-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 531 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/3









ข้าวฟ่าง

โดยทั่วไปข้าวฟ่างเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ตั้งแต่ดินทราย ดินร่วนปนทราย จนถึงดินเหนียว แต่ดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวฟ่าง ให้ได้ผลผลิตสูง ควรเป็นดินร่วนเหนียวที่มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-7.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้าง เมล็ดของข้าวฟ่างจะอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการสร้างเมล็ดข้าวฟ่างต้องการปริมาณน้ำฝนตลอดฤดูปลูกประมาณ 320-800 มิลลิเมตร โดยเฉพาะในช่วงที่ข้าวฟ่างตั้งท้อง ดอกบาน และ เมล็ด ในระยะเป็นน้ำนมถ้าขาดน้ำในช่วงเหล่านี้ จะมีผลต่อการติดเมล็ด ขนาดเมล็ดจึงมีผลกระทบต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ความต้องการน้ำ ของข้าวฟ่างจะลดลงในระยะที่เมล็ดเริ่มแต่จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากนี ้ข้าวฟ่างไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขังในช่วงแรกของการเจริญเติบโต(ระยะกล้า) จะพบว่า ข้าวฟ่างมีใบเหลืองต้นแคระแกร็น และอาจตายไปในที่สุด
แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี สุพรรณบุรี

พันธุ์ข้าวฟ่าง
พันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง
ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกตามหลังข้าวโพดในเขตการปลูกข้าวโพดจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ตามระบบการจำหน่ายเมล็ดพันธ์และการรับซื้อผลผลิต กลับคืน

พันธุ์เฮกการีหนัก

เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ต้นสูง เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี 2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ มีผลผลิต เมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีขนาดใหญ่และ มีความไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือน กรกฏาคมถึงต้นเดือนกันยายน ปัจจุบันยังมีการปลูกในเขตจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา

พันธุ์เฮกการีเบา

เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร(กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยอายุสั้น ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสำหรับปลูกปลายฤดูฝน มีปลูกในเขตจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี

พันธุ์อู่ทอง 1

เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ ต้นเตี้ย อายุสั้น เมล็ดสีเหลืองได้รับการรับรองพันธุ์จาก กรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ.2525 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 550 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิม ไม่ต้านทานโรคที่เมล็ด เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน เป็นพันธุ์ทนแล้งได้ดี

พันธุ์สุพรรณบุรี 60

เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีแดง ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2530 มีลักษณะเด่น คือเป็นพันธุ์ต้นเตี้ย อายุสั้น เมล็ดมี ปริมาณสารแทนนินต่ำ มีปริมาณมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 450-500 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะที่จะปลูกปลายฤดูฝน ตั่งแต่เดือนกรกฎาคมถึง กันยายน

พันธุ์สุพรรณบุรี 1

เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้เมล็ดสีแดง ได้รับการรับรองพันธ์จากกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ.2536 มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 464 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยประมาณ 4 ตันต่อไร่และผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 2-3 ตันต่อไร่
เมื่อเก็บเกี่ยวขณะที่เมล็ดอยู่ในระยะน้ำนมและเมื่อเก็บเกี่ยวต้นสดหลังเก็บเมล็ดแล้วตามลำดับ ต้นสดมีปริมาณกรมไฮโดรไซยานิก เฉลี่ยประมาณ 2.15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสด 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 9 % ทำให้ลำต้นหวานประมาณ 15 องศาบริก สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้

การปลูก
การปลูกข้าวฟ่างเพื่อให้ได้ผลผลิตเมล็ดสูง ควรปลูกในปลายฤดูฝนหรือ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน สำหรับการปลูกข้าวฟ่างครั้งเดี่ยว ที่ต้องการปลูกเพื่อตัดต้นสดในรุ่นแรก และเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวฟ่างต่อ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน การปลูกข้าวฟ่างเพื่อเก็บเมล็ดอย่างเดียว ควรพิจารณาดูว่า ต้นข้าวฟ่างจะไม่ ขาดความชื้นสำหรับการเจริญเติบโต จนถึงระยะที่ดอกข้าวฟ่างบาน

การเตรียมดิน
ควรไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร 1-2 ครั้งแล้วตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดทำลายวัชพืชและโรคแมลงที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงพรวนให้ดินร่วนซุย แต่โดยทั่วไปเกษตรกร จะไถด้วยผานเจ็ด เพียงครั้งเดียว

วิธีปลูก
เกษตรกรสามารถปลูกข้าวฟ่างได้หลายวิธีดังนี้ คือ
1. หว่าน เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ โดยใช้เมล็ดข้าวฟ่างอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดแรงงานและเวลา แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีการเตรียมดินไม่ดี และถ้าหว่านแน่นไปทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่มาก จะได้ช่อข้าวฟ่างที่มีขนาดเล็ก

2. เปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว
ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตราประมาณ 2 ก.ก./ไร่ วิธีนี้จะช่วยให้การควบคุมกำจัดวัชพืชเป็นไปได้สะดวก แต่เมือข้าวฟ่างงอกได้ 2 สัปดาห์ ต้องทำการถอนแยกให้เหลือ 10 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร

3. หยอดเป็นหลุม
โดยใช้จอบขุดหรือใช้ไม้ปลายแหลมจิ้ม ให้มีระยะระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 5-7 เมล็ด หลังจากที่ข้าวฟ่างงอกแล้ว 15 วัน ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น การหยอดเป็นหลุมในสภาพที่ดิน มีความชื้นพอประมาณ จะงอกดีกว่าการเปิดร่องแล้วโรยเป็นแถว

การดูแลรักษา
เมื่อข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าต้นข้าวฟ่างในแปลง จำนวนหนาแน่นเกินไปให้ถอนแยกให้เหลือประชากร 10 ต้นต่อความยาว 1 เมตร ในกรณีที่แปลงปลูกมีน้ำท่วมขัง ให้ทำการระบายน้ำออกจาก แปลงปลูกเพราะในสภาพน้ำ ท่วมขังแปลง จะทำให้ต้นข้าวฟ่างไม่เจริญเติบโต มีผลทำให้ต้นข้าวฟ่างมี ขนาดเล็กและช่อข้าวฟ่างมีขนาดเล็กหรือตาย ได้ในที่สุด

การใส่ปุ๋ย
ในแปลงปลูกข้าวฟ่างที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ คือ มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1% ฟอสฟอรัสต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (ppm) และโพแทสเซียมต่ำกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งสามารถทราบได้ จากการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ควรมีการใส่ปุ๋ยในแปลงปลูก ปุ๋ยที่ใช้ ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงสมบัติทาง กายภาพของดิน ร่วมกับปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ ปุ๋ยเคมีในอัตรา 5-10 กิโลกรัมของไนโตรเจน และฟอสฟอรัส หรือจะใส่สูตรปุ๋ย สำเร็จที่มีขายในท้องตลาดโดยมีเนื้อปุ๋ยใกล้เคียงกันก็ได้ เช่น สูตร 16-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับข้าวฟ่าง ที่ปลูกในดินทรายควรใส่โพแทสเซียมเพิ่มในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ย ให้โรยปุ๋ยระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบพร้อมทั้งดายหญ้า และกำจัดวัชพืชเมื่อข้าวฟ่างงอกได้ ประมาณ 3-4 สัปดาห์

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคราบนเมล็ด
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น curvularia sp. Fusarium sp. Colletotrichum sp. เป็นต้น
อาการ : จะเข้าทำลายตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงเมล็ดแก่ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกทำให้ผลผลิตลดลง
เมล็ดสกปรกเสียคุณภาพ แตกง่าย ความงอกต่ำ

การป้องกันกำจัด :
โดยการปลูกข้าวฟ่างปลายฤดูฝน เพื่อให้ข้าวฟ่างออกดอกติดเมล็ดในช่วงที่ไม่มีฝนตกชุก
ปลูกข้าวฟ่างให้มีระยะห่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น

โรคใบไหม้
สาเหต : เกิดจากเชื้อรา Helminthosporium turcicum อาการเริ่มแห้งตายจุดเล็ก ๆ ที่ใบ แล้วขยายออก ตามเส้นใบ เป็นแผลยาว 4-12 เซนติเมตร ถ้ารุนแรงทำให้ใบไหม้ แห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด :
ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค เผาทำลายตอซังที่เป็นโรค กำจัดวัชพืชและพืชอาศัย

โรคราสนิม
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Puccinia purpurea
อาการเริ่มเป็นจุดเล็ก ๆ ต่อมานูนขึ้นเป็นสีสนิม เมื่อแก่จะแตกเห็นสปอร์ ของเชื้อราเป็นสีแดง

การป้องกันกำจัด :
ปฏิบัติการเช่นเดียวกับโรคใบไหม้

แมลงและการป้องกันกำจัด

หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง Aterigona soccata
จะเข้าทำลายข้าวฟ่างระยะต้นกล้า อายุ 1-2 สัปดาห์หลังงอก โดยตัวหนอนจะกัดกินยอดข้าวฟ่าง ทำให้ยอดเหี่ยว ข้าวฟ่าง แตกหน่อเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ผลผลิตลดลง ถ้ามีการระบาดมาก

การป้องกันกำจัด :
โดยปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงทดแทน เช่น พันธุ์อู่ทอง 1,KU 439 หรือกำจัดแมลงก่อนฤดูปลูก โดยใช้กับดักปลาป่น ล่อแมลง และทำลายแมลงด้วยสารเคมีเพื่อลดปริมาณหนอนในฤดูปลูก หรือปลูกข้าวฟ่างในพื้นที่ใกล้เคียงกันพร้อมกันเพื่อไม่ให้ประชากรของแมลง ที่เกิดในแปลง ข้าวฟ่างที่มีการเพาะปลูกก่อนเข้าทำลายข้าวฟ่างรุ่นหลัง หรือใช้สารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่ออายุข้าวฟ่างได้ 7 วัน และพ่นซ้ำอีกครั้งหลังพ่นครั้งแรก 7 วัน

หนอนเจาะสมอฝ้าย Heliothis armigera
จะกัดกินดอกและเมล็ดข้าวฟ่างก่อนเมล็ดแข็ง

การป้องกันกำจัด :
ถ้ามีการระบาดรุนแรง กำจัดด้วยการพ่นสาร thiodicarb อัตรา 40-60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร บนช่อข้าวฟ่างบริเวณ ที่พบหนอนระบาด

หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata
หนอนเข้าทำลายข้าวฟ่าง ตั้งแต่อายุ 1 เดือนเป็นต้นไป โดยกัดกินยอด และใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้ารุนแรงโดยเฉพาะช่วงข้าวฟ่างตั้งท้อง จะทำให้ผลผลิตเสียหายการป้องกันกำจัดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของ การระบาด ถ้าไม่รุนแรงข้าวฟ่างจะแตกแขนงชดเชยได้ และมีศัตรู ธรรมชาติควบคุมอยู่ ถ้ารุนแรงในช่วงข้าวฟ่างตั้งท้อง ให้พ่นสารคาร์บาริล 80 % WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพียงครั้งเดียวในระยะก่อนที่ข้าว ฟ่างจะออกช่อเฉพาะบริเวณที่มีแมลงระบาด

การกำจัดวัชพืช

วัชพืชเป็นตัวการแย่งธาตุอาหารน้ำและแสงแดดโดยเฉพาะในระยะแตก ของการเจริญเติบโตของข้าวฟ่าง ถ้ามีวัชพืชมากก็ทำให้ต้นข้าวฟ่างแคระแกร็น นอกจากนี้ วัชพืชยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงที่อาจทำลายข้าวฟ่างได้
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชจำเป็นสำหรับในแปลงปลูกข้าวฟ่างวิธีหว่าน หรือมีปัญหาด้านแรงงาน หรือในกรณีแปลงปลูกที่มีการป้องกันกำจัดวัชพืช ไม่ดีในฤดูปลูกที่ผ่านมา หรือฝนตกชุกจนไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้ทันเวลา ควรป้องกันกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี

สารเคมีที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีป้องกันกำจัด วัชพืชแบบก่อนงอก ซึ่งจะใช้สารเคมีพ่นคลุมดินทันทีหลังปลูกก่อนที่วัชพืชและข้าวฟ่างจะงอก สารเคมีนี้จะสามารถควบคุมวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาได้นาน 30-35 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้าวฟ่างเจริญเติบโต มีพุ่มใบคลุมดินปกคลุมวัชพืช การพ่นสารเคมีต้องพ่นเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ เพื่อให้สารเคมีออกฤทธิ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ได้ผลดี คือ อาทราซีน อัตรา 240-400 ซี.ซี.ต่อไร่ สามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้าง อายุปีเดียวที่งอกจากเมล็ด


การแปรรูป

ข้าวฟ่างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในอุตสาหกรรมทำเหล้า แอลกอฮอล์ อาหารมนุษย์ สัตว์ และขนมหวาน เช่น แป้งข้าวฟ้าง

ขั้นตอนการทำแป้งข้าวฟ่าง

ข้าวฟ่าง+ข้าวเจ้า(1:1)
||
แช่น้ำ
||
โม่
||
น้ำแป้ง
||
นึ่ง
||
นวด โขลก ตำ
||
ตาก อบ
||
ก๋วยเตี๋ยวข้าวฟ่าง เส้นหมี่ข้าวฟ่าง แป้งข้าวฟ่าง


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร





สายพันธุ์ข้าวฟ่าง

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
 

มีลักษณะดีเด่นหลายประการคือ ให้ผลผลิตสูงออกดอกเร็ว อายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้นเตี้ยเก็บเกี่ยวได้ง่ายต้านทานโรค-แมลงได้ดี แต่เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง และไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในฤดูต่อไป ได้แก่ พันธุ์เคยู 8501 และพันธุ์จากบริษัทเอกชนอีกหลายพันธุ์


  เป็นข้าวฟ่างที่มีความคงตัว คือรุ่นลูกจะมีลักษณะคล้ายรุ่นพ่อ-แม่ ในธรรมชาติแล้ว ข้าวฟ่างจะเป็นพันธุ์แท้เกือบทั้งหมด ข้าวฟ่างพันธุ์แท้ที่ดีให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี มีทั้งพันธุ์หนักและพันธุ์เบา

พันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพด-ข้าวฟ่างแห่งชาติแนะนำทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมมีดังนี้


  เป็นพันธุ์แท้ เมล็ดสีขาวเป็นมัน เมล็ดค่อนข้างใหญ่ ได้จากการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร
ลักษณะเด่น คือ ลำต้นเตี้ย อายุออกดอกและอายุเก็บเกี่ยวสั้นเป็นพันธุ์เบา ช่อค่อนข้างเปิด เมล็ดโต คุณภาพแป้งดี มีปริมาณสารแทนนินต่ำไม่ไวต่อช่วงแสง แต่ไม่เหมาะที่จะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะสุกแก่ในช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากโรคราบนช่อข้าวฟ่างได้เมื่อมีความชื้นสูง เป็นพันธุ์แท้ เมล็ดสีแดง เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
ลักษณะเด่น คือ ลำต้นเตี้ย ออกดอกเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ช่อรูปทรงกรวยค่อนข้างกลมแต่เปิดบานออก ไม่ไวต่อช่วงแสง

ข้อเสีย
คือ ลำต้นหักล้มง่าย
เป็นพันธุ์แท้ เมล็ดสีขาว โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมให้ปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา
ลักษณะเด่น คือ ลำต้นแข็งแรง ต้านทานต่อโรคทางใบ ให้ผลผลิตสูง ช่อทรงกระบอกค่อนข้างแน่น เมล็ดโต เป็นพันธุ์หนักอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 110 วัน


เป็นพันธุ์แท้ เมล็ดสีแดง เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้ โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมให้ปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
ลักษณะเด่น คือ อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 90 วัน ผลผลิตสูง มีลำต้นสูงปานกลาง มีสารเทนนินในเมล็ดต่ำประมาณ 0.16% เมล็ดกระเทาะออกจากรวงได้ง่าย และไม่มีเปลือกติดเมล็ด

 

  เป็นพันธุ์ลูกผสม เมล็ดสีแดง โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมได้ปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง เมล็ดโต ต้นเตี้ย เป็นพันธุ์หนัก อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115 วัน การเปรียบเทียบลักษณะของข้าวฟ่างพันธุ์แท้ต่าง ๆ ณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติปรากฎดังตารางข้างล่างนี้



พันธุ์ความสูงต้นอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตสีเมล็ด (ซม.)(วัน)(กก./ไร่)
พันธุ์แท้
อู่ทอง 1 140 90 700 ขาวนวลเป็นมัน
สุพรรณ 60 160 95 700 แดง
เคยู 439 165 110 800 ขาว
เคยู 630 140 90 750 แดง


หมายเหตุ
พันธุ์แท้ที่แนะนำทั้งหมดนี้ถึงแม้จะไม่ต้านทานต่อการทำลายของหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง แต่ก็ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เฮการี่ทุกระดับของการทำลาย


  ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวฟ่างแดงต้นเตี้ยออกดอกเร็ว และมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ข้าวฟ่างลูกผสมจะมีความแข็งแรงของต้นกล้าดีมากเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง แต่ไม่สามารถเก็บไว้ปลูกในฤดูถัดไป เพราะจะมีการกลายพันธุ์
ลักษณะของข้าวฟ่างลูกผสมบางพันธุ์ของบริษัทเอกชนที่ทดสอบ ณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ เมื่อเทียบกับพันธุ์เคยู 8501 มีดังนี้

พันธุ์ความสูงต้นอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตสีเมล็ด (ซม.)(วัน)(กก./ไร่)
พันธุ์ลูกผสม
แปซิฟิค 80 145 100 800 แดง
มรกต 120 100 880 แดง
มงกุฏ 130 105 840 แดง
ดีเค 54 140 105 1,020 แดง
ดีเค 59 145 100 900 แดง
ดีเค 64 155 105 1,010 แดง
เคยู 8501 165 115 1,070 แดง




ฤดูกาลปลูก
เกษตรกรนิยมปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชรองหลักจากปลูกพืชหลักไปแล้ว โดยทั่วไปจะปลูกข้าวฟ่างในช่วงปลายฤดูฝน (ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) เพื่อให้ข้าวฟ่างสุกแก่และเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ซึ่งมีสภาพอากาศแห้ง ปลอดจากฝน ช่วยให้เมล็ดข้าวฟ่างแห้งดี ไม่มีเชื้อราเข้าทำลายเมล็ดข้าวฟ่าง




เตรียมดิน
ควรไถดินครั้งแรกด้วยไถผาน 3 ให้ลึก 5-6 นิ้ว ตากดินไว้ 7-10 วัน แล้วจึงพรวนด้วยไถผาน 7 เพื่อย่อยดิน ซึ่งจะช่วยให้ต้นอ่อนข้าวฟ่างงอกพ้นดินได้ง่ายและเจริญเติบโตดี มีวัชพืชรบกวนน้อย

 


เทคนิคการปลูกที่เหมาะสมมีหลายวิธี ได้แก่
1. หยอดเป็นหลุม ให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 60 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุมห่างกัน 30 เซนติเมตร หยอด 3 เมล็ด/หลุม
2. โรยเป็นแถว โดยโรยเป็นแถวในร่องที่ลึก 2-3 เซนติเมตร แล้วกลบเมล็ด เมื่อต้นอ่อนอายุ 14-15 วัน ก็ถอนแยกออกให้ระยะระหว่างต้นห่างกัน 10 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 60 เซนติเมตร
3. ปลูกแบบยกร่อง โดยใช้รถไถร่องให้ระยะระหว่างร่องห่างกัน 60 เซนติเมตร หยอดเป็นหลุมหรือโรยเป็นแถว แล้วถอนแยกออกเหมือนหยอดหลุมหรือโรยแถวก็ได้

การใส่ปุ๋ย
ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหารอาจจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยรองพื้น เช่น สูตร 16-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ แต่ถ้าต้นข้าวฟ่างยังเจริญเติบโตไม่ดีอาจใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพวกแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 30 กิโลกรัม เมื่อข้าวฟ่างอายุได้ 25 วัน

กำจัดวัชพืช
ใช้แรงงานคนทำรุ่นเมื่อข้าวฟ่าง อายุ 25-30 วัน หรือใช้อาทราซีนฉีดพ่นเพื่อคุมวัชพืช ในอัตรา 400 กรัม/ไร่ หลังจากหยอดเมล็ดและดินยังมีความชื้นอยู่


การเก็บเกี่ยว
เมื่อข้าวฟ่างสุกแก่ เมล็ดจะมีสีเข้มขึ้นแห้งและแข็ง ถ้าใช้แรงงานคนตัด เมื่อตัดเสร็จควรนำไปตากบนลานที่สะอาด ตากไว้จนเมล็ดแห้งแล้วจึงนำไปนวดหรือสี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้เครื่องสีแล้วบรรจุกระสอบส่งไปจำหน่าย


ถ้าจะเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เองควรตากให้แห้งสนิทแล้วคลุกสารกันราและแมลง แล้วเก็บในภาชนะปิดเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี


1. ไม่ควรปลูกพืชอื่นตามหลังข้าวฟ่างทันที เพราะมีผลตกค้างจากข้าวฟ่างทำให้พืชที่ปลูกตามมาไม่เจริญงอกงาม
2. ไม่ควรนำต้นข้าวฟ่างที่มีอายุต่ำกว่า 1 เดือน ไปเลี้ยงสัตว์เพราะมีกรดไฮโดรไซยานิคที่เป็นพิษต่อสัตว์



มาตรฐานสินค้าข้าวฟ่าง คุณภาพของข้าวฟ่างที่ดีตรงตามความต้องการของตลาดแบ่งได้ 2 เกรดดังนี้คือ

รายการ เกรด 1 เกรด 2
ความชื้นไม่เกิน 14.5 % 15.5 %
เมล็ดเสียไม่เกิน 3.0 % 5.0%
เมล็ดมีแมลงทำลายไม่เกิน 1.5% 1.5%
เมล็ดแตกไม่เกิน 8.0% 12.0%
วัตถุอื่นไม่เกิน 1.5% 2.0%
เมล็ดสีอื่นปนไม่เกิน 10.0% 10.0%





หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©