-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 462 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 3/3



มหา"ลัยขอนแก่นโชว์ผลวิจัย ข้าวฟ่างหวานผลิตเอทานอล

รศ.ดร.ประสิทธิ์ ใจศีล รองคณบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวภายในการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดกรอบการวิจัยเรื่อง "การวิจัยและพัฒนาพืชพลังงานที่ไม่ใช่พืชอาหาร" ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลจะสูงขึ้นถึงลิตรละ 50-60 บาท แม้รัฐบาลจะหันมาส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ ที่มีส่วนผสมของเอทานอล E 20 และ E 85 แต่อย่าลืมว่าการส่งเสริมการใช้ต้องควบคู่กับการหาวัตถุดิบอื่นๆ นอกจากอ้อย เพราะหากคนหันมาใช้มากก็มีโอกาสที่จะขาดแคลนในอนาคตได้


รศ.ดร.ประสิทธิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2.5 ล้านบาท ในการศึกษาโครงการวิจัยการผลิตเอทานอลจากข้าวฟ่างหวาน เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน โดยพบว่าลำต้นของข้าวฟ่างหวาน เมื่อนำมาคั้นเป็นน้ำจะมีประสิทธิภาพเป็นเชื้อเพลิงได้ โดยหากนำมาผ่านกระบวนการหมักด้วยยีสต์จะผลิตเอทานอลได้สูงถึง 65-70 ลิตรต่อข้าวฟ่างหวาน 1 ตัน ซึ่งไม่แตกต่างจากการนำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอล นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่ทดลองปลูกข้าวฟ่างหวานกว่า 10 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ อุดรธานี ขอนแก่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ พบว่า สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไร่ 5-12 ตัน ภายในระยะเวลา 3 เดือน ขณะที่อ้อยจะเก็บเกี่ยวได้ต้องใช้เวลาถึง 1 ปี สำหรับต้นทุนการผลิตยังถูกกว่าเพียง 650 บาทต่อข้าวฟ่างหวาน 1 ตัน ส่วนอ้อยมีต้นทุนการผลิตสูงถึงตันละ 750 บาท


"ข้าวฟ่างหวานยังมีปัญหาเรื่องผลผลิตต่อไร่ยังน้อยกว่าอ้อยมาก เนื่องจากอ้อยเก็บเกี่ยวได้สูงถึงปีละ 15-20 ตันต่อไร่ แต่ข้าวฟ่างหวานเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละ 5 ตันต่อไร่ จึงจำเป็นต้องพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจะพัฒนาจากสายพันธุ์ปัจจุบัน คือ สายพันธุ์ มข.40 ให้ได้สายพันธุ์ลูกผสมที่ดียิ่งขึ้น คาดว่าภายใน 1 ปี จะสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงถึงปีละ 20 ตันต่อไร่" นักวิจัยกล่าว และว่า หากสามารถปรับปรุงพันธุ์สำเร็จจะยื่นข้อมูลการศึกษาทั้งหมดให้หน่วยงานภาครัฐ อย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำแปลงสาธิตเผยแพร่ให้เกษตรกรรับทราบต่อไป รวมทั้งจะเสนอให้กระทรวงพลังงานช่วยสนับสนุนนโยบายเรื่องราคาในการปลูก และรับซื้อเพื่อผลิตเอทานอลให้จูงใจภาคอุตสาหกรรมหันมาผลิตกันมากขึ้น



http://www.food-resources.org/news/9/09/10/6155





ข้าวฟ่างพืชเศรษฐกิจมีอนาคต

ข้าวฟ่างเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ตั้งแต่ดินทราย ดินร่วนปนทราย จนถึงดินเหนียว แต่ดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวฟ่าง ให้ได้ผลผลิตสูง ควรเป็นดินร่วนเหนียวที่มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-7.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
   
การสร้างเมล็ดของข้าวฟ่างจะอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการสร้างเมล็ด ข้าวฟ่างต้องการปริมาณน้ำฝนตลอดฤดูปลูกประมาณ 320-800 มิลลิเมตร โดยเฉพาะในช่วงที่ข้าวฟ่างตั้งท้อง ดอกบาน และ เมล็ด ในระยะเป็นน้ำนมถ้าขาดน้ำในช่วงเหล่านี้ จะมีผลต่อการติดเมล็ด ขนาดเมล็ดจึงมีผลกระทบต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ความต้องการน้ำของข้าวฟ่างจะลดลงในระยะที่เมล็ดเริ่มแก่จนถึงเก็บเกี่ยว ข้าวฟ่างไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขังในช่วงแรกของการเจริญเติบโตหรือระยะกล้า แหล่งปลูกที่สำคัญ ในปัจจุบันได้แก่ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรีและสุพรรณบุรี
   
การปลูกข้าวฟ่างเพื่อให้ได้ผลผลิตเมล็ดสูง ควรปลูกในปลายฤดูฝนหรือ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน สำหรับการปลูกข้าวฟ่างครั้งเดี่ยว ที่ต้องการปลูกเพื่อตัดต้นสดในรุ่นแรก และเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวฟ่างต่อ  ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
   
การเตรียมดินควรไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร 1-2 ครั้งแล้วตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดทำลายวัชพืชและโรคแมลงที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงพรวนให้ดินร่วนซุย การปลูกสามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ 1. การหว่าน เป็นวิธีที่ เกษตรกรนิยมปฏิบัติ โดยใช้เมล็ดข้าวฟ่างอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดแรงงานและเวลา แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีการเตรียมดินไม่ดี และถ้าหว่านแน่นไปทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่มาก จะได้ช่อข้าวฟ่างที่มีขนาดเล็ก
   
2. เปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว ใช้เมล็ด พันธุ์ อัตราประมาณ 2 กก./ไร่ วิธีนี้จะช่วยให้การควบคุมกำจัดวัชพืชเป็นไปได้สะดวก แต่เมื่อข้าวฟ่างงอกได้ 2 สัปดาห์ ต้องทำการถอนแยกให้เหลือ 10 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร และ 3. หยอดเป็นหลุม โดยใช้จอบขุดหรือใช้ไม้ปลายแหลมจิ้ม ให้มีระยะระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 5-7 เมล็ด หลังจากที่ข้าวฟ่างงอกแล้ว 15 วัน ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น การหยอดเป็นหลุมในสภาพที่ดินมีความชื้นพอประมาณจะงอกดีกว่าการเปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว เมื่อข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้า    ต้นหนาแน่นเกินไปให้ถอนแยกให้เหลือ ประมาณ 10 ต้นต่อความยาว 1 เมตร
   
ข้าวฟ่างกำลังได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อนำไปผลิตเป็น แก๊สโซฮอล์ ด้วยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอล เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นในลำต้น   ซึ่งมีรสชาติหวานคล้ายกับน้ำอ้อย และ  สามารถให้ผลผลิตลำต้นสด 5-10 ตัน/ไร่ ภายในระยะเวลา 100–110 วัน ซึ่งลำต้นสด 1 ตันจะสามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 60–70 ลิตร และในปี 2554 นี้จะมีการสร้างโรงงานที่ผลิตเอทานอลโดยใช้ข้าวฟ่างเป็นวัตถุดิบขนาด 1,000 ลิตรต่อวันในประเทศไทย.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=673&contentID=115447



 
ข้าวฟ่างหวาน  : พืชพลังงานศักยภาพสูงสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบเสริมในการผลิตเอทานอล


ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเก็บสต็อกในรูปน้ำเชื่อมและผลิตเอทานอลได้มากกว่ากากน้ำตาล

ปัจจุบันทางออกในการแก้ปัญหาพลังงานเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนเรา ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เราต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ราคาน้ำมันจะถีบตัวสูงขึ้น จนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ ความต้องการเพิ่มมากขึ้นแต่กำลังการผลิตยังคงเดิม ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต  สังคมโลกคงต้องเผชิญหน้ากับภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันอย่างแน่นอน รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ใจศิล และทีมวิจัย ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยทำการวิจัยเรื่องพืชพลังงานทดแทนต่อเนื่องกว่า10 ปี  

รศ.ดร. ประสิทธิ์ ใจศิล เปิดเผยการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพทางการเกษตร สภาพภูมิศาสตร์ และดินฟ้าอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวย ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรหลายชนิดมีมากเกินความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ เพราะต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศที่มีราคาไม่แน่นอน ปีไหนที่พืชผลราคาตกต่ำมากก็จะส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรโดยตรงทันที โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ที่รัฐบาลต้องจัดหางบประมาณมาอุดหนุนเกือบทุกปี รวมกันปีละนับหมื่นล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
           
แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ราคาสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภคปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจนี้ นับเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะต้องหันมาทบทวนนโยบายทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะส่งไปขายต่างประเทศรวมทั้งการใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง โดยการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบางชนิดให้เป็นพลังงาน เช่น การผลิตแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอลและไบโอดีเซล เป็นต้น

พืชพลังงาน คือ พืชที่เราใช้ประโยชน์ในเชิงของพลังงาน ปัจจุบันคนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นพืชที่ผลิตเฉพาะพลังงานทดแทน เช่น เอทานอลหรือ ไบโอดีเซล แต่จริงๆแล้วพืชพลังงานเราใช้มาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ที่ทำฟืน ปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับพืชพลังงานที่นำไปเป็นวัตถุดิบที่ผลิตเป็นเอลทานอลหรือไบโอดีเซลได้เอทานอล เราจะเน้นไปที่อ้อยในรูปกากน้ำตาลที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาล และมันสำปะหลัง  ส่วนไบโอดีเซลนั้นคงต้องใช้น้ำมันปาล์มเป็นหลัก  แต่น้ำมันปาล์มที่ผลิตได้ก็มีเพียงพอสำหรับการบริโภคเท่านั้น  ซึ่งรัฐบาลก็วางแผนปลูกปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 7 ล้านไร่ เพื่อป้อนโรงงานผลิตไบโอดีเซล แต่คงต้องรออีกนาน ส่วนวัตถุดิบตัวอื่นๆก็มีมะพร้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และงา  แต่วัตถุดิบเหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูง  

แนวคิดการใช้พลังงานทดแทน หากมองย้อนไปในปี 2549 ที่ผ่านมา ประเทศไทย นำเข้าพลังงานทั้งหมด มูลค่า 912,240 ล้านบาท ซึ่งค่อนข้างสูงมาก เมื่อเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้น 2.4 เปอร์เซ็นต์ และคาดการณ์ว่า ปี 2550 ปริมาณการนำเข้าพลังงานจะเพิ่มขึ้น 5เปอร์เซ็นต์ 
        
นั่นหมายความว่ามากกว่า 950,000 ล้านบาท ที่เราต้องสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ ในจำนวนนี้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ตัวเลขการนำเข้าในปีพ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา นำเข้าน้ำมันดิบ มูลค่ากว่า 749,785 ล้านบาท, น้ำมันสำเร็จรูป 55,842 ล้านบาท, ก๊าซธรรมชาติ 79,390 ล้านบาท, ถ่านหิน 18,809 ล้านบาท, ไฟฟ้า 8,413 ล้านบาท ซึ่งรวมมูลค่าการนำเข้าพลังงานทั้งหมดเท่ากับ 9,122,240 ล้านบาท 

ถ้ามองในรูปของ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป พบว่ามีการนำเข้ามูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเกิดแนวคิดที่ว่าหากเราสามารถผสมเอทานอลในน้ำมันเชื้อเพลิง 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในน้ำมันดีเซล และเบนซิน เราก็จะสามารถประหยัดเงินตราได้ 8 หมื่นล้านบาท แต่ปัจจุบันเรายังไม่เอาเอทานอลไปผสมกับน้ำมันดีเซลที่เรียกว่าดีโซฮอล์ เพราะยังผลิตเอทานอลได้ไม่พอใช้ แต่จะเอาเอทานอลไปผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 โดยจะผสมเอทานอลลงไป 10 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราของประเทศได้ประมาณ 27,000 ล้านบาท   เพราะในปัจจุบันประเทศไทยใช้น้ำมันเบนซินวันละ 22 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลวันละ 53 ล้านลิตร รวมทั้ง 2 ชนิด วันละ 75 ล้านลิตร 
           
รัฐบาลมีแนวคิดและให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน และได้อนุมัติให้สร้างโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น เป็น45 โรงงาน   มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการวิจัยทางด้านพลังงานทดแทน และได้วิเคราะห์ความต้องการกากน้ำตาลเพื่อผลิตเอทานอล พบว่าถ้าสร้างโรงงานทั้งหมดเสร็จแล้วจะมีความต้องการกากน้ำตาล มากกว่า3 ล้านตัน/ปี   แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีกากน้ำตาลที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลประมาณปีละ  2.7 ล้านตัน ซึ่งไม่เพียงพอ กากน้ำตาลในปริมาณ 2.7 ล้านตันนี้  จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสุรา, ผงชูรส, อาหารสัตว์ และ ซอส ปีละประมาณ 1.7 ล้านตัน จึงเหลือกากน้ำตาลที่จะนำไปผลิตเอทานอลได้เพียง 1 ล้านตันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอลจะมีไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานเอทานอล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้วิจัยพืชพลังงานมาทดแทนพืชชนิดใหม่คือ ข้าวฟ่างหวานเพื่อใช้เสริมกากน้ำตาล และพบว่าข้าวฟ่างหวานเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพอีกชนิดหนึ่งเพราะจากการประเมินเบื้องต้นพบว่ามีต้นทุนการผลิตเอทานอลต่ำรองจากมันสำปะหลัง ถ้าสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ก็จะเป็นพืชไร่ที่เป็นทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลของประเทศไทยได้

ความก้าวหน้าของงานวิจัยข้าวฟ่างหวาน จากการศึกษาของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปีพบว่า ข้าวฟ่างหวานเป็นพืชที่มีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเอทานอลสูงมาก น้ำคั้นในลำต้นมีความหวานใกล้เคียงกับอ้อย สามารถนำไปหีบเพื่อเอาน้ำคั้นมาหมักเป็นเอทานอลได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบอีกคือ เป็นพืชอายุสั้นสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลา 100-120 วัน ในขณะที่อ้อยต้องใช้เวลา 1 ปีเต็ม ผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าอ้อยไม่มากนัก โดยข้าวฟ่างหวานให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5-6 ตัน/ไร่ ในขณะที่อ้อยให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 9-10 ตัน/ไร่ ข้าวฟ่างหวานสามารถปลูกได้อย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลา 1 ปี ข้าวฟ่างหวานจึงให้ผลผลิตสูงกว่าอ้อยประมาณ 2 เท่าตัว    

ข้าวฟ่างหวานจึงเป็นพืชที่ช่วยเสริมระบบการผลิตเอทานอลของโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โดยธรรมชาติเป็นพืชทนแล้ง ปลูกได้ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทั่วประเทศ เป็นพืชทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรไทยในอนาคตอันใกล้นี้
           
โรงงานผลิตเอทานอลที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างแล้วนั้น จะเลือกใช้วัตถุดิบ 2 ประเภท คือ มันสำปะหลัง และกากน้ำตาล หรือกากน้ำตาลและน้ำอ้อย อย่างไรก็ตาม ฤดูเก็บเกี่ยวของทั้งอ้อยและมันสำปะหลังจะอยู่ในช่วงใกล้เคียงกันมากคือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เมษายน หลังจากนั้นแล้วจะเกิดช่องว่างของการป้อนวัตถุดิบ ยกเว้นการสร้างระบบจัดเก็บวัตถุดิบ คือ ถังเก็บกากน้ำตาลหรือโรงเก็บมันเส้นตากแห้ง แต่ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามมาด้วย
           
การใช้ข้าวฟ่างหวานเป็นวัตถุดิบเสริมในระบบการผลิตเอทานอล จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลของโรงงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวฟ่างหวาน ในขณะที่อ้อย (กากน้ำตาล) และมันสำปะหลังจะเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เมษายน การออกแบบโรงงานผลิตเอทานอลที่ให้สามารถใช้วัตถุดิบได้ทั้งอ้อย กากน้ำตาล มันสำปะหลัง และข้าวฟ่างหวาน จะช่วยให้โรงงานมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบโดยสามารถปรับเปลี่ยนและเลือกใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลที่มีราคาถูกกว่าได้ ทั้งนี้เพราะราคามันสำปะหลังก็ผันผวนไปตามความต้องการของตลาดและมีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายจึงอาจเกิดการแย่งวัตถุดิบกันได้ในอนาคตซึ่งจะทำให้ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นจนกระทบต่อต้นทุนการผลิต ในขณะที่โครงสร้างราคาเอทานอลยังไม่มีความแน่นอนและมีความผันผวนมากพอสมควร  อ้อยและกากน้ำตาลก็เช่นกัน การใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบโดยตรงจะต้องพิจารณาราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกด้วย โดยถ้ามีราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 15 บาทจะเริ่มไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าจะใช้น้ำอ้อยมาผลิตเอทานอลโดยตรง ในขณะที่ราคากากน้ำตาลก็มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก

ผลพลอยได้จากการคั้นน้ำหวานแล้วจะได้กากข้าวฟ่างหวาน (bagasse) ซึ่งสามารถนำไปผลิตไม้อัดได้โดยใช้กระบวนการผลิตที่พัฒนาโดย Carlsberg Research Laboratory ประเทศเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตอาหารสัตว์ โดยนำกากข้าวฟ่างหวานปริมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับกากน้ำตาล 40 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดธัญพืชและถั่วบด 5 เปอร์เซ็นต์ และแร่ธาตุ 10 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำส่วนผสมนี้ ไปอัดเป็นก้อนเพื่อสะดวกในการเก็บ นอกจากนี้อาจนำกากข้าวฟ่างหวานไปหมักกับยูเรีย 2 เปอร์เซ็นต์ ใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้เช่นกัน
      
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้คิดค้นข้าวฟ่างหวานสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ มข. 40” สำหรับงานวิจัยด้านการเขตกรรมนั้น ได้มีการศึกษาในข้าวฟ่างหวานพันธุ์ มข.40 พบว่าฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วง พฤษภาคม – พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงปิดหีบของโรงงานน้ำตาล ถ้าสามารถผลักดันให้มีการปลูกข้าวฟ่างหวานสลับในไร่อ้อยที่รื้อตอรอปลูกอ้อยใหม่ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากโรงงานน้ำตาลและช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบของโรงงานผลิตเอทานอลได้ด้วย

อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของข้าวฟ่างหวานพันธุ์ มข.40 คือ ระหว่าง 22-40 วันหลังดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างหวานแล้วแต่ไม่สามารถส่งโรงงานได้ทันภายใน 1 วัน จะส่งผลให้ค่าความหวานเพิ่มสูงขึ้นวันละประมาณ 1°บริกซ์ (ในช่วงระยะเวลา 2 วัน ของการทดลอง) แต่ผลผลิตต้นสดจะลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ใน 24 ชั่วโมงแรก และลดลงประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์เมื่อตัดทิ้งไว้นาน 2 วัน ค่าบริกซ์ที่วัดได้ในช่วงเช้าตรู่จะสูงกว่าการวัดในตอนเที่ยงวันประมาณ 1° บริกซ์ และค่าบริกซ์จะสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็นและกลางคืน การปลูกข้าวฟ่างหวานในช่วงฤดูฝน จะได้ผลผลิตสูงมาก ผลผลิตมีมากก็สามารถเก็บสต็อกในรูปน้ำเชื่อมได้  

จากการศึกษาวิจัยพบว่าน้ำเชื่อมที่มีความหวาน 80 °brix
ปริมาณ 1 ตัน จะผลิตเอทานอล ได้380 ลิตร เทียบกับกากน้ำตาล 1 ตันจะผลิตเอทานอลได้ 250 ลิตรซึ่งน้อยกว่า เหตุผลเพราะน้ำเชื่อมที่เราเคี่ยวมาไม่ใช่กากน้ำตาลแต่เป็นน้ำตาล 

แผนการผลิตข้าวฟ่างหวานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงานผลิตเอทานอลจากสมมุติฐานที่ว่า อาจจะเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิตเอทานอลโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) ซึ่งไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยและมันสำปะหลัง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปีเพาะปลูก 2548 ได้ทำการประเมินผลผลิตของข้าวฟ่างหวานพันธุ์ มข.40 ที่ปลูกทุกๆ 15 วัน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม 2548 พบว่า ข้าวฟ่างหวานให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 3.81 ถึง 8.24 ตัน/ไร่) โดยมีแนวโน้มให้ผลผลิตต่ำในช่วงวันปลูกแรกๆ (กุมภาพันธ์) และเริ่มสูงขึ้นในช่วงต้นและกลางฤดูฝน หลังจากนั้นจะเริ่มให้ผลผลิตต่ำลง โดยเฉพาะในช่วงเก็บเกี่ยวที่เข้าสู่ปลายฤดูฝน โดยช่วงวันปลูกที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดคือช่วงเดือนพฤษภาคม ดังนั้นถ้าต้องการผลิตวัตถุดิบให้ได้ปริมาณสอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงานผลิตเอทานอลก็จะต้องวางแผนการปลูกในจำนวนพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปในแต่ละวันปลูกเพื่อให้ได้ข้าวฟ่างหวานปริมาณเท่ากันในแต่ละวัน ซึ่งการบริหารจัดการเพื่อให้ได้วัตถุดิบป้อนโรงงานได้อย่างสม่ำเสมอทุกวันค่อนข้างทำได้ยาก จึงควรปลูกให้ได้มากที่สุดในช่วงที่สามารถปลูกได้ง่ายและให้ผลผลิตสูง แล้วเคี่ยวเป็นน้ำเชื่อมเก็บไว้ป้อนโรงงานซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในฤดูเพาะปลูกปี 2550 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะดำเนินการศึกษาเพื่อให้ทราบต้นทุนการผลิตข้าวฟ่างหวานสำหรับใช้ในการคำนวณราคารับซื้อลำต้นสดจากเกษตรกรและหาต้นทุนการผลิตน้ำเชื่อมเพื่อคำนวณราคารับซื้อน้ำเชื่อมจากโรงงานน้ำตาล มีความเป็นไปได้ในการผลักดันให้ข้าวฟ่างหวานเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่หากเกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรม โรงงานน้ำตาลที่ผลิตน้ำเชื่อมก็มีกำไร ที่สำคัญคือ วัตถุดิบชนิดนี้สามารถแข่งขันกับกากน้ำตาลหรือมันสำปะหลังได้ ถ้าบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ประการนี้ข้าวฟ่างหวานจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยในอนาคต

“พลังงานทดแทนในอนาคตมีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน พลังงานที่ได้จากฟอสซิล ในอัตราการใช้อย่างนี้ อีก40-50 ปี พลังงานก็จะหมดไปจากโลก ในอนาคตพลังงานทดแทนจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งพืชที่เป็นไม้โตเร็วที่ให้ชีวมวลสูงๆ จะมีความสำคัญมากขึ้น คนไทยควรให้ความสำคัญ  

เนื่องจากการใช้แก๊สโซฮอล์หรือ ดีโซฮอล์ จะช่วยลดมลพิษในอากาศโดยเฉพาะก๊าซพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม, ไฮโดรคาร์บอนที่ก่อโรคมะเร็งก็จะลดลง การใช้เอทานอลสามารถลดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในรูปแก๊สโซฮอล์ และกำหนดระยะเวลายกเลิกการใช้ MTBE ให้ชัดเจน ไม่ควรเลื่อนไปอีก และในส่วนของราคาเอทานอลรัฐบาลควรกำหนดราคาเอทานอลให้ขึ้นลงตามราคาน้ำมันเบนซิน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลให้เป็นไปตามแผน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีอาชีพใหม่ในการผลิตพืชพลังงานทดแทนได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วภาครัฐควรส่งเสริมงานวิจัยด้านพลังงานทดแทนให้มากขึ้นด้วย


http://ora.kku.ac.th/board_news/News_View.asp?QID=8










หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (10063 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©