-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 344 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 2/9

.....p-2

5. การปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลมากนัก ผลตอบแทนต่อไร่สูง และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าพืชอื่น ๆหลายๆชนิด โดยมีแหล่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ในแถบทวีปอาฟริกาใต้ อเมริกาใต้ เอเซีย และอเมริกาเหนือ สำหรับประเทศไทยมีการนำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกที่ภาคใต้เป็นครั้งแรก เพื่อใช้ทำแป้งและสาคู ต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมายังภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยองและจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากมีสภาพดิน ฟ้า อากาศ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก การแปรรูปมันสำปะหลัง ดังนั้นจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็วไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย


ชนิดของมันสำปะหลัง
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ชนิดหวาน เป็นมันสำปะหลังที่ใช้เพื่อการบริโภค มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขม สามารถใช้หัวสดทำอาหารได้โดยตรง เช่น นำไปนึ่ง เชื่อม หรือทอด ซึ่งได้แก่ พันธุ์ห้านาที พันธุ์ระยอง 2 เป็นต้น


2. ชนิดขม
เป็นมันสำปะหลังที่มีรสขม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือใช้หัวสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ต้องนำไปแปรรูปเป็นมันอัดเม็ดหรือมันเส้นแล้วจึงนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ ซึ่งได่แก่ พันธุ์ระยอง 1,พันธุ์ระยอง 3,พันธุ์ระยอง 5 , พันธุ์ระยอง 60 ,พันธุ์ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50


สำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดขมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม โดยพันธุ์ที่ปลูกกันมากคือพันธุ์พื้นเมีอง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ต่อมากรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยได้มีการวิจัยปรับปรุง

พันธุแนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูกจำนวน 7 พันธุ์ดังนี้ คือ


1.พันธุ์ระยอง 1
คัดเลือกพันธุ์ในประเทศ และแนะนำพันธุ์ปี 2518

ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

ลักษณะด้อย ปริมาณแป้งต่ำ


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 1

ลักษณะ

ระยอง 1

สียอดอ่อน สีม่วง มีขนเล็กๆ
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียวปนม่วง
สีก้านใบ สีเขียวปนม่วง
สีลำต้น สีเขียวเงิน
ระดับการแตกกิ่งแรก สูง
จำนวนระดับแตกกิ่ง น้อย
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 180
ความสูงของต้น (ซม.) 300
สีเนื้อหัว สีขาว
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลอ่อน
เปอร์เซนต์แป้ง (%) 18.3 (ฤดูฝน)
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 3.22



1.พันธุ์ระยอง 1
คัดเลือกพันธุ์ในประเทศ และแนะนำพันธุ์ปี 2518

ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

ลักษณะด้อย ปริมาณแป้งต่ำ


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 1

ลักษณะ ระยอง 1
สียอดอ่อน สีม่วง มีขนเล็กๆ
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียวปนม่วง
สีก้านใบ สีเขียวปนม่วง
สีลำต้น สีเขียวเงิน
ระดับการแตกกิ่งแรก สูง
จำนวนระดับแตกกิ่ง น้อย
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 180
ความสูงของต้น (ซม.) 300
สีเนื้อหัว สีขาว
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลอ่อน
เปอร์เซนต์แป้ง (%) 18.3 (ฤดูฝน)
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 3.22



1. พันธุ์ระยอง 2
นำเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากCIAT มาคัดเลือก และแนะนำพันธุ์ในปี 2527

ลักษณะเด่น หั่นเป็นแว่นๆได้ง่าย นำมาทอดมีรสชาติดี

ลักษณะด้อย ปริมาณแป้งต่ำ ไม่สามารถปลูกขายส่งโรงงานอุตสาหกรรมได้ คุณภาพหัวขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 2

ลักษณะ ระยอง 2
สียอดอ่อน สีเขียวอมม่วง
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียวอ่อน
สีก้านใบ สีเขียวอมม่วง
สีลำต้น สีน้ำตาลอ่อน
ระดับการแตกกิ่งแรก ค่อนข้างสูง
จำนวนระดับแตกกิ่ง ปานกลาง
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 180-220
ความสูงของต้น (ซม.)ททท 300
สีเนื้อหัว สีเหลืองอ่อน
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลอ่อน
เปอร์เซนต์แป้ง (%) ใกล้เคียงพันธุระยอง 1
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 3.0


3.พันธุ์ระยอง 3
นำเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากCIAT มาคัดเลือก และแนะนำพันธุ์ในปี 2526

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตมีเปอร์เซนต์แป้งสูง ตอบสนองต่อปุ๋ย และความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง

ลักษณะด้อย ท่อนพันธุ์เสื่อมความงอกเร็ว แตกกิ่งต่ำ ยากแก่การกำจัดวัชพืช


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 3

ลักษณะ ระยอง 2
สียอดอ่อน สีเขียวอ่อน
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียวอ่อน
สีก้านใบ สีเขียวอ่อนปนแดง
สีลำต้น สีน้ำตาลอ่อน
ระดับการแตกกิ่งแรก ต่ำ
จำนวนระดับแตกกิ่ง มาก
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 80
ความสูงของต้น (ซม.)ททท 130-180
สีเนื้อหัว สีขาว
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลอ่อน
เปอร์เซนต์แป้ง (%) 23 (ฤดูฝน), 28 (ฤดูแล้ง)
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 2.73



4.พันธุ์ระยอง 60
ผสมและคัดเลือกพันธุ์ในประเทศ แนะนำพันธุ์ให้ปลูกในปี 2530

ลักษณะเด่น อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตสูง

ลักษณะด้อย ปริมาณแป้งไม่สูง และเนื้อในของหัวมีสีขาวครีม


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 60

ลักษณะ ระยอง 60
สียอดอ่อน สีเขียวอมน้ำตาล
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียว
สีก้านใบ สีเขียวอ่อนปนแดง
สีลำต้น สีน้ำตาลอ่อน
ระดับการแตกกิ่งแรก ค่อนข้างสูง
จำนวนระดับแตกกิ่ง ปานกลาง
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 150
ความสูงของต้น (ซม.)ททท 175-250
สีเนื้อหัว สีขาวครีม
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลอ่อน
เปอร์เซนต์แป้ง (%) 18.5
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 3.52


5.พันธุ์ระยอง 90
ผสมและคัดเลือกพันธุ์ในประเทศ และแนะนำพันธุ์ในปี 2534

ลักษณะเด่น ผลผลิตและแป้งสูง ตอบสนองต่อปุ๋ยและความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง

ลักษณะด้อย ลำต้นโค้ง หากมีการแตกกิ่งจะทำให้ดูแลรักษายาก ต้นพันธุ์เสื่อมคุณภาพเร็ว


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 90

ลักษณะ ระยอง 90
สียอดอ่อน สีเขียวอ่อน
สีใบแรกที่เจริญเติบโต สีเขียวแก่
สีก้านใบ สีเขียวอ่อนค่อนข้างขาว
สีลำต้น สีน้ำตาลอมส้ม
ระดับการแตกกิ่งแรก สูง
จำนวนระดับแตกกิ่ง มาก
ความสูงของการแตกกิ่งแรก(ซม.) 120
ความสูงของต้น (ซม.)ททท 160-200
สีเนื้อหัว สีขาว
สีเปลือกหัว สีน้ำตาลเข้ม
เปอร์เซนต์แป้ง (%) 23.7(ฤดูฝนป
ผลผลิต (ตัน/ไร่) 3.65


6.พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
ผสมพันธุ์ระหว่างระยอง 1 และระยอง 90 มีการแนะนำพันธุ์ ในปี 2535

ลักษณะเด่น เปอร์เซนต์ความงอกและการอยู่รอดค่อนข้างสูง

ลักษณะด้อย ในสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ จะมีการแตกกิ่งต่ำทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา


ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 90



ฤดูปลูก
มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี โดยมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อีกร้อยละ 20 ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 13 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม สำหรับการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ผลผลิตหัวสดที่ได้จะสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ในดินที่มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ การปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตสุงที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝน และลักษณะของดิน


การเตรียมดิน
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ในดินทั่วไปตั้งแต่ดินเหนียวถึงดินทรายแต่จะให้ผลผลผิตสูงในดิรเนื้อหยาบ และดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลุกในดินที่ชื้นแแะ เพราะหัวมันจะเน่าเสียได้ง่ายและมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง การเตรียมดินควรไถ 2 ครั้ง ด้วยผาน 3 และผาน ึ ไถลึกประมาณ 8-12 นิ้ว โดยไถกลบมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในฤดุเพาะปลูกที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่ปลูกทีลาดเอียง การไถควรขวางทิศทางของความลาดเอียง เพื่อลดการสูญเสียหน้าดิน และพื้นที่ปลูกที่มีน้ำท่วมขัง ก็ควรทำร่องระบายน้ำและยกร่องปลูก


การเตรียมท่อนพันธุ์
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ขยายด้วยลำต้น โดยอายุของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 8-12 เดือน ซึ่งเมื่อนำไปปลูกจะมีเปอร์เซนต์อยู่รอดถึง 90-64 เปอร์เซนต์ ขนาดความยาวของท่อนพันธุ์ ประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีจำนวนตาประมาณ 10 ตาขึ้นไปต่อ 1 ท่อนพันธุ และต้นพันธุ์ที่ตัดมานั้น หากยังไม่นำไปปลูกเลยก้ควรตั้งกองไว้ในที่ร่มมีแดดผ่านได้เล็กน้อย และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 7-15 วัน เพราะคุณภาพของท่อนพันธุ์จะเสื่อมและอัตราการงอกจะลดลงได้


ระยะปลูก
ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60x60 เซนติเมตร จนถึง 120x120 เซนติเมตร โดยระยะ 100x100 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรง ระยะปลุกระหว่างแถวxต้น อาจใช้ 120x 80 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง


วิธีการปลูก
วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี 2 วิธี คือ

1. การปลูกแบบนอน

2.การปลูกแบบปัก

โดยการปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแบบนอน เนื่องจากมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช การปลุกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียง โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร


การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-16ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง๐ละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้วเกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบำรุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่ง


การกำจัดวัชพืช
เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสำปะหลังโดยไม่กำจัดเลย จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 30 และ 60 วัน ตามลำดับ และควรมีการกำจัดเพิ่มเติม ถ้าหากยังพบว่ามีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น โดยระบบการจัดการวัชพืชในแปลงปลูกมันสำปะหลัง มี 4 ระบบ คือ


ระบบที่ 1
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าวัชพืช คือ ทำการไถพรวนโดยใช้รถไถเล็กเดินตามหรือแรงงานสัตว์เข้าไปกำจัดวัชพืชที่ขึ้นมาแล้ว หลังจากนั้นรอจนวัชพืชขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่งจึงฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภททำลายโดยวิธีสัมผัส ทั้งนี้ต้องมีครอบกันละอองและมันสำปะหลังควรสูงประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระบบนี้เหมาะสำหรับการปลูกเมื่อมีฝนน้อย ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม


ระบบที่ 2
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมผสมกับประเภทฆ่าวัชพืช ระบบที่ 2 นี้ เหมือนกับระบบที่ 1 ในขั้นตอนไถพรวน 1-2 ครั้ง แล้วฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชชนิดเดียว ประเภทคุมวัชพืชหรือใช้ 2 ชนิดผสมกัน คือประเภทคุมและประเภทฆ่าวัชพืช โดยมีครอบกันละออง และมันสำปะหลังควรสูงเกิน 70 เซนติเมตร ระบบที่ 2 นี้ จะเหมาะสำหรับการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในช่วงที่มีฝนตกชุก


ระบบที่ 3
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมวัชพืชตามด้วยวิธีเขตกรรม เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่มีฝนตก โดยฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกมันสำปะหลัง จากนั้นเมื่อวัชพืชขึ้นมาแล้ว ให้ใช้วิธีกำจัดด้วยจอบเฉพาะจุด โดยระบบนี้ควรปลูกด้วยระยะต้นห่างกัน 0.5-0.8 เมตร


ระบบที่ 4
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าเมื่อปลูกด้วยท่อนพันธุ์ยาวและใช้ระยะปลุกถี่ โดยใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังยาว 50 เซนติเมตร หลังจากที่มันสำปะหลังงอกขึ้นมาแล้วสูงเกิน 70 เซนติเมตร ให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือฆ่าวัชพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีครอบกันละอองเพื่อป้องกันอันตรายต่อต้นมันสำปะหลัง




โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ


โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ
ใบเริ่มเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำจนถึงอาการไหม้บางส่วนหรืออาจไหม้ทั้งกิ่ง ถ้ารุนแรงจะมียางไหล ลำต้นแห้งตาย มักพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ระยอง 60 หรือระยอง 90 ซึ่งต้านทานโรคดีกว่าพันธุ์ระยอง 1

2. ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค


ไรแดง
ลักษณะอาการ
จะพบตัวไรแดง มีใยสีขาวบาง ๆปกคลุมอยู่ใต้ใบ ถ้าระบาดรุนแรงใบส่วนยอดจะงองุ้มและใบส่วนล่างจะร่วงหมด

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่

2. เก็บส่วนของพืชที่มีไรแดงอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง

3.ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ ฟอร์เททธาเนต(formetanate) และไดโคฟอล(dicofol) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก


เพลี้ยแป้ง
ลักษณะอาการ
ต้นแคระแกรน ช่วงข้อสั้น ใบร่วง ยอดแห้ง มักพบการระบาดในต้นมันสำปะหลังที่โตแล้ว ซึ่งไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลิต แต่จะทำความเสียหายให้กับท่อนพันธุ์ได้

การป้องกันกำจัด

1.หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่

2.เก็บส่วนของพืชที่มีเพลี้ยแป้งอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง

3. ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ โอเมทโธเอท (ometholate) โมโนโครโตฟอส(monocrotophos) หรือมาลาไธออน (malathion) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก


แมลงหวี่ขาว
ลักษณะอาการ
การเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวมักพบราดำเข้าทำลายร่วมด้วย หากพบการระบาดมากๆ ใบจะม้วนเหี่ยวเป็นสีดำและหลุดร่วงในที่สุด

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่

2. เก็บส่วนของพืชที่มีแมลงหวี่ขาวอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง

3. ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ เมทธามิโดฟอส (methamidophos) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก



วิธีการเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังของเกษตรกรมี 2 วิธี คือ


1. ใช้แรงงานคน โดยทำการตัดต้นมันให้เหลือส่วนล่างของลำต้นไว้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร จากนั้นขุดหัวมันขึ้นมาด้วยจอบหรือใช้วิธีถอนในกรณีที่ดินมีความชื้นสูง นำมาสับเหง้าออกแล้วขนส่งไปยังโรงงานเพื่อแปรสภาพไม่ควรกองทิ้งไว้ในไร่เพราะมันสำปะหลังจะเน่าเสียได้ ส่วนต้นมันที่เหลือนั้นให้ตัดยอดและมัดกองไว้ เพื่อรอปลูกหรือจำหน่ายต่อไป


2. ใช้เครื่องทุ่นแรง ในจังหวัดที่มีปัญหาการขาดแคลนแรงงานสูง จะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงติดท้ายรถแทรกเตอร์ทำการพลิกหน้าดินเพื่อให้หัวมันสำปะหลังหลุดจากดิน จากนั้นจึงใช้แรงงานคนเดินตามตัดหัวมันจากเหง้า และขนส่งไปยังโรงงานเพื่อแปรสภาพต่อไป


การเก็บรักษา
หัวมันสำปะหลังหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วจะมีการเสื่อมคุณภาพเร็วมาก ดังนั้น เมื่อขุดหัวมันขึ้นมาแล้วควรรีบนำส่งโรงงานเพื่อแปรสภาพทันที ในบางกรณีที่ไม่สามารถขายได้ทันทีก้ไม่ควรเก็บหัวมันสำปะหลังไว้เกิน 4 วัน เนื่องจากจะทำให้มีการเน่าเสียและเปอร์เซนต์แป้งในหัวมันลดลงมาก


ความเป็นพิษของมันสำปะหลัง
ในส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลังจะมีสารที่เป็นพิษต่อการบริโภค คือไซยาโนจินิค กลูโคไซต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ในกระเปาะใต้ผิวหรือเปลือกของมันสำปะหลัง ดดยปริมาณที่เป็นพิษต่อการบริโภคนั้นประมาณ 50-60 มิลลิกรัม ต่อหัวสด 1 กิโลกรัม ความเป็นพิษจะมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่อาการป่วยเล็กน้อยจนกระทั่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ถ้ารับประทานมากเกินไป โดยสารไซยาโนจินิค กลูโคไซต์นี้จะพบอยู่ในเปลือกมากว่าส่วนอื่นๆ

สำหรับวิธีการลดความเป็นพิษในหัวมันสำปะหลัง ก่อนนำมาบริโภคมีดังนี้ คือ
1.ปอกเปลือกก่อนนำมาบริโภค

2. ล้างหรือแช่น้ำ เนื่องจากสารไซยาโนจินิค กลูดคไซต์สามารถละลายน้ำได้ดีมาก

3. หั่น สับ ขูด หรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ จะช่วยเร่งปฏิกิริยาลดความเป็นพิษลงได้

4. ตากให้แห้ง เช่น มันเส้น มันอัดเม็ด เป็นวิธีลดความเป็นพิษอีกวิธีหนึ่ง

5. ใช้ความร้อนด้วยวิธีเผา อบ นึ่งหรือต้ม เนื่องจากความเป็นพิษจะสลายตัวไปเมื่อทำให้ร้อนที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส




เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2527. การปลูกมันสำปะหลัง. โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร.2537. รายงานการสัมมนา เรื่อง ปัญหาการผลิตการใช้มันสำปะหลัง และลดต้นทุนการผลิต ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จ. ชลบุรี ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2537

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง. 2537. มันสำปะหลัง. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.




ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือ รากที่มีการสะสมอาหาร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย สภาพดินที่ไม่มีน้ำขัง มีการระบายและอากาศดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 มีความต้องการปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิเมตรต่อปี


พันธุ์มันสำปะหลัง
พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 พันธุ์ระยอง 60 พันธุ์ระยอง 90 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10-12 เดือน โดยใช้ระยะปลูกดังนี้

      - พันธุ์ระยอง 1 ระยะปลูก 100x100 เซนติเมตร

      - พันธุ์ระยอง 60 ระยะปลูก 60x100 เซนติเมตร

      - พันธุ์ระยอง 90 ระยะปลูก 80x100 เซนติเมตร


การเตรียมดิน
ทำการไถกลบและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลายวัชพืชต่าง ๆ ให้ลดจำนวนลง ถ้าพื้นที่มีความลาดชัน ต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดินระบายน้ำไม่ดี ต้องยกร่องปลูก และทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรการระบาดของโรค ปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ถั่วพร้า อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถวก่อนปลูกมันสำปะหลัง แล้วทำการไถกลบเมื่ออายุ 50 วัน ซึ่งเป็นช่วงระยะออกดอก แล้วปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน จึงเตรียมแปลงปลูกมันสำปะหลัง หรืออาจใช้ถั่วพุ่ม อัตรา 8 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการไถกลบเมื่ออายุ 40 วัน โดยทำวิธีการเดียวกับถั่วพร้า ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 โดยใช้อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:500 และก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช (ผลิตจากสารเร่ง พด.3) ระหว่างแถวที่จะปลูกอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อป้องกันโรคเน่าและลำต้นเน่าของมันสำปะหลัง


การปลูกมันสำปะหลัง
โดยคัดเลือกต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่สมบูรณ์มีอายุแก่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เจือจางด้วยน้ำในสัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่สะดวกต่อการกำจัดวัชพืช ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์


การปลูกพืชแซม
หลังจากปลูกมันสำปะหลังได้ 15 วัน ให้ทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า โรยเป็นแถวแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลัง เพื่อป้องกันวัชพืช เมื่อพืชปุ๋ยสดมีอายุ 50 วัน ให้ทำการตัดแล้วนำมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

      
ในกรณีพื้นที่ลาดชันหรือมีการชะล้างพังทลายของดิน ควรปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ภายหลังจากที่ไถเตรียมดินแล้ว โดยการขุดหลุมในร่องที่ไถไว้สำหรับเป็นแนวระดับยาวตามพื้นที่ ให้แต่ละต้นห่างกัน 5 เซนติเมตร แฝกแนวต่อไปก็จะปลูกขนานไปกับแนวแรก โดยมีระยะห่างขึ้นกับสภาพความลาดชันของพื้นที่ เช่น ถ้าระยะตามแนวดิ่งคือ 2 เมตร แนวรั้วหญ้าแฝก ณ ความลาดเอียง 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ห่างกัน 40 เมตร 15 เมตร และ 10 เมตร ตามลำดับ ควรระมัดระวังในการไถเตรียมดิน โดยให้รักษาแนวแฝกไว้ นอกจากนี้ควรตัดใบแฝกให้อยู่ระดับ 30-50 เซนติเมตร และปลูกแฝก ซ่อมแซมให้หนาแน่น แนวรั้วแฝกที่หนาแน่นจะช่วยชะลอ และกระจายน้ำไหลบ่าเพิ่มการแทรกซึมลงสู่ผิวดินรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน


การดูแลรักษา
ทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชปุ๋ยสด ทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ เจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังจากปลูกมันสำปะหลัง 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำทางใบหรือลำต้นให้กับมันสำปะหลังหรือรดลงดิน ทุก 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว กรณีที่ปลูกพืชแซมในขณะที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับมันสำปะหลัง ควรฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกแซมแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลังด้วย หากเกิดการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ ใบจุดขาว และแมลงต่าง ๆ เป็นต้น ให้ใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนการกำจัดวัชพืชที่ปลูกในช่วง 2-3 เดือนแรก สามารถกำจัดได้โดยวิธีกล


การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว
หลังจากเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที ส่วนลำต้นเก็บเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป ส่วนกิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นวัสดุตอซัง ให้ไถกลบลงดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน และดำเนินการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปุ๋ยพืชสด และใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคำแนะนำ จะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิมของเกษตรกรได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์





6. ต้นมันสำปะหลัง แหล่งอาหาร โค-กระบือ
รองศาตราจารย์ด๊อกเตอร์ฉลอง วชิราภากร อาจารย์ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วิจัยการใช้ประโยชน์จากต้นมันสำปะหลัง เพื่อเป็นแหล่งอาหารเยื่อใยสำหรับเลี้ยง โค กระบือ แพะ และ แกะ ซึ่งพบว่าต้นมันสำปะหลังที่นำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ จะมีเยื่อใยสูง คุณภาพใกล้เคียงกับหญ้าสด ช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้นลงได้

ที่สำคัญต้นมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งระบาดก็สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารเยื่อใยได้ โดยไม่ต้องเผาทิ้งให้เปล่าประโยชน์ อย่างไรก็ตามต้นมันสำปะหลังมีสารพิษ ที่ชื่อว่า "กรดไฮโดรไซยานิก" ที่เป็นอันตราย แต่ "กรดไฮโดรไซยานิก" สามารถกำจัดได้โดยนำต้นมันสำปะหลังไปตากให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสตว์ หรือจะบดต้นมันสำปะหลังสดก่อน แล้วจึงนำไปตากในที่ร่ม วิธีนี้ทำให้แห้งเร็ว เมื่อจะนำไปให้สัตว์กินควรนำไปบดให้ละเอียดอีกครั้ง แล้วหมักในถังพลาสติก หรือถุงพลาสติก 21 วัน ก็จะเพิ่มความอ่อนนุ่ม และกลิ่นของพืชหมัก ซึ่งโคเนื้อ และโคนมจะชอบมาก

จากการวิจัยต้นมันสำปะหลังหมัก และ ที่บดแบบแห้ง พบว่าทั้งสองชนิดนี้ มีโปรตีนถึง 8 เปอร์เซ็นต์ และมีคุณค่ามากกว่าฟางข้าว เมื่อนำไปผสมอาหารข้น ในอัตราส่วนมันสำปะหลัง 40 เปอร์เซ็นต์ อาหารข้น 60 เปอร์เซ็นต์ และนำไปให้โคนมกิน ปรากฏว่าแม่โคกินอาหารได้มาก และผลิตน้ำนมได้มากขึ้น แสดงอาการเป็นสัดเร็ว ซึ่งจะทำให้ให้แม่โคนมตั้งท้องได้เร็ว สามารถผลิตน้ำนม ได้ตลอดทั้งปี

(ติดต่อ รศ.ดร.ฉลอง วชิราภากร 085-0115554)






7. ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จึงได้แนะนำ หลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้
 
1. การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดีและการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจากปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรไถระเบิดชั้นดินดาน หรือ ใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย
  
2. การเลือกฤดูปลูก หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดยในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์
 
3. การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดยดินร่วนเหนียว ควรปลูก พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของ  ลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือที่ชาวบ้าน  เรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง  
 
4. การเตรียมดินให้ลึก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการ ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมันสำปะหลัง  ลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่ เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้ควร หว่านก่อนไถดะ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่
 
5. การปลูกที่ถูกต้อง หลักสำคัญก็คือ ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร
 
6. การกำจัดวัชพืช หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถก ระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
 
7. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน  2 : 1 : 2  ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก และต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
 
8. การให้น้ำมันสำปะหลัง ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน มีการให้น้ำในช่วง สองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว         
 
รายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0603 และ 0-2940-5492 และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง  0-3868-1515 ทุกวันในเวลาราชการ



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 พฤษภาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=162916&NewsType=1&Template=





8. เกษตรศาสตร์ 50
พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย

Kasetsart 50, the Most Popular Cassava Cultivar in Thailand


วิจารณ์ วิชชุกิจ1 เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์1 เอ็จ สโรบล1
และ ประภาส ช่างเหล็ก2
1. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง 1 กับพันธุ์ระยอง 90 เกิดจากการพัฒนาพันธุ์ร่วมกันโดยนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร และศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (Centro Internacional de Agricultura Tropical, CIAT) แนะนำให้เกษตรกรปลูก เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2536 พันธุ์ เกษตรศาสตร์50 สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ งอกดี ลำต้นสูงใหญ่ หัวดกและมีลักษณะเป็นกลุ่มสามารถเก็บเกี่ยวได้สะดวก และยังมีปริมาณแป้งในหัวสูง
        
ด้วยลักษณะเด่นดังกล่าว ทำให้มีการขยายพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 ในช่วงปีพ.ศ. 2537 - 2544 โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกรวม 262,398 ไร่ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังปี พ.ศ. 2545/46 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดในประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกถึง 3,791,104 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.91 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ

  ผลจากการสำรวจพบว่าพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,791 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่พันธุ์พื้นเมือง (ระยอง 1) ที่เคยมีพื้นที่ปลูกพันธุ์นี้กว่า 90% ของประเทศ ได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 2,068 กิโลกรัม/ไร่ การปลูกด้วยพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 นี้ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 723 กิโลกรัม หรือผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งประเทศเฉพาะปีพ.ศ. 2545 ถึง 2,740,968 ตัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 2,740 ล้านบาท (ที่ราคากิโลกรัมละ 1 บาท) 
        
นอกจากนั้นการที่หัวมันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 มีปริมาณแป้งในหัวสูง ทำให้มาตรฐานของการผลิตแป้งของโรงงานแป้งมันสำปะหลังใช้วัตถุดิบน้อยลง ข้อมูลของสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทยพบว่าหลังปีพ.ศ. 2542 การผลิตแป้ง 1 กิโลกรัม ต้องใช้หัวมันสด 4.59 กิโลกรัม จากเดิมใช้ 4.75 กิโลกรัม จะลดวัตถุดิบลง 0.16 กิโลกรัม ดังนั้นเฉพาะปีพ.ศ. 2545 ประเทศไทยผลิตแป้งมันสำปะหลังจำนวน 2,300,300 ตัน โรงงานใช้หัวมันสดลดลง 368,048 ตัน ทำให้

อุตสาหกรรมมันสำปะหลังประหยัดต้นทุน ได้ 220 ล้านบาท เนื่องมาจากพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (คำนวณจาก 60% ของพื้นที่ปลูก) 
        
รวมแล้วในปีพ.ศ.2545 เพียงปีเดียวทั้งเกษตรกรและโรงงานมีรายได้เพิ่มจากพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 คำนวณเป็นเงินถึง 2,960 ล้านบาท นอกจากนี้พันธุ์ เกษตรศาสตร์50 ยังเป็นที่นิยมปลูกกันในประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/9) - หน้าถัดไป (3/9) หน้าถัดไป


Content ©