-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง





กำลังปรับปรุงครับ


การใช้ฮอร์โมนในการแปลงเพศปลาสวยงาม

   ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงาม การเปลี่ยนแปลงเพศของปลาบางชนิดจะช่วยให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น ปลากัด ปลาหมอสี ปลานิล ปลาปอมปาดัวร์ และปลาหางนกยูง โดยการให้ฮอร์โมนเพศผู้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพปลาให้มีสีสดใสและสวยงาม เพราะธรรมชาติของปลาทุกชนิดเพศผู้จะมีสีสันกว่าเพศเมีย
   ปัจจุบันการ ใช้ฮอร์โมนในการแปลงเพศปลา หรือในการผลิตปลาเพศผู้กำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งนี้เพราะการใช้ ฮอร์โมนสามารถควบคุมเพศปลาตามที่ต้องการได้ แต่ฮอร์โมนก็ยังมีข้อจำกัดการใช้อยู่มากทั้งในด้านราคา และการใช้อย่างถูกวิธีเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ทางการใช้ ฮอร์โมนน้อยลง
   จากการรายงานของนักวิทยาศาสตร์พบว่าในใบมังคุด ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนพวกสเตียรอยด์ ซึ่งสามารถแปลงเพศปลาให้เป็นเพศผู้  ซึ่งตลาดต้องการปลาเพศผู้เพื่อการจำหน่าย และเป็นที่นิยมของตลาดปลาสวยงามทั้งในและต่างประเทศ

การศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมน

ฮอร์โมนสังเคราะห์
   วิธีการให้ฮอร์โมนในการเปลี่ยนเพศปลามีด้วยกันหลายวิธี เช่น การผสมฮอร์โมนให้ปลากินเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เสียค่าใช้จ่ายต่ำ และสามารถนำไปใช้กับลูกปลาที่มีขนาดเล็กได้
   วิธีการแช่ปลาในสารละลาย ฮอร์โมนวิธีนี้ปลาสามารถได้รับฮอร์โมนตลอดเวลาและมีระดับที่แน่นนอนเป็นวิธี ที่ง่ายและสะดวกสามารถใช้เปลี่ยนเพศปลากัดที่มีขนาดเล็กหรือลูกปลาที่ไม่ สามารถจะรับฮอร์โมนได้โดยวิธีการผสมอาหารให้กิน
   วิธีการฝังฮอร์โมนในตัวปลา  เป็นการใช้ในปลาที่มีขนาดใหญ่โดยการฝังในตำแหน่งต่างๆ เช่น ฝังใต้ผิวหนัง  ฉีดเข้าทางช่องท้องของปลา และฝังรูปแบบแคปซูลในตัวปลา
   ความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ในการเปลี่ยนเพศปลานั้น จะต้องให้ในระดับที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้ผลแตกต่างกันไป ตามชนิดของฮอร์โมนและตามชนิดของปลา เพราะหากว่าปลาได้รับฮอร์โมนในระดับที่สูงเกินไปเป็นระยะเวลานานจะทำให้ปลาเป็นหมันสูงกว่าปลาในกลุ่มที่ได้รับในระดับต่ำ
   อายุของปลาที่เริ่มได้รับฮอร์โมนมีความสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนเพศปลา การใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศปลาควรกระทำในช่วงวัยอ่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์หรือช่วงเริ่มกินอาหาร พบว่าถ้าให้ฮอร์โมนระยะสั้นเกินไปจะไม่เกิดการเปลี่ยนเพศ หรือเกิดน้อย แต่ถ้าให้นานเกินไป จะทำให้การเจริญของอวัยวะเพศถูกจำกัด
   ฮอร์โมนกลุ่ม estrogen ที่สำคัญและพบบ่อยคือ อิสตราดิโอล (estradiol) และมีเอสโตรเจน (estrogen ) ฮอร์โมนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการเกิดลักษณะต่างๆ ที่แสดงความเป็นเพศเมีย โดยทำหน้าที่กระตุ้น หรือชักนำให้มีการเจริญเติบโตของท่อนำไข่ และอวัยวะเพศ

ฮอร์โมนในธรรมชาติ
   จากการศึกษากลุ่มฮอร์โมนในธรรมชาติพบว่า ในส่วนหัวของสมุนไพรกราวเครือขาว (Puerraria mirifica) มีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง estrogen  ทดลองใช้สมุนไพรนี้กับสัตว์ปีกและสัตว์เล็กเป็นส่วนใหญ่ พบว่ามีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ คือเพศผู้หยุดขัน อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ เพศเมียจะหยุดออกไข่และรังไข่ไม่เจริญแต่ในสัตว์น้ำยังมีการศึกษากัน น้อย   ปัจจุบันการใช้ฮอร์โมนในการแปลงเพศปลาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ฮอร์โมนสามารถควบคุมเพศปลาตามที่ต้องการได้

มังคุด
   เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Garcinia mingostana Linn. จัดอยู่ในตระกูล Guttiferrae ใบใหญ่หนาและเป็นมัน ทุกส่วนมียางสีเหลืองเป็นผลไม้เขตร้อน ส่วนของผลแห้งและเปลือกมีรสฝาดมีสารแมงโกสทีนและแทนนิน เนื้อหุ้มเมล็ดแก้ร้อนใน ยางจากผลแก้บิดท้องร่วงและใส่แผลหนอง เปลือกผลมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยฆ่าทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อยา เพนนิซิลิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อ ต้านโรคผิวหนัง ในยางสีเหลืองที่ได้จากใบมังคุดมีสารพวก xanthone  หลายชนิด เช่น แมงโกสทีน บีตา และแกมท่า แมงโกสตินไอโซแมงโกติน กาตาร์นิน และอนุพันธุ์ พบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้าน Staphylococcus aureus อีกด้วย



ขอขอบคุณบทความอันเป็นประโยชน์ ซึ่งสนับสนุนโดย..
FANCY FISH นิตยสารส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม
ย่อโดย  คุณตุลฮาบ หวังสุข









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1727 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©