-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่





คำฝอย

          
จากหลักฐานที่ค้นพบในหลุมฝังศพของชาวอียิปต์ยืนยันว่ามีการปลูกคำฝอยมาเป็นเวลานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี เพื่อเป็นไม้ดอก และใช้ กลีบดอกเป็นสีย้อมผ้าและวัสดุอื่น  ๆ ให้มีสีเหลืองคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายอาหรับ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย จากนั้นได้แพร่ออกไปสู่ทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออก รวมทั้งประเทศไทย โดยนำกลีบดอกมาเป็นสีย้อมผ้าครองของพระสงฆ์ จนกระทั่งเมื่อ ๕๐ - ๖๐ ปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปได้นำเอาเมล็ดคำฝอยมาสกัดน้ำมันและได้น้ำมันที่มีคุณภาพสูง (โดยมีไขมันไม่อิ่มตัวสูงถึงร้อยละ ๙๐)นำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันผสมสี และน้ำยาเคลือบผิว ต่อมาเมื่อทางการแพทย์ได้ค้นพบการ สะสมตัวของคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด ทำให้มีการบริโภคน้ำมันคำฝอยมากขึ้น และได้มีการแปรรูปเป็นโภคภัณฑ์อีกหลายชนิด รวมทั้งเครื่องสำอางและยารักษาโรคคำฝอยอยู่ในวงศ์ Compositae เช่นเดียว
กับทานตะวันและมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. ทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ยแตกกิ่งมาก สูง ตั้งแต่ ๓๐ - ๑๕๐ เซนติเมตร ใบค่อนข้างเล็กปลายแหลม และขอบใบเว้าเป็นฟันเลื่อย แข็ง และคมคล้ายหนาม ดอกมีสีเหลืองอมแดงรวมกันอยู่บนจานซึ่งเกิดจากยอดและกิ่ง จานดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร เมล็ดคำฝอยมีลักษณะคล้ายทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า น้ำหนัก ๑๐๐ เมล็ดประมาณ ๕ - ๗ กรัม    เมล็ดสุกแก่หลังจากปลูก ๘๐ - ๑๒๐ วัน เก็บเกี่ยว    โดยใช้มีดตัดจานดอก เก็บรวบรวมไปตากให้แห้งแล้วใช้ไม้ตีแยกเอาเมล็ดออก การปฏิบัติทำได้ลำบาก เนื่องจากอันตรายจากหนามแหลมคม ในสหรัฐอเมริกาซึ่งปลูกในแปลงขนาดใหญ่ต้องใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว
          
คำฝอยเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งมากที่สุด ปลูกได้ในท้องที่ที่แห้งแล้ง ซึ่งมีฝนตกน้อย (๒๐๐ - ๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี) ประเทศที่ปลูกมากคือ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และอินเดีย สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการปลูกเพื่อเป็นการค้า เนื่องจากทำรายได้ไม่สูงเท่าพืชอื่น
   









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2224 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©