ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกผักสวนครัว



การปลูก
ผักสวนครัวต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้....
1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก
ควรเลือกที่ที่มีความสมบูรณ์ ที่สุด อยู่ใกล้ แหล่งน้ำไม่ไกลจากที่พักอาศัย มากนักเพื่อความสะดวก ในการ ปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บ มาประกอบ อาหารได้ทันทีตามความต้องการ

2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก

ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึง การใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์ มากที่สุดโดยการปลูกผัก มากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลาย ๆ อย่าง และควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และปลูกให้ตรง กับฤดูกาล ทั้งที่ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลาก ข้างกระป๋อง หรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่า เมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลาวันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนาน คุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง


การเลือกทำเลการปลูกผัก

1. ที่ตั้งของสถานที่ปลูก

ในการปลูกผักหรือพืช จำเป็นต้องมีดินหรือวัสดุให้ต้นพืชยึดเกาะรวมทั้งเป็นแหล่งน้ำ แหล่งธาตุอาหารที่ จำเป็น ในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งพิจารณาจากลักษณะของพื้นที่คือ
1.1 มีพื้นที่เป็นพื้นดินในบริเวณบ้าน อาจจะเป็นแหล่งน้ำหรือพื้นที่ปลูกบริเวณบ้าน เป็น สภาพพื้นที่ที่เลือกปลูกผัก ได้หลากชนิด ตามความต้องการ

1.2 ไม่มีพื้นที่ดินในบริเวณบ้าน ผักสวนครัวบางชนิดจะปลูกได้ จำเป็นต้องปลูกในภาชนะใส่ดินปลูก อาจจะวางบนพื้น หรือแขวน เป็นผักสวนครัวลอยฟ้า


2. สภาพแสงและร่มเงา

นับว่ามีความจำเป็นในขบวนการสังเคราะห็แสงของพืชเพื่อสร้างอาหาร ปริมาณแสงที่ได้รับในพื้น ที่ปลูก แต่ละวันนั้นจะมีผลต่อชนิดของผักที่ปลูก โดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งความต้องการแสงในการปลูกผัก ดังนี้
2.1 สภาพที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรปลูกพืชผักที่สามารถเจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ต้นชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา เป็นต้น

2.2 สภาพที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรเลือกปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง พริกต่าง ๆ ยกเว้น พริกขี้หนูสวน




ผู้ปลูกผัก
นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในการปลูกผักนั้นผู้ปลูกต้องพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ความประสงค์ของผู้ปลูก ควรกำหนดว่าจะปลูกผักโดยมีวัตถุประสงค์อะไร เช่น การปลูกเพื่อต้องการได้ผัก มาบริโภค ประจำวัน หรือการปลูกเพื่อเป็นงานอดิเรก

2. ความรู้ในด้านการปลูกผัก ดังที่ได้กล่าวแล้วในเบื้องต้นว่าการปลูกผักนั้นจะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ดังนั้นในการปลูก ผักทุก ประเภทไม่ว่าผักสวนครัวหรือการปลูกผักเป็นอาชีพต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผักและวิธีการในการปลูกผัก

3. แรงงานในการปลูกผัก เนื่องจากผักเป็นพืชที่ต้องการความพิถีพิถันในการดูแลรักษา ดังนั้นการปลูกผักจึงต้องใช้แรงงาน ในการ ดูแลรักษาตามความเหมาะสม ปกติการปลูกผักเป็นอาชีพ แรงงานประมาณ 2-3 คน จะดูแลแปลงปลูกได้ประมาณ 2 ไร่ ส่วน การปลูกผักสวนครัวพื้นที่ประมาณ 30-40 ตารางเมตร ควรจะมีแรงงานดูแลรักษาเฉลี่ยวันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง

4. ความชำนาญในการปลูกผัก การปลูกผักนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความชำนาญในการปลูก
การวางแผนการปลูกผัก



ความจำเป็นที่จะต้องวางแผนการปลูกผัก
1. ผู้ปลูกสามารถเลือกวิธีการปลูกผักให้เหมาะสมกับสภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น สภาพพื้นที่ ฤดูกาล ผู้ปลูก ฯลฯ
2. เพื่อให้ได้ผักชนิดต่าง ๆ ตามที่ต้องการหลังจากปฏิบัติตามแผนแล้ว



วิธีการปลูกผักสวนครัว

การเตรียมแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลง หรือโรคพืช ที่อยู่ในดินโดยการพรวนและตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความ ยาวควรเป็น ตาม ลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อย ๆ ตามความเหมาะสมความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วน แต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุง ให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา ประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75–100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5x5 เซนติเมตร เป็นต้น



การปฏิบัติดูแลรักษา

การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ
การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า – เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก

2. การให้ปุ๋ย
มี 2 ระยะ คือ

2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ เจริญเติบโตของพืชด้วย

2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล


3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช
การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน




การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง


สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี



http://www.vegetweb.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7-2/