-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 461 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง





กำลังปรับปรุงครับ


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์


 

การเลี้ยงปลาดุก


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1. ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100 X 50 เซนติเมตร
2. ท่อ พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3. ข้องอ พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4. ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5. ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6. ตาข่าย
7. น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8. ปูน ทราย หิน
9. อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก

1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย


การเลี้ยงปลาดุก

2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง



การเลี้ยงปลาดุก

3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง



การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1. ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2. น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3. ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4. มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5. กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม



วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน


ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1. นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ

2. นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง



การเลี้ยงปลาดุก


3. วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4. นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5. การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น


หมายเหตุ
ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ
1. ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2. ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3. ปลาไม่ป่วย
4. การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5. อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6. ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1. ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2. ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3. ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี



 
หมายเหตุ : ราคาที่จำหน่ายปลาขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับวัสดุและอุปกรณ์ในแต่ละท้องถิ่น



http://www.เกษตรกรรม.com/2011/08/blog-post_3540.html





การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย

การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย

           1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูนระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2 - 3 ซม. ควรมีความลึกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับโดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ซม./อาทิตย์ ให้อาหารเม็ดประมาณ 3 - 7 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักตัวปลาโดยปล่อยปลาในอัตรา 50 - 70 ตัว/ตรม.ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 00 - 200 กรัม/ ตัว ในระยะเวลาสั้น ประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80 % ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสียบ่อยกว่า การถ่ายเทน้ำเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด       

   2. การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้      

          1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
          2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 - 100 กก./ไร่
          3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 - 80 กก./ไร่
          4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 - 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า 

 ขั้นตอนการเลี้ยง

             1. อัตราการปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2 - 3 ซม. ควรปล่อยประมาณ 40 - 100 ตัว / ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือชนิดของอาหาร ขนาดของบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่ว ๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม.และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลาใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน) ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
             2.
การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (
2 - 3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 - 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจน มีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3 - 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 - 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 - 70%
            3.
การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 10 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ  

 โรคของปลาดุกเลี้ยง

ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.
อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว

2.
อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง

3.
อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก

4.
อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา

5.
การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

วิธีป้องกันการเกิดโรค
ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 - 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 - 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ


 
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย



การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย

          
1.
การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูนระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2 - 3 ซม. ควรมีความลึกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับโดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ซม./อาทิตย์ ให้อาหารเม็ดประมาณ 3 - 7 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักตัวปลาโดยปล่อยปลาในอัตรา 50 - 70 ตัว/ตรม.ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 00 - 200 กรัม/ ตัว ในระยะเวลาสั้น ประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80 % ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสียบ่อยกว่า การถ่ายเทน้ำเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด       

  
2.
การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้      


1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด 
2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดิน ในอัตราประมาณ 60-100 กก./ไร่ 
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาประมาณ 40- 80 กก./ไร่ 
4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 - 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา

หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า 



ขั้นตอนการเลี้ยง

1. อัตราการปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2 - 3 ซม. ควรปล่อยประมาณ 40 - 100 ตัว / ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือชนิดของอาหาร ขนาดของบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่ว ๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม.และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลาใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน) ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น 
            
2.
การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (
2 - 3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 - 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจน มีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3 - 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 - 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 - 70% 
           
3.
การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 10 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ  



 โรคของปลาดุกเลี้ยง

ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.
อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว


2.
อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง


3.
อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก


4.
อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา


5.
การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา



วิธีป้องกันการเกิดโรค

ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 - 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 - 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ



[--pagebnreak--]


เลี้ยงปลาดุกบ่อพลาสติก
 
 


การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

ขั้นตอนการเลี้ยงมี 4 ขั้นตอน
1. การจัดเตรียมบ่อขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร ก้น 1 เมตร จัดทำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้าพลาสติกสีดำกันน้ำซึม
2. การปรับสภาพน้ำในบ่อปลาเปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่ จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และแร่แม๊กนี เซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการ เน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
3. ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ
   2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้
4. การทำอาหารปลาดุก



การทำอาหารปลาดุก

ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

เกร็ดความรู้
1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
-ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
-ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่าย
-ระยะเวลาเลี้ยงสั้น
-เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
-บริโภคเองในครัวเรือน และมีเหลือจำหน่าย

การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
-อยู่ใกล้บ้าน
-อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
-มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก

การเตรียมน้ำ
-น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
-น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้



การเลี้ยง
1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง
ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
2. อัตราการเลี้ยง
ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
3. การปล่อยปลา
แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ

ช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.

การให้อาหารปลา
เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก
อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้
ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน
ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็น

การถ่ายเทน้ำ
ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้



ต้นทุน
ค่าพลาสติกปูพื้นบ่อ (PVC # 3.5x 6 ม.) 500 บาท
ค่าอาหารเม็ด (เลี้ยงนาน 3 เดือน #30 กก. ) 500 บาท
ค่าพันธุ์ปลาดุก (ขนาด 1 นิ้ว 500 ตัว) 500 บาท
รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 บาท

การจับปลา
เลี้ยง 3-4 เดือน ได้ปลาขนาด 100-200 กรัม/ตัว
อัตรารอดประมาณ 80-90 %
ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท


http://www.fishinggo.com/news-detail.php?no=17 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3355 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©