-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 472 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง





กำลังปรับปรุงครับ



การเลี้ยงปลาตะเพียนหางแดง (ปลากระแห)

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำ ลำคลอง และ หนอง บึงทุกภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมนุษย์ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


งานพิธีมงคลต่างๆ…มักจะมีกิจกรรม ปล่อยปลาสายพันธุ์ไทย…ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับแม่น้ำลำคลองของบ้านเรา…


โดยปลาสายพันธุ์หนึ่งที่มักจะนำมาใช้ในพิธีการนี้ นั่นคือ ปลากระแห ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด สายพันธุ์ไทยแท้ มีชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น “กระแหทอง” หรือ “ตะเพียนหางแดง” ในภาษาอีสานเรียก “ลำปํา” ในภาษาใต้เรียก “เลียนไฟ” ภาษาเหนือเรียก “ปก” ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)


ลักษณะทั่วไปรูปร่างคล้าย…ปลาตะเพียนทอง แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก จะงอยปากสั้นทู่ ปากมีขนาดเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่นๆมีสีส้มสด ยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร


พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำ ลำคลอง และ หนอง บึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามบริเวณหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่างๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน ปลาแก้มช้ำ หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

อาหารของปลากระแห มักชอบกิน พันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย พฤติกรรม ชอบรักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา ปัจจุบันมนุษย์ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร สังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการศึกษา…การอนุบาล ลูกปลากระแหวัยอ่อนในบ่อดิน ด้วยการใช้อาหารเม็ดผสมระหว่างรำข้าวกับปลาป่น ด้วยวัยเพียง 5 วัน ความยาวตัวเฉลี่ย 0.40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 0.28 มิลลิกรัม ผลสรุปพบว่า การอนุบาลตั้งแต่อายุ 5 วัน ไปจนถึงขนาดลำตัว 5 เซนติเมตร ในบ่อดินขนาดประมาณ 800 ตารางเมตร ควรมีความหนาแน่นของลูกปลากระแหประมาณ 200 ตัวต่อตารางเมตร


อีกทั้งลักษณะที่มีสีตามครีบเป็นที่โดดเด่น กลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงาม จึงทดลองเลี้ยงเป็น ปลาตู้ ปรากฏว่า สามารถเลี้ยงได้ดีทั้งยังมีสีสันที่สวยงามอีกด้วย นักวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ จึงทดลองศึกษาผลของแอสตาแซนทินในอาหารต่อสีของปลากระแห โดยเลี้ยงปลากระแหขนาด 3-4 เซนติเมตร ด้วยอาหาร เม็ดสูตรพื้นฐานเสริมแอสตาแซนทินที่ระดับ 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า การเสริมแอสตาแซนทินในอาหารมีผลทำให้สีครีบหางของปลากระแหมีสีแดงมากขึ้น


และเมื่อหยุดเสริมแอสตาแซนทินครีบหางปลาจะมีสีแดงจางลงเท่ากับที่ไม่ได้เสริมในระยะเวลา 21, 28, 50 และ 75 วัน อีกทั้ง แอสตาแซนทินไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต หรือ อัตราแลกเนื้อ และ อัตรารอดชีวิตของปลากระแหแต่อย่างใด


ผู้สนใจข้อมูลอย่างละเอียดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมประมง 0-2562-0569 ในเวลาราชการ.



ไชยรัตน์ ส้มฉุน











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1458 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©