-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 269 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 1/3


กระเทียม


1.พันธุ์
เกษตรกรจะมีการเก็บขยายพันธุ์กันมานาน เช่นพันธุ์ของจังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ เเละแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ ดังนี้

1.1 พันธุ์เบา
หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแคบ ลำต้นแข็ง กลีบและหัวขาว กลีบเท่าหัวแม่มือ กลิ่นฉุนและรสจัด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน

1.2 พันธุ์กลาง
ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน ปริมาณ 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัมนิยมปลูกในภาคเหนือ

1.3 พันธุ์หนัก
บางทีเรียกพันธุ์จีนลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็กหัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพูอายูเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน ปริมาณหัว 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัม

2. การเตรียมดิน
ไถดินตากประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าหรือพรวนดินให้เข้ากันพร้อมยกร่องแบบปลูกผักปรับหน้าดินให้เรียบใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อรองพื้นรดนํ้าให้ชื้นพร้อมปลูก

3. การเตรียมพันธุ์
ใช้กลีบหรือโคลฟ (clove) ของกระเทียมโดยแกะออกจากหัวแยกเป็นกลีบๆคัดเลือกเฉพาะกลีบที่ใหญ่และสมบูรณ์ดีใช้พันธุ์ประมาณ 80-100 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่

4. การปลูก
ควรรดนํ้าให้ชื้นก่อนแล้วดำกลีบกระเทียมลงในแปลงโดยดำกลีบลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบลงในดินให้เป็นแถวเป็นแนวตามระยะปลูก คือระหว่างต้น10 เซนติเมตรและระยะระหว่างแถว 10-15 เซนติเมตรคลุมด้วยฟางข้าวรดนํ้าให้ชุ่ม

5. การให้น้ำ
กระเทียมควรให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอและเพียงพอในช่วงระยะของการเจริญเติบโตและควรงดการให้นํ้าเมื่อหัวเริ่มแก่

6. การใส่ปุ๋ย
ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เป็นการรองพื้น ครั้งที่สองเมื่ออายุประมาณ 10-14 วันควรใส่ปุ๋เคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบรณ์ของดินครั้งที่สามอายุประมาณ 30 วันหลังปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

7. การเก็บเกี่ยว
เมื่อได้อายุการเก็บเกี่ยวตามพันธุ์หนักพันธุ์เบาแล้วเลือกเก็บหัวที่แก่จัดสังเกตุที่คอกระเทียม ( ระหว่างต้นกับหัว ) เหี่ยวและต้นพับลงมาใช้มือถอนทั้งต้นและหัวที่แก่จัดมัดแขวนหรือผึ่งลมในร่มกันฝนกันแดดได้ให้หมาดๆหรือเกือบแห้งแล้วมัดเป็นจุกๆรอการจำหน่ายต่อไป

8. โรค
ได้แก่โรคเน่า โรคใบใหม้ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส และโรครานํ้าค้างป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น เมทาแลคซิล โปรคลอราช สกอร์ แมนโคเซป ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค

9. แมลง
ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้หอม ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น อะบาเม็กติน อาทาบรอน หรือไซเปอร์เมทรินตัวใดตัวหนึ่ง


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


*******************************************************************************************************************************************

กระเทียม (Garlic)
 
  สถานการณ์ทั่วไป
  • กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศนอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมได้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000-190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม (สด)
  •  
     
    ลักษณะทั่วไปของพืช
  • กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
  •  
     

    พื้นที่ส่งเสริม
  • พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจจังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง,พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
    พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
  •  
     

    พื้นที่ปลูก
      ประมาณ 209,430 ไร่ ( พศ.2540 / 2541)

    พันธุ์ที่ส่งเสริม กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่

    ต้นทุนการผลิต/ไร่ 13,860 บาท/ไร่ ( พศ.2539 )

     
     

    ผลผลิต
  • ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 429,441 ตัน ( พศ. 2540 / 2541)
    ผลผลิตเฉลี่ย 2,051 กก./ไร่ (พศ. 2540 / 2541)
    ราคาที่เกษตรกรขายได้ 22 - 60 บาท/กก. (พศ. 2541)
    ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 429,416 ตัน (พศ. 2541)
    การส่งออก ปริมาณ 25 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ( พศ. 2540 )
    การนำเข้า ปริมาณ - มูลค่า - ล้านบาท (พศ.- )



  •  

      การปลูก
      วิธีการปลูก
  • 1. เตรีมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
    2. ใชัพันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
    3. ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง
  •   ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร
    จำนวนต้น/ไร่


      การดูแลรักษา
      การใส่ปุ๋ย
  • 1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
    2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15หรือ 13-13-21 อัตรา50-100 กก./ไร่
  • การให้น้ำ

  • 1. โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที
  • การปฏิบัติอื่นๆ

    การคลุมฟาง หลังปลูกกระเทียมแล้วให้คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต





      ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด
      1. โรค
  • 1.1 โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
    1.2 โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุดป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีดพ่นทุก5-7 วัน/ครั้ง
    1.3 โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
    การป้องกันกำจัด
    1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
    2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
    3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น4). ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
    1.4 โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย
    การป้องกันกำจัด
    1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
    2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ
  •  
     
    2. แมลง
  • 2.1 เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบกระเทียม ป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน,พ็อส ฉีดพ่น
  •  
     


     

      ปฏิทินการปลูกและการดูแลรักษา

    กิจกรรม ระยะเวลาปฎิบัติ หมายเหตุ

    พ.ย.

    ธ.ค.

    ม.ค.

    ก.พ.

    มี.ค.

    เม.ย.

    พ.ค.

    ม.ิย.

    ก.ค.

    ส.ค.

    ก.ย

    ต.ค

    ปลูก                        
    ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 หรือปุ๋ยสูตร 10-10-15                        
    ให้น้ำ                        
    เก็บเกี่ยว                        



      แนวทางการส่งเสริม
     
  • 1.แนะนำให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่เท่ากับที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย
    2. แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์กระเทียมที่ตลาดต้องการ
    3. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดชั้นคุณภาพกระเทียมก่อนขาย
  •  
      ปัญหาอุปสรรค
  • 1. มีการผลิตเกินเป้าหมายกำหนดอยู่เสมอทำให้ราคาตกต่ำ
    2. ปัญหาเรื่องพันธ์กระเทียมยังไม่ได้มาตราฐานตามความต้องการของตลาด
  •  
     
     
      แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
  • 1. สถานีทดลองพืชสวนฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
    2. สถานีพืชสวนเชียงราย อำเภอเมืง จังหวัดเชียงราย
  • **************************************************************************************************************************************************






    กระเทียมต้น
    จัดอยู่ในวงศ์ Alliaceae (Amaryllidaceae) มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium ampeloprasum L. porrum มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอเรเนียน เป็นพืชเมืองหนาวที่มีการ เจริญเติบโตสองฤดู คือ ฤดูที่หนี่งเจริญทางลำต้น ฤดูที่สองเจริญทางดอก และเมล็ด แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว กระเทียมต้นประกอบด้วยราก(root) สองระบบคือ fibrous root และ root hair ลำต้น(stem) มีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างลำต้นเทียม และราก ใบจริง(leaf) มีลักษณะเป็นตัว V แบบยาวคล้ายใบกระเทียม แต่มีขนาดใหญ่ และหนากว่า มีความยาวประมาณ 5-10 ซม. เจริญด้านตรง กันข้ามสลับกัน


    ลำต้นเทียม(pseudostem) หรือโคนก้านใน(shaft) เป็นส่วนที่ขยายตัวและสะสมอาหารสำรอง และมีน้ำร้อยละ 40 ของต้น ขนาดและความยาวของลำต้นเทียมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความสูงของต้นโดยทั่วไปประมาณ 40-70 เซนติเมตร


    สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

    พื้นที่ปลูกกระเทียมต้นควรสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,100 เมตรขึ้นไป สามารถปลูกได้ตลอดปี กระเทียมต้นเป็นพืชที่ีมีระบบรากตื้น ดินที่ใช้ต้องร่วยซุย มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ก่อนปลูกควรเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก จัด pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 ไม่สามารถเจริญได้ดีในดิน ที่มีสภาพเป็นกรด  อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูก 12-21′C อากาศเย็นจะทำให้การเจริญเติบโตดี


    การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร

    ใช้ทำซุป สตู ผัดน้ำมันหอย ผัดกับอาหารทะเล หรือตุ๋น




    การปฎิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
    การเตรียมกล้า
    - การเตรียมแปลงเพาะกล้า ในฤดูฝนควรอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก สำหรับ ฤดูร้อน/หนาวใช้อุโมงตาข่าย

    - ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น ดังนี้

    - ปุ๋ย 12-24-12 ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.

    - ปูนขาว ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.

    - ปุ๋ยคอก(มูลไก่ไม่ควรใช้มูลไก่อัดเม็ด) ปริมาณ 1ก.ก./ตร.ม. คลุกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม



    การบ่มเมล็ด
    โดยการแช่เมล็ดในน้ำผสมยากันรา นาน 15 นาที ผึ่งเมล็ดไว้ประมาณ 30 นาที แล้วห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน นำเมล็ดที่บ่มแล้ว หยอดในแปลงเพาะกล้า

    - ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 ซม. ห่าง 10 ซม. หยอดเมล็ดที่บ่มแล้วห่างกัน 1 ซม. กลบดินบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง

    - ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อมีอายุได้ 2 เดือน จึงย้ายปลูก หรือสังเกตเส้นผ่านศูนย์์กลางของลำต้นเทียมประมาณ 8 มิลลิเมตร(ลำต้นเท่ากับดินสอ) ควรใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 และยูเรีย เมื่ออายุได้ 25 และ 50 วัน

    - กล้าสำหรับย้ายปลูกตัดปลายให้สูงกว่ายอด 2 ซม. ตัดรากเหลือ 1 ซม. แช่รากในน้ำผสม ไดเทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนย้ายปลูก



    การเตรียมดิน
    กระเทียมต้นเป็นพืชรากตื้น การเตรียมดินควรไถ หรือขุดให้ลึกประมาณ 15-20 ซม. แล้วตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ใส่ปูนขาวปรับ pH ตามผลการวิเคราะห์ดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน



    การปลูก
    หลังจากเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูกควรรดน้ำให้แปลงมีความชุ่มชื่น แล้วทำการปลูก โดยขุดร่องลึก 30 ซม. ห่างกัน 80 ซม. เลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกก่อนในแปลงเดียวกัน กลบดินรดน้ำให้ทั่วแปลง



    การใส่ปุ๋ย
    หลังปลูก 20 วัน โรย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. ลงในร่องปลูก แล้วกลบดิน พูนโคน อายุได้ 40 วัน โรยปุ๋ย 15-15-15 แล้วกลบดินพูนโคนต้นถึงระดับใบล่าง

    การเก็บเกี่ยว ถอนต้นเมื่ออายุ 80 วันขึ้นไป หลังจากย้ายปลูก หรือเมื่อใบล่างห่างจากพื้น 15 ซม. หรือโดนต้นโตเกิน 2.5 ซม. ใช้จอบขุดเอาต้นโตออก ล้างรากให้สะอาดตัดรากทิ้ง เหลือ 0.5 ซม. เก็บใบเสียทิ้ง


    โรคแมลงศัตรูที่สำคัุญในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
    ระยะหยอดเมล็ด 0-60 วัน โรคโคนเน่า, โรครากปม,


    ระยะการเจริญเติบโต 60-70 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลียไฟ, หนอนกระทู้,


    ระยะห่อหัว 80-90 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,


    ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,


    ระยะเก็บเกี่ยว 140-160 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,





    ต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิตของกระเที่ยมต้น

    รายการ

    ฤดูฝน

    ฤดูหนาว

    ฤดูแล้ง

    แรงงานเตรียมดิน

    580

    380

    300

    แรงงานปลูก

    320

    180

    150

    มูลค่าแปลงปลูก

    520

    390

    390

    แรงงานให้น้ำ

    100

    500

    500

    แรงงานใส่ปุ๋ยเคมี

    150

    150

    150

    มูลค่าปุ๋ยเคมี

    600

    600

    600

    มูลค่าปุ๋ยคอก

    200

    200

    200

    แรงงานพ่นยาฆ่าแมลง, ฆ่าเขื้อรา

    100

    100

    100

    มูลค่ายาฆ่าแมลง. ฆ่าเชื้อรา

    80

    80

    80

    แรงงานดายหญ้า

    100

    100

    100

    แรงงานเก็บเกี่ยว และขนย้าย

    200

    200

    200

    ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/งาน)

    2,950

    2,980

    2,870

    ผลผลิตเฉลี่ย(กก./งาน)

    400

    600

    500

    ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/กก.)

    7.37

    4.96

    5.74



    ที่มา :

    - คู่มือการปลูกผักบนที่สูง




    หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


    Content ©