-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 220 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่






ละหุ่ง


ละหุ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีน้ำยางขาวข้นในลำต้น ละหุ่งมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาตะวันออก และมีการปลูกในอียิปต์เพื่อผลิตน้ำมันละหุ่งมาตั้งแต่เมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว ปัจจุบันประเทศบราซิล ไทย และอินเดียเป็นผู้ส่งออกละหุ่งรายใหญ่ของโลก น้ำมันละหุ่ง (castor oil) ได้จากเมล็ดละหุ่ง ซึ่งมีน้ำมันประมาณ 40-50% ในสมัยก่อนจะต้มเมล็ดที่ทุบละเอียดแล้ว จนกระทั่งน้ำมันลอยขึ้นมาจึงช้อนเอาน้ำมันไปใช้ แต่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อต้องการใช้น้ำมันละหุ่งในการผลิตยา จะใช้วิธีบีบอัดที่อุณหภูมิต่ำกว่า 50C เพื่อไม่ให้โปรตีนไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นพิษ ถูกสกัดออกมาด้วย น้ำมันละหุ่งประกอบด้วยกรดริซิโนเลอิก (ricinoleic acid) ใช้เป็นยาระบาย จึงไม่ใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร แต่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง เช่น สบู่ ลิปสติก ใช้ทำสีทาบ้าน และน้ำมันหล่อลื่น


ชื่อไทย
ละหุ่ง
ชื่อสามัญ Castor oil plant
ชื่อพฤกษศาสตร์ Ricinus communis L.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ อัฟริกาเขตร้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม ดอกแยกเพศร่วมต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบหยักเป็นพูรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักซี่ฟัน มีก้านใบ ช่อดอกออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ดอกเพศผู้อยู่ที่บริเวณโคน ดอกเพศเมียอยู่บริเวณปลาย กลีบเลี้ยงหลุดร่วง ก้านเกสรเพศเมีย 3 แยกเป็น 2 แฉก สีแดงเข้ม ผลแห้งแตก รูปไข่ เรียบหรือมีหนาม เมล็ดรูปขอบขนาน 3 เมล็ด

ผลิตผลและผลิตภัณฑ์

น้ำมันละหุ่ง
www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=ละหุ่ง -


ละหุ่ง

เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย น้ำมันละหุ่งมีคุณสมบัติที่ดี คือ ไม่แห้งง่าย มีความเหนียว และหนืด ดีกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ จึงมีการนำเข้าน้ำมันละหุ่งไปใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สี หมึกพิมพ์ พลาสติก เครื่องสำอาง น้ำมันหล่อลื่น และจาระบี ประเทศไทย

     ส่งออกละหุ่งในรูปน้ำมันและผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ขี้ผึ้งเทียม และน้ำมันละหุ่งแห้งเร็ว ( Dehydrated castor oil) มีมูลค่าปีละ 300 – 400 ล้านบาทแต่อย่างไรก็ตามน้ำมันละหุ่งที่สกัดได้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมภายในประเทศทำให้ต้องมีการนำเข้าน้ำมันละหุ่ง และเมล็ดละหุ่งจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องปีละไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท

     ปัจจุบันการผลิตละหุ่งของไทยมีแนวโน้มลดลงทุกปีมีทั้งพื้นที่ปลูกและผลผลิต เนื่องจากมีปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือ พันธุ์ที่เกษตรกรปลูกผลผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ และแมลงศัตรูพืชระบาดรุนแรง ทำให้เกษตรกรไม่นิยมปลูกละหุ่งเป็นแปลงใหญ่ โดยมากจะปลูกตามริมรั้ว หัวไร่ปลายนา จึงขาดการดูแลรักษาที่ดี ทำให้ผลผลิตต่ำการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของละหุ่งโดยมีกระบวนการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและเหมาะสม จึงความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและสิ่งแวดล้อมโดยเกษตรกรผู้ปลูกได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าสามารถดำเนินการได้โดยการจัดการที่ดีและเหมาะสมที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้



1. การปลูก

     1.1 แหล่งปลูก ละหุ่งปลูกได้ดีเกือบทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกละหุ่งที่สำคัญอยู่ในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง แหล่งปลูกที่เหมาะสมควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
          สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบ ที่ราบเชิงเขา ที่ดอน ที่มีการระบายน้ำดี ละหุ่งเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ลักษณะเด่น สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นดินเค็มจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร ระบายน้ำดี และมีความเป็นกรด–ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.0 – 6.5
          สภาพภูมิอากาศ ละหุ่งเป็นพืชไม่ชอบร่มเงา อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง25– 35 องศาเซลเซียส ถ้าต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียสอัตราการเจริญเติบโตจะลดลงและถ้าสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสทำให้เปอร์เซ็นต์การผสมติดลดลงและดอกร่วง อุณหภูมิของดินที่เหมาะต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนอยู่ระหว่าง 15-18 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเกินไปละหุ่งจะงอกช้า
          ความต้องการน้ำ ละหุ่งเป็นพืชทนแล้ง จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ถ้าได้รับน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-800 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์พืชอายุสั้นหรืออายุยาวระยะที่ต้องการน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแรกของการเจริญเติบโต และระยะออกดอกแต่ถ้าช่วงออกดอกฝนตกต่อเนื่องกันเกิน 5 วัน และความชื้นสูง จะทำให้ช่อดอกผสมไม่ติด และเกิดโรคช่อดอกเน่า

     1.2 พันธุ์ละหุ่ง ที่ใช้ส่งเสริมปลูก
          พันธุ์อายุสั้น เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ หรือพันธุ์ที่นำมาปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกในประเทศ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 – 150 วัน ต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ฝักไม่แตกเมื่อแก่ผลผลิตต่อไร่สูง ได้แก่พันธุ์เอช 22 ทีซีโอ 202 อุบลราชธานี 90และทีซีโอ 205

             พันธุ์อายุยาว
มีลำต้นสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านมาก อายุเก็บเกี่ยวช่อแรกประมาณ 150 วันขึ้นไป ฝักแตกง่าย สามารถอยู่ข้ามปีได้ และสามารถไว้ตอและเก็บเกี่ยวได้ถึง 3 ปี ได้แก่ พันธุ์ ลายขาวนวล พันธุ์ทีซีโอ 101

     1.3 วิธีการปลูก
             ฤดูปลูก
การปลูกละหุ่งในระยะเวลาที่เหมะสมจะช่วยให้ปลอดจากศัตรูละหุ่งที่จะมีทำลาย และช่วยให้ผลผลิตสูงซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของพันธุ์ที่ใช้ปลูก
               ละหุ่งอายุสั้น มีอายุการเก็บเกี่ยวช่อแรกและช่อแขนงประมาณ 120–150 วัน ฤดูปลูกที่เหมาะสมช่วงปลายเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม

                    ละหุ่งอายุยาว
มีอายุการเก็บเกี่ยว 150 วันขึ้นไป ฤดูปลูกที่เหมาะสมควรปลูกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม แต่ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาฝนตกชุกในช่วงปลายฝน ควรเลื่อนเวลาปลูกมาเป็นช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย เนื่องจากฝนตกหนักในช่วงเก็บเกี่ยว
             การเตรียมดิน การเตรียมดินที่ดีช่วยให้ละหุ่งเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงจำนวนครั้งในการไถพรวนขึ้นอยู่กับโครงสร้าง และชนิดของเนื้อดิน รวมความหนาแน่นของวัชพืช

    • ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ไถ 1 – 2 ครั้ง
    • ดินร่วนเหนียวหรือดินที่มีวัชพืชหนาแน่น ไถ 2 - 3 ครั้ง

              การปลูก การปลูกควรปลูกเป็นแถวใช้จอบขุดหลุมลึก 5 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 1 เมล็ด และระยะปลูกละหุ่งสามารถแบ่งได้ตามลักษณะพันธุ์ และสภาพแวดล้อม
                 ละหุ่งพันธุ์อายุสั้น ควรปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินพอสมควรช่วงปลายฝน

ปลูกละหุ่งแปลงเดี่ยว 1.5 X 1.0 เมตร
ปลูกละหุ่งแซมข้าวโพด ระยะข้าวโพด 2 แถว ละหุ่ง 1 แถว
ปลูกละหุ่งแซมพืชตระกูลถั่ว ระยะถั่ว 4 แถว ละหุ่ง 1 แถว

                        ละหุ่งพันธุ์อายุยาว ไม่ควรปลูกเป็นแปลงใหญ่เพราะเสี่ยงต่อการระบาดของศัตรูละหุ่ง

                          ปลูกละหุ่งแปลงเดี่ยว ระยะปลูก 2 X 2 เมตร
                          ปลูกแซมข้าวโพด ระยะข้าวโพด 4 แถว ละหุ่ง 1 แถว

2. การดูแลรักษา
     2.1 การใส่ปุ๋ย
ความต้องการปุ๋ยของละหุ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินถึงแม้ว่าละหุ่งจะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำการใส่ปุ๋ยจะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น แต่การใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรพิจารณา จากค่าวิเคราะห์ดินว่าดินขาดธาตุอาหารใดบ้าง และสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและไม่สิ้นเปลือง แต่ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ดินได้ให้พิจารณาจากลักษณะเนื้อดิน
เนื้อดิน

ปริมาณธาตุ
อาหารที่แนะนำ
N – P2o5 – k2o
( กก./ไร่)

สูตรปุ๋ยที่ใช้

อัตราที่ใช้
(กก./ไร่)

วิธีและเวลาใส่
ดินทรายดิน
ร่วนปนทราย
10–10-10

15–15–15



8–24–24
ร่วมกับ
21–0–0 หรือ
46–0–0

50–60



30–40
20–30
10-15
แบ่งใส่ 2 ครั้ง
ครั้งแรกรองก้นหลุม
ครั้งที่ 2 หลังปลูก 20–25 วัน

รองก้นหลุม
โรยเป็นแถวหลังปลูก 20-25 วัน
ดินเหนียวสีแดง 10–10-0 20–20-0 40-50 แบ่งใส่ 2 ครั้ง
ครั้งแรก รองก้นหลุม
ครั้งที่ 2 หลังปลูก 20–25 วัน
ดินเหนียวสีดำ
และดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล
10–0-0 21–0–0 หรือ
46–0–0
40–50
20-25
ใส่รอบโคนต้นหลังปลูก
20–25 วัน

     2.2 การเด็ดยอดละหุ่ง หลังจากปลูกละหุ่งแล้วประมาณ 7-10 วัน ละหุ่งจะงอกเมื่ออายุได้ 25-30 วัน หลังงอกหรือต้นสูงประมาณ 1 ศอก จะต้องเด็ดยอดละหุ่งเพื่อให้กิ่งก้านแตกมากขึ้น มีหลายช่อต่อต้น ง่ายแก่การดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว แต่ถ้าปลูกละหุ่งล่าไม่ต้องเด็ดยอดเพราะจะทำให้ออกดอกช้าเก็บเกี่ยวช้า ซึ่งอาจไม่ทันต่อการปลูกพืชต้นฝนในฤดูต่อไป



3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
        3.1 โรคที่สำคัญ ของละหุ่งมี 3 ชนิด คือ โรคต้นกล้าเน่า โรคต้นและรากเน่าและโรคราสีเทา

โรค/เชื้อสาเหตุ ลักษณะอาการ การป้องกันกำจัด
โรคต้นเน่าหรือเน่าคอดิน
สาเหตุ เชื้อรา
-
Sclerotium rolfsii
-Rhizoctonia soloni
ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและร้อนอบอ้าว
เข้าทำลายระยะกล้า
ทำให้ต้นเหี่ยวและยืนต้นตาย
มักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา
S. rolfaii
บริเวณโคนต้นถ้าเกิดจากเชื้อรา
R. soloni
โคนต้นจะเป็นรอยแผลเน่าคอดสีน้ำตาล
-ถอนทำลายต้นเป็นโรค
-หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่ระบาดรุนแรง
-คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารแคปแทน ไตรฟอรีนหรือคาร์บอกซิน
อัตรา 25 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
โรคต้นเหี่ยวหรือต้นและรากเน่าเชื้อสาเหตุเชื้อรา
 Phytophthora
parasitica
ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและร้อนอบอ้าว

พบระบาดตั้งแต่ระยะกล้าถึงต้นโต ระยะกล้าเป็นแผลฉ่ำใบอ่อน ใบเลี้ยงและลำต้น คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ทำให้ต้นละหุ่งยอดเน่าและเหี่ยวแห้งตายระยะต้นโต ใบล่างจะเหลืองซีดแห้งเหี่ยว และทิ้งใบ รากเป็นสีดำ เปลือกล่อน

-ถอนทำลายต้นเป็นโรค
-หลีกเลี่ยงปลูกที่น้ำขังหรือแปลงที่เคยมีการระบาดของโรค
-คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเมทาแล็กซิล อัตรา 7 กรัม/เมล็ด1 กก.
-ฉีดพ่นหรือราดบริเวณโคนต้นด้วยสารเมทาแล็กซิลหรือเบนาแล็กซิล อัตรา 30-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร


โรคราสีเทา
เชื้อสาเหตุ
Botrytis ricini
ระบาดรุนแรงในสภาพที่อากาศมีความชื้นสูงหมอกลงจัด หรือฝนตกติดต่อกันหลายวัน

เชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ระยะช่อดอกจนถึงติดผลระยะแรกจะพบหยดสีน้ำตาลเท่าหัวไม้ขีดเกาะอยู่บนช่อดอกหรือหนามของผล จากนั้นเชื้อจะสร้างเส้นใยสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเทาทำให้ช่อดอกร่วงเมล็ดลีบถ้าเชื้อเข้าทำลายที่ใบทำให้เหี่ยวแห้ง
-เก็บทำลายช่อดอกเป็นโรค

-พ่นสารแคบแทนและคาร์เบนชิบอัตรา 15-20 กรัม/20 ลิตร สลับกันสัปดาห์ละครั้งโดยพ่นบริเวณช่อดอกละหุ่ง

      3.2 แมลงศัตรูที่สำคัญ
           การปลูกละหุ่งในสภาพหัวไร่ปลายนา ที่ไม่ได้เป็นแปลงใหญ่ การระบาดของแมลงค่อนข้างน้อย ถ้ามีการปลูกเป็นแปลงจะมีปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือหนอนคืบละหุ่งและเพลี้ยจักจั่นซึ่งแต่ละชนิดสามารถทำความเสียหายให้ละหุ่งได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

แมลงศัตรู ลักษณะอาการ การป้องกัน
หนอนคืบละหุ่ง
Acheae Janata L. ระบาดมากในฤดูฝนชุก
หนอนจะกัดกินใบละหุ่งจนเหลือแต่ก้านใบถ้าระบาดในระยะไม่ออกดอกต้นละหุ่งจะโตช้าแคระแกร็นหากระบาดระยะออกดอกและติดผลอ่อนจะทำให้ผลลีบ ร่วงหล่นเมล็ดในผลลีบ หมั่นตรวจแปลง หากพบหนอนคืบมากกว่า 1 ตัว/ใบ ให้ใช้สารฆ่าแมลงจำพวก คาร์บิล อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือไซเพอร์เมทริน อัตรา 10 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร

เพลี้ยจั๊กจั่น

Jacobiasca formosana ระบาดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในฤดูแล้งหรือระยะฝนทิ้งช่วง


เข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของละหุ่งเพลี้ยจักจั่นทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใต้ใบละหุ่ง ทำให้ละหุ่งชะงักการเจริญเติบโตใบหดเล็กใบห่อโค้งลงใบเหลืองแดง ร่วงเร็วกว่าปกติถ้าระบาดมากต้นละหุ่งจะตาย

-ปลูกละหุ่งพันธุ์ที่มีไขจะต้านทานต่อการทำลายของเพลี้ย
-ถ้าพบเพลี้ยจั๊กจั่น 10 ตัว/ใบ ให้ใช้สารสะเดา 7 – 10 % w/N หรือสารพวกคาร์บา
ริล อัตรา 40 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร


     3.3 การกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญที่มีผลต่อผลผลิตของละหุ่ง การปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับละหุ่งตลอดช่วงอายุ จะทำให้ผลผลิตละหุ่งลดลง 30-60 เปอร์เซ็นต์ การจำกัดวัชพืชอาจใช้แรงงานคน สัตว์ เครื่องไถพรวนขนาดเล็ก สารเคมี หรือใช้หลายวิธีควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดของวัชพืช
          ใช้แรงงาน ควรกำจัดครั้งแรกเมื่อละหุ่งอายุ 2 – 3 สัปดาห์หลังงอก
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นละหุ่งจะเจริญเติบโตจนคลุมพื้นที่ได้หมด
          ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะน
        สารคุมวัชพืชก่อนงอก ได้แก่ เมโทรลาคอร์ อลาคลอร์

          สารคุมวัชพืชหลังงอก
ได้แก่ พาราควอต แต่ต้องระวังในการฉีดพ่น ต้องระวังไม่ให้ละอองปลิวไปถูกละหุ่งห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพวกอาทราซีนกับละหุ่งโดยเด็ดขาด

4. การเก็บเกี่ยว และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

    4.1 การเก็บเกี่ยว ละหุ่งที่เก็บเกี่ยวได้สังเกตจากช่อแห้งประมาณครึ่งช่อ สำหรับละหุ่งพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์ลายขาวนวล เพราะ ถ้าปล่อยให้แห้งทั้งช่อเมล็ดจะร่วงแต่พันธุ์ส่งเสริมพันธุ์ อื่น เช่น ทีซีโอ 101 ทีซีโอ 202 เอช 22 อุบล 90 สมารถปล่อยให้ผลแก่ทั้งช่อได้ การเก็บเกี่ยวทำโดยตัดช่อของละหุ่งทีละช่อ ให้แห้ง ( 2-3 แดด) รูดก้านออก นำฝักละหุ่งมากะเทาะด้วยมือหรือเครื่องกะเทาะละหุ่ง ได้เมล็ดเก็บบรรจุกระสอบไว้รอจำหน่ายต่อไป

    4.2 การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ละหุ่งส่วนใหญ่จะเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไปได้ยกเว้นพันธุ์ลูกผสม เช่น พันธุ์เอช 22 เมล็ดพันธุ์ละหุ่งจะเก็บรักษาง่ายและเก็บได้นาน ไม่มีปัญหา เรื่องโรคและแมลงในโรงงานเก็บ เพราะมีเปลือกหนา เพียงแต่ลดความชื้นของเมล็ดให้ต่ำลงประมาณ 5-8 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเมล็ดที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เปลือกของเมล็ดไม่แตกหัก ภาชนะที่เก็บรักษาเมล็ดละหุ่งใช้ได้ทั้งกระสอบป่าน ถุงใยพลาสติก ปิ๊บ ( เก็บรักษาในภาชนะปิดจะรักษาคุณภาพเมล็ดได้ดีกว่าในภาชนะเปิด ) โดยวางบนแผ่นไม้ยกสูงจากพื้นเล็กน้อยในสภาพโรงเก็บที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีหากเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์และแห้งสามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 1 ปี



www.doae.go.th/library/html/detail/lahung/index.htm



ละหุ่งลูกผสมข้ามสกุลชั่วที่
1 พันธุ์พิชัย 1

แหล่งที่มาและประวัติของพันธุ์

ละหุ่งลูกผสมข้ามสกุลชั่วที่
1 (intergeneric F1 hybrid) เป็นการผสมข้ามสกุลระหว่างละหุ่ง (Ricinus communis) พันธุ์ต้นนวลเป็นพันธุ์พื้นเมือง ต้นสีแดง ซึ่งอยู่ในสกุล Ricinus วงศ์ Euphorbiaceae เป็นต้นแม่ (female parent) กับสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) พันธุ์ไม่มีชื่อ ซึ่งอยู่ในสกุล Jatropha (Subg. curcas) วงศ์ Euphorbiaceae เป็นต้นพ่อ (male parent) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำ รวมทั้งการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เพื่อใช้เป็นเชื้อพันธุ์ (germ plasm) สำหรับการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำต่อไป

2. เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าละหุ่งกับสบู่ดำซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae ด้วยกัน แต่ต่างสกุล (Genus) กัน สามารถจะผสมกันได้ด้วยวิธีธรรมดา การผสมสลับพ่อแม่ (reciprocal cross) จะได้ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์ (phenotype) แสดงออกไปทางต้นแม่เสมอ

3. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) ในการที่จะใช้ละหุ่งผสมกับสบู่ดำในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ละหุ่งเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1 hybrid seeds) ในเชิงธุรกิจต่อไป

วิธีดำเนินการ

1) การอีแมสคิวเลชั่น (emasculation) ดอกละหุ่งต้องทำด้วยความรอบครอบเพราะดอกเพศผู้ละหุ่ง มิใช่แต่จะอยู่เฉพาะส่วนล่างของดอกเท่านั้น แต่ยังอยู่กระจัดกระจายในช่อดอก ตัดดอกเพศผู้ทั้ง หมดออกจากช่อดอก (inflorescence) การแยกดอกเพศผู้ออกจากดอกเพศเมียด้วยสายตาสามารถกระทำได้อย่างถูกต้อง (อาศัยความเข้าใจและประสบการณ์) อีแมสคิวเลชั่น ควรทำก่อนดอกบาน 2-3 วัน ทำการห่อดอกเพศเมียที่ผ่านการอีแมสคิวเลชั่นแล้ว เพื่อป้องกันการผสมเรณูจากพาหะถ่ายเรณู (pollinators)

2) การเตรียมละอองเรณู (pollen grains) ในดอกสบู่ดำเพศผู้ทำการเก็บละอองเรณู เมื่ออับเรณู (anther) บานเต็มที่และปลดปล่อยละอองเรณู อาจตัดช่อดอกที่มีดอกบานมาตากแดดในช่วงเช้าไว้สัก 5-10 นาที แสงแดดจะช่วยในการปลดปล่อยละอองเรณู

3) การถ่ายเรณู (pollination) อาจใช้เข็มเขี่ย พู่กัน เป็นตัวพาละอองเรณูไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) หรือใช้ปากคีบจับดอกที่บานไปแตะที่ยอดเกสรเพศเมีย ก็แล้วแต่ความถนัดของนักผสมพันธุ์พืช อย่างไรก็ตามการถ่ายเรณูควรกระทำเมื่อยอดเกสรเพศเมียพร้อมจะรับละอองเรณู (receptive)

4) ปฏิบัติการหลังการถ่ายเรณู ห่อหุ้มดอกที่ได้รับการถ่ายละอองเรณูแล้วให้ปลอดจากพาหะถ่ายละอองเรณู (pollinators) 2

ติดป้ายแสดงวันผสมพันธุ์ รอจนเมล็ดแก่จึงทำการเก็บเกี่ยว ตากแดดเมล็ดไว้สัก 3-4 วัน จึงทำการเพาะ เมล็ดจะงอกภายใน 10-15 วัน หลังเมล็ดงอกเลี้ยงต้นกล้าให้แข็งแรง จึงทำการย้ายปลูกเพื่อศึกษาลูกผสมชั่วที่ 1 ต่อไป

ผลการดำเนินการ

การทดลองครั้งนี้พบว่า ละหุ่ง (พันธุ์ต้นนวล พันธุ์พื้นเมือง ต้นสีแดง) x สบู่ดำ (พันธุ์ไม่ทราบชื่อ) ได้ละหุ่งลูกผสมข้ามสกุลชั่วที่1 ที่มีลักษณะ Hybrid Vigor และมีลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) หรือฟีโนไทป์ (phenotype) เอนเอียงไปทางต้นแม่ (ละหุ่ง) ทั้งหมด ไม่ปรากฏลักษณะสบู่ดำ(ต้นพ่อ)ให้เห็น

โดยที่ละหุ่งลูกผสมข้ามสกุลชั่วที่1 พันธุ์พิชัย1 เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่มีความใกล้ชิดพันธุ์แม่มาก จนไม่สามารถพบความแตกต่างของลักษณะภายนอก(morphological markers)ได้ จำเป็นต้องใช้การตรวจสอบความบริสุทธิ์ที่มุ่งเน้นลักษณะทางพันธุกรรม(genetic markers) โดยใช้วิธีการตรวจสอบ ดี เอ็น เอ ด้วยเทคนิคและวิธีการ RAPD โดยใช้ชิ้นส่วนของใบพืชในปริมาณต่ำ เพื่อนำมาสกัด ดี เอ็น เอ และทำปฏิกิริยาเพิ่มสารพันธุกรรม แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีอีเล็คโตรโฟเรซิส(Electrophoresis) ทำการวิเคาระห์ความสัมพันธุ์ทางพันธุกรรม(coefficient similarity)โดยบันทึกข้อมูลความเหมือนหรือไม่เหมือนของแบนด์(band)

อนึ่งการทดลองในครั้งนี้ได้ผลแตกต่างจากการทดลองครั้งแรกซึ่งใช้สบู่ดำ(พันธุ์อินเดีย) เป็นต้นแม่ผสมกับละหุ่ง(พันธุ์ลายขาวดำ พันธุ์พื้นเมือง ต้นสีเขียว) เป็นต้นพ่อ ได้สบู่ดำลูกผสมข้ามสกุล ชั่วที่1 พันธุ์พิชัย-วัฒนา1 ที่มีลักษณะเอนเอียงไปทางสบู่ดำ(ต้นแม่) และไม่ปรากฎลักษณะละหุ่ง(ต้นพ่อ)ให้เห็น (รายงานการขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ เสนอต่อกรมวิชาการเกษตร, 2551)

เมื่อเปรียบเทียบผลการผสมพันธุ์พืชในทั้ง 2 กรณีจะเห็นได้ว่า

สบู่ดำ X ละหุ่ง สบู่ดำลูกผสมข้ามสกุล ชั่วที่ 1 .......................................􀁣

ละหุ่ง X สบู่ดำ ละหุ่งลูกผสมข้ามสกุล ชั่วที่ 1 ....................................... 􀁤

ทั้ง 2 กรณีให้ผลต่างกันเพราะเป็นการผสมสลับคู่ (reciprocal cross)

การเรียกชื่อลูกผสมให้เหมาะสม ควรเรียกไปตามลักษณะทางฟีโนไทป์ที่แสดงออกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

จริงอยู่ถึงแม้งานนี้จะอยู่ในโครงการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำก็ตามแต่เมื่อมีละหุ่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยและ มีการผสมข้ามสกุล (ซึ่งพืชมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ห่างไกลกันมาก) เมื่อมีการผสมกันได้ (ซึ่งเกิดได้ยากในธรรมชาติและไม่ปรากฏรายงานในที่ใด ยกเว้นในกล้วยไม้) อนึ่งลักษณะทางฟีโนไทป์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจเกิดขึ้นได้สุดแท้แต่ว่าลูกผสมมีความใกล้ชิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากโดยไม่จำเป็นต้อง3

เกิดทั้ง 2 ลักษณะในเวลาเดียวกัน จากผลการผสมพันธุ์ระหว่างละหุ่ง X สบู่ดำ ได้ลูกผสมชั่วที่1 ที่มี Hybrid Vigor ที่น่าสนใจและไม่เคยคาดคิดมาก่อน ทำให้มีศักยภาพว่างานนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ละหุ่งอีกด้วย ซึ่งผลงานนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ละหุ่งในอนาคต

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้น ลำต้นมีตั้งแต่สีแดงนวล (มีไขสอง) สีน้ำตาลปนแดงไปจนกระทั่งสีแดงอ่อน ไม่มีไข สูง 4-5 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 2-3 เมตร มีกิ่งแขนง 7-20 กิ่ง มีต่อมน้ำต้อย (extra nectaries) ปรากฏที่โคน ส่วนโคนของก้านใบ ขอบใบ ก้านใบของหูใบ โคนแผ่นใบ โคนของใบประดับ (bracts)

แผ่นใบ โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าต้นแม่ บางทีก็ใหญ่กว่าต้นแม่มาก แผ่นใบแยกเป็นแฉกแบบนิ้วมือ (palmatifid) 9-11 แฉก (lobes) แต่ละแฉกมีทั้งเรียวรูปใบหอกแกมรูปไข่ (ovate – lanceolate) ถึงรูปใบหอก (lanceolate) ขอบใบเป็นหยักซี่ฟัน(dentate) ปลายใบแหลม (acute) เส้นใบรูปฝ่ามือ (palmately veined)

หูใบ (stipules) รูปสามเหลี่ยม สมมาตร (symmetric) เส้นใบขนาน (paralled nerved) หรือไม่มีโดยเฉพาะเมื่อยังอ่อนหูใบหุ้มใบอ่อน

ช่อดอก (inflorescence) ออกบริเวณปลายยอด (terminal inflorescence) เป็นแบบช่อกระจะ (raceme) หรือช่อแยกแขนง (panicle) ส่วนบนของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย (pistillate) และส่วนล่างของช่อดอกเป็นดอกเพศผู้ (staminate) ดอกเพศผู้ยังปรากฎอยู่ทั่วไปในสวนบนของช่อดอก

ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงสีเขียวใบไม้ถึงสีแดง จำนวน 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่ (ovaries) มีหนาม (achinate) ด้านนอกสั้นหรือยาวและบางทีน้อยกว่าต้นแม่ (สังเกตจากส่วนที่ว่าง) ตรงปลายผลเมื่อยังอ่อนมีส่วนยาวคล้ายหนวดแมลง (papillae) สีแสด-แดงสดใส

ผล (fruits) เมื่อยังอ่อนมีผนังชั้นนอกสีเขียวใบไม้เป็นมันเงา เมื่อแก่มีสีน้ำตาลหรือเทา เมื่อแห้งจะแตก (dehiscing) และบางทีจะแยกออกจากผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) และชั้นใน (endocarp) ผนังผลชั้นกลางและชั้นในจะเป็นเนื้อไม้ (woody) ผลมี 3 ช่อง (carpels) เมื่อแห้งจะแยกเป็น 3 ส่วน มีเมล็ดอยู่ภายใน

เมล็ด (seeds) ลักษณะแข็งเป็นเลื่อมมันเงา(marbled) สีน้ำตาลสลับขาว 4

ข้อสังเกตเบื้องต้น

ลักษณะความแข็งแรงเหนือพ่อแม่ (Hybrid Vigor) เปรียบเทียบลูกผสม (ละหุ่ง) กับต้นแม่ (ละหุ่ง)

(1) ลักษณะทั่วไป

ความสูงของต้นเป็นเมตร

จำนวนแขนงจากโคน

ความยาวของช่อผล ซม.

จำนวนช่อผลต่อต้น

จำนวนผลต่อช่อ

ลูกผสม

ต้นแม่

ลูกผสม

ต้นแม่

ลูกผสม

ต้นแม่

ลูกผสม

ต้นแม่

ลูกผสม

ต้นแม่

4-5

2.5-3

7-20

5-10

25-50

20-30

10-80

20-30

60-200

40-60




as.doa.go.th/pvp/planttabian/t98.pdf





 โรคและแมลง

โรคและการป้องกันกำจัด

โรคเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของละหุ่งเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อโรค จากรายงานพบว่าโรคที่เกิดกับละหุ่งทั่วโลกอย่างน้อย 22 ชนิด ส่วนใหญ่พบในพันธุ์ต้นเตี้ยที่ปลูกเป็นการค้า ในประเทศไทยพบโรคที่สำคัญ 3 ชนิด คือ โรคต้นกล้าเน่า โรคต้นเหี่ยว และโรคราสีเทา

โรคต้นกล้าเน่า

อาการ : เชื้อรา 2 ชนิด คือ Sclerotium rolfsii และ Rhizoctonia solani
อาการ : ถ้าเกิดจากเชื้อสาเหตุ S. rolfsii จะพบเส้นใยสีขาวบริเวณโคนต้นละหุ่งที่เป็นโรคและพบ fruiting body ลักษณะคล้ายเมล็ดฝักสีน้ำตาลอยู่รวมกับเส้นใยสีขาวสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าเกิดจากเชื้อสาเหตุ R.solani บริเวณโคนต้นจะเป็นรอยแผลเน่าสีน้ำตาล เชื้อนี้จะเข้าทำลายรากแล้วลามขึ้นสู่ลำต้น โคนต้นจะเรียกเล็กกว่าปกติและต้นละหุ่งจะเหี่ยวแห้งตายเนื่องจากท่อน้ำท่ออาหารถูกทำลาย
การแพร่ระบาด : พบในระยะต้นกล้าทำให้ต้นละหุ่งค่อยๆ เหี่ยวและยืนต้นตายโดยทำลายระบบรากและลำต้นทั้งที่ดินยังชื้นอยู่สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและร้อนอบอ้าวจะเกิดโรคได้ง่าย เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายโดนน้ำ
การป้องกันกำจัด :
คลุกเมล็ดด้วยสารแค๊ปแทน หรือ ซาพรอน อัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม ถ้าเกิดต้นที่เป็นโรคแล้วควรขุดดินในบริเวณที่เป็นโรคทิ้งด้วยและนำดินใหม่มาใส่แทน


โรคต้นเหี่ยว

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora parasitica Dast
อาการ : พบโรคนี้ได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนกระทั่งระยะต้นโต ในระยะต้นกล้าเชื้อนี้ทำให้ใบอ่อน ใบเลี้ยงและลำต้นเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำคล้ายถูกน้ำร้อยลวกและต้นละหุ่งเหี่ยวแห้งตายในที่สุด ในระยะต้นโตเมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะแรก ใบล่างจะเหลืองซีดคล้ายอาการขาดน้ำหรือขาดธาตุอาหาร ต่อมาใบจะเหี่ยวและทิ้งใบในที่สุด เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ารากถูกทำลายเป็นสีดำเปลือกล่อนออกได้ง่าย
การป้องกันกำจัด :
1. หลีกเลี่ยงการปลูกในที่มีน้ำขังหรือแปลงที่เป็นโรคนี้มาก่อน
2. ถอนเผาทำลายต้นละหุ่งที่เป็นโรค
3. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ริโดมิล หรือ เอพรอน


โรคราสีเทา

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Botrytis ricini
อาการ : ระยะแรกที่เชื้อโรคนี้เข้าทำลายจะเห็นหยดสีน้ำตาลขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟเกาะอยู่ที่ช่อดอกหรือหนามของผล จากนั้นเชื้อจะสร้างเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมทั้งช่อ เส้นใยเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อสัมผัสลม สปอร์ของเชื้อรามีลักษณะคล้ายฝุ่นสีเทาและปลิวฟุ้งกระจายไปต้นอื่น เชื้อนี้ทำให้ช่อดอกร่วงและเมล็ดลีบ ในสภาพความชื้นสูงยากแก่การกำจัด หากเชื้อนี้ร่วงลงใบจะทำให้ใบเหี่ยวแห้งได้
การแพร่ระบาด : พบมากในช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงมาก หมอกลงจัดหรือมีฝนตกติดต่อกันหลายวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงย่างเข้าฤดูหนาว เกิดในระยะการพัฒนาของช่อดอกและระยะติดผลทำให้ก้านผลเน่า เมล็ดลีบ และผลร่วงก่อนแก่
การป้องกันกำจัด :
1. หากพบว่ามีหมอกลงจัดหรือฝนตกติดต่อกันหลายวันควรพ่นสารพวกแค็ปแทนหรือคาร์เบ็นดาซิม 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดตามผลที่ยังอ่อนอยู่สลับกับสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
2. เก็บทำลายช่อดอกที่เป็นโรค
3. อย่าปลูกละหุ่งชิดเกินไป เพราะจะทำให้ความชื้นในแปลงสูง ง่ายต่อการเป็นโรค


แมลงและการป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูที่สำคัญของละหุ่งที่เป็นปัญหาในเชิงเศรษฐกิจที่ผ่านมามีเพียง 2 ชนิด คือหนอนคืบละหุ่งและเพลี้ยจักจั่นซึ่งพบระบาดอยู่เป็นประจำและทำความเสียหายรุนแรง ปัจจุบันหนอนกระทู้และหนอนหนังเหนียวเริ่มมีการระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ก็มีแมลงศัตรูที่พบอยู่ทั่วไปมีการระบาดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ทำความเสียหายแก่ละหุ่งมากนัก ได้แก่ ไรแดง มวนเขียว หนอนบุ้ง หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมออเมริกัน

หนอนคืบละหุ่ง (Achaea janata L.)
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลดำมีลายสีขาวบนปีกคู่หลังเมื่อกางปีกออกกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ดำรงชีพโดยการดูดน้ำจากผลไม้สุกเป็นอาหาร เช่น พุทธา ลำไย และส้มเขียวหวาน ตัวเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 400-600 ฟอง ไข่มีสีเขียวอ่อนขนาด 0.8 มิลลิเมตร จะฟักใน 2-3 วัน หนอนที่ฟักออกมาก็จะเริ่มกินใบละหุ่งและอยู่ในระยะที่เป็นหนอน 8-15 วัน อ่านการลอกคราบ 4 ครั้ง ก็จะเข้าสู่ระยะดักแด้ซึ่งมีสีน้ำตาลเข้มแลมีนวลสีเทาๆ ในระยะนี้อาจมีการกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ดักแด้ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย หลังจากเข้าดักแด้ 8-13 วัน ก็จะกลายเป็นตัวผีเสื้อ ผีเสื้อหนอนคืบละหุ่งตัวผู้มีอายุอยู่ได้ 8-17 วัน ส่วนตัวเมียมีอายุอยู่ได้ 13-22 วัน


การแพร่กระจาย :
มีการระบาดมากในขณะที่มีฝนชุกราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายนความชื้นเป็นปัจจัยของการระบาดถ้าปีใดมีฝนตกชุกสม่ำเสมอ หนอนคืบละหุ่งจะระบาดมากกว่าในปีที่ฝนแล้งพืชอาศัยของหนอนคืบละหุ่งได้แก่ โคกกระสุน ชา สบเสือ น้ำนมราชสีห์ กุหลาบ และทับทิม
การป้องกันกำจัด :
1. ไม่ควรปลูกละหุ่งให้ชิดเกินไป การปลูกชิดจนใบชนกันจะทำให้การระบาดรวดเร็วขึ้น
2. ละหุ่งเป็นพืชที่ทนต่อการกัดกินของแมลงพอสมควร หากใบถูกทำลายไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ก็ยังไม่มีผลต่อผลผลิต จึงควรหมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบตัวหนอนให้ทำลายทิ้งโดยใช้มือ
3. หนอนคืบละหุ่งมีศัตรูธรรมชาติหลายชนิด เช่น แตนเบียนหนอน มวนพิษ แตนเบียนไข่ แมลงวันเบียนหนอนและนก หากพบศัตรูธรรมชาติจำนวนมากไม่ควรฉีดสารกำจัดแมลงเพราะศัตรูธรรมชาติเหล่านี้จะควบคุมการระบาดของหนอนได้เอง
4. หากพบหนอนระบาดมากและศัตรูธรรมชาติมีอยู่จำนวนน้อยให้ใช้สารคาร์บาริล (carbaryl) เช่น เซฟวิน 85% WP 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโมโนโครโตฟอส (monochrotophos) เช่น อะโซดริน 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร


เพลี้ยจักจั่น
(Amrasca formosana Paoli)
เป็นแมลงขนาดเล็กตัวยาว 2 มิลลิเมตร ตัวเมียจะวางไข่ลงในเนื้อเยื่อของเส้นใยและยอดอ่อนของละหุ่ง ไข่จะฟักภายใน 7 วัน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาใหม่มีสีเหลืองซีดไม่มีปีกจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบโดยจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวและอยู่ในระยะตัวอ่อน 7-8 วัน แล้วลอกคราบเปลี่ยนเป็นสีเขียว มีปีก เคลื่อนไหวได้เร็ว ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 20 วัน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใต้ใบทำให้ละหุ่งชะงักการเจริญเติบโตและใบร่วงเร็วกว่าปกติ
การแพร่กระจาย : มักพบทุกครั้งที่ทำการปลูกมีการระบาดมากในช่วงที่มีฝนทิ้งช่วงหรือมีการปลูกในปลายฤดูฝน เมื่อมีฝนตกการระบาดก็จะลดลงพืชอาศัยของเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ฝ้าย กระเจี๊ยบ และสาบเสือ
การป้องกันกำจัด :
1. ปลูกละหุ่งพันธุ์ที่มีไขใต้ใบและลำต้น ซึ่งจะต้านทานต่อการทำลายของเพลี้ยได้ดี
2. ในกรณีที่เพลี้ยมีการระบาดรุนแรง ควรฉีดสารกำจัดแมลงในขณะที่ตัวอ่อนยังเป็นสีน้ำตาลขนาดเล็ก โดยใช้คาร์บาริล อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโมโนโครโตฟอส อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เม็ทโธมิล (methomyl) อัตรา 9 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร



การเก็บเกี่ยว

ละหุ่งประเภทล้มลุกจะเริ่มเก็บเกี่ยวช่อแรกได้เมื่อมีอายุประมาณ 120 วัน ช่อที่สองประมาณ 140 วัน และสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ประมาณ 160 วัน ละหุ่งพันธุ์ดีควรมีความแตกต่างของระยะเวลาการสุกแก่น้อย เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวทุกช่อได้พร้อมกัน เป็นการประหยัดแรงงาน โดยเก็บเกี่ยวทุกช่อได้พร้อมกัน เป็นการประหยัดแรงงาน โดยเก็บเกี่ยวเมื่อช่อนั้นมีผลแห้งประมาณ 3 ใน 4 ของช่อ ละหุ่งประเภทล้มลุกนี้สามารถปล่อยทิ้งให้แห้งคาต้นได้ เนื่องจากไม่มีการแตกการร่วงของผลจากต้นได้ นำช่อผลที่เก็บเกี่ยวมาผึ่งแดด 2 – 3 แดด แล้วรูดแยกส่วนของผลบรรจุกระสอบนำไปขายได้ทันที หรือกะเทาะและแยกเมล็ดและเปลือกได้ในขณะเดียวกัน น้ำหนักของเมล็ดละหุ่งที่กะเทาะเมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักของผล เรียกว่า เปอร์เซ็นต์กะเทาะมีค่า 60 –65 โดยคำนวณหาเปอร์เซนต์กะเทาะได้จากสูตร ดังนี้

เปอร์เซ็นต์กะเทาะ = น้ำหนักเมล็ด x 100
น้ำหนักเมล็ด + น้ำหนักเปลือก



202.129.0.133/plant/lahung/5.html -





น้ำมันละหุ่งผสมกับแอลกอฮอร์ ผสมกันอย่างไร ?
anan.so@thaimail.com - 28/10/2002 09:45

ข้อความ :
หาซื้อละหุ่งจากร้าน hobby ครับ ไม่แพงหรอกแกลลอนละ 300 บาท โดยประมาณ ซื้อ เมทิลแอลกอฮอล์จากร้านขายวัสดุก่อสร้าง (hardware shop) แล้วนำมาตวงด้วยขวดอะไรก็ได้ (น่าจะเป็นขวดแก้วจะดีกว่านะครับ) ในอัตราส่วน 4 : 1 โดยใช้เมทิลแอลกอฮอล์ 4 ส่วนและละหุ่งอีก 1 ส่วน แล้วเทไปในแกลลอนก็ได้ ปิดฝาให้แน่นแล้ว้ขย่าแรงๆ นะครับ ให้รู้สึกว่าแอลกอฮอล์ผสมกับละหุ่งแล้วจึงเป็นอันใช้ได้

ตอบ :

 ถ้าจะให้แรงก็เพิ่ม Nitro ไปสักขวดลิโพครับ จะได้ประมาณ 7%

ข้อความ :
ไป บริษัท ฮงฮวด จำกัด 41-45 ถ.จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กทม. ที่เดียวจบ มีทั้งระหุ่งและกอฮอลล์ METHANOL ปีบละ 292 CASTOR OIL ขวดละ 56 ประมาณ 8 ขวด เล่นได้หลายเดือนครับ ดูตารางส่วนผสมที่ www.weekendhobby.com/rc/fule.asp ขอให้สนุกกับการบินครับ...
 



board.dserver.org/n/nontanun/00002655.html -




เขมรให้ญี่ปุ่นเช่าอีก 3 แสนไร่ ทำไร่ละหุ่ง-รง.สกัดไบโอดีเซล

ขณะที่ทางการกล่าวกำลังพิจารณายกเลิกสัญญาสัมปทานขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดินจำนวนมาก ๆ และเป็นเวลาอันยาวนาน รัฐบาลก็เพิ่มตัดสินใจให้บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่งเช่าที่ดินอีก 48,000 เฮกตาร์ หรือ 300,000 ไร่ เพื่อทำไร่ผลิตน้ำมันละหุ่งกลั่นเป็นไบโอดีเซล ผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้กล่าวว่า มีความต้องการจะใช้ที่ดินกว่ 3 ล้านไร่ สำหรับการลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี ในประเทศกัมพูชา การพิจารณายกเลิกสัมปทานดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ปัญหาการขับไล่ประชาชนออกจากที่ดินทำกินเพื่อเปิดให้เป็นแปลงสัมปทานของทุนต่างชาติกำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในกัมพูชา ซึ่งสร้างปัญหาทางสังคมเป็นอย่างมาก บริษัท Biwako Bio-Laboratory Co Ltd จากญี่ปุ่นกำลังจะเข้าลงทุนราว 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการใหม่นี้โดยจะใช้ที่ดินใน จ.กัมปงสะปือ (Kampong Speu) กับ กัมปงจาม (Kampong Cham) ซึ่งจะมีการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันจากเมล็ดละหุ่ง (Castor Oil) เพื่อทำเชื้อเพลิงไบโอดีเซลอีกด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวชินหัว น้ำมันละหุ่งใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสารหล่อลื่นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเป็นสารประกอลในการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่มีคำอธิบายจากหน่วยงานใดเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการผลิตให้เป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล "ตอนนี้เรากำลังรอผลการทดสอบตัวอย่างน้ำมัน(ละหุ่ง) จากห้องแล็บในโตเกียวเราต้องการทราบว่าจะใช้เมล็ดพันธุ์แบบไหน ในการปลูกแล้วให้ได้ผล(น้ำมัน)สูงสุด " สำนักข่าวของทางการจีนอ้างคำกล่าวของนายมิตสุโอะ ฮายาชิ (Mitsuo Hayashi) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทดังกล่าว ผู้บริหารคนเดียวกันกล่าวว่า พื้นที่ปลูกละหุ่ง 48,000 เฮกตาร์ คาดว่า จะทำให้สกัดน้ำมันได้ปีละประมาณ 100,000 ตัน เมื่อกลั่นแล้วจะได้ไบโอดีเซลราว 40,000 ตัน นายมิตสุโอะกล่าวอีกว่า บริษัทฯต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดถึง 500,000 เฮกตาร์ (3,125,000 ไร่) ในระยะ 20 ปีข้างหน้า และทางการกัมพูชากำลังดูแลเรื่องนี้ หาที่ทาทางให้ นายมิตสุโอเป็นหนึ่งในบรรดานักธุรกิจ-นักลงทุนจากญี่ปุ่นจำนวน 35 คนที่ไปเยือนกัมพูชาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อหาลู่ทางในการทำธุรกิจและลงทุนในประเทศนี้ คณะจากญี่ปุ่นได้เข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายฮุนเซน ในวันอังคาร(17 ก.ค.) และได้แจ้งความสนใจที่จะเข้าลงทุนเกี่ยวกับการขุดค้นทรัพยาการธรรมชาติในประเทศนี้ ซึ่งรวมทั้งการสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซและ ทำเหมืองสกัดแร่บ๊อกไซต์ (Bauxite) วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอะลูมิเนียม นักลงทุนหลายรายยังสนใจลงทุนด้านการผลิตเสื้อผ้าส่งออกผลิตภัณฑ์จากหนัง รวมทั้งการผลิตอาหารด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าว เกียวโด การเยือนของคณะจากญี่ปุ่นเป็นผลจากการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายฮุนเซนในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการเซ็นสัญญาส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่กัมพูชา รายใหญ่ที่สุด นิตยสารข่าวรายปักษ์ "พนมเปญโพสต์" ฉบับที่วางจำหน่ายต้นเดือนก.ค.นี้ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกำลังพิจารณาเพิกถอนสัญญาสัมปทานที่ทำกับนักลงทุนเอกชนอย่างน้อย 5 ราย หลังจากพบว่าโครงการเหล่านั้นต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก นายจัน สะรุน(Chan Sarun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้และการประมง กล่าวว่า การถอนสัมปทานจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 นี้ 

gmsrc.la.ubu.ac.th/search/new/display.asp?id=38366



 
      









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (4990 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©