แตงโม



ข้อมูลล่าสุดของปี 2551 ไตรมาสแรก
(กรมส่งเสริมฯ)
ประเทศไทยมีพื้นที่ ปลูกแตงโมทั้งหมด 26,086 ไร่ แยกเป็น
- แตงโมเนื้อ 25,888 ไร่ คือแตงโมทั่วไปที่ปลูกเพื่อเก็บผลแก่ (บริโภคเป็นผลไม้)
- แตงโมเมล็ด 194 ไร่ คือแตงโมที่ปลูกเพื่อให้เมล็ด
- แตงโมอ่อน 4 ไร่ คือแตงโมที่ปลูกเพื่อเก็บผลอ่อน


สถานการณ์ในปัจจุบันข
องแตงโมโดยทั่วไป
การผลิตแตงโม จะมีผลผลิตออกมามากที่สุด ในช่วงปลาย เดือนพฤศจิกายน-
กลางเดือนธันวาคม โดยจะเป็นแตงโมที่ปลูกตามกาล สำหรับแตงโม ที่ปลูกหลัง
จาก การทำนา ผลผลิตจะออกสู่ตลาด ราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม



สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกแตงโม

แตงโมปลูกได้ดี ในดินร่วนปนทราย ทั่วทุกภาคของประเทศ สภาพความเป็น
กรด-ด่างของดิน ที่ pH (พีเอช เค้าเขียนตัวพีเล็ก (p) กับตัวเอชใหญ่ (H)นะ
ตำราหลายเล่มยังเขียนผิดอยู่) ระหว่าง 5.5-6.8 สภาพแปลงควรระบายน้ำได้ดี



พันธุ์ที่ส่งเสริม

พันธุ์เบา คือพันธุ์ ซุการ์เบบี้ ลักษณะผลทรงกลม ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อแดง เป็น
พันธุ์ที่นิยมกันมานานแล้ว


พันธุ์ลูกผสมต่างๆ
ได้แก่ แตงโมเหลือง แตงโมแดง เป็นแตงโมทรงผลกลม รส
ชาติหวาน สีเนื้อแดง หรือ เหลืองตาม ความต้องการของตลาด



ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม

แตงโมปลูกได้ ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม



การปลูกแตงโม

ให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงให้ห่างจากกัน
เท่ากับความยาวของราก ประมาณ 2-3 เมตร แล้วขุดหลุมในดินทรายให้ลึก
ประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนดินเหนียว ให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย
คอกคลุกเคล้า กับดินบน ใส่รองก้นหลุม 4-5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงปลูก โดย
หยอดหลุมละ 5 เมล็ด



การดูแลรักษา

การให้น้ำ
ให้น้ำตามร่องประมาณ 7 วัน 1 ครั้ง


การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูก จริงอัตราไร่ละ 2-4 ต้น โดยคลุกเข้ากับดินก่อนปลูก
ควรใส่ปุ๋ยเคมี อัตราส่วน 1 : 1 : 2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยสูตร 10-10-20 ปกติจะใช้
ประมาณไร่ละ 120-150 กิโลกรัมต่อฤดูปลูก ใส่ในระยะ 15 วัน หลังจากปลูก
หลังจากนั้น ทยอยใส่ทุกๆ 15-20 วัน



โรคแมลงศัตรูที่สำคัญและวิธีการป้องกันจำกัด

โรคเถาเหี่ยว
ป้องกันกำจัดโดย อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม และใช้ปูนขาว ใส่ดินในอัตราไร่ละ
500 กิโลกรัม หรือใช้สารเคมีไดแทน ความเข้มข้น 1:5 ฉีดที่ต้นพืช


โรคราน้ำค้าง
ป้องกันกำจัดโดย ใช้สารเคมีพวกแคปแทนไซแน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่ง
อัตราการใช้ตาม คำแนะนำที่ติด มากับภาชนะบรรจุ



เพลี้ยไฟ
ป้องกันกำจัดโดย ใช้สารเคมีพวกแลนเนท ไรเนต เมซูโรล อย่างใดอย่างหนึ่ง

เต่าแตง ป้องกันกำจัดโดย ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เซฟวิน 80 ในอัตรา 20-30 กรัม
ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด ในระยะทอดยอด



แมลงวันทอง
ป้องกันกำจัดโดยใช้พอสต์ หรือ อะโชดริน ฉีดพ่น ตั้งแต่ระยะติดดอก ถึงเก็บ
เกี่ยว



การเก็บเกี่ยว
คาดคะเนการแก่ของแตงโมด้วยการนับอายุ

พันธุ์เบา ประมาณ 35-42 วัน หลังจากดอกบาน

พันธุ์หนัก ประมาณ 42-45 วัน หลังจากดอกบาน

ที่มา  :  ไม่ระบุ




การปลูกแตงเทศโดยไม่ใช้ดิน

งานวิจัยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้เริ่มมานานแล้วในภาควิชาปฐพีวิทยา ตั้งแต่อยู่
ที่วิทยาเขตบางเขน และในปี พ.ศ. 2513 Dr.C.J. Asher จากมหาวิทยาลัยควีน
สแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มาช่วยงานที่ภาควิชาฯ เป็นระยะเวลาประมาณ 1
 ปี ในฐานะ Visiting Professor ของ SEATO ก็นำวิธีการปลูกพืชในสารละลาย
ธาตุอาหารมาแนะนำให้ผู้ที่เรียนวิชา Plant Nutrition ในขณะนั้นใช้เป็นวิธีการที่
ทำให้รู้จักและคุ้นเคยกับอาการขาดธาตุอาหารพืชธาตุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เ
กิดมีกลุ่มอาจารย์จำนวนหนึ่งได้นำเทคนิคดังกล่าวมาดัดแปลงให้มีความเหมาะสม
ที่ใช้เป็นเกษตรทางเลือก และได้นำออกไปปฏิบัติจริงในลักษณะของการสาธิตในพื้น
ที่เกษตรกรหลายตำบลภายใต้โครงการอีสานเขียวเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 และต่อ
มาก็ได้มีการจัดทำรายงานที่แสดงให้เห็นว่า การปลูกโดยวิธีดังกล่าวนี้สามารถนำไป
ใช้ได้ในเชิงการค้าอีกด้วย ในด้านของการผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่นั้น เทคนิคการปลูก
พืชโดยไม่ใช้ดินได้ถูกนำไปใช้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาโท
อีกหลายคนเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอในที่ประชุมสัมมนาระหว่างชาติ
ที่ประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2533 รวมทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ (พ.ศ. 2546) ยังมีผลการ
วิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดินและปุ๋ยอีกจำนวน 2 เรื่องด้วยกัน

สำหรับข้อเขียนที่นำเสนอในครั้งนี้ มีความประสงค์ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปลูก
แตงเทศโดยไม่ใช้ดิน เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกแก่ผู้สนใจที่อยากทำการเกษตร แต่มี
พื้นที่จำกัด หรือมีพื้นที่ที่ดินมีปัญหา หากจะทำการปรับปรุงแก้ไขต้องใช้เงินลงทุน
สูง

ต้นไม้ที่นิยมขุดย้ายต้นใหญ่มาขายนั้น ต้องมีคุณสมบัติร่วมกันบางอย่าง เช่น เป็น
ที่นิยมหรือต้องการของลูกค้า มีขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้พื้น
เมืองของไทย) มีความแข็งแรงทนทานต่อการตัดแต่งและขุดย้ายได้ดี จากคุณลักษณะ
ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนพบว่ามีต้นไม้ชนิดหนึ่งกำลังเป็นที่นิยมของผู้มีอาชีพขุดย้
ายต้นไม้ใหญ่จากธรรมชาติและลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือต้นตีนเป็ด

วิธีการปลูก
1. การเตรียมกล้า นำเมล็ดแตงเทศคลุกกับยากันเชื้อราแล้วนำไปบ่มในถาดเพาะ
เมล็ดนาน 36 ชั่วโมง คัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่มีรากงอกยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร
ปลูกในถ้วยเพาะที่บรรจุขุยมะพร้าว รดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้น
เพียงครึ่งหนึ่งของความเข้มข้นที่แสดงไว้ในข้อ 2 หลังการหยอดเมล็ดแล้ว 14 วัน จะ
ได้กล้าของแตงเทศที่พร้อมจะย้ายปลูกต่อไป


2. การย้ายปลูก
นำกล้าแตงเทศ (ข้อ 1) ย้ายลงปลูกในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของขุยมะพร้าวและแกลบ
สดในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกขนาดความจุ 15 ลิตร
ถุงละ 1 ต้น ให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นของแต่ละธาตุดังนี้ คือ (มก.
ต่อลิตร)
 
N ......168,
P ......24.8,
K ......172,

Ca ...160,
Mg... 38 M
S ......52,

Fe.... 7,
Mn ...1.1,
Zn.... 0.4,
Cu... 0.2,
B..... 0.4  และ
Mo.. 0.04

ตามลำดับ (Asher, 1975)
 
สารละลายธาตุอาหารพืชดังกล่าวจะบรรจุในถังพลาสติกขนาดจุ 100 ลิตร ที่วางอยู่สูง
จากพื้น 2 เมตร และจะถูกปล่อยให้กับต้นพืชแต่ละต้น โดยระบบน้ำหยดที่ควบคุม
ด้วยประตูเปิด-ปิดที่ถังสารละลายร่วมกับหัวน้ำหยด ดังแสดงในภาพที่ 1 และ 2 การ
ให้สารละลายดังกล่าวจะกระทำในช่วงเวลาประมาณ 8.00-17.00 น. ของทุกวัน ตลอด
ฤดูปลูกโดยมีปริมาณที่ให้เฉลี่ยแต่ละวันเท่ากับ 1 ลิตรต่อต้น

ผลการทดลอง
1. การเจริญเติบโต หลังการย้ายปลูก แตงเทศมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มออก
ดอกตัวผู้ดอกแรกที่อายุ 17 วัน และสามารถช่วยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียดอกแรกที่
27 วันหลังย้ายปลูก การเก็บเกี่ยวผลสามารถกระทำได้ภายใน 31-39 วันหลังการผสม

2. ผลผลิตและคุณภาพ น้ำหนักของผลแตงเทศที่เก็บเกี่ยวได้มีค่าความแปรปรวนอยู่
ระหว่าง 908-1391 กรัมต่อผล โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1162 กรัมต่อผล ในขณะที่ค่า
ความหวานวัดเป็นองศา Brix มีค่าอยู่ระหว่าง 9.8-13.0 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.7
 องศา Brix

3. การแต่งเถาและไว้ลูก ตัดแต่งเถาตามวิธีมาตรฐานสำหรับแตงเทศ แต่ละต้นไว้ลูก
เพียง 1 ลูก ในตำแหน่งของข้อที่อยู่ระหว่างข้อที่ 12 ถึงข้อที่ 15

4. มูลค่าการผลิต (1 ต้นต่อฤดูปลูก) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณสารละลายธาตุ
อาหารพืชที่แต่ละต้นใช้ตลอดฤดูปลูก ปรากฎว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70.7 ลิตรต่อต้น
ดังนั้น หากจะเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ของวิธีการปลูก
 โดยใช้ข้อมูลของสุรเดชและคณะที่รายงานไว้เมื่อปี 2535 ที่เตรียมสารละลายธาตุอา
หารพืชดังกล่าวจำนวน 100 ลิตร โดยนำปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ดังนี้คือ 12-60-0, 13-0-46,
15-0-0, 21-0-0, 46-0-0, unilateFe, combined unilate และดีเกลือ มาผสมกัน
ในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรากฎว่าต้นทุนเฉพาะปุ๋ยเคมีมีมูลค่าเพียง 5.66 บาท ฉะนั้น
ต้นทุนปุ๋ยสำหรับแตงเทศ 1 ต้นในการทดลองครั้งนี้จะมีมูลค่าเพียง 4.00 บาทเท่านั้น

kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=281 -








มนตรี แสนสุข โทร. (081) 846-7570

บุญเลื่อน พันธุ์งาม ปลูก แตงไทย เสริมรายได้ ปรับพื้นที่เพิ่มธาตุอาหารดิน

"แตงไทยแม่เอ๋ย แตงไทยแม่เอย

แตงไทยเขาใบใหญ่ๆ ปลูกไว้ในไร่ ให้ธาตุอาหารดิน"

แตงไทย ไม้ผลเถาเลื้อยตระกูลเดียวกันกับฟักแฟง แตงโม ไชโยโห่ฮิ้ว หรืออีกฉายาหนึ่งว่า
"แคนตาลูปเมืองไทย" รสชาติหวาน หอม ออกเย็นชื่นใจ คนโบราณชอบรับประทานแตง
ไทยกับน้ำกะทิ แถมใส่ลอดช่องเข้าไปอีก เป็นได้เจริญของหวานแน่

แตงไทย พืชผลไทยๆ มีปลูกกันมาแต่โบราณแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรปลูกแตงไทยเป็นแบบ
รายได้เสริม ปลูกเพื่อใช้เป็นพืชคลุมดิน หรือขณะที่ปลูกพืชอื่นเป็นพืชหลักในแปลง สาเหตุ
ที่ไม่ค่อยมีใครปลูกแตงไทยเป็นพืชหลัก ก็เพราะความนิยมบริโภคแตงไทยไม่ค่อยมากนัก
สู้ปลูกแตงโมเก็บผลขายไม่ได้ เกษตรกรนิยมปลูกแตงไทยเป็นพืชเสริมคลุมดินเท่านั้น

หลายๆ คนบอกว่า ปลูกแตงไทยมีปัญหาเรื่องแมลงด้วง หรือแมลงปีกแข็งที่ชอบมาลุยกัด
กินใบอ่อน ทำให้ต้องใช้สารเคมีเข้ามาช่วยป้องกันใบอ่อน ใครขืนใจบุญปล่อยให้ด้วงแมลง
ปีกแข็งกัดกินใบอ่อนแตงไทย รับรองไม่มีวันจะได้ผลผลิตแตงไทยชัวร์ และหากใช้สารเคมี
เข้ามาช่วยเมื่อใด นั่นก็หมายถึงต้นทุนการผลิตที่มีมากขึ้น พอถึงคราวเก็บเกี่ยว ผลผลิตคิด
คำนวณรายได้แทบไม่คุ้มกับที่ลงทุนไปเลย แม้จะปลูกไว้เป็นพืชคลุมดินก็ตาม

ในรายที่ปลูกแตงไทยเป็นสัดส่วนมุ่งสู่การปลูกเพื่อเก็บผลขายเป็นคราวๆ ไป ปัญหาก็อยู่ที่
แรกเริ่มเมื่อต้นแตงไทยแตกใบอ่อนออกมาเช่นกัน แต่หากรักษาใบอ่อนได้ก็หมดปัญหาไป
หลังเก็บเกี่ยวผลแตงไทยขายไปแล้ว เกษตรกรจะไถต้นแตงไทย ทำเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มธาตุ
อาหารในดินได้ดีที่สุด เช่นเดียวกันกับพืชตระกูลถั่วทั่วๆ ไป

คุณบุญเลื่อน พันธุ์งาม เกษตรกรคนเก่งแห่งบ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เลือกปลูกแตงไทยเป็นพืชเสริมรายได้ยามพัก
พื้นที่ทำนา คุณบุญเลื่อนบอกว่า ปีนี้แล้งมากๆ ทางการให้เกษตรกรพักการทำนาเอาไว้ชั่ว
คราว รอให้ฝนฟ้ามาตามฤดูกาลเสียก่อนจึงค่อยปลูกข้าวกันใหม่ ในพื้นที่ตำบลจันเสนแห่งนี้
เกษตรกรทำนาปลูกข้าวกันปีละ 2-3 ครั้ง อาศัยน้ำจากธรรมชาติและแหล่งน้ำจากชล
ประทาน การทำนาปลูกข้าวผลผลิตและรายได้ค่อนข้างดี

คุณบุญเลื่อน กล่าวอีกว่า เกษตรกรในพื้นที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็น "ศูนย์ข้าวชุมชน" ขึ้น
มา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์ขยาย ป้อนให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์ และชัยนาท
ส่วนหนึ่งก็จำหน่ายแก่เกษตรกรที่ต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูก และส่วนหนึ่งก็เก็บไว้
บริโภคเอง ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1

คุณบุญเลื่อน บอกว่า มาปีนี้ทางการให้เลื่อนการทำนาออกไปเพราะน้ำแล้งมาก เกษตรกรจึง
พักนา หันมาปลูกพืชตระกูลถั่วและอื่นๆ บางรายก็ปล่อยที่นาทิ้งไว้เป็นการตากที่นาไปในตัว
เพราะที่ผ่านๆ มาผืนนาแทบจะไม่ได้ว่างจากการทำนาปลูกข้าวเลย สำหรับตนเลือกที่จะ
ปลูกแตงไทย เพื่อนบ้านหลายรายเลือกปลูกถั่วเขียวผิวมัน

"ในพื้นที่ 5 ไร่ เริ่มจากไถแล้วก็ตากดินให้แห้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไถกลบแล้ว
ยกร่อง หลังร่องกว้าง 2 เมตร เป็นทางเดินระหว่างกลางประมาณ 1 เมตร"

คุณบุญเลื่อน กล่าวและว่า ขณะไถกลบจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์เติมธาตุอาหารให้กับดินเป็นการรอง
พื้นด้วยปุ๋ยเสียก่อนก็ได้ พอดินแห้งดีพร้อมปลูกพืช ก็ตีหลุมเป็นแถวคู่ ระยะห่าง
1.50 x 1.50 เมตร ปลูกริมหลังร่อง เว้นช่องกลางเป็นทางเดินเพื่อลากสายยางเข้าไป
รดน้ำอย่างทั่วถึงได้ หยอดเมล็ดแตงไทยประมาณ 10 เมล็ด ต่อหลุมปลูก กลบดินพอแน่น
แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

หลังหยอดเมล็ดประมาณ 5-10 วัน ต้นกล้าจะงอกขึ้นมา รอจนต้นกล้าแตกใบอ่อน 2 ใบ
ใส่ปุ๋ยยูเรียบางๆ ให้ห่างจากต้นพอสมควร ระยะหลังนี้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก ใส่เป็นการกระตุ้นให้
ต้นกล้าเร่งแตกใบแตกยอดออกมาเท่านั้น ช่วงนี้รดน้ำ 2-3 วันครั้ง พอต้นโตขึ้น ค่อยๆ ห่าง
น้ำได้เลย

แตงไทยจะเจริญเติบโตเร็วมาก ปัญหาช่วงที่ต้นกำลังแตกใบอ่อน พบมากที่สุดก็คือแมลง
ด้วงปีกแข็งหรือแมงเต่าชนิดต่างๆ จะมารุมกัดกินใบอ่อน พืชตระกูลแตง หรือไม้เถาเลื้อยจะ
เจอแมงเต่า หรือด้วงปีกแข็งต่างๆ ลงทำลาย เกษตรกรจะต้องฉีดยาป้องกันเอาไว้ก่อนเลย
ตั้งแต่ต้นกล้างอกจากเมล็ด มิเช่นนั้นใบอ่อนจะถูกกัดกินจนต้นตายในที่สุด ต้องดูแลใบอ่อน
ไปเรื่อยๆ ฉีดยาคลุม 7-10 วัน ต่อครั้ง จนกระทั่งต้นแตงไทยโต 1 เดือน ใบเป็นใบแก่
หมดแล้วจึงหยุดยาได้

แตงไทยเป็นพืชไม้เลื้อยคลุมหน้าดิน เถาจะทอดยอดเลื้อยไปทั่วแปลง พออายุ 1 เดือน
ต้นจะเริ่มติดดอกติดผลเล็กๆ ช่วงนี้แมงเต่าไม่สนใจ ไม่มารบกวนแล้ว เกษตรกรควรฉีด
ฮอร์โมนทางใบ ช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ทางดินใส่ปุ๋ยสูตร 15-
15-15 ผสมยูเรีย อัตราส่วน 1:1 ปุ๋ยยูเรียจะเร่งให้ผลโตเร็ว

คุณบุญเลื่อนกล่าวต่อไปอีกว่า ฮอร์โมนนั้นจะทำใช้เองก็ได้ หรือจะหาซื้อมาใส่ก็สะดวก ฉีด
ฮอร์โมน 10วันครั้ง ประมาณ 3 ครั้ง ก็เก็บผลผลิตได้ ระยะติดผล ใบแตงไทยจะใหญ่เขียว
เข้มแสดงว่าต้นสมบูรณ์เต็มที่ แต่หากใบเหลืองแห้ง แสดงว่าต้นแตงไทยขาดธาตุอาหาร
ต้องใส่ปุ๋ยและฉีดฮอร์โมนช่วย ไม่เช่นนั้นจะได้ผลผลิตไม่ดี เสียเวลาปลูกเปล่าๆ

"ปกติแตงไทยใช้เวลา 60 วัน หลังปลูก สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว แต่ที่ทำอยู่ใช้เวลา
เพียง 55 วันเท่านั้น สามารถเก็บผลผลิตแตงไทยรุ่นแรกได้ ทั้งนี้อาจจะมาจากดินที่ปลูกมี
ธาตุอาหารสมบูรณ์ ทำให้พืชโตไว เก็บผลผลิตได้เร็วก็เป็นได้"

คุณบุญเลื่อน กล่าวและว่า เก็บผลผลิตชุดแรก รุ่นแรกหรือเรียกกันว่า "ตัดมีดแรก" ไปแล้ว
ก็จะมีผลผลิตรุ่นต่อๆ ไปทยอยให้ตัดอีก ไม่ได้เก็บผลครั้งเดียวหมดทั้งแปลง มีดแรกตัดได้
700 กว่ากิโล มีดสองตัดผลได้ 2 ตันกว่า มีดสามได้ 3 ตันกว่า มีดสี่ตัดได้ 2 ตันกว่า
และมีดสุดท้ายมีดที่ห้าได้อีกตันกว่า รวมแล้วปลูกแตงไทย 5 ไร่ ได้ผลผลิตราว 7 ตัน
เกือบ 8 ตัน ส่งขายตันละ 4,000 บาท มีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงหน้าสวนเลย

หลังจากตัดผลหมด ไถกลบต้นทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้เลย พอไถกลบก็ได้เวลาฝนมา เตรียม
ทำนารุ่นต่อไปรายได้จากการขายแตงไทยเป็นค่าปุ๋ย ค่ายาและค่าแรงงานในการทำนารุ่นต่อ
ไปสบายๆ

คุณบุญเลื่อน บอกว่า ปลูกแตงไทยไม่ยุ่งยาก ถ้ามีตลาดเข้ามารับซื้อถึงที่ยิ่งสบายใหญ่
แถมทำให้ดินฟื้นจากสภาพเสื่อมโทรม เพิ่มธาตุอาหารในดินได้ดีอีกด้วย ปัญหาของแตง
ไทยไม่จุกจิกเหมือนกับปัญหาของแตงโม

คุณบุญเลื่อน แนะนำการดูแตงไทยว่า แตงไทยที่สุกแก่จัดดูที่ผล ถ้าผลสีแดงเรื่อๆ แสดงว่า
ยังแก่ไม่เต็มที่ ต้องให้ผลสีแดงทั้งผลจึงจะแก่จัด เวลารับประทานเลือกผลแก่จัดจะหวาน
หอม รสชาติออกหวานเย็นๆ อร่อยมาก รับประทานกับน้ำกะทิ ใช้น้ำตาลปี๊บผสมกะทิสด ใส่
เกลือป่นเล็กน้อยพอรสออกเข้มข้น ตัดแตงไทยเป็นชิ้นๆ พอคำ ใส่น้ำกะทิ น้ำแข็งป่น จะใส่
ลอดช่องหรือเผือกหอมต้มตัดเป็นชิ้นพอคำเติมลงไปก็ยังไหว สูตรนี้คนโบราณชอบนักแล

คุณบุญเลื่อน บอกว่า พ่อค้าที่เข้ามารับซื้อ เขามักจะบ่มแก๊สแตงไทยระหว่างขนส่ง เขาจะ
เก็บแตงไทยขึ้นไปเรียงบนรถ แล้วเอาแก๊สห่อกระดาษใส่เป็นชั้นๆ เก็บแตงไทยบ่ายโมง
วันนี้ พอบ่ายวันพรุ่งนี้ขายได้แตงไทยจะสุกเสมอกัน เขาจะไม่เก็บแตงไทยสุกคาต้นเอาไป
ขาย ถ้าขายไม่ทันจะเสียหายได้

สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจจะปลูกแตงไทยเสริมพื้นที่ก็ได้ จะปลูกเป็นพืชคลุม
ดิน ขณะปลูกไม้ผลอื่นๆ ก็ดี แตงไทยเป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลา 2 เดือน ก็เก็บผล
ผลิตได้แล้ว พอเก็บผลหมดให้ไถกลบ ต้นแตงไทยจะเป็นปุ๋ยพืชสดดีที่สุด


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05040150853&srcday=2010-08-15&search=no