-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 329 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว




หน้า: 1/2



กะหล่ำปลี

1.พันธุ์
กะหล่ำปลีมีหลายพันธุ์ ทั้งรูปหัวกลม หัวแป้น รูปหัวใจ สีเขียว สีขาว สีม่วง ถ้าแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว คือพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยว 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบามีอายุ 60-70 วัน เมืองไทยพันธุ์เบาปลูกได้ผลดีเพราะไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก พันธุ์เบาที่ปลูกได้ผลดีคือ พันธุ์ โคเปนเฮเก็น ,พันธุ์เออร์ลี่ เจอซีเวคฟิลล์, พันธุ์เออร์เลียนา

2. การเตรียมดิน ไถตากดินประมาณ 7 วัน ตากดินให้แห้งใส่ปุ๋ยคอก ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ ไถพรวนคลุกเคล้าให้ทั่ว โดยการพรวน และชักร่องด้วยรถแทรคเตอร์ ขุดหลุมปลูกระยะ 30 x30 หรือ 40 x40 ตามพันธุ์ที่ปลูกถ้าเป็นพันธุ์หนัก หัวใหญ่ ก็ปลูกห่าง ถ้าเป็นพันธุ์เบาหัวเล็กก็ปลูกถี่หน่อย

3. การเพาะกล้า ทำการเพาะกล้าบนร่องที่มีการไถดิน ใส่ปุ๋ยคอก พรวนดิน ชักร่องให้หน้าดินเรียบ คลุกเมล็ดด้วยสารไอโพไดโอน หรือเมทาแลคซิล+คาร์โบซัลแฟน ชนิดคลุกเมล็ด หว่าน อย่าให้ถี่ หรือห่างมาก คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้สม่ำเสมอ หมั่นตรวจเรื่องโรค และแมลง รบกวน จนอายุประมาณ 30 วัน ก็ย้ายกล้าลงปลูกได้

4. วิธีการปลูก เมื่อเตรียมขุดหลุมตามระยะที่ต้องการแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม และก่อนถอนกล้ามาปลูกควรรดน้ำในแปลงกล้าไว้ก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อให้กล้าชุ่มน้ำจะได้ไม่แห้งเหี่ยวง่าย และควรปลูกตอนเย็นหลังบ่าย 4 โมงเย็นแล้ว หลังปลูกควรรดน้ำให้ชุ่ม

5. การให้น้ำ ควรให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ หรือรดน้ำแบบลากสายยางรดด้วยฝักบัว และควรให้อย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะเข้าปลี เมื่อเข้าปลีแล้วควรลดปริมาณให้น้ำให้น้อยลงหน่อย

6. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 เมื่อายุ 15 วัน หลังปลูกอัตตราประมาณ 1 ช้อนชาต่อหลุม หรือต่อต้น และเมื่อายุ 30 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-8 หรือใส่ปุ๋ยคอก 1 กำมือต่อต้น แล้วพรวนดินกลบ และควรพ่นสารอาหารเสริมทางใบด้วย เช่น โบรอน สังกะสี

7. โรคที่สำคัญ ที่พบในการปลูกกะหล่ำปลี ได้แก่ โรคเน่า โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคไส้ดำ และโรคเน่าดำ แก้ไขด้วยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด แมนโดเซป คาร์เบนดาซิม ไดเมทโทม็อบ และโบรอน สังกะสี

8. แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ และหนอนคืบ ควรพ่นด้วยสารเคมี ไดโดรโตฟอส อะบาเม็กติน B.T โพรไดโอฟอส โพรฟิโนฟอส

9. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกว่าพันธุ์หนักหรือพันธุ์เบา โดยหัวที่จะทำการเก็บเกี่ยวคือหัวที่แน่น และขนาดพอเหมาะ ตัดแต่งให้สวย บรรจุถุง หรือเข่ง รอส่งขายตลาด


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


 


กะหล่ำปลีแดง (Red Cabbage)
มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Brassica oleraceae var. rubra เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน กะหล่ำปลีแดงสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะโป่ง และร่วนซุย มีความชื้นในดิน และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6-6.5

อุณหภูมิ
สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลีแดงนั้นอยู่ระหว่าง 15-20′C หากอุณหภูมิสูงกว่า 25′C อัตราการเจริญและผลผลิตจะลดลง อย่างไรก็ตามระดับอุณหภูมิอาจมีผลกระทบแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก ระยะที่กะหล่ำปลีต้องการน้ำมากที่สุ ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลีและระยะการเจริญเติบโตเต็มที่



การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง

กะหล่ำปลีแดง
เป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน(สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่า กะหล่ำปลีสีเขียว ถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์(Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอล ละช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป


กะหล่ำปลีแดง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร


การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำปลีในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า
เพาะกล้าแบบประณีตในถาดหลุม หรือเพาะในแปลงก็ได้ อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากเพาะในแปลง ควรมีตาข่าย กันฝนกระแทก และควรใช้ไตรโครเดอร์มา คลุกวัสดุเพาะเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า หากไม่ได้เพาะในวัสดุปลูกสำเร็จรูป และฉีดพ่น เซฟวิน ปัองกันมด แมลง ทำลายเมล็ดพันธุ์


การเตรียมดิน
ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน โรยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม.


การปลูก
ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร สำหรับฤดูฝนให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-35 ซม. เพื่อการระบายน้ำ รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ตร.ม. ระยะปลูก ฤดูฝน และฤดูหนาว 40×40 ซม. ฤดูแล้ง 40×30 ซม.


ข้อควรระวัง

  1. กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีความต้องการปุ๋ยปริมาณมาก โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
  2. ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยโบแรกซ์


การให้น้ำ
ใช้สปริงเกอร์


การให้ปุ๋ย
ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อย่างละ 20-25 กรัม/ตร.ม. และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 25-30 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ 45-50 วัน พร้อมกำจัด วัชพืช แล้วพ่นสารเคมีป้องกันศัตรูพืช ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช


ข้อควรระวัง

  1. ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ฝนตกชุก และมีน้ำขัง แสงแดดน้อย
  2. เป็นพืชที่้ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก หากปุ๋ยไม่เีพียงพอจะทำให้อายุการเจริญเติบโตยาวนานมากขึ้น


การเก็บเกี่ยว
อายุ 90-100 วัน ตามฤดูกาล และสายพันธุ์



โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำปลีแดงในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 18-21 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคโคนเน่า, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,


ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,


ระยะเข้าหัว 60-90 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,


ระยะโตเต็มที่ 90-10 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้


ที่มา  :  ไม่ระบุ









กะหล่ำปลีรูปหัวใจ ชื่อวิทยาศาตร์คือ Brassica oleraceae var. capitata จัดเป็น กะหล่ำปลี อีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) เป็นพืชข้ามฤดู แต่นิยมปลูกฤดูเดียว มีถิ่นกำเนิด แถบเมดิเตอร์เรเนียน ของทวีปยุโรป จนถึงประเทศอังกฤษ ลักษณะลำต้นที่เรียกว่า Core มีขนาดสั้นมาก ใบเดี่ยวเรียงตัวห่อ ซ้อนๆ กันหลายชั้น เกาะกันแน่น เป็นรูปโคนคว่ำ หรือหัวใจ ความแน่นของหัวขึ้นอยู่ กับการจัดเรียงตัวของใบ ใบหนา กรอบ ใบนอกมีสีเขียว ส่วนใบด้านใน มีสีเขียวอ่อน หรือขาว ให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชเขตหนาว เจริญได้ดีใสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 15-20′C หรือเฉลี่ยไม่เกิน 24′C หากปลูกในสภาพ อุณหภูมิต่ำกว่า 10′C หรือสูงกว่า 30′C พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้ทนต่ออุณหภูมิสูง


ดิน
ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรโปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำ อากาศดี และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.0-6.5 ควรให้อย่างพอเพียง เนื่องจากกะหล่ำปลี เป็นพืชที่ต้องการความชื้น ในดินมาก หากความชื้นในดินต่ำ จะทำให้ผลผลิต ลดลงกว่าปกติ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ระยะที่กะหล่ำปลี ต้องการน้ำมากที่สุด ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลี และระยะการเจริญ เติบโตที่


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชที่มีเยื่อใยสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกัน โรคเลือดออก ตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้น การทำงาน ของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อมะเร็ง เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็น มะเร็งลำไส้ มะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับได้ดี ข้อพึงระวัง กะหล่ำปลีมีสาร ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมาก จะไปขัดขวาง การทำงานของต่อมไทรอยต์ ทำให้นำไอโอดีน ในเลือดไปใช้ ได้น้อย ดังนั้น ไม่ควรกินกะหล่ำปลีสดๆ วันละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป นิยมรับประทานสด กินกับลาบ ส้มตำ อาหารประเภทยำ ใส่ในสลัด นำมาผัด หรือต้ม เป็นแกงจืด ทำกะหล่ำปลีดอง แต่งจานอาหาร




การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า
ควรเพาะกล้าในถาดหลุม หรือหยอดเมล็ดโดยตรง อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากย้ายกล้าช้า จะมีผลต่อการเข้าปลี


การเตรียมดิน
ควรไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 ซม. ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด


การปลูก

ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. สำหรับฤดูฝนควรยกแปลง ให้สูงกว่าปกติ 30-50 ซม. เพื่อการระบายน้ำ ควรรองพื้นก่อนปลูก ด้วยปุ๋ 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 ตัน/ไร่ (2 กก./ตร.ม.) ระยะปลูก 40×40 ซม.

ข้อควรระวัง

  1. หากปลูกในฤดูร้อน ควรให้น้ำสม่ำเสมอ หากขาดน้ำ จะเข้าปลีหลวม


การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ตลอดฤดูกาลปลูก ถ้าขาดน้ำ จะทำให้พืช ชักงักการเจริญเติบโต และมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพผลผลิต


การให้ปุ๋ย
ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้า ที่ตาย หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 46-0-0 อัตรา 20-25 กรัม/ตร.ม. หลังจากนั้น 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ช่วงการเข้าปลี ใช้ปุ๋ย 13-13-21

ข้อควรระวัง

  1. ควรหลีกเลี่ยง พื้นที่มีฝนตกชุก เนื่องจากจะทำให้ปลีเน่าได้
  2. ช่วงฤดูฝนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีแมลงศัตรูพืช เข้าทำลายมาก


การเก็บเกี่ยว  
เลือกลักษณะหัวแน่นพอดี ไม่มีตำหนิ มีใบนอก 2-3 ใบ สด สะอาด ทาด้วยปูนแดง ที่รอยแผลตัด แล้วผึ่งให้แห้ง



โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 20-25 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคโคนเน่า, โรคใบจุด, เพลี้ยอ่อน,


ระยะปลูก-ตั้งตัว 25-32 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ,  โรคใบจุด, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืิบ, ด้วงหมัดผัก,


ระยะเข้าหัว 32-90 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคเน่าเละ, โรคใบจุด, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืิบ,


ระยะโตเต็มที่ 90-100 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคเน่าเละ, โรคใบจุด, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืิบ,




ที่มา:
- คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง
- สมุดบันทึกฝึกงาน



 

กะหล่ำปม


ชื่อพื้นเมือง : กะหล่ำปม โคห์ลราบิ ผักกาดหัวบนดิน (กรุงเทพมหานคร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. var. gongylodes L.

ชื่อวงศ์ : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)

ชื่อสามัญ : Kohlrabi, Turnip Rooted Cabbage


ลักษณะ
: ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นส่วนที่อยู่ติดระดับดินพองออกเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. มีทั้งชนิดลำต้นสีเขียวและม่วง ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบหยักซี่ฟันหยาบๆ โดยเฉพาะส่วนใกล้โคนใบมักเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็กและยาว แผ่นใบมีนวล ชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าปลูกในแปลง


พันธุ์ปลูก
: Early White Vienna, Early Purple Vienne

- ผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ

วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบาง ๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีก ระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป

ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
- หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วันใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
- อายุการเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด

เก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญให้เป็นผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง

ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด


การใช้ประโยชน์
: ผัดรวมกับผักชนิดอื่น ๆ ต้มแบบจับฉ่าย ต้มซุป ผักกับเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัดกับไข่ ใบอ่อน ต้มหรือ ผัดแบบ ปวยเหล็ง




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©