-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 164 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่





กำลังปรับปรุงครับ




กระชายดำ


กระชายดำเป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตามบริเวณป่าดิบร้อนชื้น แหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปคือ เขตปลูกอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย และภูเรือ จังหวัดเลย ปัจจุบันปลูกมากในเขตจังหวัดเลย เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูงมากจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งอื่นๆ เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เช่นเดียวกับขิงและขมิ้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก(tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดิน ส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิงหรือขมิ้น แต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจางๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม.

ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน

หัวมีสีเข้ม แตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา

พันธุ์
ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้ 3 สายพันธุ์ คือ

• สายพันธุ์ที่มีเนื้อหัวสีดำ
• สีม่วงเข้ม
• สีม่วงอ่อนหรือสีน้ำตาล

ส่วนใหญ่แล้ว จะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการ ของตลาด


แหล่งปลูกที่เหมาะสม

เนื่องจากกระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดี มีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวไม้ยืนต้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูล ยืนยันว่าปลูกกลางแจ้งกับปลูกในที่ร่มรำไรมีผลแตกต่างกันอย่างไร ทั้งในด้านคุณภาพและการเจริญเติบโต


การปลูก

การเตรียมพันธุ์ปลูก
โดยการใช้หัวแก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1-3 เดือน ก่อนเก็บรักษาควรจุ่มหัวพันธุ์ใน สารป้องกันกำจัดเชื้อราโดยใช้ไดโฟลาแทน 80 หรือ แมนเซ็ทดี ผสมน้ำอัตรา 2-4 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

ในพื้นที่ 1 ไร่จะใช้หัวพันธุ์ประมาณ 200-250 กก.ขึ้นกับระยะปลูก และขนาดของหัวด้วย

การเลือกหัวพันธุ์
ควรจะใช้พันธุ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากในน้ำหนักที่เท่ากันกับหัวขนาดใหญ่ หัวขนาดเล็กจะปลูกได้มากกว่าและควรเลือกหัวพันธุ์ที่มีสีดำหรือม่วงเข้ม ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด

ฤดูปลูก
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยว ในเดือนธันวาคม-มกราคม กระชายดำจะมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน

การเตรียมดิน
ก่อนที่จะมีการไถเตรียมดิน ควรหว่านปูนขาวในอัตรา 100-150 กก.ต่อไร่ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงไถกลบปูนขาวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน

เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรอาจไถเพียงครั้งเดียว ก่อนปลูกควรยกเป็นแปลง(ไม่ต้องสูงนัก) ความกว้างของแปลง 1.50-2.0 เมตร ความยาวไม่จำกัด

วิธีการปลูก
ใช้หัวพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้วแยกหัวโดยหักออกเป็นข้อๆ ตามรอยต่อระหว่างหัว
ฝังกลบดินให้มิดแต่ไม่ลึกนัก

โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว x ระหว่างหลุม 0.20 X 0.25 เมตร หรือ 0.25 X 0.30 เมตร 
ปลูกเสร็จแล้วใช้แกลบหว่านกลบบางๆ อีกชั้นหนึ่ง


การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพื้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หากดิน มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว อาจใช้แกลบที่ได้จากการรองพื้นเล้าไก่ก็เป็นการเพียงพอ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

การกำจัดวัชพืช
วัชพืชในไร่กระชายไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เนื่องจากกระชายมีระยะปลูกถี่ใบ สามารถคลุมดินป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืชได้ดี หากมีความจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดจากแปลง

การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวของกระชายดำ ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงนี้ สังเกตดูใบจะเริ่มแก่มีสีเหลืองและแห้งตายลงในที่สุด
การเก็บเกี่ยวเร็วก่อนกำหนดจะมีผลต่อคุณภาพโดยเฉพาะของหัวจะไม่เข้ม ซึ่งเป็นกระชายดำที่ตลาดต้องการ (แต่อย่างไรก็ตามอายุการเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อสีของหัวกระชายมากน้อยเพียงใดยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ)

การขุดหัวกระชาย
ถ้ายกเป็นแปลงตอนปลูก จะเก็บเกี่ยวได้ง่าย โดยใช้จอบหรือเสียม ขุดหัวขึ้นมาแล้ว เคาะดินให้หลุดออกจากหัวและราก

เกษตรกรนิยมนำหัวกระชายที่ขุดได้ใส่ถุง แล้วนำไปทำความสะอาดที่บ้าน โดยการปลิดราก ออกจากหัวให้หมดให้เหลือแต่หัวล้วนๆ
(ส่วนรากหรือนมกระชายที่ปลิดออกจากหัวสามารถนำไปจำหน่ายให้พ่อค้าได้)

ผลผลิต

โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กก. สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กก. ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กก.

สรรพคุณทางยา
ในปัจจุบัน กระชายดำจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค และวงการแพทย์แผนไทย เพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ แต่จากประสบการณ์ ของผู้ใช้กระชาย มีรายงานว่าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุง หัวใจ แก้ใจสั่น แก้บิด แก้ปวดข้อ แก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก แก้แผลในปาก ทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้นผิวพรรณผุดผ่องสดใส ขับปัสสาวะแก้โรคกระเพาะ และปวดท้อง เป็นต้น แต่ที่กล่าวกันมากคือ บำรุงกำหนัด จึงได้ฉายาว่า โสมไทย (โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง,2539)

การแปรรูป
ในปัจจุบันนอกจากใช้กระชายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิด ความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทำไวน์กระชายดำ

กระชายดำแบบหัวสด
การรับประทาน : ใช้รากเหง้า(หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี. ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้ ในอัตราส่วน 1:1

กระชายดำหัวแห้ง
กรรมวิธีการผลิต : การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง ก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูง จนแห้งได้ ที่แล้ว จึงนำมา เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน

การรับประทาน : หากไม่ใช่คอเหล้าที่มักนิยมนำไปดอง กับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็น ชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำรับประทาน บางตำราบอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสด ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วันนำมาดื่มก่อนนอน อาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้

รายละเอียดวิธีใช้ :

• หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้นได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก)
• หัวแห้ง ดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1
• หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5

กระชายดำแบบชาชง
กรรมวิธีการผลิต : นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น

วิธีใช้ :

• กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)

ข้อแนะนำ :

• หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ตามชอบใจ

ลูกอมกระชายดำ
ศูนย์การศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลยร่วมกับกลุ่มโซนศรีสองรัก ได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์ ลูกอมสมุนไพร เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ นาแห้ว จ. เลย

ส่วนประกอบ :

1.กระชายดำ 2.นมสด 3.เนยอย่างดี 4.น้ำตาลทราย 5.แบะแซ

ไวน์กระชายดำ
ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้น ไวน์ (wine) หมายถึง "เหล้าองุ่น"เท่านั้น ตามกระแสนิยม สำหรับคนไทยนั้น คำว่า "ไวน์" หมายถึง ผลไม้ หรือสมุนไพรที่นำมาหมักแล้วได้แอลกอฮอล์ ไม่เกิน 15 ดีกรี ซึ่งกรรมวิธีผลิตก็ทำเช่นเดียวกับไวน์ในต่างประเทศ แต่ในกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติสุราฯ นั้นเรียกว่า "สุราแช่" ดังนั้น อนุโลมที่จะเรียกผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาหมักว่า "ไวน์" และต่อท้ายด้วยชื่อผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาทำเป็นวัตถุดิบนั้น เช่น ไวน์สัปปะรด ไวน์ลูกยอ ไวน์ลูกหม่อน เพราะไม่สามารถที่หาคำใดมาเรียก ได้เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย
2009-01-04

http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=22









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2094 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©