-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 348 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่








การปลูกปอ



ฤดูปลูก 
ปอเป็นพืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสงมากซึ่งกระตุ้นให้ปอออกดอกในช่วงเวลาของวันสั้น  ปอกระเจาเริ่มออกดอกราวเดือนสิงหาคมปอคิวบาออกดอกประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม  สำหรับปอแก้วช่วงแสงในเวลากลางวันมีผลให้ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม การออกดอกของปอทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นสิ้นสุดการสร้างผลิตผลของเส้นใยก็สิ้นสุดลงด้วย  การปลูกปอจึงจำเป็นต้องให้ปอเจริญเติบโตทางลำต้นยาวนานที่สุดเพื่อจะให้ได้ผลิตผลเส้นใยสูงสุดตามปกติเกษตรกรจะเริ่มปลูกปอเมื่อฝนเริ่มตกในระยะแรกประมาณเดือนเมษายนหรืออย่างช้าเดือนพฤษภาคม การปลูกปอช้าไปกว่านี้จะทำให้ปอมีโอกาสเจริญเติบโตทางลำต้นน้อยลงเป็นผลให้ปลูกปอได้เพียงปีละ ๑ ครั้ง

     
การเลือกพื้นที่ปลูกและการเตรียมดิน        
ปอแต่ละชนิดมีความต้องการแตกต่าง กันสภาพพื้นที่จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของปอมากปอแก้วเป็นปอที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในสภาพที่แห้งแล้งมีฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานชอบดินร่วนซุยที่มีการระบายน้ำได้ดีในสภาพน้ำขังหรือมีฝนตกชุกจะมีโรคโคนเน่าระบาดจึงเหมาะสมที่จะปลูกในที่ดอน ส่วนปอคิวบาเป็นปอที่ทนต่อความแห้งแล้งได้น้อยกว่าปอแก้ว สภาพที่ฝนทิ้งช่วงจะทำให้ปอคิวบาชะงักการเจริญเติบโต  นอกจากนี้ปอคิวบายัง
      
ต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าปอแก้วแต่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพน้ำขังเช่นในนาข้าวเนื่องจากมีความต้านทานต่อโรคโคนเน่าได้ดีปอคิวบาจึงเป็นพืชที่ปลูกได้ก่อนปลูกข้าวในนา ปอกระเจาเป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้น้อยกว่าปอแก้วและปอคิวบามีความต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มาก ปอกระเจาจึงไม่สามารถขึ้นกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไปได้ ปอกระเจาฝักยาว ส่วนใหญ่จะปลูกกันบริเวณริมแม่น้ำโขงที่มีสภาพดินอุดมสมบูรณ์มากมีฝนตกทั่วไปตลอดฤดูปลูกเช่นในเขตจังหวัดหนองคายและสกลนครส่วนปอกระเจาฝักกลมสามารถปรับตัวได้ดีกว่าปอกระเจาฝักยาว สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพที่แห้งแล้งหรือน้ำขังได้ดีกว่า ในอดีตได้พบว่าปลูกมากในเขตภาคกลาง  ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อใช้ทำเชือกมัดฟ่อนข้าว  แต่ปัจจุบันการปลูกปอกระเจาฝักกลมมีเพียงเล็กน้อย
การเตรียมดินเป็นการกำจัดวัชพืชและเพิ่มพูนคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้มีอากาศถ่ายเทและสามารถเก็บความชื้นได้ดี การเตรียมดินในการปลูกปอก็เหมือนกับการเตรียมดินของพืชไร่อื่นๆคือเริ่มไถเมื่อฝนตกครั้งแรกประมาณเดือนเมษายน แต่ไม่ควรไถในช่วงที่ดินเปียกเกินไปเพราะจะทำให้ดินอัดตัวแน่นมีการระบายน้ำและอากาศไม่ดีมีโรคระบาดได้ง่ายควรไถดะและไถแปรอย่างละ๑ครั้งและไถลึกประมาณ ๑๕ เซนติเมตรก็เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปอ  สำหรับการเตรียมดินของปอกระเจาจะต้องมีการเตรียมให้หน้าดินเรียบสม่ำเสมอ เนื่องจากปอกระเจามีเมล็ดขนาดเล็กไหลตามน้ำได้ง่ายเมื่อเวลาฝนตกน้ำฝนจะชะเมล็ดไหลมารวมกัน ขึ้นเป็นกลุ่มในที่ต่ำไม่กระจายออกทั่วแปลง นอกจากนี้ต้องทำให้หน้าดินละเอียดพอสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดปอกระเจาตกลงไปลึกระหว่างก้อนดินทำให้การงอกของปอไม่สม่ำเสมอ



 
วิธีปลูก
การปลูกปอให้ได้ผลิตผลสูงควรปลูกให้มีจำนวนต้นปอต่อไร่อยู่ระหว่าง๕๓,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ต้นต่อไร่ถ้าปลูกให้มีจำนวนมากกว่านี้ผลิตผลก็ไม่เพิ่มขึ้นแต่ขนาดของลำต้นจะเล็กลงเนื่องจากการแข่งขันกันเอง ทำให้เสียเวลาในการเก็บเกี่ยวและแช่ฟอกทั้งอาจจะมีการระบาดของโรคและแมลงได้ง่ายแต่ในทางตรงกันข้ามถ้าปลูกปอให้มีจำนวนน้อยกว่าที่กำหนดปอจะแตกกิ่งและล้มง่ายมีปัญหาเรื่องวัชพืชมากและผลิตผลต่ำ ตามปรกติการปลูกปอนิยมปลูกอยู่ ๒ วิธี คือ
         
๑.  การปลูกเป็นแถว

    
โดยมีการปลูกที่ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว ๓๐ เซนติเมตร ระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร ปอ ๑ ต้นต่อหลุม  แต่การปลูกโดยวิธีนี้ทำให้ปลูกได้ช้า    เสียค่าใช้จ่ายมากอาจปลูกโดยโรยเมล็ดปอเป็นแถว เพิ่มระยะระหว่างแถวเป็น  ๕๐ เซนติเมตร  สำหรับปอแก้วใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา ๓ กิโลกรัมต่อไร่  และปอกระเจาใช้ในอัตราประมาณ ๐.๕ กิโลกรัมต่อไร่ ข้อดีของการปลูกเป็นแถวคือทำให้ดูแลรักษาได้ง่าย   นอกจากนี้ยังทำให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ลดโอกาสการระบาดของโรคและแมลงลงได้
         
๒.  การปลูกแบบหว่าน
 
เป็นวิธีการที่กสิกรปฏิบัติกันมาก  เพราะสามารถปลูกได้เร็ว  ใช้แรงงานน้อย  วิธีการนี้จะเหมาะสมในสภาพที่มีวัชพืชรบกวนน้อย   แต่ถ้าเกิดโรคขึ้นในแปลงปลูก  โรคจะแพร่ระบาดได้เร็วกว่าการปลูกเป็นแถว สำหรับอัตราเมล็ดพันธุ์ที่แนะนำให้กสิกรหว่านคือ ปอแก้วใช้ในอัตรา ๓ กิโลกรัมต่อไร่ ปอกระเจาใช้ในอัตรา ๐.๕-๑.๐ กิโลกรัมต่อไร่


การดูแลรักษา

ตามปกติปอเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีต้องการการดูแลรักษาไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น ๆ สำหรับการดูแลรักษาโดยทั่วไป  ได้แก่ การถอนแยกเพื่อให้ปอคงประชากรในแปลงปลูกประมาณ ๕๓,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ต้นต่อไร่ การถอนแยกโดยทั่ว ๆ ไป จะทำเมื่ออายุไม่เกิน ๒๐ วัน ทำพร้อมกับการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรใช้ปุ๋ยสูตร  ๑๕-๑๕-๑๕ ในอัตรา ๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่แมลงที่ระบาดเป็นประจำและเป็นศัตรูสำคัญของปอแก้วและปอคิวบา ได้แก่  เพลี้ยจักจั่น  แมลงชนิดนี้จะพบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบาดรุนแรงเมื่อฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน   ตามปกติระบาดสูงในช่วงเดือนมิถุนายนกันยายน  แมลงทำลายปอโดยการดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ  ทำให้ใบปอเหลือง ซีดและม้วนลง  เป็นผลให้ปอชะงักการเจริญเติบโต ถ้าระบาดในช่วงปอมีอายุน้อยต้นปออาจตายได้   ปอแก้วทนต่อการทำลายของเพลี้ยจักจั่นได้ดีกว่าปอคิวบาการระบาดของแมลงชนิดนี้จะหายไปเมื่อมีฝนตก    สำหรับปอกระเจา หนอนคืบเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุด ทำลายโดยกัดกินใบให้เป็น รพรุน ปอจะชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้าระบาดในช่วงปอออกดอกก็จะไม่มีผลต่อผลิตผลปอ โรคโคนเน่า  (Collar rot) เป็นอันตรายและทำความเสียหายให้แก่ปอแก้วมากที่สุด  พบได้ในแหล่งปลูกทุก ๆ  ที่  โรคนี้เกิดจากเชื้อราไฟทอฟทอรา  ไมโคเทียมี พรรณ พาราสิติคา (Phytophthora micotiame Var.  Parasitica)  ที่อาศัยอยู่ในดิน เชื้อรานี้สามารถเข้าทำลายปอได้ทุกช่วงอายุ   แต่โดยทั่วไปจะพบในช่วงที่ปอใกล้ออกดอกและช่วงที่มีฝนตกชุก โรคนี้ทำให้ปอเหี่ยวและตายได้ ปอคิวบาต้านทานต่อโรคนี้ได้ดีกว่าปอแก้ว จึงสามารถปลูกในสภาพชื้นแฉะได้  แต่ปอคิวบาอ่อนแอต่อโรครากปม (Rootknot)  ซึ่งเกิดจากไส้เดือนฝอยที่พบว่าระบาดมากในดินร่วนปนทรายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ปลูกปอคิวบาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีจำกัดโรคเน่าคอดิน (Damping-off) เกิดจากเชื้อรามาโครฟอมินา คอร์โคไร  (ฟาริโอลินา) (Macrophomina Corchori (phareolina)ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในดินตามซากพืชหรือติดมากับเมล็ดเชื้อรานี้ระบาดมากในช่วงฝนตกและอากาศอบอ้าว  ป้องกันได้โดยใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรคและปลูกปอแต่เนิ่น ๆ



http://www.supaporn123.ob.tc/g116.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1776 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©