-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 222 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 2/5


5. ประโยชน์ของสับปะรด

ใครที่ชอบรับประทานสับปะรด ทราบหรือไม่ว่า สับปะรดนั้นมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เกร็ด
ความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน... 

สับปะรด เป็นพืชที่รสชาติดี ใช้กินเป็นผลไม้ หรือปรุงเป็นอาหาร ส่วนมากนิยมนำไปแปรรูป
ทำเป็นสับปะรดกระป๋อง และสับปะรดกวน ส่วนใบมีเส้นใยยาวเหนียว สามารถนำไปทำเป็น
เชือก หรือทำเป็นกระดาษ สับปะรดมีรสหวานฝาดเล็กน้อย 

สารอาหารที่อยู่ในสับปะรดมีประโยชน์จำนวนมาก และมีคุณค่าทางยาสูง มีสรรพคุณช่วย
ย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหาร ดับร้อนแก้กระหาย สับปะรดยังมีสารจำพวก
น้ำตาล กรด วิตามิน อยู่หลายชนิด 

การรับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรค ไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง หลอด
ลมอักเสบ สับปะรดที่เริ่มนิ่ม มีน้ำเหนียวๆ ไหลออกมา แสดงว่าสุกมากเกินไปและเริ่มเน่า
ไม่ควรรับประทาน 

การรับประทานที่ถูกวิธี คือ ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตา
ออกเป็นร่องเฉียง เป็นแถวๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือ
มิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อนๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจาก
จะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และเอ็มไซ
ม์บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทาน 

ทราบถึงประโยชน์ของสับปะรดกันแล้ว ก็อย่าลืมหันมารับประทานสับปะรดกันเยอะๆ


สับปะรดภูเก็ต
สับปะรดภูเก็ต หรือชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า  “ยานัด” เป็นผลไม้ประจำภูเก็ตที่มีรสชาติเป็น
เอกลักษณ์เฉพาะ โดยเนื้อจะเหลืองฉ่ำ รสชาติหวานจัด สับปะรดภูเก็ตถือว่าเป็นของ
ฝากอย่างหนึ่งที่ราคาถูกไม่แพงสามารถซื้อหาทั่วไป โดยการเลือกซื้อนั้นให้เลือกลูกที่มีสี
เหลืองส้ม มีตาใหญ่ จับดูแล้วเนื้อแน่น เป็นสับปะรดที่คนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่าง
ประเทศนิยมรับประทานสด และมีความเชื่อกันว่าสับปะรดที่มีรสชาติอร่อย หอม กรอบ ต้อง
เป็นสับปะรดภูเก็ตที่ปลูกในจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น  ทำให้สับปะรดภูเก็ตมีชื่อเสียงและกลาย
เป็นไม้ผลท้องถิ่นที่เป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดภูเก็ต เป็นของฝากราคาย่อมเยาว์ที่หา
ซื้อได้เกือบตลอดปี


สับปะรดภูเก็ต จะออกผลมากในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเห็นวางขาย
ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยมากนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด แต่ก็ยังมีการนำมา
ปรุงเป็นอาหาร ประเภท แกงกะทิ ผัดต่างๆ และสับปะรดแปรรูปอีกด้วย โดยนอกจากรสชาติ
ที่หวานหอม กรอบ อร่อยแล้ว สับปะรดภูเก็ตยังมีสารอาหารที่ช่วยป้องกันโรคได้อีกด้วย มา
ดูกันว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง



ประโยชน์ของสับปะรด




สารอาหารที่อยู่ในสับปะรดมีประโยชน์จำนวนมาก และมีคุณค่าทางยาสูง มีสรรพคุณช่วย
ย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหาร ดับร้อนแก้กระหาย สับปะรดยังมีสารจำพวก
น้ำตาล กรด วิตามิน อยู่หลายชนิด


การรับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรค ไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง หลอด
ลมอักเสบ สับปะรดที่เริ่มนิ่มมีน้ำเหนียวๆ ไหลออกมา แสดงว่าสุกมากเกินไปและเริ่มเน่า ไม่
ควรรับประทาน


การรับประทานที่ถูกวิธี คือ ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตา
ออกเป็นร่องเฉียง เป็นแถวๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือ
มิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อนๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจาก
จะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และเอ็มไซ
ม์บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทาน


 


6. แปลก! ผลเป็นสตรอเบอร์รี่ รสชาติเป็นสับปะรด

ซูเปอร์มาเก็ตผู้ดีวางขายผลไม้แปลกครั้งแรก ชื่อพายเบอร์รี่ ผลเหมือนสตรอเบอร์รี่ แต่รส
ชาติเป็นสับปะรด ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ พบเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งดัง...


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียม "เวท
โทรส" (Waitrose) จำนวน 45 แห่ง ทั่วเกาะอังกฤษ เริ่มวางขายผลไม้หน้าหน้า
ใหม่ "พายเบอร์รี" (Pineberry) เป็นครั้งแรกในวันนี้ (1 เม.ย.)


สำหรับผลไม้ที่ว่า รูปลักษณ์หน้าตาละม้ายคล้ายสตรอเบอร์รี่ ต่างกันที่พายเบอร์รี่นั้น เป็นผล
สีขาว ขณะที่
สตรอเบอร์รี่มีผลสีแดง แต่ทั้งนี้ดันเหมือนสับปะรดอย่างกับแกะ


ถิ่นกำเนิดของพายเบอร์รี่นั้น มาจากอเมริกาใต้ เริ่มนำมาขายในท้องตลาดชุมชนเมื่อ 7 ปีที่
ผ่านมา โดยชาวนาเชื้อสายดัตช์ ส่วน
พายเบอร์รี่ที่วางขายในซูเปอร์มาเก็ตเจ้าใหญ่ในครั้งนี้
ข่าวระบุว่า พนักงานแบ่งขายกระจาดละ 125 กรัม สนนราคาอยู่ที่ 2.99 ปอนด์ (ราว
148 บาท)



 

7. “สับปะรดภูเก็ต”ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว


 

ศูนย์ข่าวภูเก็ต -พาณิชย์จังหวัดภูเก็ตเผยสับปะรดภูเก็ต ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา
เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว ขณะที่มุกภูเก็ต กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ
       
วันนี้ (28 ม.ค.) นายสมพงษ์ อ่อนประเสริฐพาณิชย์จังหวัดภูเก็ต กล่าวในการประชุม
กรรมการจังหวัดภูเก็ต ประจำเดือนมกราคม 2553 ว่า ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตได้เสนอขึ้น
ทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2 รายการ คือ สับปะรดภูเก็ต และมุกภูเก็ต โดยเสนอไป
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พิจารณาให้ขึ้น
ทะเบียนสับปะรดภูเก็ตเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว โดยขึ้นมาตั้งแต่วันที่27พฤศจิกายน
2552
       
ส่วนมุกภูเก็ต คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำลังตรวจสอบ แก้ไขในรายละเอียดอยู่ และในช่วง
ต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาและคณะ จะเดิน
ทางมาที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟัง และพิจารณาตรวจสอบเกี่ยวกับความพร้อม ในการจัดทำคำ
ขอตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พ.ศ.2546 สินค้าโดดเด่นของ
จังหวัดภูเก็ตพร้อมชี้แจงขั้นตอนความถูกต้องของการขึ้น ทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่ง
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547
       
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พิจารณาขึ้นทะเบียนสิ่ง
บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปแล้ว จำนวน 26 รายการ เช่น ร่มบ่อสร้างเชียงใหม่ เครื่องปั้นดินเผา
บ้านเชียง อุดรธานี หอยนางรมสุราษฎร์ธานี ผ้าไหมแพรวา กาฬสินธุ์ ข้าวหอมมะลิ สุรินทร์
มะขามหวาน เพชรบูรณ์ ส้มโอนครชัยศรี ข้าวสังข์หยด พัทลุง หมูย่างเมืองตรัง สับปะรด
ศรีราชา
       
นายสมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ในขณะนี้ทางกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต กำลังร่วมกัน
ร่างกรอบกติกา และเงื่อนไขต่างๆของกลุ่ม เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้
รักษาสิ่งบ่งชี้ของสัปปะรดภูเก็ต ไว้ ทั้งนี้สับปะรดภูเก็ต มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น มี
ชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ทั้งในจังหวัดภูเก็ตและทั่วประเทศ โรงแรมต่างๆใน
พื้นที่จังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่จะสั่งสับปะรดภูเก็ตไปต้อนรับนัก ท่องเที่ยว สำหรับแหล่งผลิต
ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอถลาง
       
นายสมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
คือ ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย คุ้มครองผู้ผลิตสินค้าและไม่ให้มีการฉกฉวย
เอารัดเอาเปรียบ ป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มมูลค่าของสินค้าของผู้ผลิตและเป็น
เครื่องมือทางด้านการตลาด ตลอดจนเพื่อให้มีการดูแลมาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่มผู้ผลิตสินค้าต่างๆ จะช่วยกันควบคุมดูแลต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเป็นการกระจายราย
ได้ที่เป็นธรรมด้วย
 

 
 
 
8. สับปะรดผลสด ผลไม้ทำเงินของเกษตรกร

"การ พัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตสับปะรด เพื่อบริโภคผล
สดภาคใต้ตอนล่าง” เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี
2551 ของ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าว สามารถช่วยพัฒนาและ
ยกระดับการผลิตสับปะรดในพื้นที่ภาคใต้ ช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มี
คุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้างรายได้เสริม
ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น

นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่
8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปกติในพื้นที่ภาคใต้มีการปลูก
สับปะรดกันมานานแล้วโดยปลูกในลักษณะแซมยางพารา ปลูกใหม่ (ช่วงอายุ
1-3 ปี) โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุงและสงขลา มีพื้นที่ปลูกรวม 10,000-
13,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสับปะรดรับประทานผลสดซึ่งตลาดมีความต้องการ
สูง แต่ที่ผ่านมา เกษตรกรสามารถผลิตสับปะรดคุณภาพดีได้เพียง 30% เท่า
นั้น ทั้งยังได้ผลขนาดเล็ก ขณะที่ตลาดต้องการสินค้าที่มีผลขนาดใหญ่
น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป ทั้งยังต้องการสับปะรดเนื้อแก้วด้วย

สพว.8 จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (ศวพ.) พัทลุง ศวพ.
สงขลา ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดรับ
ประทานผลสด ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสงขลา ตั้งแต่ปี 2549-2551 เพื่อ
แก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและตรงตามความ
ต้อง การของตลาดมากขึ้น

เบื้องต้นคณะนักวิจัยได้แนะนำให้เกษตร กรใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม
ตามมาตรฐาน GAP ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นและเพิ่มการมี
ส่วนร่วมของชุมชน โดยให้ปลูก สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย แซมยางพาราแบบแถว
เดี่ยว ห่างจากแถวต้นยางประมาณ 1 เมตร ระยะ ปลูกระหว่างแถว 60-80
เซนติเมตร ระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร จำนวน 4,300-7,600 ต้นต่อไร่
พร้อมแนะนำให้ ใส่ปุ๋ย เคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 20 กรัมต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง
ใน กาบใบล่าง ครั้งแรกใส่เมื่อต้นสับปะรดอายุ 1-3 เดือน และครั้งถัดไปใส่ห่าง
จากครั้งแรก 2-3 เดือน และยังให้เกษตรกรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำ
เสมอด้วย

เมื่อต้นสับปะรดอายุได้ 12 เดือน จะบังคับให้ออกดอก ด้วยสารเอทธิฟอน
(39.5%) จำนวน 8 มิลลิลิตร และผสมปุ๋ยยูเรีย 300 กรัม กับน้ำ 20 ลิตร
หยอดยอดสับปะรดต้นละ 60-75 มิลลิลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน หลังจาก
บังคับดอก 3 เดือน แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 10 กรัมต่อต้น
และให้เกษตรกรแกะจุกผลสับปะรดเมื่อผลอายุประมาณ 3 เดือน สำหรับ
เทคนิคนี้สามารถช่วยให้มีต้นสับปะรดออกดอก ถึง 90.5% ซึ่งสูงกว่าวิธีที่
เกษตรกรปฏิบัติอยู่เดิมประมาณ 29.3%

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เกษตรกรที่ ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวได้ผลผลิตสูงรวม
6,677.8-11,823.2 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับจำนวนต้นที่ ปลูกซึ่งสูงกว่าเดิม
สูงสุดถึง 98% ทั้งยังพบว่าให้คุณภาพผลผลิตเนื้อแก้ว 56-68.2% ของผล
ผลิตทั้งหมด และได้ผลขนาดใหญ่ (มีน้ำหนักเกิน 1.5 กิโลกรัม)  มากกว่า 
85 %  ช่วยให้เกษตรกรขายได้ราคาดี มีรายได้สุทธิ 49,326-57,119 บาท
ต่อไร่  สูงกว่าวิธีปลูกแบบเดิม  56.8-81.4%  ขณะเดียวกันยังพบว่า 
สามารถช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรได้กว่า  30% หรือจากกิโลกรัมละ  2.30
บาท ลดลงเหลือ 1.60 บาทต่อกิโลกรัม โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีซึ่งปกติเกษตรกร
จะใช้เกินความจำเป็น ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น

.....น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับสวนยางพาราปลูกใหม่ที่อายุต้นยางไม่เกิน 3 ปี
สามารถใช้พื้นที่วางระหว่างแถวต้นยางให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างรายได้เสริม ดี
กว่าทิ้งไว้ว่างเปล่า...หากสนใจสามารถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักวิจัย
และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 โทร. 0-7444-5905-6 หรือ ศวพ.พัทลุง  0-
7484-0130  หรือ  ศวพ.สงขลา 0-7439-8201.




9. แผนงานวิจัยและพัฒนาสับปะรด

หัวหน้าแผนงานวิจัย ทวีศักดิ์ แสงอุดม


ประเด็นปัญญา

1. การกระจายตัวของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ราคาของผลผลิตต่ำ ในช่วง peak
2.ต้นทุนการผลิตสูง ปัจจัยการผลิตราคาแพง
3. ขาดเครื่องทุ่นแรง (การใช้เครื่องพ่นใส่ปุ๋ยที่สามารถควบคุม อัตราและระยะเวลาได้
การใช้เครื่องมือปลูก + การให้ปุ๋ย เครื่องมือเก็บเกี่ยว
4. ขาดแคลนแรงงานและแรงงานราคาสูง
5. การปฎิบัติดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ใช้สาร เร่งสุก การใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง
6. การแคะจุก
7. ไม่มีการวิเคราะห์ดินและการใส่ปุ๋ย ตามความต้องการพืช
8. พัฒนาห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ ให้สามารถบริการได้มากขึ้น
9. การตกค้าง nitrate ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ปุ๋ย ความอุดมสมบูรณ์ดิน กับการตกค้างไนเตรท
10.ขาดเทคโนโลยีการผลิตเฉพาะที่
11.ปัญหาโรคเหี่ยว ไฟทอปธอร่า การพัฒนาสารตัวใหม่ทดแทน
12.การใช้สารบังคับดอก ฤดูกาล ( ช่วงปัญหาผ่านแล้งเข้าต้นฝน ) บังคับไม่ออกจะแทงยอดใหม่
13.ปัญหาด้านวัชพืช และประสิทธิภาพสาร วัชพืช ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน หญ้าไข่เหา หญ้าฟ้าประธาน
14.เทคนิค การให้ปุ๋ยระบบน้ำ
15.แหล่งน้ำ การให้ปุ๋ยทางใบเมื่อพุ่มใบชน
16.เทคนิคการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดิน

 
โครงการวิจัย 2 โครงการ
1. โครงการวิจัยศึกษาระบบการผลิตสับปะรด
- ศึกษาระบบการผลิตสับปะรดด้วยการจัดการน้ำและปุ๋ย
- ศึกษาระบบการผลิตสับปะรดเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยว

2. โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
- การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูป
- การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดที่เหมาะสม สำหรับการบริโภคสด
 
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาระบบการจัดการน้ำทั้งด้าน ปริมาณ ความถี่ในการ ให้น้ำระบบ sprinkler
วิธีการให้น้ำร่วมกับอัตราปุ๋ย ระบบการจัดการน้ำและระบบการจัดการการผลิต ของ สับปะรด
ที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถช่วยเพิ่มปริมาณ และคุณภาพผลผลิต

2. ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาโรคเหี่ยว โดยใช้เทคโนโลยีการจัดการโรคเหี่ยวสับปะรดที่มี
ประสิทธิภาพ และผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดปลอดโรคทดแทน

3 .วิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรดที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม และ รับประทานสด ให้ได้พันธุ์
หรือสายพันธุ์ใหม่ที่มี คุณสมบัติเหมาะสม
- สับปะรดอุตสาหกรรม ผลผลิตสูง สุกแก่สม่ำเสมอ ผลมี คุณภาพตรงตามความต้องการ
ของโรงงาน และ/หรือ สามารถทนทาน/ต้านทานต่อโรคเหี่ยว
- สับปะรดบริโภคสด ผลผลิตสูง คุณภาพดี ทนทานต่อ การเกิดอาการไส้สีน้ำตาล
 
ผลการดำเนินงาน
1. การให้น้ำสับปะรดช่วยเพิ่มผลผลิตประมาณ 2 ตัน/ไร่
2. อัตราปุ๋ยที่เหมาะสม ปุ๋ยสูตร 12-6-15 อัตรา 50 กรัม N- P 2 O 5
-K 2 O /ต้น/ฤดู
3. ปริมาณน้ำที่เหมาะสมคือให้น้ำโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ (crop -coefficient)
ดังนี้ Kc initial
stage = 0.5 Kc mid stage = 0.3 Kc end stage = 0.3
4. วัสดุคลุมดินที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ คือ พลาสติกดำ
 





สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4 องศา
เซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี  แต่
ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง 
 
สับปะรดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด  ที่ระบายน้ำดี  แต่ชอบดินร่วน  ดินร่วนปนทราย 
ดินปนลูกรัง  ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท  เช่น  ที่ลาดเชิงเขา  สภาพความ
เป็นกรด-ด่าง ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือ ตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0  
 

แหล่งปลูก  
แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลได้แก่  จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ชลบุรี  ระยอง  ฉะเชิงเทรา  จันทบุรี  ตราด และ
จังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้  เช่น  ภูเก็ต  พังงา  ชุมพร  ซึ่งนิยมปลูกในสวนยาง 
 
ปัจจุบันมีการปลูกสับปะรดในจังหวัดต่าง ๆ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บริเวณริมแม่
น้ำโขง และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ  การปลูกสับปะรดในพื้นที่ที่อยู่ไกลทะเลนี้  จะ
ต้องคำนึงถึงความชื้นในอากาศเป็นสำคัญ  เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพ
ของผลสับปะรด  ดังนั้น  ควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง  เช่น  ที่
ราบระหว่างภูเขา  ที่ลาดเชิงเขา  บริเวณใกล้ป่าหรือแหล่งน้ำ


พันธุ์ที่ปลูกมากในประเทศไทย  
พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 5 พันธุ์  โดยถือตามลักษณะของต้นที่ได้
ขนาดโตเต็มที่ และแข็งแรงสมบูรณ์เป็นบรรทัดฐานดังนี้คือ  



1.  พันธุ์ปัตตาเวีย   
พันธุ์นี้รู้จักแพร่หลายในนามสับปะรดศรีราชา และชื่ออื่น ๆ  เช่น  ปราณบุรี, สามร้อย
ยอด  ปลูกกันมากเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม  แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ประจวบคีรีขันธ์ 
ชลบุรี  เพชรบุรี  ลำปาง และการปลูกกันทั่ว ๆ ไป เพื่อขายผลสด เพราะมีรสหวานฉ่ำมี
น้ำมาก  

ลักษณะทั่ว ๆ ไป
  

คือ มีใบสีเขียวเข้ม และเป็นร่องตรงกลางผิวใบด้านบนเป็นมันเงา  ส่วนใต้ใบจะมีสีออก
เทาเงิน  ตรงบริเวณกลางใบมักมีสีแดงอมน้ำตาล  ขอบใบเรียบมีหนามเล็กน้อยบริเวณ
ปลายใบ  กลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน  ผลมีขนาดและรูปทรงต่างกันไป  มีน้ำหนักผลอยู่
ระหว่าง 2-6 กิโลกรัม  แต่โดยปกติทั่วไปประมาณ 2.5 กิโลกรัม  เปลือกผลเมื่อดิบ
สีเขียวคล้ำ  เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทางด้านล่างของผลประมาณครึ่งผล 
ก้านผลสั้นมีไส้ใหญ่เนื้อเหลืองอ่อนแต่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มในฤดูร้อน  รสชาติดี  

2.  พันธุ์อินทรชิต   
เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย  ปลูกกันกระจัดกระจายทั่วไป  แหล่ง
ปลูกที่สำคัญได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา  

ลักษณะทั่ว ๆ ไป 
  
คือขอบใบจะมีหนามแหลมร่างโค้งงอสีน้ำตาลอมแดง ใบสีเขียวอ่อนไม่เป็นมัน ขอบใบทั้ง 2
ข้างมีแถบสีแดงอมน้ำตาลตามแนวยาว ใต้ใบจะมีสีเขียวออกขาวและมีวาวออกสีน้ำเงิน
กลีบดอกสีม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย รสหวานอ่อน มีตะเกียงติดอยู่ ที่ก้าน
ผล เปลือกผลเหนียวแน่นทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคสด 
 

3. พันธุ์ขาว   
เป็นพันธุ์พื้นเมือง เกษตรนิยมปลูกพันธุ์นี้ร่วมกับพันธุ์อินทรชิต เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์มาจาก
พันธุ์อินทรชิต แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ฉะเชิงเทรา  

ลักษณะทั่ว ๆ 
 
 
มีใบสีเขียวอมเหลืองหรือเขียวใบไม้ ทรงพุ่มเตี้ยใบแคบและสั้นกว่าพันธุ์อินทรชิต  ขอบ
ใบมีหนามโค้งงอเข้าสู่ปลายใบ  โคนกลีบดอกสีม่วงอ่อน  ปลายกลีบสีม่วงอมชมพู 
เนื้อผลสีเหลืองทอง  รสหวานอ่อน  ผลมักมีหลายจุก  คุณภาพของเนื้อไม่ค่อยดีนัก 
ผลมีขนาดปานกลาง  น้ำหนักเฉลี่ย 0.85 กิโลกรัม  มีลักษณะเป็นทรงกระบอก  มี
ตาลึกทำให้ผลฟ่ามง่าย 
 

4.  พันธึภูเก็ตหรือสวี   
ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต  ชุมพร  นครศรีธรรมราช และตราด  โดยปลูก
ระหว่างแถวยาวรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บผลขายก่อนกรีดยาง  มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น  พันธุ์
ชุมพร  พันธุ์สวี  พันธุ์ตราดสีทอง  

ลักษณะทั่ว ๆ ไป 
ใบสีเขียวอ่อนและมีแถบสีแดงในตอนกลางและปลายในขอบใบมี
หนามสีแดงแคบและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาวกลีบดอก สีม่วงอ่อน  ผลมีขนาด
เล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมาตาลึกเปลือกหนา  เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม  เยื่อใยน้อย
มีกลิ่นหอม  เหมาะสำหรับบริโภคสด  เป็นที่นิยมมากในภาคใต้  

5.  พันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง   
ปลูกมากในจังหวัดเชียงราย  

ลักษณะทั่ว ๆ ไป   
คล้ายคลึงกับพันธุ์ปัตตาเวีย  แต่มีรูปร่างของผลทรงกลมกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย  ตานูน 
เปลือกบางกว่าและรสหวานจัดกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย  ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม  มีเยื่อใย
น้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด  เป็นที่นิยมมากในภาคเหนือ  ผลมีเปลือกบางมาก  ขน
ส่งทางไกลไม่ดีนัก 

การเตรียมดิน   
เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชหลายฤดูกว่าจะรื้อแปลงปลูกใหม่กินเวลานานถึง 4-5 ปี  ซึ่งจะ
เก็บผลได้ถึง 3 ครั้ง แต่การเก็บผลในรุ่นที่ 3  มักจะลดลงอย่างมากถ้าหากมีการปฏิบัติ
ดูแลรักษาไม่เพียงพอ  จึงนิยมเก็บผลเพียง  2 ครั้ง  ก็รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ 
 

ดังนั้นการเตรียมดินต้องเตรียมอย่างดี  การปรับระดับให้เรียบเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำ
ให้ไม่มีน้ำท่วมขัง การไถดินให้ลึกจะช่วยให้การระบายน้ำและอากาศในดินเป็นไปอย่าง
สะดวก  เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติทุกครั้งที่รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ 
 

การเตรียมดินสำหรับการปลูกสับปะรดนั้น หากเป็นที่เปิดใหม่มักใช้รถไถดันรากไม้ใหญ่ ๆ
ให้โผล่ขึ้นมาแล้วจุดไฟเผา  ต่อจากนั้นไถดินให้ลึก 20-30 เซนติเมตร  ไถพรวนอีก
2-3 ครั้ง  จนซากต้นไม้ใบหญ้ากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ปล่อยทิ้งเอาไว้ระยะหนึ่ง เพื่อ
ให้เศษซากพืชเน่าสลายในดิน  แล้วปรับระดับให้เรียบเสมอ  แล้วจึงไถดินให้ลึกถึง
ระดับ 40-50 เซนติเมตร  เป็นการเปิดหน้าดินให้ลึกเพื่อระบายน้ำและอากาศ  


หากดินเป็นแปลงสับปะรดเก่า ใช้รถแทรกเตอร์ลากพรวน จานไถกลับไปมาจนต้นและใบ
แหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไถกลบเศษต้นและใบสับปะรดนั้นลงในดินปล่อยเอาไว้สัก ระยะ
หนึ่งเพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นอินทรีย์วัตถุและเป็นการปรับโครงสร้างของ ดินให้ดีขึ้น  แล้วจึง
ไถดินให้ลึก 40-50 เซนติเมตร และใช้พรวนจานไถอีกครั้งเมื่อใกล้ระยะเวลาที่จะปลูก 


ฤดูปลูกและวิธีปลูก  
ในประเทศไทยสามารถปลูกสับปะรดได้เกือบตลอดปี  ยกเว้นช่วงฝนตกหนักติดต่อหลาย
วัน  เพราะจะเกิดโรคเน่า  ควรเตรียมดินให้เสร็จในเดือนธันวาคม และปลูกในเดือน
มกราคม-เมษายน  ซึ่งมีแสงแดดจ้าและไม่มีฝนชุก  แต่ดินยังมีความชุ่มชื้นเพียงพอแก่
การเจริญเติบโตในระยะแรกอยู่  

การปลูกในฤดูฝนควรฝังหน่อให้เอียง 45 องศา  เพื่อป้องกันน้ำขังในยอด  ถ้าปลูกใน
ฤดูแล้งฝังหน่อให้ตั้งตรง  หากมีเครื่องมือช่วยปลูกซึ่งเป็นเหล็กคล้ายมีดปลายแหลมช่วย
เปิดหลุมจะทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าใช้จอบ  เฉลี่ยแล้วผู้ปลูก 1 คน  สามารถปลูก
ได้วันละ 5,000-7,000 หน่อ  

การปลูกส่วนใหญ่มักปลูกเป็นแถวคู่ฝังหน่อให้ลึก 15-20 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกแตก
ต่างกันไป  ตามวัตถุประสงค์    



การควบคุมและกำจัดวัชพืช  
ในปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงคน  เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า
หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี  สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 1 ใน 4 เท่าตัว
การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชโดยถากด้วยจอบ  ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก
การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรดทำให้การเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของ
ผลผลิตต่ำกว่า ใช้สารเคมี 
สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงสับปะรด ได้แก่ ไดยูรอน
เช่น  คาร์แมกซ์  ซึ่งเป็นสารเคมีคุมวัชพืชใบกว้างได้ผลดี  ใช้ฉีดพ่นก่อนวัชพืชจะงอก
และโบรมาซิล  เช่น  โบรมิกซ์  ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าวัชพืชใบแคบได้ผลดีใช้ฉีดพ่นใน
แปลงสับปะรด  เมื่อมีวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือจะใช้ทั้ง 2 ชนิดผสมกันโดยใช้โบรมาซิล
363 กรัม และไดยูรอน 363 กรัม ผสมน้ำฉีดพ่นในเนื้อที่ 1 ไร่ ฉีดทันทีหลังจากปลูก
สับปะรดแล้ว สามารถควบคุมวัชพืชทั้งชนิดใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ ได้นานถึง 4 เดือน 
 

ในแปลงสับปะรดที่ปลูกแซมในสวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่น ๆ  ไม่แนะนำให้ใช้โบรมา
ซิล  เพราะถ้าใช้ซ้ำซาก จะเกิดการสะสมในดินโดยสารเคมีจะจับตัวกับเม็ดดิน  เมื่อน้ำ
พัดพาไปจะเกิดอันตรายกับพืชอื่น ๆ ได้  ให้ใช้อะทราซิน  เช่น  เกสาพริม หรืออะมี
ทริน  เช่น  เกสาแพกซ์ ผสมกับไดยูรอน แทน


การใช้สารเคมีกำจัด วัชพืช  ควรผสมสารจับใบลงไปประมาณ 0.1-0.3% โดยริมาตร
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  อาจพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง  เมื่อพบว่าวัชพืชงอกขึ้นมา
โดยพ่นหมดทั้งแปลง หรือเฉพาะจุดก็ได้  



การควบคุมวัชพืชด้วยสารเคมี

ข้อควรระวัง

ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรดแล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจนกว่าจะเก็บ
ผลเสร็จสิ้น 
 

ปุ๋ยสำหรับสับปะรด 
ครั้งที่ 1  ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก 1 ตันผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0
อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดิน
สำหรับกระตุ้นการออกราก 
 
ครั้งที่ 2  หลังปลูก 1-2 เดือน หรือระยะเริ่มออกรากใส่ปุ๋ยสูตรที่มีสัดส่วนไนโตรเจนสูง
เช่น  สูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่ดินโคนต้นฝังหรือ
กลบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกในขณะดินมีความชื้นเพียงพอ  

ครั้งที่ 3  หลังปลูก 4-6 เดือน  ใส่ปุ๋ยครบสูตรที่มีสัดส่วนโพแทสเซียมสูง 3:1:4 
เช่นสูตร 12-4-18+ธาตุอาหารเสริม, 15-5-20, 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง
ซึ่งไนโตรเจนไม่ควรเกิน 15%  ป้องกันสารไนเตรทตกค้างอัตรา 10 กรัมต่อต้น  ใส่
บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย 
 
ครั้งที่ 4  ก่อนบังคับผล 1-2 เดือน  ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้แก่
แคลเซียม  โบรอน  โดยฉีดพ่นเข้าทางใบ 
 
ครั้งที่ 5  หลังบังคับผลประมาณ 3 เดือน  ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-6)
หรือโพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่บริเวณกาบใบล่าง
ในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย 
 


ประโยชน์ของสับปะรด
  
สับปะรดมีส่วนต่าง ๆ  ที่ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง  ดังนี้ 
 

1.  เนื้อ   
ใช้รับประทานสดหรือแปรรูปเป็นสับปะรดแช่อิ่ม  สับปะรดกวน  สับปะรดแห้ง  แยม
สับปะรด หรือ  บรรจุกระป๋อง และคั้นทำน้ำสับปะรด  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เนื้อ
สับปะรดผสมกับปลาและเกลือหมักไว้ทำเป็นอาหารที่เรียกว่า "เค็มหมากนัด" 
 

2.  ผลพลอยได้จากเศษเหลือ  
เศษเหลือของสับปะรดส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง  สามารถนำมาแปรรูปทำ
อย่างอื่นได้  เช่น  

2.1  น้ำเชื่อม  
2.2  แอลกอฮอล์  
2.3  น้ำส้มสายชู และไวน์  
2.4  อาหารสำหรับเลี้ยงวัว  
2.5  กรดอินทรีย์ 3 ชนิด คือ กรดซิตริก  กรดมาลิก และกรดแอสคอร์บิก 
 

3.  ใบ  
3.1  เส้นใยจากใบสับปะรด  นำมาทอเป็นผ้าใยสับปะรด  ในฟิลิปปินส์เรียกว่า "ผ้า
บารอง" ราคาแพง  นิยมตัดเป็นชุดสากลประจำของชาติฟิลิปปินส์และไต้หวัน  

3.2  เยื่อกระดาษจากใยสับปะรด  จะได้กระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความบาง
มาก  มีผิวนุ่มเนียน  สามารถบิดงอหรือเปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย  โดยไม่เสียหาย  ใน
หลายประเทศใช้เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ธนบัตร 
 

4.  เปลือก  
การใช้เปลือกสับปะรดเลี้ยงวัว 
เศษเหลือทิ้งจากโรงงานสับปะรด คือ เปลือกและแกนกลางซึ่งจะมีน้ำอยู่สูงถึงร้อยละ 90
เมื่อคิดต่อน้ำหนักสดส่วนเหลือทิ้งจะมีโปรตีนและโภชนะย่อยได้ทั้งหมดประมาณร้อยละ
0.7 และ 7  เมื่อคิดต่อน้ำหนักแห้งจะมีค่าโปรตีนและโภชนะย่อยได้สูงถึงร้อยละ 7
และ 70 ตามลำดับ 
 
ปกติวัวชอบกินเปลือกสับปะรด  ยิ่งเปลือกที่ทิ้งไว้ 2-3 วัน  สีออกเป็นน้ำตาลเทา ๆ มี
กลิ่นเหม็นเล็กน้อย  วัวจะชอบกินมากกว่าเปลือกสด 
 
ดังนั้น  หากเลี้ยงวัวในแหล่งที่มีโรงงานสับปะรด  จึงใช้เปลือกสับปะรดเป็นอาหารเลี้ยง
วัวได้ทั้งฝูง และวัวขุน   โดยนำเปลือกมากองทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง  จึงใช้เป็น
อาหารเลี้ยงวัวได้เป็นการลงทุนที่น้อยที่สุด  แต่ให้ผลตอบแทนสูง



http://www.school.obec.go.th/nikom8/HomePage/FHomepage_mint/paiapple.html




10. ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอก

วิธีการใช้ดังนี้

1.การใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมาก
เพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธีคือวิธีที่ 1 ป่นถ่านแก๊สให้
เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้นจึงหยอดน้ำตาม
ลงไปประมาณ 50 ซี.ซี. (ประมาณ ¼ กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลงโดย
ป่นถ่านแก๊สป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊ส
ประมาณ 1-2 กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวก
และประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสีย
คือ สิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่านแก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำ
ตามอีกคนหนึ่งวิธีที่ 2 ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม
ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซีซี.(1 กระป๋องนม
หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็ว
แต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมากวิธีที่ 3 ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปใน
กรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย ลงไปยังยอดสับปะรด
วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการปฏิบัติหลังจาก
หยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดง ๆ โผล่ขึ้นมา
จากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขาย
หรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน
ดังนั้นถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

***การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลง
ความเห็นว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูง
ขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อ
เลย และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อ
ไร่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่านแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง
3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะเน่า รสชาติจะ
เปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการ
เจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อ
สังเกตและลงความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะ
หมดไป ถ้าหากนักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติ
ที่เหมาะสมต่อไป

2. การใช้สารเอทธิฟอน
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อเอ
ทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีนจะเป็นตัว
ชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1.ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 แกลลอน
โดยใช้อัตรา 17-30 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้
หยอดต้นละ 60 ซีซี.(กระป๋องนมละ 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า
อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500
กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซีซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)


***ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้น
สับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มาก
ให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืน ช่วงที่มี
อากาศร้อนอบอ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.
หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซี.
ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด
อัตรา 60 ซี.ซี.ต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน

ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล :
1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือในเวลา
กลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น
2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นควร
ผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ
3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากหยอด
สาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว
7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้
ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซี.ซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษา
โรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.
ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 50 กรัม ราดหรือ
ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุก ๆ 30-45 วัน
ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโน
ฟิกซ์ อัตรา 100 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-
20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุก
ประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่ม
ขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น




อ้างอิงข้อมูลจาก
ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.
เชียงใหม่
โทร.053-873938-9



http://innradio-wisanu.blogspot.com/2009/05/blog-post_14.html 




11. การปลูกและการดูแลรักษา

ในสภาพแวดล้อมของแหล่งปลูกในประเทศไทย การปลูกสับปะรดต้องใช้เวลานาน
15-18 เดือนเพื่อการเจริญเติบโตตั้งแต่แรกปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ในระยะที่
ผลกำลังเจริญเติบโตตาที่อยู่ตามมุมใบของลำต้นจะเจริญเติบโตขึ้นมากลายเป็นหน่อ
ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจากต้นแม่ (plant crop) ไปแล้วต้น
สับปะรดต้นเดิมก็จะเสื่อมโทรมไป หน่อที่เจริญขึ้นมาจากตามมุมใบก็จะเจริญเติบโต
ขึ้นมาเป็นสับปะรดต้นใหม่ สับปะรดที่พัฒนามากจากหน่อบนต้นแม่นี้เรียกว่า สับปะรด
หน่อรุ่นแรก (first ratoon) ซึ่งสามารถให้ผลได้คล้ายสับปะรดต้นแม่
เมื่อให้ผลแล้วตาที่อยู่ตามมุมใบของสับปะรดหน่อรุ่นแรกก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่
ได้อีก สับปะรดต้นใหม่ที่เกิดจากตาตามมุมใบของหน่อรุ่นแรกนี้ เรียกว่า สับปะรด
หน่อรุ่นที่สอง (second ratoon) การเกิดต้นใหม่ทดแทนกันเช่นนี้จะ
ดำเนินไปได้หลายรอบถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต

ในทางปฏิบัติหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดจากต้นแม่ไปแล้ว จะยังสามารถไว้
หน่อและเก็บผลผลิตได้อีก 1-2 รุ่น ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกครั้งแรกจน
ถึงเก็บเกี่ยวผลของหน่อรุ่นสุดท้ายและเตรียมการปลูกครั้งต่อไปในพื้นที่เดิมเรียกว่า
รอบการปลูก (crop cycle) ซึ่งแต่ละรอบการปลูกจะมีช่วงเวลา 4-5 ปี
รอบการปลูก 4 ปีจะประกอบไปด้วยสับปะรดรุ่นแรกและการไว้หน่อ 1 ครั้ง ซึ่งเวลา
จริงที่ต้องการในการเจริญเติบโตของพืชจะนานประมาณ 3 ปีกว่าเล็กน้อย ส่วนที่
เหลืออีก 8-9 เดือนจะเป็นการเตรียมพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมที่จะทำการปลูกรอบ
ใหม่ สำหรับรอบการปลูก 5 ปีจะรวมการไว้หน่อรุ่นที่ 2 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังการไว้
หน่อรุ่นแรกประมาณ 1 ปี การจะเลือกไว้หน่อรุ่นที่ 2 หรือไม่นั้นขึ้นกับสภาพความ
สมบูรณ์ของการไว้หน่อรุ่นแรก ซึ่งส่วนมากจะไม่นิยมไว้หน่อรุ่นที่ 2 เนื่องจากผล
ผลิตของการไว้หน่อแต่ละครั้งจะลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตที่ได้รับ
ในสับปะรดรุ่นก่อนหน้านั้น

การเตรียมดิน
เนื่องจากการมีรอบการปลูกที่ใช้เวลายาวนานดังกล่าว การเตรียมพื้นที่และการปลูก
จึงต้องมีการวางแผนการปฏิบัติเป็นอย่างดี เพื่อให้ต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตสม่ำ
เสมอ ให้ผลผลิตสูง การจัดการดูแลรักษากระทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและค่า
ใช้จ่าย และควบคุมระยะเวลาที่จะให้มีผลผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ในพื้นที่บุกเบิกใหม่การเตรียมพื้นที่จะมีขั้นตอนการทำงานคล้ายกับการ
บุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่โดยทั่วไปคือ กำจัดต้นไม้ ตอไม้หรือสิ่งกีดขวางอื่นออก
ไปจากพื้นที่ กำจัดวัชพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัชพืชข้ามปีออกไปก่อนการไถพรวนดิน
ขั้นต่อไป สำหรับพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรดมาก่อนแล้ว จะมีซากเหลือของต้นสับปะรด
(pineapple trash) ตกค้างอยู่ในพื้นที่ 30-40 ตันต่อไร่ (น้ำหนัก
สด) ซึ่งอาจจัดการกับซากเหลือเหล่านี้ได้หลายวิธี เช่นนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
(pineapple hay หรือ silage) หรือปล่อยให้แห้งแล้วเผา
(standing burn) หรือใช้รถแทรคเตอร์ติดใบมีด ตัดต้นและใบสับปะรดให้
เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและไถกลบลงในดิน หรืออาจไถล้มต้นสับปะรด (know
down) หลายๆ รอบ ให้ส่วนของต้นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและไถกลบลงใน
ดินอีกทีหนึ่ง ในพื้นที่ที่มีดินดานอยู่ใต้ผิวหน้าดินอาจใช้ subsoiler หรือ
ripper ไถทำลายดินดานลึกประมาณ 75 เซนติเมตรทุกระยะ 1 เมตร 2
ครั้งในทิศทางตั้งฉากกันเพื่อเปิดผิวหน้าดินให้ระบบรากของสับปะรดสามารถเจริญลง
ไปได้ และยังช่วยให้การระบายน้ำในดินดีขึ้นด้วย หลังจากนั้นจะเป็นการไถพรวนลึก
ไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรซึ่งอาจจะทำไปพร้อมๆ กับการปรับระดับพื้นที่จนดินมี
สภาพเหมาะสมต่อการปลูกพืช


การวางรูปแปลงปลูก การวางรูปแปลงปลูกสับปะรดมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการคือ

1. เพื่อให้มีเส้นทางเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ ตั้งแต่การขนย้ายวัสดุปลูก การปลูก
การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตออกจากไร่ได้สะดวก

2. เพื่อจัดให้มีระบบการระบายน้ำฝนที่มีปริมาณมากเกินไป ออกจากแปลงปลูก
อย่างมีประสิทธิภาพไม่ให้มีน้ำท่วมขังหรือซึมซับอยู่ที่หน้าดินบริเวณรากพืชนานเกิน
ไป ซึ่งระบบระบายน้ำที่ดีจะช่วยลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทะลายและ
ช่วยป้องกันการสูญเสียต้นสับปะรดจากการเกิดโรคยอดและรากเน่าได้ดี

ไร่สับปะรดประกอบไปด้วยแปลงปลูกสับปะรดเป็นแถบกว้าง 30-40 เมตร ความ
ยาวไม่จำกัดแต่ไม่ควรเกิน 500 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานได้
เสร็จเป็นส่วนๆ แปลงปลูกเหล่านี้จะสลับกับถนนกว้าง 3-4 เมตรต่อเนื่องกันไป
ตลอดไร่ และมักจะมีถนนสายหลักตัดผ่านบริเวณกลางไร่และรอบไร่เพื่อความสะดวก
ในการเข้าออกและการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น รถฉีดพ่นสารเคมี
(boom sprayer) รถสายพานช่วยเก็บเกี่ยว (harvester) และรถ
บรรทุกวัสดุในการผลิตต่างๆ ตลอดจนรถบรรทุกที่จะใช้ในการขนย้ายผลผลิตออก
จากไร่

แปลงปลูกสับปะรดควรจะมีความกว้างเท่ากันตลอดไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไร่ขนาด
ใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรกลช่วยในการปฏิบัติงาน ความกว้างของแปลงปลูกจะเป็นสอง
เท่าของความยาวของแขนเครื่องฉีดพ่นสารเคมี การแบ่งพื้นที่แปลงปลูก ถนน และ
ระบบระบายน้ำ อาจทำหลังจากการไถพรวนขั้นสุดท้าย โดยใช้รถเกรดเดอร์ทำส่วนที่
จะเป็นถนน บริเวณส่วนปลายของแปลงปลูกควรมนเล็กน้อยเพื่อให้รถบรรทุกและ
เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องถอยหลังตั้งลำใหม่ แนวของแปลง
ปลูกอาจจะขนานกับความลาดเอียงและจัดแถวปลูกให้ขวางกับแนวลาดเอียง เพื่อลด
การชะล้างหน้าดินและให้คนเข้าไปปฏิบัติงานได้สะดวก ส่วนไร่ที่ใช้เครื่องจักรกล
ขนาดใหญ่การวางแนวแปลงปลูกและแถวปลูกจะขวางความลาดเอียงของพื้นที่ การ
วางรูปแปลงปลูกควรถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานและขนาดของ
เครื่องจักรกลที่มีอยู่ เพราะเมื่อปลูกต้นสับปะรดลงไปแล้วจะต้องดูแลรักษาต่อไปอีก
ประมาณ 4 ปี


การเตรียมวัสดุปลูก
สับปะรดขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของลำต้น เช่น จุก หน่อ และตะเกียง วัสดุปลูก
ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บเกี่ยวและวางคว่ำไว้บนต้นแม่เพื่อให้รอยแผลที่แยกออกมา
จากต้นแม่แห้งดีเสียก่อนเมื่อเตรียมพื้นที่ปลูกใหม่เสร็จแล้วจึงไปเก็บรวบรวมมาอีก
ครั้งหนึ่ง วัสดุปลูกแต่ละชนิดจะมีลักษณะของการเจริญเติบโตและระยะเวลาในการให้
ผลผลิตที่แตกต่างกัน

จุก เกิดที่ส่วนยอดของผล มีน้ำหนักเฉลี่ย 200-300 กรัม มีอัตราส่วนของใบกับ
ส่วนที่เป็นลำต้นค่อนข้างสูง จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้
น้อยกว่าหน่อ มีอายุการให้ผลนานกว่า และมีความต้านทานต่อโรคยอดเน่าได้น้อย
กว่าหน่อ แต่การใช้จุกเป็นวัสดุปลูกจะให้ต้นสับปะรดที่มีระบบรากแข็งแรงกระจาย
ออกรอบลำต้น มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอดีกว่าหน่อ ทำให้สามารถควบคุมการ
ออกดอกและจัดการให้มีผลผลิตออกมาตามเวลาที่ต้องการได้ดี

หน่อ เจริญขึ้นมาจากตาตามมุมใบ มีขนาดโดยเฉลี่ย 0.5-1.0 กิโลกรัม หน่อ
อากาศและหน่อดินเมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่
ไม่เหมาะสมและโรคยอดเน่าได้ดี อายุการให้ผลเร็วกว่าต้นที่ปลูกจากจุก แต่ต้น
สับปะรดที่ปลูกจากหน่อจะมีระบบรากแข็งแรงน้อยกว่า ความสม่ำเสมอในการเจริญ
เติบโตน้อยกว่า และไวต่อการถูกกระตุ้นให้ออกดอกโดยสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติได้
มากกว่า จึงทำให้การควบคุมให้ออกดอกออกผลตามเวลาที่ต้องการจะทำได้
ยากกว่าต้นที่ปลูกจากจุก

ตะเกียง เป็นส่วนที่เจริญมาจากตาที่อยู่บนก้านผล ในทางพฤกษศาสตร์ตะเกียงคือ
ส่วนที่เป็นจุกของผลที่ไม่พัฒนาไปตามปกตินั้นเอง ตะเกียงมีขนาดเฉลี่ย 0.3-
0.5 กิโลกรัม และมีอายุการให้ผลอยู่ระหว่างกลางของจุกกับหน่อ แต่ในสภาพสิ่ง
แวดล้อมของประเทศไทย สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียซึ่งนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมัก
จะไม่มีการสร้างตะเกียง จึงไม่พบว่ามีการใช้ตะเกียงเป็นวัสดุปลูก


การคัดขนาดวัสดุปลูก
ทั้งจุกและหน่อก่อนนำไปปลูกควรมีการคัดขนาดออกเป็นกลุ่มต่างๆ ให้แต่ละกลุ่มมี
ขนาดใกล้เคียงกัน โดยแต่ละกลุ่มควรมีน้ำหนักแตกต่างกันไม่เกิน 100 กรัม
สำหรับจุก และไม่เกิน 200 กรัมสำหรับหน่อ การใช้จุกหรือหน่อที่มีขนาดเดียวกัน
ปลูกในแปลงเดียวกันจะทำให้ต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ การปฏิบัติดูแล
รักษาเช่น การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และการบังคับผลทำได้สะดวก ผลมีขนาดสม่ำ
เสมอและมีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวสั้น


การชุบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ปัญหาสำคัญของการปลูกสับปะรดในประเทศไทยและในอีกหลายพื้นที่ปลูกทั่วโลก
คือ การเกิดโรคยอดและรากเน่าซึ่งจะทำความเสียหายได้เป็นอย่างมาก การป้องกัน
ทำได้โดยการใช้จุกหรือหน่อที่ผึ่งให้รอยแผลแห้งดีเสียก่อน และชุบวัสดุปลูกในสาร
ป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสเอ็ทธิล อะลูมิเนียม (fosethyl
aluminium) อัตรา 400 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ามีแมลงเช่น เพลี้ยแป้ง
ติดมากับวัสดุปลูกอาจใช้สารกำจัดแมลงเช่น มาลาไธออน (malathion)
ผสมลงไปพร้อมกันในอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในการชุบสารดังกล่าว
ควรแช่วัสดุปลูกไว้นาน 2-3 นาที เมื่อนำขึ้นมาแล้วควรนำไปปลูกในแปลงที่เตรียม
ไว้ทันที ไม่ควรกองสุมวัสดุปลูกไว้นานข้ามวัน ถ้ามีความจำเป็นต้องทิ้งไว้นานข้ามวัน
ควรกระจายวัสดุปลูกออก หลีกเลี่ยงการซ้อนทับกันของวัสดุปลูกให้มากที่สุด


วิธีปลูกและระยะปลูก
ไร่สับปะรดขนาดใหญ่ที่ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด
กระป๋องมักนิยมปลูกในระบบร่องแถวคู่ (double row bed) โดยหลังจาก
การไถพรวนดินขั้นสุดท้ายแล้วจะยกร่องกว้างประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 15
เซนติเมตร ปลูกต้นสับปะรดเป็นแถวคู่แบบสลับฟันปลาใช้ระยะระหว่างแถวภายใน
ร่องเดียวกันประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่องคู่ 80-90 เซนติเมตร
ระยะระหว่างต้นภายในแถว 24-30 เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้ได้จำนวนต้น
8,000-10,000 ต้นต่อไร่ ความลึกในการปลูก 10-15 เซนติเมตร


การปลูก
จะใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายพลั่วขนาดเล็กมีด้ามสั้นๆ เรียกว่าเหล็กปลูก
(planting iron)ขุดดินให้เป็นหลุมลึก 10-15 เซนติเมตร แล้วจึงวาง
จุดหรือหน่อตามลงไปและกลบดินรอบลำต้นให้แน่น ดินควรจะร่วนซุยและสัมผัสโคน
วัสดุปลูกอย่างทั่วถึง สำหรับการใช้เครื่องจักรกลช่วยในการปลูกสับปะรด มีการ
พัฒนาขึ้นมาใช้ในแหล่งปลูกใหญ่ๆ เช่นในฮาวาย แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้มากนักเนื่อง
จากมีปัญหาในด้านความลึกของการปลูกไม่เพียงพอและการกลบดินรอบต้นปลูกใหม่
ไม่ดีเท่าที่ควร

สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากนักอาจเลือกปลูกในระบบแถวเดี่ยวโดย
ใช้เชือกขึงทำแนวปลูกใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30
เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000 ต้น การใช้จำนวนต้นต่อไร่
ต่ำจะทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และปริมาณวัสดุปลูกน้อยกว่า แต่ผลผลิตที่ได้
อาจจะไม่สูงเท่าที่ควร


ระยะปลูก
เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องรักษาให้สม่ำเสมอกัน ถ้าปลูกโดยมีระยะห่างไม่สม่ำเสมอกัน
ต้นที่มีระยะปลูกกว้างจะเจริญเติบโตเร็วกว่าและบังแสงต้นที่อยู่ข้างเคียง ทำให้การ
เจริญเติบโตของต้นสับปะรดในแปลงไม่สม่ำเสมอ ประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการคัด
ขนาดวัสดุปลูกก็จะสูญเสียไป การเจริญเติบโตและผลผลิตโดยรวมจะลดลง การ
เลือกใช้ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่จะมีผลกระทบต่อผลผลิตและขนาดเฉลี่ยของ
ผลที่จะได้รับ ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดีตามมาตรฐานการใช้ระยะปลูกแคบ หรือเพิ่ม
จำนวนต้นต่อไร่ให้สูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น แต่ขนาด
เฉลี่ยของผลและปริมาณของผลขนาดใหญ่จะลดลง


ความต้องการธาตุอาหาร
ดินในพื้นที่ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่มักจะมีสภาพเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดิน
ทรายที่มีการระบายน้ำดี ซึ่งลักษณะการระบายน้ำดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูก
สับปะรด แต่ลักษณะการระบายน้ำดีของดินดังกล่าวมาแล้วนั้นก็มักจะเป็นผลให้มีการ
สูญเสียธาตุอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของดินไปค่อนข้างเร็ว โดยสูญเสียไปกับ
น้ำที่ชะล้างหน้าดิน หรือน้ำที่ซึมลงไปในดินเกินระดับความลึกของระบบรากพืช นอก
จากการสูญเสียธาตุอาหารไปกับน้ำแล้ว ธาตุอาหารอีกจำนวนหนึ่งก็จะถูกนำออกไป
จากพื้นที่โดยติดไปกับผลผลิตของสับปะรดอีกด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าดินในพื้นที่ที่ใช้
ปลูกสับปะรดในระยะแรกจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี แต่เมื่อปลูกสับปะรดไปได้ระยะหนึ่ง ดินก็จะเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ไปได้ในเวลาไม่นานนัก

การปลูกสับปะรดในอัตรา 6,106 ต้นต่อไร่และให้ผลผลิต 8.8 ตันต่อไร่ จะมี
การดูดธาตุอาหารขึ้นมาจากดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และบางส่วนของธาตุ
อาหารเหล่านั้นจะสะสมอยู่ในส่วนของผลผลิต และสูญเสียไปจากพื้นที่เมื่อมีการเก็บ
เกี่ยวผลผลิตออกไป นอกจากธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิตแล้ว ถ้ามีการนำ
หน่อออกไปจากพื้นที่อีกประมาณหนึ่งหน่อต่อต้นแม่หนึ่งต้น ก็จะมีการสูญเสียธาตุ
อาหารออกไปจากพื้นที่อีกคือ N5.33 กิโลกรัม P2O5 1.28 กิโลกรัม K2O
6.88 กก. CaO 1.59 กก. และ MgO 1 กก. ต่อพื้นที่ 1 ไร่

การเจริญเติบโตและผลผลิตของสับปะรดจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจนได้มากที่สุด
รองลงมาคือโพแทสเซียม ปริมาณไนโตรเจนที่จะให้กับสับปะรดก็จะเป็นตัวกำหนด
ปริมาณของโพแทสเซียม ซึ่งควรจะสมดุลกันด้วย สำหรับธาตุฟอสฟอรัสซึ่งสับปะรด
มักจะมีความต้องการในปริมาณไม่สูงนัก แต่ปริมาณที่เพียงพอของธาตุฟอสฟอรัสก็มี
ความจำเป็นต่อการออกดอกและการเจริญเติบโตตามปกติของผล ในดินที่มีธาตุ
ฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้วต้นสับปะรดจะไม่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัส หรือ
ถ้ามีการเพิ่มฟอสฟอรัสให้มากเกินไปอาจมีผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่อง
จากระดับฟอสฟอรัสที่สูงเกินไปจะทำให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ
ได้น้อยลง สำหรับธาตุอาหารรองที่สับปะรดต้องการและมักพบว่ามีการตอบสนองต่อ
การเพิ่มให้คือแมกนีเซียม ในพื้นที่ที่ใช้ปลูกสับปะรดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว มักจะพบ
ว่าสับปะรดได้รับธาตุอาหารเสริม (micronutrient) หลายธาตุไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการ เช่น Fe Zn และ Cu และอาจรวมถึง B ด้วย ต้นสับปะรดที่
ได้รับธาตุอาหารหลักในปริมาณที่เพียงพอควรจะมีระดับธาตุอาหารใน D-leaf
 

การใส่ปุ๋ย
ต้นสับปะรดควรได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ แต่ไม่
มากเกินความต้องการ ปริมาณและช่วงเวลาที่ให้ปุ๋ย ควรจะสัมพันธ์กับระยะและอัตรา
การเจริญเติบโตของต้นสับปะรดด้วย ต้นที่มีขนาดเล็กมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ จะ
ต้องการปุ๋ยในปริมาณน้อยกว่าต้นที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ต้น
สับปะรดควรมีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงและวัชพืชรบกวน สภาพแวดล้อมควรเอื้อ
อำนวยต่อการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยด้วย ถ้าต้นสับปะรดถูกรบกวนโดยศัตรูพืชต่างๆ
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งจัดหรือมีน้ำท่วมขัง จะทำให้
ต้นสับปะรดไม่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ได้เท่าที่ควร การเจริญเติบโตของต้น
สับปะรดที่ควรพิจารณาในแง่ของการใช้ปุ๋ย อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1
ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการบังคับผลสับปะรดรุ่นแรก ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่ควรใส่ปุ๋ย
ส่วนใหญ่ที่สับปะรดต้องการ การให้ปุ๋ยในระยะนี้เพื่อบำรุงให้ต้นสับปะรดมีการเจริญ
เติบโตจนมีขนาดเหมาะสมที่จะบังคับผล ต้นมีสภาพสมบูรณ์มีอาหารสำรองสูง ใบ
ควรมีสีเขียวมะกอก ถ้าต้นสับปะรดมีสภาพสมบูรณ์ดีการสร้างช่อดอกในระยะต่อไปจะ
ได้ช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนดอกย่อยมาก ซึ่งจะทำให้ได้ผลขนาดใหญ่และผล
ผลิตสูง

ระยะที่ 2
ตั้งแต่บังคับผลถึงเก็บเกี่ยวผลสับปะรดรุ่นแรกซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น 2 ช่วง คือช่วง
หลังบังคับผลถึงระยะที่เห็นช่อดอกสีแดงที่ปลายยอด และช่วงจากเห็นดอกสีแดงไป
จนถึงเก็บเกี่ยว ในช่วงหลังบังคับผลจนถึงระยะเห็นช่อดอกสีแดงซึ่งใช้เวลานาน
ประมาณ 2 เดือน ถ้าต้นสับปะรดไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพียงพอในระยะที่ 1 อาจ
ให้ปุ๋ยเพิ่มเติมได้ในช่วงนี้ซึ่งจะช่วยให้ได้รับผลผลิตสูงขึ้นได้หลังจากนี้แล้วไม่ควรให้
ปุ๋ยแก่ต้นสับปะรดอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจน เพราะจะทำให้คุณภาพของ
ผลลดลง

ระยะที่ 3
ตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลสับปะรดรุ่นแรกจนถึงบังคับผลหน่อรุ่นที่หนึ่ง การให้ปุ๋ยในระยะนี้
เพื่อช่วยให้หน่อเจริญเติบโต และมีสภาพสมบูรณ์สำหรับการบังคับผล ลักษณะของ
การให้ปุ๋ยจะคล้ายกับระยะที่ 1 แต่จำนวนครั้งและปริมาณที่ให้อาจจะลดลงเหลือ
ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ให้ในสับปะรดรุ่นแรก

ระยะที่ 4
ตั้งแต่บังคับผลจนถึงการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดหน่อรุ่นที่ 1 การพิจารณาว่าจะให้ปุ๋ย
หรือไม่และให้ในช่วงเวลาใดจะมีเหตุผลคล้ายกับระยะที่ 2 ในสับปะรดรุ่นแรก และ
ถ้ามีการไว้หน่อรุ่นที่ 2 การให้ปุ๋ยก็จะย้อนกลับไปทำเหมือนระยะที่ 3 และระยะที่
4 อีกรอบหนึ่ง

ในด้านธาตุอาหารหลักสับปะรดต้องการไนโตรเจนและโพแทสเซียมในปริมาณสูง
เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการธาตุฟอสฟอรัส ในสภาพของพื้นที่ปลูกสับปะรด
ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยซึ่งดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินร่วนปนทราย
หรือดินปนลูกรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ สัดส่วนของปุ๋ย N:P2O5:K2O ที่เหมาะ
สมคือประมาณ 4:1:4 หรือ 5:1:5 ปริมาณที่เหมาะสมในสับปะรดรุ่นแรกคือ
N 8-12 กรัมต่อต้น P2O5 2-3 กรัมต่อต้น และ K2O 8-12 กรัมต่อต้น
แหล่งของปุ๋ย N ที่นิยมใช้คือ แอมโมเนียซัลเฟตและยูเรีย แหล่งของ P2O5 คือ
หินฟอสเฟตและดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต แหล่งของ K2O นิยมใช้โพแทสเซียม
ซัลเฟต นอกจากนี้ก็อาจใช้ในรูปของปุ๋ยผสมที่หาได้ทั่วไปในท้องตลาดเช่น 16-
20-0 หรือ 15-15-15 ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ไม่เป็นที่นิยมใช้เนื่องจากมี
รายงานจากหลายพื้นที่ปลูกเช่น ฟลอริดา ฮาวาย และเปอร์โตริโก ว่าการใช้ปุ๋ยที่มี
คลอไรด์ทำให้คุณภาพของผลต่ำลง เนื้อมีสีเหลืองซีด และผลผลิตลดลง อย่างไรก็
ตามผู้ปลูกสับปะรดบางรายจะฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ให้ต้นสับปะรดในระยะ
1-2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์กรดในผล

เนื่องจากสับปะรดมีช่วงเวลาการเจริญเติบโตในช่วงก่อนออกดอกนาน ส่วนใหญ่ไม่
ต่ำกว่า 12-13 เดือน การให้ปุ๋ยจึงนิยมแบ่งให้หลายครั้ง ลักษณะของการให้ปุ๋ย
อาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ


1. การให้ปุ๋ยรองพื้น (basal application)
ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก การให้ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกจะช่วยให้ต้นสับปะรดตั้ง
ตัวได้เร็วขึ้น การวิเคราะห์ดินและประวัติการตอบสนองต่อปุ๋ยของสับปะรดที่ปลูกใน
รอบที่ผ่านมา รวมทั้งการทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ จะช่วยในการ
ตัดสินใจให้ปุ๋ยได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของสับปะรดมากขึ้น ปุ๋ย P2O5 มี
ความเหมาะสมที่จะให้แบบรองพื้น เนื่องจากมีการสูญเสียจากการชะล้างน้อย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งถ้าแหล่งของปุ๋ยมาจากหินฟอสเฟตซึ่งเหมาะสมในดินที่เป็นกรดควร
ให้แบบรองพื้นทั้งหมด ส่วน N และ K2O จะสูญเสียไปจากดินได้ง่าย การให้ใน
แบบรองพื้นก่อนปลูกจึงควรให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สับปะรดมีธาตุอาหาร
ใช้เพื่อการเจริญเติบโตในระยะแรกเท่านั้น

2. การให้ปุ๋ยที่โคนใบ (side dressing)
การให้ปุ๋ยที่โคนใบจะเริ่มให้ตั้งแต่ระยะหลังปลูกเสร็จไปจนถึงระยะก่อนออกดอก อาจ
แบ่งให้ 3-4 ครั้งในช่วงหลังปลูกจนถึงก่อนออกดอกออกผล โดยใส่ให้ที่โคนใบที่
อยู่ส่วนล่างของลำต้น ครั้งแรกในช่วง 1 เดือนหลังปลูก ปุ๋ยที่ให้ส่วนใหญ่จะเป็น N
จากแอมโมเนียมซัลเฟต และ K2O จากโพแทสเซียมซัลเฟต หรืออาจใช้ปุ๋ยผสม
ต่างๆ ถ้ามีการให้ปุ๋ยรองพื้นแล้วการใส่ปุ๋ยที่โคนใบครั้งแรกอาจยืดเวลาออกไปทำใน
ช่วง 2-3 เดือนหลังปลูก การให้ครั้งต่อๆ ไปจะทิ้งช่วงเวลา 2-3 เดือน การให้
แต่ละครั้งควรปรับเวลาเลือกช่วงที่มีฝนหรือน้ำชลประทานพอที่ต้นสับปะรดจะ
สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ย เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การให้ปุ๋ยทางใบ (foliar application)
ในระยะที่ต้นสับปะรดเจริญเติบโตจนมีพุ่มใบคลุมพื้นที่มากแล้ว การเข้าไปให้ปุ๋ยที่
โคนใบจะทำได้ไม่สะดวก การให้ปุ๋ยทางใบจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้ปลูก
สับปะรดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มักนิยมใช้การให้ปุ๋ยทางใบเนื่องจากทำได้รวดเร็ว
ประหยัดแรงงาน และยังสามารถเพิ่มธาตุอาหารเสริมต่างๆ ลงไปกับปุ๋ยหลักได้ ปุ๋ยที่
ให้มักจะเป็น N จากยูเรีย และ K2O จากโพแทสเซียมซัลเฟต การให้ปุ๋ยทางใบ
ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยทั้งหมดไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงการ
ฉีดพ่นในเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดจัด ในพื้นที่ที่ขาดธาตุอาหารเสริม
ต่างๆ เช่น Fe Cu Zn และ B อาจเพิ่มธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นลงในสาร
ละลายปุ๋ยได้ การให้ปุ๋ยทางใบส่วนใหญ่จะให้ในระยะก่อนบังคับผล ปุ๋ยยูเรียที่ใช้ควรมี
สารไบยูเร็ท (biuret) ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สารไบยูเร็ทเป็นสารปนเปื้อนที่
เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการผลิตยูเรีย ถ้ามีไบยูเร็ทปนอยู่ในปริมาณสูงจะเป็นพิษต่อ
สับปะรด โดยต้นสับปะรดจะแสดงอาการปลายใบไหม้ ถ้าอาการรุนแรงใบจะเหลือง
การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง

การควบคุมวัชพืช
นอกจากจะมีอายุการเก็บเกี่ยวแล้ว สับปะรดยังมีอัตราการเจริญเติบโตในช่วง 3-6
เดือนแรกค่อนข้างต่ำ ทำให้มีช่วงเวลาที่วัชพืชจะเข้ามาทำความเสียหายได้มาก
บทบาทของวัชพืชนอกจากจะแก่งแย่งปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตแล้ว การมี
วัชพืชขึ้นอยู่ในแปลงปลูกสับปะรดยังเป็นอุปสรรคกีดขวางการเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ
ที่เกี่ยวจ้องกับการดูแลรักษาตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวอีกด้วย การป้องกันกำจัด
วัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมปลูกไปจนถึงระยะที่
ต้นสับปะรดสามารถสร้างพุ่มใบปกคลุมพื้นที่ได้พอสมควรแล้ว ซึ่งอาจกินเวลา 7-9
เดือนหลังการปลูก

เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชที่มีระบบรากกระจายอยู่มากบริเวณผิวดินตื้นๆ จึงไม่นิยมใช้
เครื่องจักรกลเข้าไปทำการไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช เพราะจะทำให้ระบบรากได้รับ
ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและยังเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้า
ทำลายได้ง่ายอีกด้วย การป้องกันกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่นิยมใช้สารกำจัดวัชพืช การ
ใช้แรงงานคนเข้าไปถากถางสิ้นเปลืองแรงงานมากและทำได้ช้า จึงทำได้ในพื้นที่
ขนาดเล็กเพื่อช่วยกำจัดวัชพืชที่หลงเหลือหรือต้านทานต่อสารเคมีเป็นจุดๆ ไป สาร
กำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในไร่สับปะรดได้แก่

1. ไดยูรอน (diuron)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังวัชพืชงอกเข้าสู่ทาง
รากมากกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตามกระแสการ
คายน้ำ ควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์
แสงและทำให้เซลล์ตาย การเลือกทำลายเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายและการย่อย
สลายภายในต้นพืชแต่ละชนิดมีอัตราแตกต่างกัน การใช้ควรฉีดพ่นในสภาพที่ดินมี
ความชื้นพอสมควร เพื่อให้สารสามารถซึมลงไปสู่บริเวณรากได้ดี ไดยูรอนสลายตัว
ได้โดยแสงและจุลินทรีย์ดิน จึงไม่ควรฉีดพ่นทิ้งไว้ในสภาพที่ดินแห้งและมีแสงแดด
จัด การใช้ไดยูรอนอัตรา 720 กรัมต่อไร่ ควบคุมวัชพืชในไร่สับปะรดได้ดีประมาณ
3 เดือน และมีผลตกค้างนานกว่าอะทราซีน (atrazine) เล็กน้อย แต่ในฤดู
ฝนระยะเวลาในการควบคุมวัชพืชจะน้อยลง การฉีดซ้ำครั้งที่สองอาจจะต้องทำที่ระยะ
2 เดือน

2. โบรมาซิล (bromacil)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังวัชพืชงอกเข้าสู่พืช
ทางรากได้ดีกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตามกระแส
การคายน้ำ ควบคุมวัชพืชได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง ทำลายพืชโดยยับยั้งการ
สังเคราะห์แสงและทำให้เซลล์ตาย หลังฉีดพ่นแล้วมีความคงทนอยู่ในดินได้นานอาจ
จะถึง 1-2 ปี ออกฤทธิ์ทำลายวัชพืชได้ดีในสภาพที่ดินมีความชื้น เนื่องจากสาร
สามารถซึมลงสู่บริเวณรากได้ดี การใช้หลังวัชพืชงอกควรผสมสารจับใบเพื่อช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการเข้าสู่พืชทางใบ

3. อะทราซีน (atrazine)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย นิยมใช้แบบก่อนวัชพืชงอก ส่วนใหญ่เข้าสู่
พืชทางรากมากกว่าทางลำต้นและใบ เคลื่อนย้ายจากรากไปสู่ใบทางท่อน้ำตาม
กระแสการคายน้ำ ควบคุมวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง แต่ควบคุมพวกใบกว้างได้ดี
กว่าใบแคบ ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์แสงและทำให้เซลล์ตาย การเลือก
ทำลายเนื่องมาจากการย่อยสลายภายในต้นพืชแต่ละชนิดมีอัตราแตกต่างกัน อาจใช้
แบบหลังวัชพืชงอกได้เมื่อผสมสารจับใบ

4. อะมีทรีน (ametryne)
เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับอะทราซีน เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย
เข้าสู่พืชทางใบได้ดีกว่าอะทราซีน มีความคงทนในดินสั้นกว่าอะทราซีน นิยมใช้แบบ
หลังวัชพืชงอกโดยผสมสารจับใบ มีความเป็นพิษต่อสับปะรดมากกว่าอะทราซีน

5. ไกลโฟเสท (glyphosate)
เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทไม่เลือกทำลาย ใช้หลังวัชพืชงอก เข้าสู่พืชทางใบและ
ส่วนที่มีสีเขียว สามารถเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ส่วนล่างของพืชที่อยู่ใต้ดินได้ ควบคุม
วัชพืชได้ทั้งพวกใบแคบและใบกว้าง ฤดูเดียวและหลายฤดู แต่ส่วนใหญ่ใช้ควบคุม
วัชพืชหลายฤดู เช่น หญ้าคา ทำลายพืชโดยยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโนที่มี
aromatic ring การใช้ควรฉีดพ่นในสภาพที่วัชพืชกำลังเจริญงอกงามดี
สารไกลโฟเสทไม่มีผลตกค้างในดิน จึงนิยมใช้ในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนปลูก
สับปะรดเพื่อทำลายวัชพืชยืนต้น เช่น หญ้าคา

การบังคับผล (forcing)
เมื่อสับปะรดมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นจนมีขนาดพอสมควรแล้ว จะเกิดการ
สร้างดอกสร้างผลได้เองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะ
ได้แก่ อุณหภูมิต่ำและช่วงวันสั้น ในสับปะรดเมื่อเริ่มมีการสร้างช่อดอก
(inflorescence initiation) แล้ว ช่อดอกจะพัฒนาเป็นผลโดย
ไม่ต้องมีการผสมเกสร ในประเทศไทยและแหล่งปลูกสับปะรดอื่นๆ ซึ่งอยู่ในซีกโลก
ด้านเหนือ เช่น ฮาวาย และไต้หวัน สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมักจะเริ่มออกดอกออกผล
ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระยะที่มีสภาพช่วงวันสั้นและ
อากาศเย็น แต่อย่างไรก็ตามในแหล่งปลูกต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้นสับปะรดที่มี
ขนาดใหญ่พอสมควรอาจจะออกดอกออกผลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปีก็ได้ โดย
ไม่จำเป็นต้องได้รับสภาพวันสั้นหรืออากาศเย็น

การปฏิบัติดูแลรักษาในช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้น ก็มีส่วนในความยากง่าย
ต่อการที่ต้นสับปะรดจะถูกกระตุ้นให้ออกดอกตามธรรมชาติด้วย ต้นที่ได้รับน้ำและปุ๋ย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเพียงพอและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมัก
ไม่ค่อยถูกกระตุ้นให้ออกดอกออกผลในระยะเวลาที่ธรรมชาติเอื้ออำนวย ในขณะที่
ต้นสับปะรดที่อยู่ในสภาพปกติอาจถูกกระตุ้นให้ออกดอกออกผลได้ อย่างไรก็ตาม
สภาพการขาดน้ำอย่างรุนแรงก็อาจมีอิทธิพลยับยั้งการออกดอกตามปกติของ
สับปะรดได้เช่นกัน

การบังคับผลหรือการชักนำให้ต้นสับปะรดที่เจริญเติบโตเพียงพอแล้ว ออกดอกออก
ผลโดยการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth
regulators, PGR) เป็นวิธีการที่รู้จักกันมานานแล้ว ต้นกำเนิดของวิธีการ
นี้เริ่มมาจากการค้นพบโดยบังเอิญว่า ต้นสับปะรดที่ได้รับการรมควันไฟออกดอกออก
ผลพร้อมกันก่อนฤดูกาลปกติ ผู้ปลูกสับปะรดในเปอร์โตริโกนำวิธีการรมควันไปใช้กับ
ต้นสับปะรดในแปลงปลูกให้ออกดอกออกผล โดยการสุมไฟไว้ด้านเหนือลมของ
แปลงปลูก หรือใช้ผ้าใบคลุมแปลงปลูกสับปะรดและปล่อยควันไฟเข้าไปภายใน การ
บังคับผลช่วยให้มีผลสับปะรดออกมาก่อนฤดูกาลปกติ ซึ่งทำให้สามารถจำหน่ายผล
ผลิตได้ในราคาสูงขึ้น และช่วยให้มีผลผลิตสับปะรดออกมาใช้ประโยชน์ได้ในช่วง
เวลาที่กว้างขึ้น

สารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในควันไฟซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นการออกดอกของสับปะรด คือ แก็ส
เอทธิลีน (ethylene) การศึกษาต่อๆ มาก็พบว่าแก๊สอเซทธิลีน
(acetylene) และสารควบคุมการเจริญเติบโตที่อยู่ในกลุ่มออกซิน
(auxins) หลายชนิด เช่น indole acetic acid (IAA) และ
naphthalene acetic acid (NAA) ก็สามารถชักนำให้ต้น
สับปะรดออกดอกได้เช่นกัน

ความสำเร็จของการชักนำให้เกิดดอกในสับปะรดด้วยสารเคมีจะมีปัจจัยต่างๆ ที่ควร
คำนึงถึงคล้ายกับการเกิดดอกในสภาพธรรมชาติคือ ต้นสับปะรดต้องเจริญเติบโตจนมี
ขนาดพอสมควรขนาดหนึ่ง มีสถานะทางสรีระที่เหมาะสม มีสภาพอากาศเย็นและ
สภาพช่วงวันสั้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสารเคมีเองมาเกี่ยว
ข้องด้วย เช่น ชนิด ความเข้มข้นของสารเคมี จำนวนครั้งที่ให้สารเคมี ปริมาณรวม
ของน้ำที่ใช้ผสมสารเคมีและช่วงเวลาที่ให้สารเคมีแก่ต้นสับปะรด

เนื่องจากขนาดของผลสับปะรดมีความสัมพันธ์เป็นอย่างสูงกับขนาดของต้นที่ระยะ
บังคับผล และในทางการค้าและอุตสาหกรรมต้องการผลสับปะรดที่มีขนาด 1.0-
2.5 กิโลกรัม ถ้าต้นสับปะรดเจริญเติบโตได้ขนาดพอที่จะบังคับให้ออกดอกได้แต่
ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้รับขนาดผลที่เหมาะสม ขนาดของผลที่ได้ก็จะมีขนาดเล็ก
เกินไปที่จะใช้ประโยชน์ตามปกติได้ ในทางปฏิบัติจะทำการบังคับผลเมื่อต้นสับปะรดมี
น้ำหนักสดประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ต้นสับปะรดที่มีขนาดใหญ่
จนเกินไป เช่น มีน้ำหนักสดมากกว่า 5 กิโลกรัม อาจจะทำการบังคับผลได้ยากขึ้น
หรือต้องใช้ปริมาณสารเคมีมากกว่าปกติ เพื่อให้ได้รับผลของการออกดอกในระดับที่
น่าพอใจ

สถานะทางสรีระของต้นสับปะรดก็มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบังคับผลด้วยเช่น
กัน ต้นสับปะรดที่ได้รับน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนอย่างต่อเนื่องมาตลอด มีการเจริญเติบโต
ทางลำต้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้การบังคับผลได้ผลน้อยลง ความสำเร็จของการ
บังคับผลจะสูงเป็นที่น่าพอใจ เมื่อระดับของไนโตรเจนในส่วนโคนใบสีขาวของ D-
leaf มีค่าประมาณ 1.3 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักสด) ระดับขั้นสูงของไนโตรเจน
ในใบที่ระยะบังคับผลไม่ควรเกิน 1.6 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักสด) ในทางปฏิบัติผู้
ปลูกสับปะรดมักจะงดการให้น้ำและปุ๋ยไนโตรเจนแก่ต้นสับปะรดในช่วงก่อนการบังคับ
ผล 2-3 เดือน

สารเคมีที่พบว่าสามารถชักนำให้สับปะรดออกดอกออกผลได้มีหลายชนิด แต่ละชนิด
อาจจะมีความสะดวกในการใช้ และมีประสิทธิภาพในการชักนำให้ต้นสับปะรดออก
ดอกได้แตกต่างกันไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างไรก็ตามสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ
สูง และอยู่ในความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปในทางการค้าและอุตสาหกรรม
การผลิตสับปะรดมี 4 ชนิดคือ แคลเซียมคาร์ไบด์หรืออเซทธิลีน เอทธิลีน เอทธิ
ฟอน และแนพทาลีน อะซีติคแอซิด

อเซทธิลีน (acetylene, C2H2)
หรือแคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) อาจใช้ในรูปของแข็งใส่ลงในกลางยอดของต้น
สับปะรดที่มีน้ำขังอยู่ หรือใช้รูปสารละลายของแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งแคลเซียม
คาร์ไบด์เมื่ออยู่ในสภาพสารละลายจะเกิดขบวนการไฮโดรไลซีสได้แก๊สอเซทธิลีน
(C2H2) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอก


เกษตรกรรายย่อยโดยทั่วไปนิยมใช้แคลเซียมคาร์ไบด์เนื่องจากหาได้ทั่วไปในท้อง
ถิ่นและราคาถูก อัตราที่ใช้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 150 มิลลิกรัม ถึง 3
กรัมต่อต้น การให้แคลเซียมคาร์ไบด์ในเวลากลางคืนได้ผลดีกว่าในเวลากลางวัน ซึ่ง
อาจจะเนื่องจากต้นสับปะรดมีความอ่อนไหวต่อการชักนำให้เกิดดอกในเวลากลางคืน
ได้มากกว่าในเวลากลางวัน หรือการเคลื่อนย้ายของสารเคมีภายในต้นสับปะรดใน
เวลากลางคืนดำเนินไปได้ดีกว่าในเวลากลางวัน เนื่องจากปากใบสับปะรดจะเปิดเป็น
ส่วนมากในเวลากลางคืน หรือทั้งสองเหตุผลรวมกัน สำหรับการใช้ในรูปของแข็งจะ
ทุบแคลเซียมคาร์ไบด์ให้เป็นก้อนเล็กๆ ใส่ลงที่กลางยอดของต้นสับปะรดที่มีน้ำขังอยู่
ในกรณีที่ไม่มีน้ำขังอยู่ที่บริเวณยอดของต้นสับปะรดจะต้องหยอดน้ำเพิ่มให้ต้นละ
50-75 มิลลิลิตร การหยอดให้ที่ยอดก็ได้ ผลคล้ายกับการฉีดพ่นให้ที่ใบของต้น
สับปะรด การให้ NAA ในเวลากลางวันไม่ทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกลดลงจน
เห็นได้เด่นชัดนัก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการให้ในเวลาที่มีแสงแดดจัด อย่างไรก็ตามใน
พื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกบ่อยๆ การจะได้รับความสำเร็จในการบังคับ
ผลเป็นที่น่าพอใจจะต้องให้ NAA ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ในเวลา 5-7 วันหลังจากการ
ให้ครั้งแรก

เอทธิลีน (ethylene, C2H4)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ในการ
ควบคุมกระบวนการทางสรีระและชีวเคมีต่างๆ มากมายในพืช ในสับปะรดเอทธิลีน
เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งทางด้านการชักนำให้ออกดอก และคุณภาพของผล
สับปะรดที่ได้รับก็อยู่ในขั้นดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศร้อน
ชื้น ประสิทธิภาพในการบังคับผลของเอทธิลีนจะสูงกว่าสารบังคับผลชนิดอื่น แต่การ
ใช้เอทธิลีนเป็นสารบังคับผลมีปัญหาในด้านการปฏิบัติเนื่องจากเอทธิลีนอยู่ในรูปของ
แก๊ส ซึ่งจะต้องทำให้ละลายอยู่ในน้ำเสียก่อนจึงจะให้แก่ต้นสับปะรดได้สะดวก และ
ปริมาณแก๊สเอทธิลีนที่ละลายในน้ำจะต้องมากพอที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดผลทาง
สรีระ ชักนำให้มีการสร้างช่อดอกในสับปะรดได้ จึงมีใช้เฉพาะผู้ปลูกสับปะรดรายใหญ่
บางรายเพราะต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยผสมเอทธิลีนลงในน้ำ ในทางปฏิบัติจะใช้
น้ำซึ่งมีแอคติเวตคาร์บอนผสมอยู่ 0.5-2.0 เปอร์เซ็นต์ สูบผ่านท่อซึ่งมีอุปกรณ์
ผสมเอทธิลีนเข้าไปในระบบก่อนที่สารละลายจะผ่านหัวฉีดออกมา อัตราการใช้เอทธิ
ลีนในที่ต่างๆ กันอาจแตกต่างกันไปได้ในช่วง 80-352 กรัมต่อไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้
800-1,200 ลิตรต่อไร่ การให้ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-5 วัน

เอทธิฟอน (ehtephon, 2-chloroethylphosphonic acid)
เป็นสารที่แตกตัวให้เอทธิลีนในสภาพที่ pH สูงกว่า 3.5 เป็นสารเคมีที่กำลังได้
รับความนิยมสำหรับใช้เป็นสารบังคับผลในสับปะรดอย่างแพร่หลายทั้งผู้ปลูกรายใหญ่
และเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากมีความสะดวกในการใช้สูงเพราะอยู่ในรูปของเหลวที่
คงตัวในสภาพ pH ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอกได้ดี
แต่ราคาอาจจะค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารบังคับผลชนิดอื่น ในทาง
ปฏิบัติอัตราการใช้เอทธิฟอนจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ปลูก ในประเทศไทยใช้
อัตรา 175-200 ppm สารออกฤทธิ์ ผสมยูเรีย 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นให้ต้น
ละ 75 มิลลิลิตร การให้ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 3-5 วัน ในบางกรณีการใช้เอ
ทธิฟอนเป็นสารบังคับผล อาจจะไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร หรือบางครั้งพบว่าต้น
สับปะรดมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกน้อยมากหรือไม่ออกดอกเลย ซึ่งความด้อย
ประสิทธิภาพของเอทธิฟอนในการชักนำให้ต้นสับปะรดออกดอก มักเกิดขึ้นในฤดู
ร้อนซึ่งสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ทั่วไปในแหล่งปลูก
สับปะรด


การเก็บเกี่ยว

ในประเทศไทยการปลูกสับปะรดสามารถทำได้เกือบตลอดปีดังนั้นการเก็บผล
สับปะรดก็ สามารถทำได้เกือบตลอดทั้งปีเช่นกัน แต่ที่สับปะรดให้ผลชุกที่สุดมี 2
ช่วง คือ ช่วงสับปะรดปี ซึ่งจะเก็บผลได้มากกว่าสับปะรดทะวายประมาณ 3 เท่า
ช่วงนี้จะอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และช่วงสับปะรดทะวาย ซึ่งออกใน
เดือนตุลาคมถึงธันวาคม


การสังเกตผลแก่ของสับปะรด พิจารณาได้จากลักษณะภายนอกผลดังนี้
ผิวเปลือก จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวอมเหลืองอมส้ม หรือเขียวเข้มเป็นมัน
ใบเล็ก ๆ ของตาย่อย จะเหี่ยวแห้ง เป็นสีน้ำตาลหรือชมพู

ตาย่อย จะนูนเด่นชัดเรียกว่าตาเต็ม ร่องตาจะตึงเต็มที่ขนาดของผลไม่เพิ่มขึ้นอีก
ดมกลิ่น ผลสับปะรดแก่จะส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ความแน่นของผล จะลดลงเมื่อใช้นิ้วดีดหรือไม้เคาะเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงโปร่งแสดง
ว่ายังไม่แก่ ถ้าเสียงทึบ (หรือแปะ) แสดงว่าแก่จัดได้ที่แล้ว


การเพิ่มผลผลิตนอกฤดู

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถปลูกได้ใน
พื้นที่แทบทุกแห่งของประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญอยู่ในบริเวณพื้นที่
ใกล้ทะเล เช่น แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และ
จังหวัดทางภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา
สับปะรดที่ปลูกกันทั่วไปนั้นมักจะออกผลทยอยกันตลอดปี และในปีหนึ่งๆ จะมีช่วงที่
สับปะรดออกดอกและให้ผลมากอยู่ 2 ช่วงคือ ช่วงแรกสับปะรดจะออกดอก
ประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์และจะเก็บผลได้ในเดือนเมษายนถึง
มิถุนายนและช่วงที่สองจะออกดอกประมาณเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมและจะเก็บผล
ได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม หากมีการปล่อยให้สับปะรดออกดอกตาม
ธรรมชาติแล้วจะพบว่าการติดผลและเก็บผลจะไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก
มากในการเก็บเกี่ยวและการเลี้ยงหน่อรุ่นต่อไป นอกจากนี้การออกดอกของสับปะรด
ตามธรรมชาติจะทำให้มีผลผลิตออกมาปริมาณมากในช่วงเดียวกัน ซึ่งทำให้สับปะรด
ที่ออกมาในช่วงดังกล่าวมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นหากมีการบังคับให้สับปะรดออกดอก
และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกติ ทำให้สับปะรดมีราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของสวน
สับปะรดต้องการหรือปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามในการบังคับให้สับปะรดออกดอก และให้ผลก่อนหรือหลังฤดูปกตินั้น
ย่อมจะต้องมีปัจจัยต่างๆ คอยควบคุมอยู่ ปัจจัยที่นับว่าสำคัญมาก ได้แก่ สภาพความ
สมบูรณ์ของต้นสับปะรด กล่าวคือ ถ้าหากต้นสับปะรดมีขนาดเล็กเกินไป การบังคับจะ
ทำไม่ได้ผลเนื่องจากต้นสับปะรดยังไม่มีความพร้อมหรือความสมบูรณ์พอหรือถ้าออก
ดอกได้จะทำให้ผลมีขนาดเล็ก สำหรับสับปะรดที่พร้อมจะทำการบังคับนั้นต้องเป็น
สับปะรดที่มีความสมบูรณ์ โคนต้นจะต้องอวบใหญ่ มีน้ำหนักของต้นประมาณ 2.5
กิโลกรัมขึ้นไปหรือมีใบมากกว่า 45 ใบ หรือมีอายุได้ 7-8 เดือน ต้องทำหลัง
จากการใส่ปุ๋ยทางดินอย่างน้อย 3 เดือน และสามารถคำนวณระยะเก็บเกี่ยวได้ โดย
นับตั้งแต่บังคับให้ออกดอกไปประมาณ 160 วัน



ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและวิธีการใช้
1. ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหา
ง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธีคือ

วิธีที่ 1
ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้น
จึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซี.ซี. (ประมาณ 1/4 กระป๋องนม) หรือ
อาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สให้เป็นผง แล้วจึงหยอดลงไปที่ยอด โดยใช้ถ่านแก๊ส
ป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2
กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำในช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพ
การใช้ถ่านแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลา
และแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่านแก๊สคนหนึ่งและหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่ง

วิธีที่ 2
ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้ว
หยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซี.ซี. (1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น)
วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่
บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมาก

วิธีที่ 3
ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย
ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวก
ในการปฏิบัติหลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็น
ดอกสีแดงๆ โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถ
ตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อน
กำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ

การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็น
ว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยัง
มีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลย และที่
เห็นได้ชัดเจนก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลง
ด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่ายแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง 3-5 วัน
เท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะเน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และ
หากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโต
ทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตและลง
ความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหาก
นักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อ
ไป

2. เอทธิฟอน
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อ
เอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมา เอทธิลีนจะเป็น
ตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ

1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถังพลาสติกขนาด 1 แกลลอน
โดยใช้อัตรา 17-30 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บ และปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้
หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (1 กระป๋องนมใช้หยอด 4 ต้น)

2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บ และปุ๋ยยูเรีย 350-500
กรัม ให้หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)

ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วย
กล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ใน
ปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบ
อ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

3. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลน
โนฟิกซ์ ใช้ในอัตรา 50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 50 ซี.ซี. และปุ๋ยยูเรีย 4-5
กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซี.ซี.ต่อต้น สามารถบังคับให้
สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน



ข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล

1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็น หรือในเวลา
กลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น

2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่งๆ นั้น ควร
ผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ

3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากหยอด
สาร จะต้องหยอดสารใหม่

4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว
7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น

5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้
ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซี.ซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษา
โรคนี้ได้ดี

6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.
ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ราด
หรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุกๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโน
ฟิกซ์ อัตรา 100 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-
20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุก
ประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่ม
ขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น




http://202.129.0.133/plant/pineapple/3x.asp





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©