเอให้กับร่างกาย

นอกจากนี้ในเมล็ดแก่ยังมีน้ำมัน 15.0-18.3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสด ซึ่งประกอบด้วย unsaturated fatty acid, alpha และ beta tocopherol ในปริมาณสูง สรรพคุณทางยา หัว นำมาตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ฝักอ่อน บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก ใบ แก้อาเจียน การปลูก ถั่วพูปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ยกเว้นดินที่มีน้ำขัง และขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 2300 เมตร

การปลูกมี 2 วิธี คือ หยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนการย้ายปลูกอายุกล้าประมาณ 14 วันหลังหยอดเมล็ด การเพาะกล้าจะช่วยให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์และได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ควรยกแปลงปลูกขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร ปลูกแถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ปักค้างหลังเป็นรูปสามเหลี่ยม ผูกยึดให้แข็งแรง เริ่มมีดอกบานที่อายุประมาณ 45-80 วันหลังหยอดเมล็ด และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุประมาณ 60-110 วันหลังหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพันธุ์เบาหรือพันธุ์หนัก ช่วงการเก็บเกี่ยวจะยาวนาน 10-12 เดือน โดยเก็บเกี่ยวทุกวัน หรือ 2 วันต่อครั้ง ถั่วพู TVRC 070 ถั่วพูพันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี

การเก็บรวบรวมพันธุ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ดำเนินการรวบรวมพันธุ์ถั่วพูในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2535 เพื่ออนุรักษ์พันธุ์และป้องกันการสูญหายของพันธุ์

การปลูกเพื่อศึกษาลักษณะและขยายเมล็ดพันธุ์ จำนวน 98 acc no. ในปี พ.ศ.2540 และ 2545 พบสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี แข็งแรง สามารถออกดอกและติดฝักตลอดปีหลายสายพันธุ์ คัดเลือก ผสมตัวเอง เก็บเมล็ดแยกต้น

การคัดเลือกพันธุ์
นำต้นคัดเลือกปลูกแบบต้นต่อแถว ผสมตัวเองเก็บเมล็ดแยกต้นในปีพ.ศ.2545 และ 2546 การปลูกประเมินสายพันธุ์ นำพันธุ์คัดเลือกปลูกเพื่อประเมินพันธุ์และเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า ในปี พ.ศ.2546-2547 พบถั่วพู 5 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้า ขนาดฝัก สีฝัก และลายหยักของขอบฝัก ใกล้เคียงกับพันธุ์การค้า ได้แก่ PT070-5(2)-6, PT070-5(2)-8, PT072-8-4, PT073-5-5 และPT075-2(2)-2 คัดเลือก PT070-5(2)-6 เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ มีลักษณะดังนี้ การเจริญเติบโตดี แข็งแรง ลำต้นและข้อสีเขียว ดอกสีขาว ออกดอกที่อายุ 65 วันหลังหยอดเมล็ด เก็บเกี่ยวครั้งแรกที่อายุ 80 วันหลังหยอดเมล็ด น้ำหนักฝักเฉลี่ย 5.46 กรัม ฝักยาว 11.71 เซนติเมตร กว้าง 1.71 เซนติเมตร ฝักสีเขียวเข้ม รูปร่างฝักเป็นแบบ rectangular ขอบฝักมีหยักมาก ให้ผลผลิตดี 37.75 ตันต่อเฮกตาร์ (ประมาณ 6000 กิโลกรัมต่อไร่)

การผลิตเมล็ดพันธุ์
ควรเก็บเกี่ยวฝักที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทั้งฝัก หรืออายุประมาณ 107-160 วันหลังปลูก ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ประมาณ 257 กก./ไร่ การปลูกเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ควรปลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน สำหรับการปลูกเพื่อบริโภคฝักสดสามารถปลูกได้ตลอดปี

ผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน 0 3428 1509









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (4960 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©