-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 357 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 1/2


คะน้า


1.พันธุ์ :
พันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกแบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ คือ

1.1 คะน้าใบ มีลักษณะต้นอวบใหญ่ ก้านเล็ก ใบกลมหนา กรอบ ทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดี มีขายตามร้านขายเมล็ดพันธุ์

1.2 คะน้ายอดหรือคะน้าก้าน ลักษณะต้นอวบใหญ่ มีดอกสีขาว ใบแหลม ก้านใหญ่ มีรสอร่อย มีความต้านทานโรค มีขายตามร้านขายเมล็ดพันธุ์


2. การเตรียมดิน
การปลูกหรือหว่านคะน้าเพื่อเป็นการค้า ควรไถดินตาก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ หรือปูนขาวด้วยเพื่อปรับปรุงดิน แล้วพรวนดินยกร่อง ด้วยรถแทรคเตอร์


3. วิธีการปลูก
เกษตรกรที่ปลูกเป็นการค้า จะนิยมหว่านเมล็ดคะน้า หรือถ้าทำเป็นจำนวนไร่มากๆ จะใช้เครื่องหว่านเมล็ดพันธุ์ สะดวกและรวดเร็ว และสม่ำเสมอ แล้วคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม จนอายุประมาณ 20-25 วัน ก็ถอนแยก ถ้าขึ้นถี่เกินไป ควรถอนแยกห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือมีใบจริงประมาณ 2 คู่


4. การให้น้ำ
ควรให้น้ำคะน้าระยะแรกก่อนงอก เช้า-เย็น เมื่องอกแล้วพิจารณารดน้ำทุกวัน หรือหากมีความชื้นมากก็ควรรดวันเว้นวัน และควรให้น้ำสม่ำเสมอ ระยะฟื้นก่อนตัดประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ได้น้ำหนัก


5. การใส่ปุ๋ย
พื้นที่ที่ปลูกคะน้า หากเป้นพื้นที่ใหม่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 64-0-0 เพราะหากคะน้างามมากจะให้เกิดโรคง่าย ควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 โดยหว่านมาก ๆ และระยะหลัง หรืออายุประมาณ 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก.ก/ไร่


6. การเก็บเกี่ยว
เกษตรกรที่ปลูกเป็นการค้า จะนิยมเก็บเกี่ยวเมื่อายุ 50-55 วัน โดยตัดให้ชิดโคน หักใบแก่ทิ้ง บรรจุถุงพลาสติกเจาะรู ถุงละ 5 ก.ก หรือใส่เข่ง เพื่อสะดวกในการขนส่ง พ่อค้าจะมารับซื้อถึงสวน หรือเป็นการเหมาเป็นไร่ ตามราคาท้องตลาด


7. โรคและแมลง
ที่สำคัญโรคราน้ำค้าง ใบไหม้ หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด หนอนกระทู้ผัก ควรใช้สารเคมี อะเชทตามิพริด โปรฟิโนฟอส แลมต้าไซฮาโลทริน บาซิลลัส ทูริงเวนซิส อะมาเม็คติน หรือสปิโนแสค ตามการระบาดของแมลงศัตรู


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






การปลูกคะน้า


ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมา โดยปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอดเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดี ที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน


การเพาะกล้า

1. การเตรียมแปลงเพาะ
แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม

2.
การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้า
ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว

3.
การเพาะ
หว่านเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวรดน้ำ
         
4. การดูแลต้นกล้า
ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป ผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ำแล้วนำไปรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป


วิธีการปลูก

การปลูกคะน้านิยมปลูก 2 แบบ คือ 
1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ทำเป็นการค้า 
2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคนให้น้ำโดยใช้บัวรดน้ำ
         
ระยะปลูก ควรให้มีระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20 X 20 เซนติเมตร
การเตรียมแปลงปลูก มีวิธีการดังนี้
1. ขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร
2. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
3. นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
4. พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านลงในแปลง เพื่อไม่ให้เมล็ดตกลงไปในดิน เพราะจะไม่งอกหรืองอกยากมาก
5. ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

         
ในการปลูกคะน้านิยมหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงมากกว่าย้ายกล้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงโดยให้เมล็ดห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2. ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย
3. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ 
4. รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน
5. หลังจากต้นคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มถอนแยก โดยเลือกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
6. เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 30 วัน ให้ถอนแยกครั้งที่ 2 ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตรต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออก แล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
7. ในการถอนแยกคะน้าแต่ละครั้งควรกำจัดวัชพืชไปด้วย


การให้น้ำ

1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น


การใส่ปุ๋ย

คะน้าต้องการปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง อาจใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ หลังจากถอนแยกครั้งแรกและหลังจากถอนแยกครั้งที่ 2


การเก็บเกี่ยวผลผลิต

อายุการเก็บเกี่ยวของคะน้าอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้
1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง 
3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง
         
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้ 
1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด



ที่มา :
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2345105100/02.htm









คะน้ายอดดอยคำ
(Doi Kham Chinese Kale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea var. alboglabra คะน้ายอด หรือคะน้าก้าน จัดอยู่ในตระกูล Cruciferaceae มีแหล่งกำเนิดแถบเอเชียไมเนอร์

ลักษณะโดยทั่วไปของคะน้ายอด หรือคะน้าก้าน ลำต้น และก้านใบ อวบ ใหญ่ มีข้อตามลำต้น ใบค่อนข้างแหลม เรียบ สีเขียวอมเทา จำนวนใบต่อต้นน้อยกว่าคะน้าทั่วไป และปล้องยาวกว่า มีน้ำหนักส่วนต้นและก้านมากกว่าใบ ตามักจะแตกออกเป็นยอดใหม่ หลังจากเก็บยอดแรกที่มีช่อดอกตูมติด


สภาพแวดล้อมในการปลูกคะน้ายอด

โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูกคะน้ายอด อยู่ระหว่าง 20-25 ‘C การปลูกในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15′C จะทำให้การเจริญเติบโตช้า ลำต้นและใบอวบใหญ่กว่าปกติ ข้อถี่ การปลูกในสภาพอากาศร้อนสูงกว่า 30′C คุณภาพผลผลิตต่ำ เยื่อใยสูง เหนียว จำเป็นต้องให้น้ำมากกว่าปกติ สำหรับพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-800 เมตร สามารถปลูกได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิการยน-กุมภาพันธ์ ส่วนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

สำหรับดินปลูกควรร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่างดินควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 หากพื้นที่ปลูกเป็นกรดควรปรับด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ดินปลูกควรมีความชื้นสูงมากกว่าพืชทั่วไป ดังนั้นต้องให้นน้ำอย่างสม่ำเสมอ และพอเพียง และำ้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ หากขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต เส้นใยมาก รสชาติไม่อร่อย


การใช้ประโยชน์ และคุณค่าอาหารของคะน้ายอด

นิยมนำมาผัด หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารประเภทยำ คะน้าโดยทั่วไปมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังมีวิตามินซีสูงกว่าผักใบอื่นๆ โดยทั่วไป นับเป็นผักที่มีคุณค่ายิ่ง ช่วบบำรุงสายตา ผิวพรรณ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคกระดูกบาง




การปฏิบัติดูแลรักษาคะน้ายอด ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


การเตรียมกล้า
มี 2 วิธี เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่าง ทราย : ขุยมะพร้าว : หน้าดิน อัตราส่วน 2:1:1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 18-21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก

การเตรียมดิน
ขุดดินลึก 10-15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วัน โรยปูนขาวหรือโดโลไมท์อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก(มูลไก่) หรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

การปลูก
ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุ 18-21 วัน ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30×30 ซม. ฤดูฝนและหนาว 30×40 ซม. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวควรใช้ระยะปลูก 25×25 ซม.

การให้น้ำ
ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ 1-2 วัน/ครั้ง

การให้ปุ๋ย
เนื่องจากคะน้ายอดเป็นผักกินใบ ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูง

  1. ใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7 วัน หลังปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ใส่บริเวณลำต้น
  2. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังปลูก 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสม 15-15-15 อัตรา 1 : 2 ผสมกัน ใช้อัตรา 50 กรัม/ตร.ม.
  3. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 21 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 30-20-10 อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้น

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 45-60 วัน ตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า หรือเมื่อเริ่มมีดอก





โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของคะน้ายอดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 18-21 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,

ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,

ระยะเจริญเติบโต 40-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,

ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,



ที่มา  : คู่มือการปลูกผักบนที่สูง
 



คะน้าฮ่องกง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea var. alboglara จัดเป็นคะน้ายอดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลกะหล่ำมีต้นกำเนิดจากปรเทศจีน ลักษณะลำต้นและใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะเรียว ไม่กลม ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าคะน้า ยอดดอยคำ กรอบไม่เป็นเสี้ยน ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

คะน้าฮ่องกง
ตอบสนองต่ออุณหภูมิมากกว่าคะน้าดอยคำ กล่าวคือ กาะเพาะกล้าในช่วงอุณหภูมิต่ำหากย้ายลงแปลง ที่อุณหภูมิสูงขึ้น เล็กน้อย ต้นกล้าจะแทงช่อดอก ในขณะยังเล็ก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเพาะกล้าในที่มีอุณหภูมิต่ำ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อ การปลูก และผลผลิตที่มีคุณภาพควรอยู่ในช่วง 15-28′C สำหรับดินที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินร่วน มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อปรับโครงสร้างดิน โดยทั่วไปค่าความเป็นกรด-ด่างของดินที่เหมาะสม ควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ดินมีความชื้นสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป และควรได้รับแสงอย่างพอเพียง


การใช้ประโยชน์และคุณค่าอาหาร

นิยมนำคะน้าฮ่องกงมาผัด หรือนำมาเป็นเครื่องเคียงกับอาการประเภทยำ มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมาะเร็ง นอกจากนั้นยังมี วิตามิน และแคลเซียมมาก ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคกระดูกบาง




การปฏิบัติดูแลรักษาคะน้าฮ่องกงในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


การเตรียมกล้า
มี 2 วิธี เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทราย : ขุยมะพร้าว : ดิน อัตราส่วน 2:1:1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากมีอายุประมาณ 18-21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก


การเตรียมดิน
ขุดดินลึก 10-15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก (มูลไก่) หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน


การปลูก ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง

  1. ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30×30 ซม.
  2. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวใช้ระยะปลูกแคลลง 15×15 ซม.


การให้น้ำ
ให้น้ำแบบสปริงเกอร์


การให้ปุ๋ย
เนื้องจากคะน้าฮ่องกงเป็นผักกินใบในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนค่อนข้างสูง

  1. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
    หลังจากย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม.
  2. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
    หลังจากย้ายปลูก 14-20 วัน 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 1:2 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม.

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวคะน้าฮ่องกงเมื่ออายุ 35-45 วัน ตั้งแต่เริ่มเพาะ ถ้าอากาศเย็นจะออกดอกเร็ว




โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของคะน้าฮ่องกง ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต


ระยะกล้า 18-21 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,


ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,


ระยะเจริญเติบโต 40-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,


ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,


ที่มา  :  ไม่ระบุ




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©