-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 181 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





ข่า


1.พันธุ์
เป็นพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น เช่น พันธุ์ข่าเหลือง.  พันธุ์ข่าหยวก.  ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้าหรืแยกกอปลูก


2. การเตรียมดิน
ไถดินตากประมาณ 7-10 วันพรวนดินหรือย่อยดินแล้วขุดหลุม กว้าง x ยาว x ลึกประมาณ 30 x 30 x 30 เซนติเมตรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลุมละ 1 กิโลกรัมคลุกเคล้าให้เข้ากับดินใช้ระยะปลูกคือระหว่างต้น 100 เซนติเมตรระหว่างแถว 100 เซนติเมตรเพื่อสะดวกในการปฎิบัติงาน


3. การปลูก
นำแง่งข่าที่ชำไว้งอกดีแล้วประมาณ 2-3 แง่งหรือหน่อแยกมาจากกอแม่ 2-3 หน่อลงปลูกในหลุมลึกประมาณ 15 เซนติเมตรใช้ดินกลบฟางข้าวคลุมรดนํ้าให้ชุ่มเช้า-เย็นจนกว่าข่าจะเจริญเติบโตดี


4. การให้นํ้า
ในระยะแรกๆหลังจากปลูกควรรดนํ้าเช้า-เย็น เมื่อข่าเจริญเติบโตดีแล้วควรพิจารณาเว้นการให้นํ้าได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ


5. การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15-อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และควรใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้งต่อกอหรือหลุมประมาณ 2-3 กิโลกรัมพรวนดินกลบโคนรดนํ้าให้ชุ่ม


6. การเก็บเกี่ยว
เมื่อข่าอายุได้ 6-1 ปีก็สามารถเก็บข่าขายได้โดยพิจารณาเก็บเป็นข่าอ่อน หน่อข่า หรือข่าแก่ขาย ควรพิจารณาเก็บเกี่ยวให้สัมพันกับอายุของข่าด้วยเพื่อไม่ให้ข่าโทรมจนเกินไป


7. โรคและแมลง
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร

http://www.ryt9.com/s/tpd/983996




ข่า

อาหารจากพืชประเภทปรุงรสแต่งกลิ่น “ข่า” ซึ่งอยู่คู่ครัวคู่ปากคนไทยมานาน โดยเฉพาะต้มยำหลากหลาย หากไม่มีข่าเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการปรุงรส ต้มยำนั้นก็ไม่ใช่ต้มยำ แม้เวลาเราไปจ่ายตลาด เมื่อต้องการซื้อเครื่องต้มยำเพื่อไปปรุงอาหาร แม่ค้าก็จะให้ชุดต้มยำซึ่งจะประกอบไปด้วย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ นอกจากกลิ่นฉุนรสเผ็ดร้อนแล้ว ยังมีคุณสมบัติในทางสมุนไพรต่อร่างกายคนและสัตว์อีกด้วย ปัจจุบัน “ข่า”เป็นพืชอาหารสมุไพรชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกยอมรับ

ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง

การเตรียมดิน
- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน

การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก

วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดในสภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

การปลูก
-ขุดหลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที

การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้ามีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน   แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอาเศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย  การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ข่าแก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3  ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลังจากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน

นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล  กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น

ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง 
 
http://www.thailand-farm.com/index.php?topic=80.0      






ข่าเหลือง..เงินล้าน สมุนไพรชุมชนทองหลางล่าง

พืชสมุนไพร.... ที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งพืชชนิดอื่น ๆ ในยามนี้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรจังหวัดระนอง และทำรายได้เข้าท้องถิ่นอย่างเป็นกอบเป็นกำก็คือ... ข่าเหลือง!!!                

กรมส่งเสริมการเกษตร... จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรชนิดดังกล่าวเป็นพืชแซมหรือพืชเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการชะล้างและพังทลายของหน้าดิน ทั้งนี้ เนื่องจากว่าพื้นที่การเกษตรของจังหวัดระนองส่วนใหญ่อยู่ตามไหล่เขา เป็นที่ลาดชันมีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย
                
อีกทั้งมีฝนตกเฉลี่ยปีละ 8 เดือน ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินค่อนข้างสูง การปลูกพืชแซมสวนไม้ผลจึงเป็นปัจจัยร่วมช่วยในการยึดหน้าดินมิให้ถล่ม... ข่าเหลืองจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรคนระนองให้การตอบรับ                

นางนารี คำแสนราช ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรข่าเหลือง ชุมชนบ้านทองหลางล่าง หมู่ 7 ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง บอกว่า... เดิมเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านนาประกอบอาชีพหลักคือทำสวน โดยเฉพาะสวนไม้ผล เช่น ทุเรียน มังคุด กาแฟ ทั้งยังมียางพาราและปาล์มน้ำมันด้วย และเริ่มปลูกข่าเหลืองเพื่อเสริมรายได้มาตั้งแต่ปี 2542                

ในช่วงแรกดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างปลูกโดยมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก ขณะที่ตลาดทั่วไปให้การตอบรับดีมาก เมื่อชาวบ้านเห็นว่าข่าเหลืองสามารถทำเงินดีจึงสนใจหันมาปลูกกันมากขึ้น กระทั่งปี 2547 เกษตรกรได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกข่าเหลืองบ้านทองหลางล่างขึ้น โดยมีสมาชิกจำนวน 60 ราย พื้นที่ปลูกข่าเหลืองรวมกว่า 200 ไร่ ได้ผลผลิตปีละประมาณ 3,000 ตัน ทางกลุ่มได้ใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด                

ขณะเดียวกันสมาชิกกลุ่มยังมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตข่าเหลืองป้อนให้กับตลาดทั่วประเทศ ทำให้สมาชิกมีรายได้ตลอดทั้งปี นับเป็นวิสาหกิจชุมชนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและพึ่งพาตนเองได้ โดยมีการระดมทุนเพื่อเป็นเงินออมสำหรับให้สมาชิกกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้ลงทุนในการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตข่าเหลืองป้อนตลาดซึ่งกำลังมีความต้องการสูง                

ปัจจุบันกลุ่มได้จดทะเบียนเป็น “วิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรข่าเหลืองทองหลางล่าง” กับสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว วิธีการปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกข่าเหลืองได้ 4,500-5,000 กอ โดยปลูกเป็นแถวระยะ 80x80 เซนติเมตร ก่อนลงหลุมปลูก ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 พร้อมด้วยปูนขาวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ                

หลังจากปลูกแล้วเกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบหลุมปลูกเป็นประจำและให้ปุ๋ยสูตรเดิม หรือ 46-0-0 เดือนละประมาณ 2 ครั้ง จนกระทั่งข่าเหลืองอายุได้ 7 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ แต่ช่วง 15 วัน – 1 เดือน ก่อนที่จะขุดข่าเหลืองส่งตลาด ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น                

หากมีระบบจัดการที่ดี ข่าเหลือง 1 กอ จะให้ผลผลิตประมาณ 2-3 กิโลกรัม จำหน่ายได้ไม่ต่ำกว่า 60 บาท/กอ หักค่าใช้จ่ายแล้วเกษตรกรจะมีรายได้ 150,000-200,000 บาท/ไร่                

ในการประกอบการแทบทุกอาชีพจะมีปัญหามากหรือน้อย หนักหรือเบานั่นก็แล้วแต่... ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผลิตข่าเหลืองบ้านทองหลางล่างนั้น มิใช่เรื่องทุนเหมือนกับชุมชนอาชีพอื่น ๆ เพราะเกษตรกรมีเงินหมุนเวียนจากการขายผลผลิตมาลงทุนกันอย่างพอเพียง                

แต่จะมีปัญหาในเรื่องโรคพืช เช่น โคนเน่า หนอนเจาะต้น และเชื้อราทำลายในช่วงฤดูฝน จึงอยากจะร้องขอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการรวมถึงเทคนิควิธีการจัดการเพื่อลดความเสียหาย อีกทั้งยังต้องการให้ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อยกระดับการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และในยามนี้ ชุมชนบ้านทองหลางล่างก็เปิดกว้างที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ต่าง ๆ ในการปลูกข่าเหลืองให้กับผู้ที่สนใจ หากต้องการเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรข่าเหลืองทองหลางล่าง สามารถกริ๊งกร๊างกันไปที่ 0-7789-0046



ที่มา
: ไชยรัตน์ ส้มฉุน. ไทยรัฐ. ปีที่ 57 ฉบับที่ 17,823 วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2549 หน้า 7.
 http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=1612       









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (4679 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©