-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 197 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่





กำลังปรับปรุงครับ


ถั่วแระญี่ปุ่นที่แช่เย็นขายในห้างมีประโยชน์อย่างไร
และเป็นพืชนำเข้าใช่ไหม


Toon

ตอบ Toon

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อธิบายว่า "ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด" เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก เมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนี้ยังมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการวัยทอง มีใยอาหารสูง มีวิตามิน A. B. และ C. และแร่ธาตุที่ร่างกาย ต้องการ เช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ทั้งนี้ ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคในระยะที่ฝักเริ่มแก่ เมล็ดโตเต็มที่ นั่นคือเมล็ดมีความเต่งและมองเห็นเมล็ดเต็มฝัก ในขณะที่ฝักยังคงมีสีเขียว รสชาติหวานบริโภคได้ทั้งฝักสดหรือต้มรับประทาน

ถั่วแระญี่ปุ่นปัจจุบันผลิตได้ในประเทศไทยโดยนำพันธุ์เข้ามาปลูกเพื่อผลิตฝักสดแช่แข็งส่งออกไปขายยังต่างประเทศมาเนิ่นนาน พอๆ กับการพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดในบ้านเราที่เริ่มแรกได้นำพันธุ์จากศูนย์พืชผักโลก (The World Vegetable Center) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่แสวงหากำไร ให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพืชผัก เพิ่มปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก และลดความยากจนของเกษตรกร กำหนดแผนยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ในการแก้ปัญหาการผลิตและการบริโภคพืชผัก

การผลิตถั่วเหลืองฝักสดในประเทศไทยแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.  การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การปลูกยังไม่มากนักเนื่องจากเมล็ดพันธุ์หายากพันธุ์ที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เชียงใหม่ 1 แหล่งเพาะปลูกคือ จ.พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว

2.  การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก  ปัจจุบันประเทศไทยดำเนินการส่งออกถั่วเหลืองฝักสดแช่แข็งโดยบริษัทเอกชนในรูปแบบครบวงจร ปริมาณการส่งออกปีละประมาณ 10,000 ตัน มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา พันธุ์ที่ใช้ส่งออก คือ AGS 259 และพันธุ์ NO.75 แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี

ถั่วเหลืองฝักสดเป็นพืชที่บริโภคฝักสด จึงต้องดูแลป้องกันไม่ให้มีโรคแมลงเข้าทำลายฝักและเมล็ด เพื่อให้ผลผลิตฝักถั่วสวยงามน่ากินปัญหาที่สำคัญของถั่วเหลืองฝักสดคือ สารเคมีตกค้างในผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสดเกินมาตรฐานที่กำหนด

การปลูกถั่วเหลืองฝักสดไม่แตกต่างจากการปลูกถั่วเหลืองไร่ เพียงแต่เก็บเกี่ยวในช่วงระยะที่มีฝักถั่วเต่งเต็มที่ประมาณร้อยละ 80 ในขณะที่ฝักยังมีสีเขียวสด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 62-68 วัน โดยช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสม และมีคุณภาพดี จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นฝักถั่วจะแก่เกินไป การปลูกถั่วเหลืองฝักสดจึงต้องมีการวางแผนการปลูก การเก็บเกี่ยวและการตลาดที่ดี จึงจะได้ผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของลูกค้า

สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ เอจีเอส 292 และ NO.75 ซึ่งปลูกเพื่อการส่งออก ส่วนพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภคภายในประเทศได้แก่พันธุ์เชียงใหม่ 1 และนครสวรรค์ 1 ปกติการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า โดยใช้เคียวเกี่ยวต้นถั่วทั้งต้น แล้วนำไปวางในที่ร่มเพื่อเด็ดใบและก้านออก ให้เหลือเฉพาะต้นและฝัก จากนั้นจึงมัดต้นถั่วเป็นมัด มัดละ 5 กิโลกรัม เพื่อรอการส่งตลาด จำหน่ายต่อไป









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2289 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©