-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 320 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





ถั่วฝักยาว


1.พันธุ์ :
ถั่วฝักยาวที่นิยมปลูกแบ่งพันธุ์ได้ 2 ชนิด

1.1 ถั่วเนื้อ ลักษณะฝักจะใหญ่ อ้วน และสั้นกว่าถั่วกระดูก (ถั่วเม็ด,ถั่วสั้น) พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ ศรแดง (ลำน้ำชี, ลำน้ำโขง) ตราเครื่องบิน

1.2 ถั่วกระดูก ลักษณะฝักจะยาวมาก ประมาณ 70-100 เซนติเมตร ลักษณะจะฝักเล็ก ยาว มองเห็นข้อที่มีเม็ดได้ เช่นพันธุ์ ศรแดง (เบอร์ 4,5) ตราเครื่องบิน และลูกผสมของบริษัทอื่นๆ


2. การเตรียมดิน
ลักษณะปลูกถั่วฝักยาวทั่วไปจะปลูกแบบร่องสวน แบบร่องผัก หรือแบบชักร่อง จะเริ่มด้วยการไถ และตากดินประมาณ 7-10 วัน ตีดิน (พรวนดิน) ชักร่อง ด้วยรถแทรคเตอร์ วัดระยะปลูก และตีหลุม โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก


3. วิธีการปลูก
ระยะปลูกประมาณ 75 x120-150 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการเก็บและการพ่นสารเคมี โดยหยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด เมื่อขึ้นมามีใบจริงแล้วถอนแยกเหลือหลุมละ 2 ต้น โดยก่อนหยอดเมล็ดคลุกด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันมด และแมลงในดิน

3.1 การปักค้าง ถั่วฝักยาวก็ปฏิบัติเหมือนค้างบวบ และหมั่นคอยจับยอดให้เลื้อยบนค้าง


4. การให้น้ำ
ระยะก่อนงอกต้องให้น้ำอย่าได้ขาด และไม่แฉะหรือมีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้เมล็ดเน่า เมื่อขึ้นมาแล้วก็ให้น้ำอยู่เสมอ


5. การเก็บเกี่ยว
ถั่วพันธุ์หนักจะเริ่มเก็นฝักได้ เมื่อายุประมาณ 50-60 วัน และถ้าเป็นถั่วพันธุ์เบาจะเก็บได้เมื่ออายุ 50-55 วัน โดยเลือกเก็บเฉพาะระยะส่งตลาด คัดฝักสั้น ยา มัดด้วยยาง ชั่งกิโลใส่ถุง หรือมัดเป็นมัดๆ ละ 5 กก.


6. โรค
ถั่วฝักยาว จะพบโรคระบาดคือ โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง และโรคราสนิม ควรพ่นด้วย แมนโดเซป ไดเมทโทม็อบ หรือ โปรคลอราช


7. แมลง
ที่พบมากคือ เพลี้ยจั๊กจั่น หนอนกระทู้ฝัก หนอนเจาะฝัก ไรแดง ป้องกันด้วย อิมิดาโดลพริด เบต้าไซฟลูทริน และโอไมท์


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






ถั่วฝักยาวไร้ค้าง


ถั่วฝักยาว ไร้ค้าง คือถั่วฝักยาวชนิดหนึ่งที่ ถูกปรับปรุงพันธุ์ การจนกระทั่ง ไม่จำเป็นต้องการ ใช้ค้างในการปลูก จุดประสงค์ที่สำคัญ ก็คือ ลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการ ทำค้างให้ถั่วฝักยาว และความสะดวก ในการปลูกถั่วชนิดนี้



ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ มข. 25
ได้รับการปรับปรุงขึ้นที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 โดยเกิดจากการผสมระหว่างถั่วพุ่มกับถั่วฝักยาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ มี ลำต้นตั้ง แข็งแรง ฝักยาว ไม่ต้องใช้ค้าง สามารถเจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย อากาศร้อน ต้องการแสงแดด ส่องตลอดทั้งวัน ถ้าปลูกในร่มหรืออากาศ เย็นในเดือน กรกฎาคม ลำต้นจะเลื้อยเล็กน้อย สามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่การเจริญเติบโต จะหยุดชะงักเมื่ออากาศเย็น ถั่วนี้สามารถทนอากาศร้อน และแห้งแล้งได้ ดีกว่า ถั่วฝักยาวธรรมดา

การเตรียมดินปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง



ดินที่เหมาะสม
คือ
ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหารเช่น ฟอสฟอรัสและ โปแตสเซียม อยู่อย่างเพียงพอ มีระดับความเป็นกรด-ด่าง (พี.เอช) อยู่ระหว่าง 5-6.5 เตรียมดินเหมือนกับการปลูกพืชผักทั่ว ๆ ไป คือมีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตายแล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย


ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ และใส่อีกครั้ง 10 กก./ไร่ เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ ถ้าดินเป็นกรดมากควรใส่ปูนขาวประมาณ 80 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน



การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง

ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บฝักสด ใช้ระยะแถว 50 ซม. ระยะต้น 30 ซม. หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น (ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยก จะทำให้ลำต้นไม่ ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้น จะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด)



อัตราเมล็ดพันธุ์และความลึกในการหยอดถั่วฝักยาวไร้ค้าง

- ถ้าปลูกระยะ 30×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กก./ไร่

- ถ้าปลูกระยะ 20×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3.5 กก./ไร่

ถ้าดินปลูกเป็นดินเหนียวควรปลูกตื้นกว่าดินทราย ถ้าดินมีความชื้นพอดีควรปลูกลึกประมาณ 2-3 ซม. ก็พอ ถ้าดินมีความชื้นต่ำ อาจปลูกลึก 3-5 ซม. จึงจะทำให้เมล็ดงอกได้ดี



การดูแลรักษาถั่วฝักยาวไร้ค้าง

การให้น้ำ
จะให้น้ำก่อนปลูก หรือหลังปลูกก็ได้ อย่าให้น้ำจนเปียกแฉะเพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า หรือรากเน่าได้ การให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ


แมลงที่สำคัญ

เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบด่าง (ไวรัส) จะสังเกตได้ง่ายถ้าปรากฏว่ามีมดดำ หรือมดคันไฟ ไต่อยู่ในแปลงหรือตามต้นถั่วแสดงว่าเพลี้ยอ่อนจะเริ่มมา ให้รีบพ่นสารเคมีก่อนที่เพลี้ยอ่อนจะปรากฏ เพราะถ้าเพลี้ยอ่อนมาดูดน้ำเลี้ยงก็จะปลดปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายได้กับถั่วฝักยาว ทำให้ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต


การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อเตรียมดินปลูก อัตรา 20 กก./ไร่ และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ การใส่ครั้งที่ 2 ควรเปิดร่องห่างต้น 15-20 ซม. ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 40 กก./ไร่ โดยโรยลงไปในร่อง แล้วกลบ พร้อมกับการกลบโคนถั่วฝักยาวไร้ค้าง เพื่อป้องกันต้นล้ม



การกำจัดวัชพืช

หลังปลูกให้ฉีดสารป้องกันวัชพืชแลสโซก่อนงอกจะป้องกันได้ 2-3 สัปดาห์ โดยใช้อัตรา 450 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร พ่นหลัง ปลูก ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังงอกให้ใช้การตายหญ้าด้วยจอบ ควรระวังอย่าให้จอบ หรือเครื่องมือ ที่ใช้ถูกลำต้น เพราะจะทำให้ลำต้นเป็นแผลและเน่าตายในที่สุด



การเก็บเกี่ยว

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง สามารถเก็บฝักสดครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 42-45 วัน หลังปลูกและจะเก็บได้เรื่อย ๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจาก เก็บฝักสด ชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอกถั่วไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง เมื่อเก็บฝักหมดควรไถกลบ เพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีก



โรค-แมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วฝักยาวไร้ค้าง

โรค
ที่พบคือ โรคโคนเน่า และ ฝักเน่า การป้องกันใช้ เบนแลท อัตรา 6-8 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพร้อมสาร ฆ่าแมลง หรือ ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูกก็ได้ อย่าให้แปลงมีน้ำหรือชุ่มมากเกิน

แมลง
เพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบหนอนเจาะฝัก ทำความเสียหายอยู่เป็นระยะ ๆ ควรป้องกันตั้งแต่ถั่วอายุ 7-10 วัน ใช้อะไซดรินพ่นป้องกันเพลี้ยอ่อนและแมลง ต่าง ๆ หลังจากนั้นควรฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ตามความจำเป็น เมื่อถั่วเริ่ม ออกดอกและพบว่ามีผีเสื้อตัวเล็ก ๆ ลายน้ำตาลมาบินอยู่ในแปลงควรฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หากจำเป็นต้องใช้ควรใช้สารประเภทถูกตัวตาย เช่น คาราเต้ แทน



การคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เมื่อต้องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ควรเลือกจากต้นที่มีลำต้นทรงพุ่มเป็นฝักยาวเพื่อเอาเมล็ดทำพันธุ์ปลูกต่อไป การปลูกเพื่อ เก็บเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกในช่วงปลายสิงหาคม-กลางกันยายน จะได้เมล็ดพันธุ์ดีไม่เชื้อราเจือปน หรือช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีและผลผลิตสูงกว่าปลูกฤดูอื่น ๆ

เมื่อเก็บมาแล้ว ควรตากแดด 3-4 แดด ให้แห้งสนิท ระหว่างที่ตากจะมีมอดมาวางไข่ไว้ตามผิวของเมล็ด ไข่จะมีสีขาว คล้าย จุดเล็ก ๆ ซึ่งฟักตัวกลายเป็นหนอนภายใน 24 ชั่วโมง ตัวหนอนจะเจาะกินเข้าไปในเมล็ด ดังนั้นหลังจากตากแดด จนแห้งสนิท ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกันแมลง แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด หรือถุงพลาสติกปิดปากให้แน่น แล้วเก็บในที่ เย็นและมีอากาศแห้งต่อไป
 


โรคและแมลงศัตรูถั่วฝักยาว

พบว่าถั่วฝักยาวมีแมลงศัตรูที่สำคัญ หลายชนิด ได้แก่

หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว

หนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายต้นถั่วตั้งแต่ถั่วฝักยาวเริ่มงอกทำให้ใบเหี่ยวเฉาแห้งตาย นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญตัวหนึ่ง ลักษณะเป็นแมลงวันขนาดเล็กสีดำ ลำตัวยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร ในขณะที่แดดจัดจะพบบริเวณใบอ่อน เมื่อทำลายแล้วจะเกิดจุดสีเหลืองซีด ถ้าระบาดมากใบจะแห้ง ตัวแก่จะวางไข่บริเวณข้อและยอดอ่อน ตัวหนอนเล็กรูปร่างรีสีขาว ลักษณะที่หนองทำลายจะเกิดรอยแตก ใบร่วง และเฉาเหี่ยวตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชพวก คาร์โบฟูราน (carbofuran) เช่น ฟูราดานหรือคูราแทร์ รองก้นหลุมอัตรา 2 กรัม/หลุม ซึ่งจะมีผลควบคุมแมลงศัตรูได้ประมาณ 1 เดือน สารเคมีประเภทนี้ควรใช้เฉพาะการหยอด รองก้อนหลุมพร้อมเมล็ดเท่านั้น ไม่ควรหยอดเพิ่ม ระยะหลังเพราะอาจมีพิษตกค้างในผลผลิตได้ หากไม่ได้ใช้วิธีการข้างต้นให้ป้องกันโดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงพวกไดเมทโธเอท (dimethoate) หรือพวกโมโนโครโตฟอส (monocrotophos) ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน โดยใช้อัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ตามฉลากคำแนะนำจนถั่วใกล้ออกดอก


หนอนเจาะฝักถั่ว
เป็นหนอนที่ทำลายถั่วหลายชนิด หนอนในระยะแรกจะกัดกินภายในดอก ทำให้ดอกร่วงก่อนติดฝักเมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอก ทำให้เกิดดอกร่วงก่อนติดฝัก ทำให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะของแมลงศัตรูตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก วางไข่ขนาดเล็ก (0.5-0.81 มิลลิเมตร) ตามกลีบเลี้ยง อายุฟักไข่ประมาณ 3 วัน แล้วจึงเข้าไประหว่างรอยต่อของกลีบดอก และเมื่อเจริญขึ้นหนอนจะเข้าไปทำลายดอกและฝักถั่วฝักยาว

การป้องกันกำจัด

ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น พวกเฟนวาเลอเรท (fenvalerate) ได้แก่ ซูมิไซดิน, ซูมิ 35 หรือไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ได้แก่ ซิมบุซ เป็นต้น หรือสารเคมีกลุ่มอื่นทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย

เพลี้ยอ่อน
มักเข้าทำลายยอดอ่อนและฝักของถั่วฝักยาว โดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นแกร็น ดอกร่วง ไม้ติดฝัก และหากฝักอ่อนถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ได้ฝักขนาดเล็กลง

การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมีพวกเมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน โซนาต้า มอลต้า โมนิเตอร์ เอฟ 5 เป็นต้น ฉีดพ่นในอัตราที่กำหนดไว้ในฉลากคู่มือการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง




โรคถั่วฝักยาว

โรคถั่วฝักยาวนั้นแม้ว่าจะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นทันทีหลังจากเชื้อโรคเข้าทำลาย หากแต่การทำลายของโรคพืชนั้น สร้างความรุนแรง และความเสียหายได้มาก แก้ไขได้ยากกว่าการทำลายของแมลงศัตรูพืช โรคของถั่วฝักยาวที่สำคัญได้แก่

โรคใบจุด
ลักษณะอาการของโรค
ถั่วฝักยาวมีโรคใบจุดชนิดหนึ่งทำให้เนื้อเยื่อแผลแห้งเป็นวงกลมหรือเกือบจะกลม สีน้ำตาลตรงกลางแผล มีจุดไข่ปลาสีดำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อรา ที่ขึ้นเป็นกระจุกและเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันมองเห็นชัดด้วยตาเปล่า ทำให้มองเห็นแผลเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ขนาดของแผลประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักจะเกิดกับใบแก่ที่อยู่ตอนล่าง ๆ
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp
การป้องกันกำจัด
ควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมื่อพบโรคนี้ โดยใช้สารไดเทนเอ็ม 45 เดอโรซาน บาวิสติน หรือเบนเลท อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตราตามข้างฉลากฉีดพ่นทุก 5-7 วัน

โรคราสนิม
ลักษณะอาการของโรค
อาการปรากฎด้านใต้ใบเป็นจุดสีสนิมหรือน้ำตาลแดง จุดมีขนาดเล็ก ใบที่เป็นโรคมาก จะมองเห็นเป็นผงสีน้ำตาลแดง โรคนี้มักจะเกิดกับใบแก่ทางตอนล่างของลำต้นก่อน แล้วลามขึ้นด้านบน มักจะเริ่มพบเมื่อต้นถั่วอยู่ในระยะออกดอก ถ้าเป็นรุนแรงมากจะทำให้ใบแห้งร่วงหล่นไป
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อราUromyces fabae Pers
การป้องกันกำจัด
1. ใช้กำมะถันผงชนิดละลายน้ำอัตรา 30-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นสัปดาห์ละครั้ง ไม่ควรใช้ในขณะที่แดดร้อนจัด และห้ามผสมสารเคมีชนิดอื่น
2. ใช้สารเคมีแพลนท์แวกซ์ (plantvax) อัตรา 10-20 กรัมน้ำ 20 ลิตร

โรคราแป้ง
ลักษณะอาการของโรค
อาการมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า บนใบมองเห็นคล้ายมีผงแป้งจับอยู่ ถ้าอาการไม่มากนัก ผงแป้งนี้จะเกาะอยู่บนใบเป็นกลุ่ม ๆ แต่ถ้าเป็นมากจะเห็นผิวใบถูกเคลือบอยู่ด้วยผงแป้งเหล่านี้ อาการที่รุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและร่วง โรคนี้มักจะไม่ทำให้ต้นตายอย่างรวดเร็วกว่าปกติ
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp.
การป้องกันกำจัด
1. ใช้กำมะถันผงเหมือนกับโรคราสนิม
2. ใช้คาราเทนหรือซาพรอน อัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก ฉีดพ่น 7-10 วัน

โรคใบด่าง
ลักษณะอาการของโรค
ถั่วจะแสดงอาการใบด่างเหลืองมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม อาการจะมองเห็นได้ชัดเจนบนใบแก่เป็นสีเขียวเข้มสลับกับสีเหลือง หรือด่างเป็นลาย บางครั้งสีเหลืองอ่อนเกือบเป็นสีขาวสลับกับสีเขียวแก่ของใบ มีทั้งชนิดลายแล้วใบเป็นคลื่นและด่างลายใบเรียบ ใบอาจจะม้วนงอหรือแผ่ตามปกติ ในกรณีที่เป็นโรคอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในระยะต้นอ่อนและตายในที่สุด
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม PVY
การป้องกันกำจัด
1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยการเลือกเก็บจากต้นที่ปราศจากโรคใบด่าง
2. ถอนต้นที่มีอาการของโรค ทำลายเผาทิ้ง
3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่นแมลงพาหะ

202.129.0.133/plant/langbean/5.html


  ถั่วฝักยาว (YARD LONG BEAN)


ถั่วฝักยาว
เป็นพืชตระกูลถั่ว มีลำต้นเป็น เถาเลื้อยมีมือจับ การปลูกถั่วฝักยาว โดยการทำค้าง จะให้ผลผลิตสูง ถั่วฝักยาวเป็นผัก ที่ลูกง่าย โตเร็ว ปลูกได้ตลอดปี ในดินแทบ ทุกชนิด ถั่วฝักยาวเป็นผัก ที่ใช้ฝักสดบริโภค มีความนิยม บริโภคกันมาก ในเมืองไทย สามารถ ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม ผัด แกง จิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ ทำส้มตำ ถั่วฝักยาว นอกจากจะ เป็นผักที่มีคุณค่า ทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาว ยังสามารถช่วย ปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะรากของ ถั่วฝักยาว สามารถตรึง ไนโตรเจน จากอากาศไว้ในดิน


สภาพดินฟ้าอากาศ
ถั่วฝักยาวสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถเติบโตได้ในดินแทบทุึกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะทำให้ชงักการเจริญเติบโตผลผลิตต่ำ ฝักไม่สวย ถั่วฝักยาวจะใ้ห้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติืบโตอยู่ในช่วง 15-30 องศาเซลเซียส
การเตรียมดิน
ยกร่องแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพแปลง ตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูบางชนิดแล้ว ไถคราด ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน

การปลูกถั่วฝักยาว
ทำหลุมปลูกหลังปรับร่องแปลงให้ขุดหลุมปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่าง 80 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนา เพียงเล็กน้อย แล้วรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง

การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเีพียงพอ การให้น้ำในระยะอาทิตย์แรกหลังหยอดเมล็ด ควรให้น้ำทุกวัน อย่าให้ดินแห้งแต่อย่าให้มากเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดอาจเน่าได้ ส่วนระยะการเจริญเติบโต และติดดอกออกผลอย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาด ควรให้น้ำทุกวันๆ 2 ครั้งในช่วงเช้าเย็น เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดฝัก หรือฝักอาจไม่สมบูรณ์


2. การปุ๋ยถั่วฝักยาว
- ใส่รองพื้นขณะเตรียมแปลงปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1ช้อนชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อถั่วฝักยาวอายุได้ 15-20 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตถั่วฝักยาวครั้งแรก อายุประมาณ 45-50 วัน ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แต่น้อยก็ได้

  1. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ทำทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ย
  2. การทำค้าง เนื่องจาก ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อยึดเกาะพยุงลำต้น ดังนั้นควรทำไม้ค้างให้เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพสูง โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 2-2.5 เมตร การปักอาจปักแบบกระโจมเข้าหากัน แล้วรวบปลายไม้เข้าหากันหรืออาจจะปักตรงๆ แต่ละต้นก็ได้ หลังปักค้างเสร็จจับเถาถั่วพันรอบไม้ค้าง ต้องคอยทำทุกๆ 2-3 วัน
การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาว หลังหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 50-60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเฉพาะฝักที่ขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป ควรเลือกเก็บในเวลาเข้าหรือเย็นๆ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรรีบเก็บเข้าร่มทันทีเพื่อมิให้ถั่วฝักยาวเหี่ยว และฝ่อเร็ว การเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง

http://www.vegetweb.com/%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a7/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (5398 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©