-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 414 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่





ถั่วลิสง


          ในบางท้องถิ่น เรียกว่า ถั่วดิน ถั่วขุด หรือถั่วยี่สง นอกจากการใช้เมล็ดเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันแล้ว ยังได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น ถั่วลิสงต้ม คั่ว ทอดทำขนมพวกขบเคี้ยว เช่น ถั่วตัด จันอับ ถั่วกระจก และเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด(แกงมัสมั่น น้ำจิ้มสะเต๊ะ น้ำพริกรับประทานกับขนมจีน) ใช้ทำแป้ง และเนยถั่วลิสง อนึ่งถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่ว การปลูกถั่วลิสงจึง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่นเดียวกับถั่วเหลือง ต้นและใบถั่วลิสงหลังจากปลิดฝักออกแล้ว นำไปใช้เลี้ยงสัตว์หรือทำปุ๋ยหมัก
         
ถั่วลิสงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ หลักฐานทางโบราณคดีระบุไว้ว่าชาวพื้นเมืองบริโภคถั่วลิสงมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี ชาวยุโรปได้นำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีก่อนต่อมาจึงได้แพร่มายังทวีปเอเชีย และกลายเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของหลายประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย
         
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงประมาณ ๑๒๓ ล้านไร่ ได้ผลิตผล ๒.๒ล้านตัน อินเดียและจีนผลิตได้มากที่สุด คือประเทศละ ๖ ล้านตัน ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสง ๗๖๓,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล(ถั่วทั้งเปลือก) ๑๖๒,๐๐๐ ตัน ใช้บริโภคและทำพันธุ์เกือบทั้งหมด ส่งเข้าสกัดน้ำมันเพียง ๒๒,๐๐๐ ตัน การเพาะปลูกมีอยู่ทั่วประเทศ แต่ ปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ เป็นพื้นที่ถึง ๔๓๓,๐๐๐ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๑๓,๐๐๐ ไร่ และภาคกลาง ๑๐๖,๐๐๐ ไร่

   

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ถั่วลิสงจัดอยู่ในวงศ์ (Family) Legume-minosae เช่นเดียวกับถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก(มีอายุเพียงฤดูเดียว) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าArachis hypogaea L.

         
ถั่วลิสงขยายพันธุ์โดยเมล็ด เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอ ต้นอ่อนในเมล็ดจะงอกโดยขยาย
 แก้วเติบโตขยายไปทางแนวราบใต้ผิวดินแผ่ออกเป็นบริเวณกว้างและมีปมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นเป็นกระจุกตามผิวราก ต้นอ่อนของถั่วลิสงเจริญเติบโตโผล่พ้นผิวดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นตรงมุมใบ มีจำนวน ๓ - ๘ กิ่ง บางพันธุ์มีทรงต้นเป็นทรงพุ่มตั้งตรง บางพันธุ์แตกกิ่งเลื้อยไปตาม แนวนอน ลำต้นอาจมีสีเขียวหรือม่วง สูงประมาณ๕๐ - ๗๕ เซนติเมตร ใบถั่วลิสงเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย ๒ คู่ (๔ ใบ) ขอบใบเรียบปลายมน ก้านใบยาวสีเขียวหรือม่วง ดอกถั่วลิสงเกิดขึ้นบนช่อดอกซึ่งแทงออกมาจากมุมใบ เริ่มจากโคนต้นไปสู่ยอด ดอกบานในเวลาเช้า มีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีอับเกสรตัวผู้ และเรณู(รังไข่) อยู่ในดอกเดียวกัน หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกจะเหี่ยวและร่วง แต่ก้านของรังไข่ขยายตัวยาวออกไปเรียกว่า เข็ม ปลายเข็มขยายตัวตามแนวดิ่งแทงลงไปในดินแล้วจึงพัฒนาเป็นฝักแต่ละฝักมีเมล็ด ๒ - ๔ เมล็ด เนื่องจากดอกออกไม่พร้อมกัน ทำให้ฝักแก่ไม่พร้อมกันด้วยการเก็บเกี่ยวจึงเลือกเวลาที่มีฝักแก่จำนวนมากที่สุดถั่วลิสงต้นหนึ่งเมื่อถอนออกมามีฝักที่สมบูรณ์อยู่จำนวน  ๘ - ๒๐ ฝัก และมีฝักอ่อนอีกจำนวนหนึ่งปนอยู่ ซึ่งเป็นฝักที่เกิดจากดอกชุดหลังหรือจากยอด ฝักแก่มีลายเส้นและจะงอยเห็นได้ชัด

ฝักคอดกิ่วตามจำนวนเมล็ดในฝัก เมื่อตากให้แห้งแล้วเขย่าจะมีเสียง เยื่อหุ้มเมล็ดมีหลายสี เช่นขาว ชมพู แดง ม่วง และน้ำตาล เมล็ดประกอบด้วยใบเลี้ยงขนาดใหญ่ ๒ ใบ ห่อหุ้ม ต้นอ่อนไว้ภายใน
         
พันธุ์ถั่วลิสงที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกได้แก่พันธุ์ลำปาง สุโขทัย 38 ไทนาน 9 ขอนแก่น  60-1 ขอนแก่น  60-2 และ ขอนแก่น 60-3
         
เนื่องจากฝักถั่วลิสงเจริญเติบโตอยู่ใต้ดินควรเลือกปลูกในดินร่วน หรือร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี มีปฏิกิริยาเป็นกลาง และไม่ใช่ดินเค็ม อนึ่ง ไม่ควรปลูกในดินที่มีสีดำหรือแดงจัด เนื่องจากถ้าฝักถั่วลิสงเปื้อนติดสีดังกล่าวทำให้ขายได้ราคาต่ำ ประเทศไทยอาจปลูก
ถั่วลิสงได้ตลอดทั้งปี แต่เพื่อเหมาะสมกับระบบการปลูกพืชได้ผลิตผลสูง และเก็บเกี่ยวสะดวก จึงนิยมปลูกเพียงปีละสองครั้ง คือ ในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ที่มีการชลประทาน การ เตรียมดินปลูกถั่วลิสงก็เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป คือ ไถพรวนให้ดินมีความร่วนซุยและกำจัดวัชพืชถ้าปลูกในเขตชลประทานควรมีการยกแปลงทำร่องส่งและระบายน้ำในระหว่างแต่ละแปลงนำเมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วปลูกเป็นหลุม ๆละ ๒ - ๓ เมล็ด ลึกจากผิวดิน ๕ เซนติเมตรมีระยะระหว่างแถว ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร และระหว่างหลุม ๒๐ เซนติเมตร จะได้จำนวนถั่วลิสงประมาณ ๕๐,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ ต้นต่อไร่ซึ่งจะใช้เมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วจำนวน๑๒ - ๑๕ กิโลกรัมต่อไร่ หรือเมล็ดทั้งฝัก๒๐ - ๓๐ กิโลกรัมต่อไร่ (แล้วแต่ขนาดของเมล็ดและความงอก และควรกะเทาะเมล็ดก่อนปลูกเพื่อให้ได้ต้นงอกที่สม่ำเสมอ)

         
เมล็ดเริ่มงอกภายใน ๕ วันหลังจากปลูก
 ทำการถอนหรือซ่อมให้มีจำนวนต้นต่อไร่ครบตามกำหนดภายในระยะเวลา ๗ - ๑๐ วัน และพรวนดิน ดายหญ้า เพื่อกำจัดวัชพืช ภายใน ๓๐วันหลังงอก และควรพรวนดินกลบโคนสูงประมาณ๕ - ๗ เซนติเมตร เพื่อให้เข็มแทงลงดินได้ง่ายขึ้นและงดการพรวนดินเมื่อต้นถั่วลิสงมีอายุ ๔๐วันไปแล้ว เนื่องจากจะไปรบกวนการแทงเข็มอันเป็นผลให้เมล็ดฝ่อ ในระยะเจริญเติบโตควรออก สำรวจแปลง ซึ่งอาจจะมีโรคและแมลงศัตรูพืช ระบาดทำลายต้นถั่วลิสง ทำการป้องกัน กำจัด ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ถั่วลิสงมีอายุตั้งแต่ ๙๐ - ๑๒๐ วัน (ตามลักษณะของพันธุ์)
 
เมื่อฝักสุกแก่สังเกตได้จากใบร่วง และลำต้นเหี่ยวในของฝักได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเก็บเกี่ยวโดยใช้มือถอนต้นและฝักขึ้นจากดินเลือกปลิดฝักแก่ออก นำไปตากแดดจนฝักแห้งสนิทแล้วจึงเก็บเพื่อรอการจำหน่ายในปัจจุบันปัญหาสำคัญของถั่วลิสง ก็คือ
การเกิดสารพิษแอลฟลาท็อกซินซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดมะเร็งในตับ ดังนั้น  จึงต้องตากเมล็ดให้แห้งสนิทโดยเร็ว (มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่าร้อยละ ๑๔) จะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งผลิตสารพิษชนิดนี้
         
โดยทั่วไปเกษตรกรจะเก็บถั่วลิสงไว้ทั้งฝักเมื่อจะนำไปปลูกหรือใช้บริโภคจึงกะเทาะเปลือกออก โดยใช้มือหรือเครื่องกะเทาะเมล็ด เมล็ดถั่วลิสง ๑๐๐ เมล็ด มีน้ำหนัก ๓๐ - ๖๐ กรัมเมล็ดที่มีขนาดใหญ่นำไปปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภคทั้งเมล็ด  ส่วนเมล็ดขนาดเล็กหรือเมล็ดแตก นำไปบดเป็นถั่วป่นและสกัดน้ำมัน เมล็ดถั่วลิสงมีโปรตีนร้อยละ ๒๕ - ๓๕ และน้ำมันร้อยละ ๔๔ - ๕๖ (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) น้ำมันถั่วลิสงประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวถึงร้อยละ ๘๐ ของ น้ำมันทั้งหมด  จึงเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย (จึง ต้องเก็บรักษาไว้ทั้งฝัก) กากถั่วลิสงที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว นำไปอบให้แห้งใช้ประกอบเป็น  อาหารหรือส่วนผสมของอาหารสัตว์ได















สถานการณ์ทั่วไป

              ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่สามารถปลูกได้ทั้งปี และสามารถนำมาใช้บริโภคได้หลายรูปแบบ ทั้งการบริโภคสด นำไปประกอบอาหารและขนมต่างๆ ปัจจุบันการผลิตถั่วลิสงไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงมีการนำเข้าถั่วลิสงจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น


แหล่งผลิตที่สำคัญ

แหล่งปลูกที่สำคัญของถั่วลิสงมีมากในเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง น่าน เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แพร่ เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย กาฬสินธ์ นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี เป็นต้น

ฤดูปลูก
ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

ต้นฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคมถึง สิงหาคม
ปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม.. เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคมถึง พฤจิกายน

ปลูกในฤดูแล้ง

การปลูกโดยอาศัยน้ำชลประทาน ควรปลูกในระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม
การปลูกหลังการทำนา โดยอาศัยความชื้นที่เหลือในดินควรปลูกให้เร็วที่สุดหลัง จากการเสร็จสิ้นการทำนาเพราะดินยังมีความชุ่มชื้นเหลืออยู่


ปริมาณการผลิตทั้งประเทศย้อนหลังปี 5 ปี

พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2535/36 - 2539/40


ปี พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิต (ตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กก.)
2535/36 650,274 136,863 210
2536/37 602,790 236,363 226
2537/38 650,671 150,329 231
2538/39 624,035 146,755 235
อัตราการเพิ่ม/ลด -2.882 -0.399 2.580
2539/40 657,431 154,262 235
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร

พันธุ์ส่งเสริม
ลักษณะ พันธุ์
ขก60-2 สข.38 ขก60-1 ไทนาน9 ขก 60-3 ขก4
อายุออกดอก(วัน) 27-30 27-30 27-30 27-30 35 21-25
อายุเก็บเกี่ยว(วัน)
      ฝักสด 85-90 85-90 - - - 85-90
      ฝักแห้ง 95-105 95-105 95-105 95-110 110-120 95-100
จำนวนเมล็ด/ฝัก 2.8 2.1 2 2 2 2.9
สีเยื่อหุ้มเมล็ด ชมพู แดง ชมพู ชมพู ชมพู ชมพู
น้ำหนัก 100 เมล็ด(กรัม) 40.7 38.9 45.9 42.4 76.2 47.1
เปอร์เซนต์กะเทาะ 61.5 62.2 69.2 70.7 60 63.4
ผลผลิตฝักสด(กก./ไร่) 572 509 - - - 586
ผลผลิตฝักแห้ง (กก./ไร่) 266 247 273 260 378 270
เปอร์เซนต์น้ำมัน 44.3 45.8 43.3 50.7 49.3 46.4
เปอร์เซนต์โปรตีน 27.4 27.1 28.2 28.1 24.8 28.7

ต้นทุนการผลิต
รายการ เงินสด ไม่เป็นเงินสด รวม
ต้นทุนผันแปร 1488.19 1693.54 1840.79
1. แรงงาน 1,091.93 1,200.51 1,287.17
- เตรียมดิน 223.50 242.98 257.60
- เตรียมพันธุ์และปลูก 193.42 216.63 242.60
- ดูแลรักษา 187.73 205.57 224.60
- เก็บเกี่ยวรวมมัด 235.74 259.31 272.29
- ค่าใช้จ่ายหลังการเก็บเกี่ยว 251.54 276.02 289.88
2. ค่าวัสดุ 336.83 383.58 434.93
- ค่าเมล็ดพันธุ์,ค่าพันธุ์ 281.94 324.17 372.76
- ค่าปุ๋ยคอก,ปุ๋ยเคมี 22.97 24.47 26.12
- ค่ายาปราบศัตรูพืชและวัชพืช 22.28 23.39 24.49
- ค่าเชื้อไรโซเบี้ยม 0.10 0.10 0.11
- ค่าอุปกรณ์การเกษตรและวัสดุอื่นๆ 9.45 11.45 11.45
3. อื่นๆ 59.43 109.45 118.69
- ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร 2.08 2.08 2.08
- ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายโอกาสเงินลงทุน 57.35 107.37 116.61
ต้นทุนคงที่ 128.81 128.81 128.81
- ค่าภาษีที่ดิน,ค่าเช่าที่ดินและค่าใช้ที่ดิน 126.37 126.37 126.37
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร 2.44 2.44 2.44
ต้นทุนรวมต่อไร่ 1,617.00 1,822.35 1,969.60
ต้นทุนรวมต่อกิโลกรัม(บาท/กก.) 7.00 7.75 8.28
ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่) 231.04 235.00 238.00
ราคาผลผลิตต่อกิโลกรัม(บาท/กก.) 9.07 10.24 10.82
ผลตอบแทนต่อไร่ (บาท) 2,095.53 1,406.40 2,575.16
ผลตอบแทนสุทธิต่อกิโลกรัม(บาท/ไร่) 478.53 584.05 605.56
ที่มา:ศูนย์สารสนเทศการเกษตร

การใช้ประโยชน์

ถั่วลิสง สามารถนำไปเป็นอาหารโดยตรง เช่น ถั่วต้ม ถั่วทอด ถั่วชุบแป้งทอด ถั่วตัด ถั่วเคลือบ ถั่วป่น บริโภคทางอ้อม เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์จากถั่วาหารสัตว์และเป็นปุ๋ย ในตลาดระดับบนมีการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสงเคลือบรสต่างๆ ถั่วลิสงเคลือบน้ำผึ้ง ถั่วลิสงทอดคลุกเนย และเนยถั่วลิสง โรงงานจะเน้นคุณภาพถั่วลิสงเป็นเกณฑ์สำคัญที่สุด ตลาดระดับกลางและระดับล่าง จะใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน เช่น ถั่วต้ม ถั่วชุบแป้งทอด ถั่วตุ๊บตั๊บ และถั่วกระจตั๊บ และถั่วกระจตั๊บ และถั่วกระจตั๊บ และถั่วกระจก นอกจากนี้ยังสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารอื่นๆ เช่น ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู ถั่วลิสงนึ่งข้าวเหนียวยัดไส้หมู น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ และไส้ขนมชนิดต่างๆ

ภาวะการตลาด

ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออก (ตัน)


ปี ผลผลิต นำเข้า ส่งออก ทำพันธุ์ สกัดน้ำมัน บริโภค
2534/35 156,913 68 2,418 13005 21968 119590
2535/36 136863 8 1713 11705 19161 104292
2536/37 136363 322 1372 10850 19091 105372
2537/38 150329 576 3522 11712 21046 114625
2538/39 146755 5876 3598 11233 20546 117254
ที่มา : สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร

เทคโนโลยีการปลูก

คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่แก่เต็มที่ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ความงอกของเมล็ดไม่ต่ำกว่า 70 %
คลุกเมล็ดด้วยยากันเชื้อราป้องกันโรคโมลก่อนปสิทรเจนจากอากาศให้ต้นถั่กิโถุง (200 กรัม)
ไร่ใส่ปูนขาวก่อนปลูกประมาณ 1-2 สำกนร่องกว้าภาพดิน


ระยะและอัตราปลูก

ระยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประยะระหว่างหลุมประมาณ 20 ซม. หยอดจำนวน 2-3 เมล็ด 1 ไร่จะมี 24,000-40,000 ต้นต่อไร่


การกำจัดวัชพืช

ควรทำ 2 ครั้งคือช่วงถั่วอายุ 15-20 วัน และ ช่วง 30-35 วัน พร้อมการพรวนดินและพูนโคน แต่ไม่ควรเกินช่วงที่ถั่วลิสงอายุ 45 วันไปแล้วเนื่องจากจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อการลงเข็มของพืช


การให้น้ำ

ควรให้น้ำก่อนหรือหลังจากที่ปลูกแล้วควรให้น้ำทันที จากนั้นให้น้ำอีกทุก 10 วัน โดยการปล่อยให้ท่วมแปลงหรือปล่อยตามร่องแล้วระบายน้ำออกอย่างให้น้ำขังแปลง


การใช้ปุ๋ย

แนะนำให้ใส่ก่อนปลูกหรือหลังถั่วลิสงงอก ไม่เกิน 15 วันหรือใส่พร้อม กับการกำจัดวัชพืชและการพรวนดินพูนโคน


การเก็บเกี่ยว

ทำได้โดย การนับอายุถั่วลิสงจะอยู่ระหว่าง 100-120 วัน และการสังเกตดูสีของเปลือกฝักด้านใน เมื่อถั่วลิสงแก่จะมีสีเปลือกฝักด้านในเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ โดยการสุ่มจากหลายจุดในแปลง เมื่อถั่วลิสงแก่ประมาณ 60-80% ก็ทำการเก็บเกี่ยวได้แล้ว


การดูแลรักษา

โดยการถอนหรือขุด อาจตากไว้ในแปลง 1-2 วันและจึงปลิดฝัก จากนั้นทำการคัดแยกเมล็ดดีและเสียออก นำไปตากแดด 3-4 แดดจนฝักแห้ง นำไปเก็บไว้ในกระสอบป่าน วางบนภาชนะหรือแคร่ที่ยกพื้น อย่าให้กระสอบถั่วสัมผัสความชื้นโดยตรง


ศัตรูพืชที่สำคัญ

1. เสี้ยนดิน
2. เพลี้ยไฟ
3. โรคโคนเน่า
4. โรคยอดไหม้





บทบาทและความสำคัญของแคลเซียมต่อถั่วลิสง

แคลเซียมเป็นธาตุอาหารรองที่มีความสำคัญต่อการติดฝักและการสร้างเมล็ดถั่วลิสง เนื่องจากมีความจำเป็นมากต่อการพัฒนาของไซโกท (zygote) การสร้างฝัก และการติดเมล็ด (Yoshitaka, 1979; Rachie and Roberts, 1974 อ้างโดยสุทธิพงศ์, 2532) ดังนั้น เมื่อถั่วลิสงขาดแคลเซียมจึงมีผลทำให้เมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่เต็มฝัก ในกรณีที่รุนแรงจะทำให้ฝักไม่มีเมล็ด เป็นผลให้เปอร์เซ็นต์การกระเทาะเมล็ดต่ำ (Skelton and Shear, 1971) การขาดแคลเซียมจะเห็นได้ชัดเจนในระยะเก็บเกี่ยว ถ้าผ่าดูภายในเมล็ดจะพบว่ายอดอ่อนของเอมบริโอมีสีดำ ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพของเมล็ดในด้านการงอกต่ำ (สุทธิพงศ์, 2532; Cox et al., 1982) ซึ่งลักษณะยอดอ่อนของเอมบริโอมีสีดำนั้น เนื่องจากระบบท่อลำเลียงบริเวณฐานของยอดอ่อนถูกทำลาย ยอดอ่อนจึงไม่ได้รับน้ำและอาหาร ทำให้เนื้อเยื่อตาย เปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม และเนื้อเยื่อที่ขาดแคลเซียมจะมีการสร้างสารประกอบโพลีฟีนอลให้เป็นสารประกอบเมลานินซึ่งมีสีน้ำตาล นอกจากนี้ยังพบว่า ในการปลูกถั่วลิสงที่มีการให้แคลเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยลดปริมาณเมล็ดขนาดเล็ก (ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร) และเพิ่มปริมาณเมล็ดขนาดปานกลางและเมล็ดขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.8 และมากกว่า 0.8 เซนติเมตร) และยังพบว่าการใส่แคลเซียมทำให้สัดส่วนของจำนวนเมล็ดขนาดใหญ่ต่อจำนวนเมล็ดขนาดเล็กของถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 สูงขึ้นจาก 5: 1 เป็น 11: 1 มีความงอกเพิ่มขึ้นจาก 78% เป็น 91% และมีเปอร์เซ็นต์การกระเทาะเมล็ดสูงขึ้นจาก 72% เป็น 77% (สุทธิพงศ์, 2532; สุวพันธ์ และคณะ, 2531; Harris and Brolmann, 1966; Mengel and Kirkby, 1982) 


การดูดและการลำเลียงแคลเซียม
ถั่วลิสงสามารถดูดและลำเลียงแคลเซียมในรูปแคลเซียมไอออน (Ca2+) เข้าไปได้สองทางคือ ทางราก และทางฝัก (Slack and Morrill, 1972; Rachie and Roberts, 1974) ถั่วลิสงดูดแคลเซียมที่ใช้ในการเจริญเติบโตของส่วนที่อยู่เหนือดินผ่านทางราก ส่วนแคลเซียมที่ใช้ในการพัฒนาฝักและเมล็ดถั่วลิสง จะดูดโดยผ่านทางฝักโดยตรงจากดิน (Bledsoe et al., 1949) ซึ่งลักษณะของการลำเลียงแคลเซียมมีดังนี้4.1 การดูดแคลเซียมไอออนโดยผ่านทางราก แคลเซียมไอออนจะถูกดูดเข้าสู่ปลายรากถั่วลิสงโดยเคลื่อนที่ไปตามแอโพพลาสต์ (apoplast) ผ่านชั้นคอร์เทคช์ (cortex) เข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นในสุด (endodermis) ที่ยังไม่สร้างแถบคาสพาเรียน (Casparian strip) เข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำโดยขบวนการที่ไม่ใช้พลังงาน (passive) การเคลื่อนที่ของแคลเซียมไอออนในท่อลำเลียงน้ำสู่ส่วนบนของพืชจะอาศัยไปกับน้ำ โดยอาศัยแรงดึงดูดจากกระแสการคายน้ำของใบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปริมาณการดูดแคลเซียมขึ้นอยู่กับการคายน้ำ ความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนในสารละลายดิน และปริมาณการดูดน้ำของพืช (Mengel and Kirkby, 1982)4.2 การดูดแคลเซียมไอออนโดยผ่านทางฝัก ฝักถั่วลิสงจะดูดแคลเซียมมากตั้งแต่ช่วงลงเข็ม (peg) จนถึงช่วงที่เมล็ดขยายตัวเต็มฝัก เมื่อเมล็ดเริ่มแก่พร้อมเก็บเกี่ยว ฝักจะดูดแคลเซียมได้น้อยลง ฝักจะมีประสิทธิภาพการดูดแคลเซียมต่ำกว่าราก เนื่องจากการลำเลียงแคลเซียมไอออนอาศัยแรงดึงดูดจากกระแสการคายน้ำเป็นส่วนใหญ่ และปริมาณน้ำจากฝักที่จะสามารถเคลื่อนที่สู่ส่วนบนของต้นถั่วลิสงมีปริมาณน้อย ดังนั้น แรงดึงจากกระแสการคายน้ำจึงมีน้อยกว่า ส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมในฝักถั่วมีปริมาณน้อยกว่าในส่วนของลำต้นและใบ (Wiersum, 1951; Wolt and Adams, 1979)  


http://www.agri.ubu.ac.th/seminar/masterstu/Calcium_in_Peanut_Production.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3370 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©