-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 605 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





ขิง


1.พันธุ์
ขิงมีการปลูกกระจายไปทั่วโลกจึงมีคุณภาพแตกต่างกันตามลักษณะ เช่น ความเผ็ด ปริมาณเสี้ยน รสชาติ เช่นพันธุ์ที่มีปลูกต่างประเทศ ตัวอย่าง ขิงจาไมก้า, ขิงอินเดีย, ขิงแอฟริกา, ขิงจีน, ขิงญี่ปุ่น, ขิงไทย

1.1 ขิงไทย แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ ขิงเล็ก ขิงเผ็ด หรือขิงดำ และอีกพวกคือขิงใหญ่ ขิงหยวก หรือขิงขาว


2. การเตรียมดิน
การปลูกขิงแบ่งเป็น 2 พื้นที่คือ แบบพื้นราบ และที่เชิงเขาที่มีความราดเอียง การปฏิบัติคือทำการไถดินตาก 7 วัน พรวนดินให้ร่วนซุย การปลูกแบบพื้นราบยกร่องสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นรูปสามเหลี่ยม ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขา หลังจากไถดิน พรวนดินแล้วทำการยกร่อง หรือแหวกร่องไม่ลึกมาก แบบขั้นบันไดระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวประมาณ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเคล้ากับดินก่อนยกร่อง รดน้ำทิ้งไว้ 15-30 วัน ค่อยลงมือปลูก


3. การปลูก
แบ่งตามลักษณะการปลูกได้ 2 วิธีคือ

3.1 การปลูกโดยอาศัยน้ำฝน จากการเตรียมร่องแล้ว นำท่อนพันธุ์วางลงในหลุมปลูก หรือร่องที่แหวกไว้ ระยะห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร แล้วทำการกลบดิน และนำฟางข้าว ใบหญ้าคา หรือใบอ้อยคลุมในร่องปลูกอีกทีเพื่อป้องกันวัชพืชอื่นๆ ขึ้นรบกวน ช่วยบังแดดไม่ให้หน่ออ่อนไหม้ และช่วยเก็บความชื้น

3.2 การปลูกโดยอาศัยน้ำชลประทาน โดยการปล่อยน้ำเข้าร่องที่ปลูก ส่วนการปลูกจะปลูกบนสันร่องที่สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยขุดหลุมลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างกัน 30-35 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 50-70 เซนติเมตร โดยไม่ต้องคลุมวัสดุต่างๆ


4. การให้น้ำ
ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือ แบบอาศัยน้ำฝน และการให้น้ำแบบชลประทาน โดยเฉพาะการให้น้ำแบบชลประทาน ก็พิจารณาการให้น้ำขิงไม่ให้เปียกมาก หากเปียกมากทำให้เน่าได้ และถ้าแห้งมากก็ทำให้แคระแกรน การเจริญเติบโตล่าช้าได้


5. การใส่ปุ๋ย
เกษตรกรบางรายจะใส่ปุ๋ยคอก เมื่ออายุขิงได้ 2 เดือนและเมื่อขิงอายุ 4 เดือน และจะใส่ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15 เมื่ออายุ 2 เดือน และ 4 เดือนใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ เท่ากัน โดยจะพูนโคนขิงทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย ระวังอย่าให้ปุ๋ยเคมีถูกหัวพันธุ์ เพราะจะทำให้หัวพันธุ์เน่าได้


6. การเก็บเกี่ยว
สังเกตุดูว่าต้นขิง ใบขิง มีอาการเหลืองแสดงว่าขิงเริ่มแก่ จนอายุประมาณ 8-12 เดือน ก็ทำการถอนแล้วนำมาตัดต้นและแต่งแง่ง ล้างน้ำรอส่งเป็นขิงแก่ ส่วนการขายเป็นขิงอ่อน หากราคาดีจะถอนขายเมืออายุประมาณ 4-6 เดือน ส่วนมากจะอยู่ประมาณเดือน กรกฎาคม- สิงหาคม เมื่อถอนแล้วนำมาตัดต้นแต่งแง่งและล้างน้ำรอส่งตลาด


7. โรคขิงที่สำคัญ
ได้แก่ โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด โรครากปม โรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อรา และโรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันกำจัดโดยการฉีพพ่นด้วยเบนเลท รองก้นกลุมด้วยคาร์โบฟูราน 3 จี ใส่ปูนขาวในการเตรียมดินประมาณ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ แช่ท่อนพันธุ์ด้วยยาดูปราริท อัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน นาน 5 นาที


8. แมลงศัตรูขิง
ได้แก่ หนอน และตั๊กแตนกินใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไส้เดือนฝอย  ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85, โตกุไธออน และจุ่มท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเซฟวิน 85 ตามลำดับ


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร






ขิง

การผลิตขิงที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และปลอดศัตรูพืช

1. การผลิตขิงขนาดเล็กปลอดโรค
2. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
3. การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องปลอดภัย                       
4. การจัดการเพื่อการผลิตขิงที่ปลอดภัย



เนื้อหา

1. การผลิตขิงขนาดเล็กปลอดโรค
ขิงเป็นพืชเศรษฐกิจซึ่งมีคุณค่าทั้งในเชิงอาหารและเครื่องเทศที่สำคัญของโลก ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต เพื่อการส่งออกเป็นมูลค่า หลายร้อยล้านบาทต่อปี ปริมาณการผลิตขิงในประเทศไทยร้อยละ 65 ถูกผลิตเป็นขิงอ่อน โดยร้อยละ 40 ผลิตเป็นขิงดองและร้อยละ 25 ใช้บริโภคสด ผลผลิตอีกร้อยละ 35 ผลิตเป็นขิงแก่ โดยร้อยละ 20 ใช้บริโภคสด และร้อยละ 15 ใช้ทำพันธุ์  ดังนั้นอุตสาหกรรมที่นำขิงอ่อนไปใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขิงดอง มีตลาดสำคัญ คือประเทศญี่ปุ่น  และปัจจุบันการผลิตขิงดอง ประสบกับปัญหาเรื่องคุณภาพของขิงที่มีขนาดใหญ่เกินไป มีหลายแง่งในหัวเดียวกัน  มีคุณภาพของขิงที่อ่อนและแก่ไม่สม่ำเสมอกัน  มีปริมาณเสี้ยนมาก  และมีโรคติดมากับแง่ง  รวมถึงฤดูการผลิตที่สามารถผลิตได้ปีละ 1 ครั้ง  โรงงานจึงต้องมีการรวบรวมและการเก็บสำรองขิงอ่อน  เพื่อทำการผลิตขิงดองตลอดปี  ทำให้ขิงอ่อนที่เก็บสำรองไว้ในระยะเวลาที่นานมีคุณาภาพที่ลดลง  และมีการคัดทิ้ง  มีผลต่อการเพิ่มต้นทุนการผลิต                               

ดังนั้นวิธีการแก้ คือ การใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค  ร่วมกับการเขตกรรมที่ถูกต้อง  วิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถสร้างหัวพันธุ์ปลอดโรคได้ดีที่สุด คือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและชักนำให้เกิดหัว ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถผลิตหัวพันธุ์ที่มีคุณภาพปราศจากโรค  และยังสามารถผลิตได้จำนวนมาก การผลิตขิงเล็กปลอดโรค โดยผ่านการเพาะเลี้ยงพืช และการปลูกในแปลงเป็นเวลา 3 เดือน ขิงขนาดเล็กปลอดโรคที่ผลิตได้มีคุณภาพที่สม่ำเสมอ สามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต  ผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีเทคโนโลยีการผลิตขิงขนาดเล็กปลอดโรคเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของผลผลิตที่สม่ำเสมอของขิงอ่อนที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขิงดองในระบบอุตสาหกรรม รวมทั้งขนาดขิงที่มีขนาดเล็กยังสามารถที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงให้มีรูปแบบใหม่ เช่น ขิงดองขนาดเล็ก ขิงเคลือบน้ำตาล และขิงเคลือบช็อกโกแลต เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์  และผลผลิตเพื่อการเปิดตลาดการส่งออกในอนาคต  ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ  และเป็นความสามารถของนักวิจัยไทยที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมาได้สำเร็จและยื่นขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีแล้ว


ข้อดีของการนำเทคโนโลยีเข้ามาผลิตขิงเล็กปลอดโรค
1. สามารถนำลงปลูกในสภาพธรรมชาติ ได้โดยไม่ต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ในการย้ายต้นขิงออกจากขวดและมีอัตราการรอดชีวิตที่สูง
2. ง่ายต่อการเก็บรักษาต้นพันธุ์ เพื่อใช้ปลูกในฤดูและนอกฤดู
3. ง่ายต่อการขนส่งและกระจายพันธุ์
4. ใช้พื้นที่ในการผลิตน้อย ทั้งในการผลิตท่อนพันธุ์และการผลิตขิงอ่อนในธรรมชาติ ช่วยลดระยะเวลาในการปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ และลดการดูแลรักษา






การเปรียบเทียบการใช้ท่อนพันธุ์ขิงขนาดเล็กปลอดโรค กับการใช้ท่อนพันธุ์ที่เก็บจากแปลงเกษตรกร

           
ท่อนพันธุ์ขิงขนาดเล็กปลอดโรค
1. มีความปลอดโรค ที่เกิดจากไวรัส และแบคทีเรีย
2. ขั้นตอนการปลูก และการรอดชีวิตหลังการปลูกในธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการย้ายปลูกที่ซับซ้อน มีการรอดชีวิตที่ระดับ 100%
3. เวลาที่ใช้ปลูกจนได้ขนาดหัวตามมาตรฐานเพื่อการบริโภค และการแปรรูป สามารถผลิตได้ปีละ 3-4 ครั้ง
4. การจัดการในระบบการผลิต โดยระบบการผลิตท่อนพันธุ์ในปริมาณมาก มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน สามารถผลิตในปริมาณมาก ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
5. การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ก่อนการจำหน่าย จะเก็บรักษาได้ง่าย เป็นระยะเวลานาน
6. การขนส่งจะเสียหายน้อย ประหยัดพื้นที่และมีค่าใช้จ่ายต่ำ
7. การใช้ขนาดของพื้นที่ปลูกจะใช้น้อย ทำให้สามารถควบคุมโรคดี และลดการบุกรุกพื้นที่ป่า เนื่องจากการย้ายพื้นที่ปลูก



ท่อนพันธุ์ขิงขนาดเล็กปลอดโรค
1. ไม่ปลอดโรค ที่เกิดจากไวรัส และแบคทีเรีย
2. การปลูก จะปลูกในสภาพธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการย้ายปลูกที่ซับซ้อน มีการรอดชีวิตที่ระดับ  100%
3. เวลาที่ใช้ปลูกสามารถผลิตได้ปีละครั้ง
4. มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน สามารถผลิตในปริมาณมากได้
5. การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ได้ง่าย เป็นระยะเวลานาน
6. การขนส่งจะเสียหายน้อย ประหยัดพื้นที่และมีค่าใช้จ่ายต่ำ
7. การใช้ขนาดของพื้นที่ปลูกมาก และบุกรุกพื้นที่ป่า เนื่องจากการย้ายพื้นที่ปลูก


2. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชผัก จำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานทางด้านชีววิทยาของแมลงด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยชีวประวัติพืชอาหาร ลักษณะการทำลายพืชอาศัย ศัตรูธรรมชาติ เขตการแพร่กระจาย ตลอดจนนิเวศวิทยา หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับสภาพแวดล้อมในแหล่งนั้น  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน  ซึ่งเป็นการนำเอาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกับวิธีทางชีวภาพ  คือ  การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ศัตรูธรรมชาติ เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้  ผู้บริโภค รวมไปถึงสภาพแวดล้อม และความสมดุลของธรรมชาติ

               
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ  ควรใช้หลายๆวิธีผสมผสานกันทั้งวิธีกล วิธีการใช้สารชีวินทรีย์  สารธรรมชาติ  และสารเคมีร่วมกันในการป้องกำจัด  ควบคู่กันไปกับการจัดการที่ดี

               


วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักที่ได้ผลดี มีดังนี้

1. การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล

2. การป้องกันกำจัดโดยศัตรูธรรมชาติ

3. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารชีวินทรีย์

4. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี

               


ขิง
จะใช้การป้องกันกำจัดโดยอาศัยศัตรูธรรมชาติ  โดยการใช้สารชีวินทรีย์ การใช้สารชีวินทรีย์ เป็นการควบคุมศัตรูพืชผักโดยใช้สิ่งมีชีวิต ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma  spp.  หรือใช้ศัตรูธรรมชาติอื่น  เช่น  แมลงตัวห้ำ  ตัวเบียน  เป็นต้น และสำหรับขิงจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  เป็นเชื้อราชั้นสูงชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปตามดิน และบนเศษซากอินทรีย์วัตถุตามธรรมชาติ บางชนิดมีประสิทธิภาพสุงในการเป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดินหลายชนิด เชื้อราชนิดนี้มีการเจริญสร้างเส้นใยสีขาวได้รวดเร็ว และสร้างส่วนขยายพันธุ์  ที่เรียกว่า  “สปอร์”  จำนวนมากรวมกันเป็นกลุ่มสีเขียว  สามารถมีชีวิตรอดได้ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  โดยอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุ เศษซากพืชและเชื้อโรคการนำเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา มาใช้ส่งเสริมเพื่อควบคุมศัตรูพืช นอกจากจะเป็นการควบคุมโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว  ยังเป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อราชนิดนี้ในธรรมชาติ  ทำให้เชื้อโรคพืชถูกลดปริมาณให้ต่ำลง  จนอยู่ในระดับที่ไม่ค่อยให้เกิดความเสียหายแก่พืช  เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย  การควบคุมโรคของเกษตรกรลง  และช่วยพื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยลดมลภาวะของสารเคมีควบคุมโรคในดินลง  เกิดความปลอดภัยต่อสิงมีชีวิตในสภาพแวดล้อม

               
สำหรับขิงส่วนใหญ่จะเป็นโรค  เน่าคอดิน ราคเน่า เหี่ยวเหลือง  ดังนั้นการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควมคุมโรคพืชจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง



วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคของขิง
- โรยดินก่อนปลูก 7-10 วัน อัตรา 10 ถึง 15 กิโลกรัมต่อไร่

- รองก้นหลุมก่อนปลูก 1 สัปดาห์ 100กรัม/หลุม หรือโรยรอบโคนต้น หลังปลูก1 สัปดาห์ และก่อนพืชออกดอก10-15วัน อัตรา 100กรัม/ต้น

- การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ให้มีประสิทธิภาพดี มีการควบคุมศัตรูขิง เกษตรกรควรปฏิบัติ ดังนี้

               
3.1 บริเวณที่จะใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ควรไม่มีน้ำท่วมขังดินไม่แฉะ เนื่องจากเป็นสภาพที่
ไม่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

3.2 ปรับปรุงให้มีสภาพความเป็นกรด-ด่างเป็น 5.3-6.5  โดยใช้แคลเซียมไนเตรท (CaNO3)

3.3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงดินดินเพื่อปรับปรุงลักษณะโครงสร้างดิน

3.4 ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าดรยลงบนดิน ควรให้ความชื้น โดยรดน้ำก่อนโรยเชื้อรา และเมื่อโรยเชื้อราแล้วควรใช้ใบไม้แห้งปิดบนเชื้อราเพื่อป้องกันหรือลดการถูกทำลายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าโดยแสงแดด

3.5 ดินในแปลงหรือกระบะที่นำมาจากบริเวณที่เคยเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ต่างๆ ก่อนที่จะทำการเพาะเมล็ดลงในแหล่งเพาะ  ควรโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าก่อนประมาณ 10 วัน

3.6 เก็บใบ เปลือกลำต้น ลำต้น กิ่ง ผลและราก ที่เป็นโรค ที่อยู่ในบริเวณแปลงปลูกพืชไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อสาเหตุของโรค

                               


ข้อดีของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมศัตรูพืข
1. ไม่เป็นอันตรายต่อศัตรูธรรมชาติ  และสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมาย

2. มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคพืช

3. เกษตรกรสามารถผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าได้


ข้อจำกัดของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

1. เป็นสิ่งมีชีวิตจึงมีช่วงอายุการเก็บสั้นคือ ไม่เกิน 6 เดือน

2. ต้องเก็บรักษาในที่ร่มเย็น ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง

3. ปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ผ่านการขึ้นทะเบียน เพียงบริษัทเดียว ทำให้ราคาค่อนข้างแพง

4. ยังมีจำหน่ายไม่ทั่วถึง



แหล่งสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

1. สถาบันบริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                กรมส่งเสริมการเกษตร  กรุงเทพฯ

2. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      ชลบุรี

3. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      ราชบุรี

4. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      ชัยนาท

5. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      เชียงใหม่

6. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      พิษณุโลก

7. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      ขอนแก่น

8. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      นครราชสีมา

9. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                      สุราษฎร์ธานี

10. ศูนย์บริหารศัตรูพืชโดยชีววิธี                    สงขลา




การระบาดศัตรูขิง
 


ระยะพืช

ท่อนพันธุ์

ระยะการเจริญเติบโต

เก็บเกี่ยว


โรค

     

1. โรคขิงเน่า

 

2. โรคใบจุด

     

3. โรคเนื้อแก้วหรือ

 
 

แมลง

 

1. เพลี้ยแป้ง

   

2. หนอนเจาะ

   
   


3. การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง
การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องและต้องคำนึงถึง ดังนี้คือ ประเภทของสารเคมี, เครื่องพ่นสารเคมี, การผสมสารเคมี และเวลาของการใช้สารเคมี 
                               


ประเภทของสารเคมี
สารเคมีกำจัดแมลงมีอยู่หลายประเภท ได้แก่

1. สารเคมีที่พ่นถูกตัวตาย จะใช้ก็ต่อเมื่อต้องการลดปริมาณของแมลงลงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหาย เมื่อพ่นสารกำจัดแมลงแล้ว จะมีผลทำให้แมลงตายในทันที (knock down effect) หรือค่อย ๆ ตาย
                
2. สารเคมีที่กินแล้วตาย เมื่อเกิดศัตรูระบาดเราสามารถพ่นสารเคมีลงไปบนพืชที่เราต้องการคุ้ม ครองเมื่อแมลงบินเข้ามากิน หรือฟักออกจากไข่ กินพืชผลก็จะตาย สารเคมีบางชนิดมีพิษตกค้างนาน หรือสั้นแล้วแต่ชนิดของสาร


3. สารเคมีประเภทดูดซึม แมลงบางชนิดเป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกใบและยอดอ่อน ดังนั้นการที่พ่นถูกตัวตายอาจไม่ตรงกับช่วงแมลงที่เข้ามากินพืช ดังนั้น การใช้สารฆ่าแมลงที่เป็นสารดูดซึมเข้าไปในต้นพืช เมื่อแมลงบินเข้ามา

               
4. สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงในดิน แมลงบางชนิดอาศัยอยู่ในดิน กัดกินรากพืชทั้งต้นอ่อนและต้น ที่โตเต็มที่ ดังนั้น การเลือกสารฆ่าแมลงที่ใช้ในดินก็จะสามารถกำจัดแมลงเหล่านั้นได้                

5. สารเคมีประเภทสารรมและสารคลุกเมล็ดแมลงบางชนิด เช่น แมลงศัตรูในโรงเก็บ กินเมล็ด พันธุ์พืชที่อยู่ในโรงเก็บต้องใช้สารชนิดรม เช่น เมทธิลโบรไมด์ เพื่อกำจัดแมลงในโรงเก็บได้ หรืออาจจะใช้สารเคมีคลุกเมล็ดที่ใช้พันธุ์ เมื่อแมลงระบาดทำลายเมล็ด จะถูกสารเคมีที่คลุกไว้ก็อาจจะตายได้                

6. สารเคมีที่กำจัดแมลงเฉพาะชนิด ในกรณีนี้ผู้ใช้สารมักจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อม แมลง วัชพืช แมลงห้ำ และแมลงเบียน ถ้าหากเราจะกำจัดเฉพาะเพลี้ยอ่อน เราก็เลือกสารเคมีที่กำจัดเฉพาะเพลี้ยอ่อนแต่ไม่ทำลายแมลงห้ำ แมลงเบียน เช่น พิริมอร์ หรือแอพพลอด ทำลายเฉพาะเพลี้ยอ่อน ไมแทค ทำลายเพลี้ยจั๊กจั่นข้าว เคลเทน ฆ่าเฉพาะไรแดง หรือปัจจุบัน มีสารยับยั้งการลอกคราบ เช่น อาทาบรอน ดิมิลิน จะกำจัดแมลงเฉพาะพวกหนอนกินใบ ดอก ผล แต่สารทั้งหมดดังกล่าวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงห้ำแมลงเบียน ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ                

7. สารเคมีสังเคราะห์ ปัจจุบันสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ก็ถือว่าเป็นสารที่เป็นพิษต่อสัตว์เลือด อุ่นน้อย พิษตกค้างต่ำ สลายตัวเร็ว และบางชนิดยังไม่เป็นอันตรายต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรอีกด้วย   


4. การจัดการเพื่อการผลิตขิงที่ปลอดภัย

1. การจัดการดูแล ด้านการปลูก, สภาพพื้นที่, ดิน, ปุ๋ย, แหล่งน้ำ และการพูนโคนที่ถูกต้อง
2. การเก็บเกี่ยว                                 


ขิงอ่อน
                                 
1. ควรเริ่มเก็บเมื่อขิงมีอายุ 4-6 เดือน ซึ่งจะมีเสี้ยนน้อย เหมาะสำหรับรับประทานสด หรือดอง และแปรรูปอื่นๆ
2. ก่อนเก็บเกี่ยวควรใช้น้ำรดให้ทั่วแปลง เพื่อให้สภาพดินอ่อนตัวเพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยว                 3. การเก็บเกี่ยวควรใช้มือถอนแง่งขิง เพราะถ้าใช้เครื่องมือขุดจะทำให้เกิดบาดแผล หรือแตกหักทำให้เสียราคา
                               
ขิงแก่                                  
1. ควรเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อขิงมีอายุตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป สังเกตได้จาก ใบและลำต้นเริ่มเหี่ยว โดยปกติใบจะเริ่มเหี่ยวเมื่อขิงมีอายุย่างเข้าเดือนที่ 8               
2. ก่อนเก็บเกี่ยวควรใช้น้ำรดให้ทั่วแปลงให้สภาพดินอ่อนตัว เพื่อให้ขุดง่ายขึ้น           
3. ก่อนเก็บเกี่ยวขิงแก่ในช่วงนี้ เป็นฤดูแล้ง ดินค่อนข้างจะแห้งและแข็ง จึงไม่สามารถเก็บเกี่ยวขิงโดยวิธีถอนได้ จึงต้องใช้เครื่องมือขุด เช่น จอบ เสียม เป็นต้น                       



ขิง (Ginger)

ชื่อวิทยาศาสตร์ ขิง (Ginger) : Zingiber officinale Roscoe.

วงศ์ ขิง (Ginger) : ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ ขิง (Ginger) : Ginger

ชื่อท้องถิ่น ขิง (Ginger) : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ(แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง), เกีย(จีนแต้จิ๋ว)


ลักษณะ ขิง (Ginger)

เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีขาวนวล ต้น ใบ และช่อดอกคล้ายไพลมาก ใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม ช่อดอกเป็นตุ้มกลมคลายเกล็ดปลา มีดอกสีเหลืองแทรกตามเกล็ดนั้นๆ


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก ขิง (Ginger)

ขิง
เป็นพืชลงหัวพวกเดียวกับขมิ้น ไพล เป็นพืชเมืองของเอเชีย ชอบอากาศร้อนชื้น ต้องการดินโปร่งและอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินร่วนปนทราย มีความชื้นสูง ระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวจัด ที่ลุ่มหรือพื้นที่มีน้ำขัง ถ้าใช้ขิงอ่อนควรปลูกในดินทรายหยาบได้แดดรำไร จะไม่แก่เร็ว ถ้าโดนแดดจัดจะออกดอกและแก่เร็วเกินไป


การปลูกและดูแลรักษา ขิง (Ginger)

การปลูกขิง
ใช้เหง้าขิงหรือหัวพันธุ์จากขิงแก่อายุ 10-12 เดือน เอามาผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละ 2 นิ้ว มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ทำการปลูกในช่วงต้นฝนหรือก่อนฤดูฝนเล็กน้อย ในราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เตรียมดินโดยพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กากถั่ว เพื่อให้ดินโปร่ง ปุ๋ยคอกที่ใช้ต้องสะอาด ไม่นิยมใช้ขี้เป็ดขี้ไก่ เพราะจะทำให้ขิงเป็นจุดดำ ส่วนปุ๋ยเคมีจะทำให้เกิดโรคเน่า ไม่ควรใช้เด็ดขาด


ระยะปลูกระหว่างแถวระหว่างต้น 30×30 ซม. ขุดหลุมปลูกลึก 5-7 ซม. นำหัวพันธุ์มาปลูกในหลุม ตั้งด้านที่จะแตกหนอขึ้น กลบดินหนา 2-5 ซม. ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงทั้งในร่องและสันร่อง เพื่อรักษาความชื่น เมื่อขิงอายุได้ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกและกลบดินที่โคน หลังจากนั้นอีก1เดือน ทำการกลบโคนอีกครั้ง เป็นการกระตุ้นให้ขิงแตกหน่อและช่วยให้แง่งขิงแข็งแรง

ขิงมีโรคเน่า โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา มีศัตรูพวกหนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไส้เดือนฝอย วิธีหลักๆ ในการป้องกันโรคแมลง คือ หมั่นดูแลอย่าให้น้ำท่วมขัง อย่าปลูกขิงชิดกันเกินไป และย้ายที่ปลูกใหม่ทุกๆ ปี


เก็บเกี่ยว ขิง (Ginger)

ขิงอ่อน
จะเก็บได้เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน หรือในราวเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม มักจะเก็บหลังฝนตกเพราะดินนุ่ม ถ้าฝนไม่ตกต้องรดน้ำก่อน การเก็บใช้มือถอนขึ้นมาทั้งกอ ไม่นิยมใช้เครื่องมือเพราะจะทำให้ขิงหัก ขิงแก่จะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 11-12 เดือน ให้สังเกตว่าใบและลำต้นเริ่มมีสีเหลืองและเหี่ยวเฉา ซึ่งจะตกอยู่ในราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ดินในช่วงนั้นค่อนข้างแห้ง ควรรดน้ำให้ดินชุ่ม ก่อนใช้จอบหรือเสียมขุดดินรอบๆ กอขิงแล้วจึงถอนขึ้นมา


สรรพคุณเด่น ขิง (Ginger)
แก่ท้องอืดเฟ้อ แก้ไขหวัด ไอ คลื่นไส้อาเจียน


วิธีใช้ในครัวเรือน ขิง (Ginger)
ใช้ขิงสดขนาดหัวแม่มือ ฝานเป็นชิ้น ชงหรือต้มกับน้ำเดือด 1 แก้ว พออุ่นแล้วเติมน้ำตาลดื่ม


ส่วนที่ใช้เป็นยา ขิง (Ginger)
เหง้าแก่สด มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้ ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ หรือน้ำหนัก 5 กรัม ล้างให้สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1/3 ถ้วยแก้ว
วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร


ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการ
ไอระคายคอจากเสมหะ
วิธีที่ 1. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
วิธีที่ 2. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำ เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอ



http://www.vegetweb.com/%e0%b8%82%e0%b8%b4%e0%b8%87-ginger/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3485 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©