-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 359 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/2


ทานตะวัน


         
ทานตะวันเป็นพืชน้ำมันสำคัญของหลาย ประเทศในเขตอบอุ่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วโลกผลิตเมล็ดทานตะวันได้ประมาณ ๑๗ ล้านตันประเทศที่ปลูกทานตะวันมาก ได้แก่ รัสเซียสหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา น้ำมันทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ ๙๐ จึงนิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง  ๆ เพื่อบริโภคโดยเฉพาะ เช่น

         
ทานตะวันเป็นพืชล้มลุก (อายุต่ำกว่า ๑ ปี)อยู่ในวงศ์ Compositae เช่นเดียวกับดอกบัวตองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus annus L.ลำต้นสูงประมาณ ๑ - ๓ เมตร ใบมีขนาดใหญ่ปลายแหลมและขอบใบเป็นจักร ช่อดอกเป็นจานประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนหลายร้อยดอกกลีบดอกรอบจานดอกมีสีเหลืองสวยงาม เนื่องจากดอกทานตะวันไม่ผสมเกสรในต้นเดียวกันจึงต้องอาศัยผึ้ง หรือแมลงบางชนิด นำละอองเกสรจากดอกอื่นมาช่วยผสม จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ทำให้เกิดมีอาชีพเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปกับการปลูก ทานตะวันไปด้วยในทุกท้องที่
         
ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการปลูกทานตะวันเป็นการค้าในประเทศไทยในจังหวัดทางภาคกลางในปลายฤดูฝนและเกษตรกรได้รับรายได้ดี เชื่อ ว่าพื้นที่เพาะปลูกจะขยายตัวมากขึ้นในปีต่อ  ๆ ไป

เนยเทียม น้ำมันสลัด และอาหารอีกหลายชนิด และขายได้ราคาสูงเป็นพิเศษ กากเมล็ดทานตะวันหลังจากสกัดน้ำมันแล้ว จะมีโปรตีนร้อยละ ๓๐- ๔๐ นำไปเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังนำเอาเมล็ดของทานตะวันพันธุ์ที่มีเปลือกบางมาบริโภคเป็นของขบเคี้ยวเล่น
         
ทานตะวันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ชาวอินเดียนแดงได้เก็บเมล็ดมาบริโภคเป็นเวลานาน จนกระทั่งเมื่อ ๓๐๐ -๔๐๐ ปีก่อน ได้นำทานตะวันไปปลูกเป็นไม้ดอกในยุโรป และได้แพร่ไปถึงรัสเซีย นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้ปรับปรุงพันธุ์ทานตะวัน เพื่อใช้ เมล็ดสกัดน้ำมันได้สำเร็จเมื่อประมาณร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้การปลูกทานตะวันได้แพร่ขยายตัวออกในเขตแห้งแล้ง (มีฝนตกต่ำกว่าปีละ ๖๐๐มิลลิเมตร) ในเขตอบอุ่นทั่วทุกทวีป รวมถึงสหรัฐอเมริกา








การปลูกทานตะวันแบบครบวงจร

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสภาพข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและผลผลิตทานตะวัน ตลอดจนความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อโครงการ เกี่ยวกับเงื่อนไขและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกทานตะวันแบบครบวงจรกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกทานตะวันใน 2 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ รวม 100 ราย ได้แก่อำเภอตาคลี และอำเภอตากฟ้า อำเภอละ 50 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยระหว่าง 21-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 68.00 เป็นหญิง ร้อยละ 32.00 และร้อยละ 65.00 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา พื้นที่ปลูกทานตะวันของเกษตรกรร้อยละ 30.00 มีพื้นที่ระหว่าง 11-12 ไร่ ต่อราย ร้อยละ 73.00 มีประสบการณ์ในการปลูกทานตะวัน 1 ปี ชนิดพืชที่ปลูกก่อนทานตะวัน ร้อยละ 65 คือ ถั่วเหลือง และ

เกษตรกรร้อยละ 76.00 มีการเตรียมดินเพียง 1 ครั้ง
เกษตรกรร้อยละ 75.00 ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 2 กิโลกรัมต่อไร่
ร้อยละ 88.00 เกษตรกรปลูกแบบหว่าน
ร้อยละ 82.00 ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี

ผลผลิตเฉลี่ยที่เกษตรกรได้รับอยู่ระหว่าง 100-121 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 37.00 โดยมีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 500-700 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.00

ด้านความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการปลูกทานตะวันครบวงจร
เกษตรกรร้อยละ 52.00 มีความพอใจ
เกษตรกรร้อยละ 77.00 จะเข้าร่วมโครงการในปีต่อไป

ทั้งนี้เป็นเพราะเกษตรกรได้รับการสนับสนุนด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีคิดเป็นร้อยละ 57.00 รวมทั้งการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 77.00

ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผลการปฏิบัติของเกษตรกรรวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทานตะวันและระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทานตะวัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดในทางปฏิบัติมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตทานตะวันต่ำ จึงเสนอแนะให้มีการศึกษาและทดสอบช่วงระยะเวลาในการปลูกที่เหมาะสมรวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกในการปลูกทานตะวัน เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น


ทานตะวันเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง น้ำมันมีคุณภาพดี ประเทศไทยผลิตทานตะวันปีละ 23,000-30,000 ตัน ไม่เพียงพอกับการใช้มีการสั่งเข้าเมล็ดและผลิตภัณฑ์ทานตะวันจากต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท การปลูกทานตะวันในประเทศช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์สูงสุด แต่ก็มีปัญหาด้านการผลิต และการตลาดบ้าง เพราะยังเป็นพืชใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกทานตะวันในลักษณะครบวงจรขึ้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตทานตะวันภายใต้แผนเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรมีโอกาส เพื่อให้เพียงพอกับการใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออกตามแผนพัฒนาเศษรัฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) ในพื้นที่ 15 จังหวัด 150,000 ไร่

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสเลือกปลูกทานตะวันปลายฤดูฝนเป็นพืชที่ 2 เสริมรายได้ สำหรับการดำเนินงานในปี 2538/39 มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ

(1) ส่งเสริมการปลูกทานตะวัน
(2) จดทะเบียนเกษตรกร
(3) อบรมเกษตรกร
(4) การจัดงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี
(5) การตลาดกำหนดให้มีการประกันราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 5.80 กิโลกรัม ณ จุดรับซื้อในพื้นที่

โดยกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน 150,000 กิโลกรัม เป็นงบประมาณ 23,160,000 บาท ผลการดำเนินงานซึ่งได้มาจากทั้งข้อมูลมือหนึ่งและข้อมูลมือสอง ปรากฏว่าเมื่อคิดเป็นร้อยละ โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายเป็นดังนี้ คือ

มีเกษตรกรมาร่วมโครงการ 18,268 ราย คิดเป็นร้อยละ 121.79 และแสดงความจำนงที่จะปลูกทานตะวัน 317,721 ไร่ สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 207.8 แต่สามารถจัดสรรให้เกษตรกรได้เพียง 187,500 ไร่ จากเมล็ดพันธุ์ตามเป้าหมายโดยเฉลี่ยเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์รายละ 8.2 กิโลกรัม ปลูกในอัตราไร่ละ 0.8 กิโลกรัม ในพื้นที่ประมาณ 10.26 ไร่

การอบรมเกษตรกร 46 ครั้ง 6,800 คน คิดเป็นร้อยละ 340 การจัดงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีมีเกษตรกรเข้าร่วมสูงถึงร้อยละ 135 เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 170,750 ไร่ หรือร้อยละ 91.06 หรือเฉลี่ยรายละ 7.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นมูลค่ารวม 215.15 ล้านบาท คิดเป็นรายได้สุทธิ 114,193,268 บาท

ซึ่งคำนวณผลตอบแทนโครงการเป็นค่า B/C ratio ได้ 1.12 และที่สำคัญเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นรายละ 6,251 บาท ลดปัญหาการว่างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรสู่เมืองหลังฤดูปลูกพืชหลัก

ส่วนปัญหาอุปสรรคที่สำคัญงบประมาณจำกัดไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตามความต้องการ เกษตรกรได้รับแจ้งผลล่าช้าเนื่องจากปัญหางบประมาณทำให้ขาดความมั่นใจและเกษตรกรขาดความรู้เนื่องจากเป็นพืชใหม่ทำให้การใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรยังไม่เหมาะสมทำให้ผลผลิตต่ำ การตลาดยังมีข้อจำกัด เครื่องจักรกลการเกษตรโดยเฉพาะยังไม่มี

วิธีแก้ไขคือกำหนดเขตและพื้นที่การผลิตให้เหมาะสม จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรเข้าใจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการชัดเจน เน้นการฝึกอบรมเกษตรกรก่อนการปลูกอย่างทั่วถึง มีระบบตลาดที่ดีทั้งในการอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรและราคา พัฒนาระบบการผลิตทานตะวันโดยความร่วมมือของหน่วยงานวิจัยทั้งด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต พร้อมเครื่องจักรกลการเกษตร มาสนับสนุนในการช่วยเหลือเกษตรกรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลทำให้การผลิตทานตะวันได้ตามความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชที่ 2 ปลายฤดูฝนอย่างมั่นคงในอนาคต




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©