-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 165 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 2/2

 

ชา

เป็นผลผลิตทาง
เกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลายหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอม ที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน นอกจากนี้ ชา ยังเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า

ชา
สามารถแยกอย่างง่ายๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่
ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์ แต่ที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำ ซึ่งชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ชาขาวคุณภาพดี ต้องปลูกโดยวิธีพิเศษ ส่วนชาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ได้รับการหมักบ่ม ยังใช้เป็นยาได้ด้วย


คำว่า "
ชาสมุนไพร" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืชอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมจากต้นชา ส่วนคำว่า "ชาแดง" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น) และน้ำที่ชงจากต้นรอยบอส (Rooibos) ของประเทศแอฟริกาใต้


ใน
ประเทศไทย เครื่องดื่มชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว

การจัดประเภทและการแปรรูป
 

แผนภูมิกระบวนการแปรรูปชาชนิดต่างๆ

ชา ถูกจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด และ "บ่ม" โดย ทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟิลล์ในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารแทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้น ต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อน เพื่อให้หยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โดยในชาดำ กระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง


หากไม่ระมัดระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจขึ้น
รา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และอันตรายต่อการบริโภค

ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้

  • ชาขาว: ตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้ครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
  • ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
  • ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
  • ชาแดง: ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
  • ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง
  • ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
  • ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี


ประวัติ

ตามตำนาน

ตำนานของจีนเกี่ยวกับชาที่นิยมเล่าขานกันเรื่องหนึ่ง มีอยู่ว่า เมื่อประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่เสินหนง ฮ่องเต้ในตำนานของจีน ผู้คิดค้นเกษตรกรรม และยาจีน กำลังเสวยน้ำร้อนถ้วยหนึ่งอยู่นั้น ใบไม้จากต้นไม้แถวนั้นก็ได้ร่วงลงในถ้วยใบฮ่องเต้ สีของน้ำในถ้วยก็เปลี่ยนไป ฮ่องเต้ก็ได้เสวยน้ำนั้นอีก และทรงประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่าน้ำนั้นกลับมีรสชาติดี และทรงรู้สึกสดชื่นอีกด้วย อีกตำนาน เล่าว่า ขณะที่เสินหนงฮ่องเต้ทรงกำลังทดลองสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ ด้วยพระองค์เองอยู่นั้น พระองค์ทรงค้นพบว่าสมุนไพรบางชนิดเป็นพิษ แต่ชาก็เป็นยาถอนพิษนั้นได้ ในงานประพันธ์ของ ลู่อวี่ (陆羽, Lù Yǔ) เรื่อง ฉาจิง (茶经, 茶經, chájīng) ก็ได้มีการกล่าวถึงเสินหนงฮ่องเต้เช่นกัน ตำนานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกตำนานหนึ่ง เล่าว่า เทพแห่งเกษตรกรรม ได้เคี้ยวพืชต่างๆ เพื่อทดสอบหาสรรพคุณของสมุนไพร ท่านเทพก็ได้ใช้ใบชาเป็ยาถอนพิษด้วยเช่นกัน


ยังมีอีกตำนานที่ย้อนไปในสมัย
ราชวงศ์ถัง พระโพธิธรรม ผู้ก่อตั้งนิกายเซน ได้เผลอหลับไปหลังจากการทำสมาธิหน้ากำแพงเป็นเวลาเก้าปี เมื่อท่านตื่นขึ้น ก็ได้ละอายต่อความง่วงของตนเอง จึงตัดเปลือกตาของท่านออกทั้งสองข้าง เปลือกตานั้นได้ตกลงบนพื้นดินและแทงราก ต่อมาจึงเติบโตเป็นต้นชา


แม้ว่าตำนานเหล่านี้จะไม่มีเค้าโครงความเป็นจริง แต่ชาก็มีบทบาทอย่างสูงต่อวัฒนธรรมของชาติ
เอเชียมาหลายศตวรรษ ในฐานะที่เป็นเครื่องดื่มหลักในชีวิตประจำวัน ยารักษาโรค หรือแม้แต่สัญลักษณ์แสดงฐานะ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่บ่อยครั้ง ตำนานเหล่านี้จะกำเนิดบนพื้นฐานทางศาสนาและพระมหากษัตริย์จีน


ชาว
จีนรู้จักการบริโภคชามาแล้วกว่าพันปี ชาวบ้านในสมัยราชวงศ์ฮั่นใช้ชาเป็นยารักษาโรค (แม้ว่าการดื่มชาเพื่อช่วยให้กระปรี้กระเปร่านั้นเริ่มขึ้นเมื่อใด) จีนถือเป็นประเทศแรกที่รู้จักการดื่มชา โดยมีหลักฐานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช



ชนิดของชา
ชาดำ

การผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้งโดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมาเพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งแล้วนั้นมากลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บดและฉีก ต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้ว จะได้ใบชาที่แห้งสนิท


ชาอูหลง

การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้รสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง ฉีก และหมักด้วยระยะเวลาสั้น ๆ


ชาเขียว

การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ

มีการทำผลิตภัณฑ์ชาหลากหลายชนิดในยุคปัจจุบัน เช่น ชาเย็นพร้อมดื่ม และ ผสมส่วนผสมอย่างอื่นเพื่อแต่งกลิ่นและรส เช่น เนสที ชาโออิชิ


ชาตะไคร้เตยหอม

เป็นชาที่ไม่ได้ใช้ส่วนผสมจากต้นชาเลย แต่ว่านำพืชที่มีกลิ่นหอม มาหั่นพอประมาณ และอบแห้ง เป็นชาที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง และราคาถูกกว่าชาแท้ๆ แต่รสชาติจะสู้ไม่ได้
 

ชามะลิ

เป็นชาที่นำชาเขียว (หรืออาจเป็นชาอื่นๆ) มาใส่ดอกมะลิที่รีดน้ำ และกลิ้งแล้ว ใส่ลงไป ปกติถ้าเป็นชาที่คุณภาพต่ำ จะไม่ใช้มะลิแท้ๆมาทำ เพียงแค่แต่งกลิ่นประกอบเพิ่มเท่านั้น ส่วนชามะลิแท้ๆ จะใส่มะลิอบแห้งไปด้วย ทำให้ได้รส และกลิ่นมะลิเต็มตัว ทำให้ราคาของชามะลิแท้จะค่อนข้างแพง
 

ชาใบหม่อน

เป็นชาที่กำลังได้รับความนิยม ไม่แพ้ชาชนิดอื่น โดยสรรพคุณของใบหม่อนจะช่วยป้องกันรักษา โรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดี อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ


หม่อน (Morus spp.) สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารของหนอนไหม กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์
สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมมช.) ได้บุกเบิกการค้นคว้าวิจัยการผลิตชาใบหม่อนและสรรพคุณของพืชชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบใบหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และ รูติน(rutin) นอกจากนั้นยังพบชาใบหม่อนมีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 

ชาเจี่ยวกู้หลาน

เจียวกู่หลานหรือที่คนไทยเรียกว่า "ปัญจขันธุ์" มีสรรพคุณใช้บำรุงร่างกาย ระงับประสาท ช่วยให้นอนหลับ ลดความตื่นเต้น ลดความดันในโลหิต ลดคอเลสเตอรอล และกรดไขมันอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ชะลอความชรา ยืดอายุของเซลล์เพิ่มจำนวนอสุจิ รักษาโรคปวดหัวข้างเดียว ช่วยควบคุมน้ำหนัก ได้โดยไม่ต้องอดอาหาร และช่วยสร้างภูมิต้าน ทานโรคต่าง ๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสรรพ คุณในการควบคุมการเจริญ ของเซลล์มะเร็ง และสามารถควบคุมการแพร่การเจริญของเซลล์มะเร็งเองได้ รวมทั้งสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อ HIV
 

นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปัญจขันธ์หรือ เจียวกู่หลาน เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา พบมากในประเทศญี่ปุ่น จีน และในไทยสามารถปลูกได้คุณภาพดีที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่เพิ่มจำนวน มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานในหลอดทดลอง เมื่อทดสอบกับสัตว์ทดลอง ไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง นอกจากนั้น เมื่อทดสอบในอาสาสมัครให้รับประทานสารสกัดในแคปซูล พบว่า มีความปลอดภัย ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรเตรียมขยายผลนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ในญี่ปุ่นและจีนใช้ปัญจขันธ์เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ปวด แก้ไอขับเสมหะ ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
 

ชาหญ้าหวาน   ประโยชน์

นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกัน[[โรคอัลไซเมอร์][1] นอกจากนั้น ชาบางชนิด เช่น ชาใบหม่อน เจี่ยวกู้หลาน และชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย [1]


ข้อห้ามสำหรับผู้ดื่มชา

สตรีมีครรภ์ เด็กที่อายุน้อยกว่า3ขวบ หรือ กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา (โดยเฉพาะคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ เช่นธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้
 

ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้

ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้
 


อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2



ใครๆก็ดื่มชา ผู้คนทุกมุมโลกที่แตกต่างกันด้วยเรื่องชาติ สีผิว ขนบธรรมเนียมประเพณี ฐานะ ต่างพากันสนใจดื่มชา เพราะชาไม่เป็นเพียงเครื่องดื่มที่ให้ความละเมียดละไม แต่เป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรม เป็นรสชาติของชีวิต


“ชา” มาจากพืชตระกูลคาเมเลีย ไซเนนซิส (Camellia sinensis) ถิ่นกำเนิดอยู่ในจีนและอินเดีย มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเขียว หากปล่อยให้เติบโตเองในป่าจะให้ดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อดอกชาโตเต็มที่ จะให้ผลชาที่ภายในมีเมล็ดเล็กๆ หนึ่งถึงสามเมล็ด ในการแพร่พันธุ์ ต้นชาต้องได้รับการผสมละอองเกสรกับต้นชาต้นอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนยีนและโครโมโซมซึ่งกันและกัน เมื่อชาต้นใหม่เจริญงอกงาม จะคงลักษณะที่แข็งแรงบางส่วนของพ่อแม่ ด้วยวิถีเช่นนี้ ต้นชาจึงเป็นพืชที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง

         
ส่วนของต้นชาที่นำมาเป็นเครื่องดื่มจะอยู่ส่วนบนสุดของต้น อันเป็นตำแหน่งของการผลิใบอ่อน และการแตกหน่อ ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุดนั่นก็คือ ชาที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ ชาที่ผลิตจากใบชาอ่อนและตานั่นเอง และเครื่องมือในการเก็บใบชาที่ดีที่สุดก็คือ มือของมนุษย์ ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาอย่างนี้เป็นเวลานับหลายพันปี 

         
การผลิตใบชา เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้จากประสบการณ์และความชำนาญที่สั่งสมผ่านกาลเวลา ถ่ายทอดกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า ผ่านปู่ถึงพ่อและลูกหลานเคล็ดลับของแต่ละตระกูล ล้วนเป็นความลับของครอบครัวที่ไม่ถ่ายทอดข้ามสายเลือด ใบชาที่ผลิตออกมาแต่ละไร่จึงมีรสชาติและคุณภาพที่แตกต่างกัน   แต่ละขั้นตอนการผลิต เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมีส่วนร่วมในการทำงานหลายขั้นตอน แต่เคล็ดลับที่ทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นอยู่ที่สองมือและสมองของมนุษย์นี่เอง

         
“ชา” เป็นผลผลิตที่มาจากพืชชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นชาจีน ชาอินเดีย ชาศรีลังกา ชาญี่ปุ่น ชาอังกฤษ แต่กลับปรากฏว่าการชงชาที่แตกต่างกันในหลายวัฒนธรรม ทำให้เกิดชารูปแบบต่างๆ กว่า 3,000 ชนิด แตกต่างกันทั้งกรรมวิธีการผลิตใบชา การชงชาไปจนถึงการปรุงแต่งรสชาติของชา

         
คนจีนรู้จักดื่มชามาหลายพันปีแล้ว มีตำนานเล่าว่า จักรพรรดิเสิน-หนง (Emperor Shen Nung) วันหนึ่งขณะทรงต้มน้ำร้อนได้มีใบชาปลิวตกลงในหม้อน้ำเดือด ทรงชิมดูพบว่ามีรสชาติดีและมีกลิ่นหอมจากนั้นมาชาก็เป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันทั่วไป

         
สมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน น่าจะมีการดื่มชากันแล้ว แต่ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนคือจาก จดหมายเหตุ
        
ลาลูแบร์ราชฑูตฝรั่งเศส ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พูดถึงการดื่มชาในสยามว่าดื่มเฉพาะในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ถือเป็นมารยาทผู้ดีอันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงผู้มาเยี่ยม และคำว่า "ชา" คนไทยก็เรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางแล้ว



ชาในประเทศไทย

ชากลายเป็นเครื่องดื่มที่จำเป็นในสังคมไทย จากการสั่งใบชาเข้ามาบริโภคในประเทศก็ริเริ่มปลูกชาพันธุ์ดี การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของไทยเริ่มอย่างจริงจังที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เมื่อปีพ.ศ.2480 มีนายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี ตั้งบริษัทใบชาตราภูเขาจำกัด นายพร เกี่ยวการค้า นำผู้เชี่ยวชาญชาวฮกเกี้ยนมาถ่ายทอดความรู้เรื่องชาแก่คนไทย รวมทั้ง ป๋าซุง นายทหารกองพล 93 บ้านแม่สลอง ต่อมาสองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้ขอสัมปทานทำสวนชา จากกรมป่าไม้ในนามของ บริษัทชาระมิงค์ ภายหลังเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมชามากขึ้น จึงมีการขายสัมปทานสวนชาแก่บริษัทชาสยามผู้นำใบชาสดมาผลิตชาฝรั่งในนาม "ชาลิปตัน" จนกระทั่งปัจจุบัน




ชากับความเป็นอยู่และประเพณี 

พระสงฆ์ฉันน้ำชามาแต่โบราณ จึงมีประเพณีถวายน้ำชาพระสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ มีหมายรับสั่งสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีพิธีสงฆ์ในงานหลวงปรากฏเป็นหลักฐานว่า "ให้แต่งน้ำชาถวายสงฆ์ทั้ง 4 เวลา…ให้หัวป่าก์พ่อครัวรับ เครื่องชา ต่อวิเสทหมากพลู ต้มถวายพระสงฆ์ให้พอ 8 คืน"
         
สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีทูตฝรั่งเข้ามา การต้อนรับของทางการไทยก็แข็งขันมาก นอกจากผลไม้พื้นเมืองแล้ว ก็มีใบชา กาแฟไปต้อนรับทูต"
         
ชาเป็นเครื่องดื่มที่ชงไปนั่งคุยกันไป คนจีนเวลามีผู้มาหาสู่ถึงบ้านจะต้องยกน้ำชาออกมาต้อนรับ ถ้าไม่รักกันจริงจะไม่ยกน้ำชามานั่งดื่ม เพราะจะได้คุยให้เสร็จๆ แล้วรีบออกไปจากบ้านซะ
คนไทยและจีนใส่ใบชาลงในโลงศพเพื่อใช้ประกอบพิธี บ้างว่าช่วยการดูดกลิ่น บ้างว่าไม่ให้มีน้ำเหลืองไหลออกมา
         
พิธีไหว้บรรพบุรุษของจีน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ น้ำชาและเหล้าเวลาทำความสะอาดหลุมศพ(เช็งเม้ง) จะต้องไหว้น้ำชาทั้งที่สุสานและที่บ้าน วันสารทจีนก็ไหว้น้ำชา แม้พิธีแต่งงานชาวจีนพิธียกน้ำชาก็มีบทบาท ใช้เคารพผู้ใหญ่ให้เมตตาคู่บ่าวสาว เพื่อการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สมบูรณ์
         
ญี่ปุ่นเองก็มีพิธีชงชาแบบชาโนยุ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาของนิกายเซน ปัจจุบันมีการฝึกหัดชงชาเพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น




ร้านน้ำชา 

แหล่งกำเนิดความเป็นจีน ร้านน้ำชาคือสถานที่ผู้คนทุกอาชีพ ทุกชนชั้นทางสังคมแวะเวียนมาตั้งแต่ราชวงศ์หมิง เพื่อพักดื่มน้ำชาสักถ้วยภายใต้ร่มเงาอันร่มรื่น คนคุ้นเคยหรือแปลกหน้าก็สามารถพูดคุย ถกปัญหา แลกเปลี่ยนข่าวสาร ตลอดถึงการตกลงทางธุรกิจได้อีกด้วย

ร้านน้ำชายังเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมจีน เช่นการแสดงงิ้ว การเล่านิทาน การสนทนารูปแบบการเล่นตลก เป็นต้น ผู้สูงอายุบางคนจึงใช้เวลาอยู่ที่ร้านน้ำชาเกือบทั้งวัน
         
จากการพูดคุยพบปะกันที่ร้านน้ำชานี่เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในสังคมจีน เช่นการรับเอาวัฒนธรรมบางอย่างจากชาติตะวันตก หรือแม้แต่ความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์และความคิดปฏิวัติที่มีผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ก็มีแหล่งมาจากร้านน้ำชาเช่นกัน
         
ก๊วนน้ำชาสวนลุมฯ ผู้มารำมวยจีน มาออกกำลังกายยามเช้าที่สวนลุมพินี เสร็จแล้วก็มาล้อมวงชงชากันต่อ มีการตั้งก๊วนชารวมกลุ่มกันนับได้เป็นสิบๆ ก๊วน ถือเป็นการพักเหนื่อยหลังออกกำลัง มีการลงขันปันเงินกันซื้อชา อุปกรณ์ชา ค่าฝากของ ค่าเตาปิกนิกและอื่นๆ 
         
ทุกเช้ามักจะมีใครสักคนในก๊วนซื้อของกินมาร่วมเช่น ปาท่องโก๋ หรือขนมเปี๊ยะ สมาชิกมีทั้งหญิงและชายจากนานาอาชีพตั้งแต่นักธุรกิจเจ้าของโรงงานใหญ่จนถึงซิ้มขายเฉาก๊วยและแป๊ะมีขวดมาขาย เรื่องที่คุยกันก็มีสารพันสรรมาเล่าสู่ ท่ามกลางความสดชื่นของอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า จิบชาร้อนๆ สนทนาเรื่องน่าสนใจหรือนิทานขำขันเฮฮา จนเพลงชาติขึ้นแต่ละก๊วนจึงสลายตัว พาเอาความกระฉับกระเฉงที่เติมใส่ จนเต็มแล้วแยกย้ายกันไป
         
นอกจากนี้ แถบย่านชุมชนจีนก็มีก๊วนน้ำชาที่เยาวราช และสำเพ็งอีกหลายแห่ง



โรงน้ำชาและหญิงโสเภณี 

ประเทศไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ยุคที่โรงยาฝิ่นกลายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย โรงน้ำชาย่านเยาวราช สำเพ็งก็ถึงยุคเฟื่องฟู ผู้หญิงและน้ำชากลายเป็นยอดปรารถนาของชายสมัยนั้น
ศักดิ์ เสาวรัตน์ บรรยายในบทความเรื่องจิบน้ำชา - เริงนารี 
ย่ำบางกอกนครโสเภณี ตอนหนึ่งไว้ดังนี้ 
        
"เพียงก้าวแรกที่เหยี่ยบย่างเข้าไป ลูกจ้างร้านขายของชำก็รู้สึกเหมือนตนเองเป็น 'คนสำคัญ' ของที่นั่น  เมื่อ 'โก' เจ้าของร้านเชื้อชาติเดียวกันออกมาต้อนรับขับสู้ให้พักผ่อนในห้องเล็กๆ ที่ประกอบด้วยเตียงนอน ม้านั่ง และม่านบังตาสีสันสวยงาม บริกรท่าทางนอบน้อม ยกกาน้ำชาพร้อมจอกกระเบื้องและชาจีนห่อเล็กๆ ถาดขนมขบเคี้ยว…ไม่นานนักหญิงสาวชาวจีนรุ่นกำดัดก็จะมารับหน้าที่ต้อนรับขับสู้และอยู่เป็นเพื่อนคลายเหงาและคลายเครียด เธอเหล่านั้นมักจะใส่ชุดกี่เพ้าแบบจีน ผัดแป้งทาหน้าขาวนวล แต่ออกจะเย้ายวนอารมณ์กำดัดของชายหนุ่นยิ่งนัก (ศักดิ์ เสาวรัตน์. 2545 : 98)
         
โรงน้ำชาที่ซบเซาไปจากถนนโลกีย์ในอดีต กลับไปผุดอยู่ทั่วไปย่านพระโขนง ลำสาลี สะพานควาย และไกลออกไปถึงรังสิต




สงครามและใบชา 

 ชาเดินทางจากจีนสู่ยุโรปครั้งแรกที่ฮอลแลนด์ ประมาณปี ค.ศ.1606 โดยเรือของบริษัทดัทช์อีสต์อินเดียของฮอลแลนด์ ในยุคนั้นใบชาเป็นของแพงและเป็นเครื่องดื่มเฉพาะในราชสำนักและชนชั้นสูง

ค.ศ.1652 ชาเข้าสู่อังกฤษ ได้รับความนิยมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ตลาดชาผูกขาดโดยบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ ท่ามกลางความต้องการสูงแต่จีนกลับขายชาคุณภาพต่ำให้อังกฤษ และกระทำผ่านตัวแทนจักรพรรดิ์จีน จะแลกเปลี่ยนใบชากับเงินเท่านั้น อังกฤษจึงนำฝิ่นมาขายในจีน เพื่อแปรเป็นเงินซื้อใบชากลับไป  


แต่กลับสร้างปัญหารุนแรงจนกระทั่งกลายเป็นสงครามฝิ่นระหว่างอังกฤษจีน (ค.ศ.1839-1842) จีนเสียเปรียบเรื่องอาวุธและเรือรบจึงพ่ายแพ้ ต้องยอมให้เกาะฮ่องกงตกเป็นเมืองเช่าในปกครองอังกฤษ นานถึง 156 ปี จึงกลับมาเป็นของจีนอีก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1997


การเดินทางของชายังแผ่ขยายไปเรื่อยๆ วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษยังติดตัวไป เมื่อครั้งอพยพไปแสวงหาดินแดนโลกใหม่คือทวีปอเมริกา รัฐสภาอังกฤษเก็บภาษีใบชาคนอเมริกันสูงมาก (ขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) ก่อเกิดความไม่พอใจและต่อต้าน ขนหีบชาทิ้งทะเล อันเป็นที่มาของชื่อ Boston tea Party สงครามครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับอังกฤษอีกต่อไป


คนอังกฤษชอบดื่มชาวันละหลายเวลา สำหรับการดื่มชาบ่าย (afternoon tea ยุคนั้นไม่ได้ดื่มตอนบ่าย แต่ดื่มตอนค่ำก่อนดึก) เริ่มขึ้นปี ค.ศ. 1825 โดยดัชเชส แห่งเบดฟอร์ด (Duchess of Bedford) ในการดื่มชานั้นมีขนมหลายชนิดให้เลือก โดยเฉพาะขนมเค้กชนิดต่างๆ ช่วงเวลาตอนบ่ายจึงถือเป็นธรรมเนียมการดื่มชา

มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ลอร์ดเนลสัน (Lord Nelson) และดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) ที่ต้องออกสนามรบกับพระเจ้านโปเลียน ก็มักจะสอบถามอยู่เสมอเกี่ยวกับเสบียงชา สำหรับดยุคนั้นมีถ้วยชาทำด้วยโลหะเงินและพกติดตัวไปด้วยเสมอ
         
การทำน้ำชาดื่ม คนอังกฤษถนัดต่างกับคนทั่วไป คือคนทั่วไปมักจะรินน้ำชาลงถ้วยก่อนแล้วเติมนมหรือครีมและน้ำตาล แต่คนอังกฤษจะใส่ครีมหรือนมลงไปก่อน เติมน้ำตาล แล้วจึงรินน้ำชาร้อนๆลงไปเป็นอันดับสุดท้าย เพราะฉะนั้นเห็นใครทำน้ำชาดื่มแบบนี้ลองถาม "มาจากอังกฤษหรือคะ" มักจะได้รับคำตอบ "Yes" พร้อมความแปลกใจ
"ทำไม you รู้ล่ะ"


 




ชา (Camellia sinensis) เป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีคนนิยมดื่มกันมานานกว่า 2,000 ปี โดยเฉพาะคนในประเทศจีนและอินเดียนิยมดื่มชากันมาก และนั่นก็หมายความว่าพลโลกร่วม 2,000 ล้านคน บริโภคชาเป็นประจำ

ามีต้นกำเนิดในจีนตอนใต้ และอินเดียตอนเหนือ ทุกวันนี้แหล่งชาที่สำคัญได้แก่ บริเวณไหล่เขาของประเทศศรีลังกา จีน อินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เป็นต้น
ชาเป็นพืชยืนต้นที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 6 เมตร ชาบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 100 ปี ตามปกติชาวไร่จะนิยมปลูกชาตามบริเวณไหล่เขา ทั้งนี้ก็เพื่อให้รากชาช่วยยึดดิน และเพราะเหตุว่าคุณภาพของชาขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นชาที่ปลูก

ในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละฤดู จะให้ชาที่มีรสไม่เหมือนกัน และโดยทั่วไปแล้วชาที่ปลูกในที่สูงจะมีกลิ่นและรสชาติที่ละมุนละไมกว่าชาที่ปลูกในพื้นที่ที่ต่ำกว่ามาก เมื่อต้นชามีอายุได้ 4-5 ปี ชาวไร่จะเลือกเก็บใบชา โดยเขาจะเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อนและใบอ่อน และเมื่อเก็บใบแล้วใบชาใหม่ก็จะแตกใหม่ในเวลาอีกไม่นาน กระบวนการทำชาคือการแปรรูปใบชาอ่อนให้เป็นใบชาที่มีสภาพอย่างที่เราเห็น โดยในขั้นต้น เขาจะผึ่งใบชาที่เก็บมาได้ด้วยลมในตะแกรงให้แห้ง จนใบชาลดน้ำหนักเหลือเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิม กระบวนการผึ่งลมนี้ใช้เวลานาน 12 ชั่วโมง เมื่อใบอ่อนถูกผึ่งจนแห้งแล้ว เขาจะนำใบชามานวดเพื่อให้ใบม้วนตัวและกระตุ้นให้สาร tannin ที่มีอยู่ในใบถูกขับออกมา tannin ทำให้ใบชามีรสฝาดขม จากนั้นใบชาที่ถูกนวดแล้ว จะถูกนำมาหมักเพื่อให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับใบชาจนใบเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล ชาฝรั่งที่มีสีน้ำตาลได้จากการหมักลักษณะนี้ 

ขั้นตอนต่อไปของการทำชา คือ การอบ โดยใบชาจะถูกอบด้วยความร้อนนานประมาณ 30 นาที ในช่วงที่มีการอบ ปฏิกิริยาเคมีในชาจะหยุด ชาวไร่จะอบชาจนกระทั่งชามีความชื้นเหลืออยู่เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ขั้นสุดท้ายคือนำใบชาไปผ่านเครื่องร่อน เพื่อคัดใบชาตามขนาด

ชาที่นิยมดื่มมี 3 ชนิด คือ ชาฝรั่ง  หรือชา oolong ซึ่งเป็นชาที่ผ่านการนวดอย่างสมบูรณ์ ชาจีน หรือชาดำ เป็นชาที่ผ่านการนวดเพียงเล็กน้อย และชาเขียว ซึ่งเป็นชาที่ไม่ถูกนวดเลย ในการต้มชานั้นน้ำที่เหมาะกับการต้มชาควรมีอุณหภูมิสูงประมาณ 80 องศาเซลเซียส และน้ำที่ใช้ต้มชาฝรั่งควรเป็นน้ำเดือด
 
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการดื่มชา หากดื่มเข้าไปมากๆ ขณะท้องว่าง บางคนอาจจะเมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ เมา caffeine ที่มีอยู่ในชา ทำให้มีอาการวิงเวียนคล้ายเมารถ ประมาณกันว่าในชา 1 ถ้วย จะมี caffeine ประมาณ 60 มิลลิกรัม caffeine จะกระตุ้นให้คนดื่มรู้สึกสดชื่นและ
กระปรี้กระเปร่า

ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับชามากมายและเชื่อว่าชามีสรรพคุณเป็นยารักษาสารพัดโรค เช่น โรคท้องเสีย และโรคหัวใจ เป็นต้น

ในวารสาร Journal of the National Cancer Institute ฉบับเดือนมกราคม 2540 A. Goldbohm แห่ง Nutrition and Food Research Institute ได้รายงานว่า ชาดำ หรือชาจีน ไม่มีผลในการรักษา

มะเร็งแต่อย่างใด ไม่ว่ามะเร็งนั้นจะเป็นมะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด หรือมะเร็งเต้านม
ผู้วิจัยกล่าวว่า ถึงแม้สารประกอบ catechins และ flavonols ที่พบในเซลล์ของสัตว์ จะมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งก็ตาม แต่เมื่อสารเหล่านี้อยู่ในชาดำ การถูก oxidized ทำให้มันหมดฤทธิ์ที่จะต่อสู้มะเร็ง  ผู้วิจัยกล่าวเสริมว่า จากความจริงที่ว่า คนที่นิยมดื่มชามักจะเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนทั่วไป เพราะคนเหล่านี้มักจะเป็นคนสูบบุหรี่น้อย และชอบบริโภคผลไม้ หาได้เป็นมะเร็งน้อยเพราะดื่มชาไม่

 







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (5072 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©