-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 310 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง





กำลังปรับปรุงครับ



ลำดับเรื่อง..

1. ‘พัฒนาระบบการจัดการฟาร์มปลานิล’
2. ปลานิลจิตรลดา 4
3. วัคซีนปลานิล
4. ปลานิลแดงกำแพงเพชร
5. วช. หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา 3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์

6. วิธีการเลี้ยงปลานิลหมัน
7. บทบาทด้านเศรษฐกิจของปลานิลในประเทศไทย
8. การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน
9. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง
10. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

11. ยกระดับฟาร์มปลานิลเพื่อการส่งออก
12. ปลานิลแดง
13. ปลานิลแดงกำแพงเพชร
14. การผลิตปลานิลแดงแปลงเพศ
15. ปลาทับทิม

16. ปลาทับทิมในกระชัง
17. เลี้ยง "ปลาทับทิม" ในกระชังแขวน อาชีพที่สร้างรายได้ "นิคม นักคุ่ย”
18. เลี้ยงปลาทับทิมในเชิงพาณิชย์
19. "ปลานิลแดง ปทุมธานี 1
20. เลี้ยงปลาทับทิมยังไปได้สวยแต่น้ำต้องดี

21. เลี้ยงปลาทับทิม เป็นอาชีพหลัก

------------------------------------------------------------------------------






นักวิจัย มข. 1. ‘พัฒนาระบบการจัดการฟาร์มปลานิล’

นำภูมิปัญญาผสานองค์ความรู้สมัยใหม่ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน


“การพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มปลานิล” หรือ การเลี้ยงปลาแบบบูรณาการ เป็นผลงานการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว อาจารย์ประจำภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุดเด่นของผลงานวิจัยเรื่องนี้ เป็นการนำเอาภูมิปัญญาของเกษตรกรมาปรับใช้ผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ และสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการเลี้ยง รวมถึงช่วยจัดระบบฟาร์มได้เป็นอย่างดี จากกรณีตัวอย่างของเกษตรกร 3 คน ในเขตเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย และประสบปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนค่าอาหารแพง ปลาตายจากน้ำเสีย และปลา ติดพยาธิภายนอก

รศ.ดร.เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว อาจารย์ประจำภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การเลี้ยงปลานิลในกระชัง มักจะเจอปัญหาในช่วงการเอาลูกปลาลงกระชังใหม่ๆ ซึ่งพบว่าจะมีโรคพยาธิภายนอก เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น ทีมนักวิจัยแนะนำให้เกษตรกร ห่อด่างทับทิม โดยรวบกระชังเข้ามาบริเวณหนึ่ง และเอาด่างทับทิมเทลงไปเพื่อฆ่าเชื้อให้ปลา อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้กระเทียม ประมาณ 1 ขีดผสมในอาหารประมาณ 5 กิโลกรัม ใช้เลี้ยงในช่วง 1 เดือนแรก ก็จะสามารถช่วยได้


การพัฒนาอุปกรณ์ให้อาหารปลา เพื่อป้องกัน อาหารลอยออกนอกกระชังโดยเปล่าประโยชน์ อุปกรณ์ชิ้นนี้ทำมาจากขวดน้ำดื่มที่มีอยู่ทั่วไป เพียงแค่ตัดด้านล่างขวดออกแล้วเย็บตะแกรงพลาสติก แข็งเข้ามาแทน ทำทุ่นไว้รอบทั้ง 4 ด้าน และเอาเชือกร้อยไว้กับขอบกระชัง ป้องกันขวดล้ม จากนั้นก็เอาอาหารมาเทใส่ขวด ปลามันก็จะมากิน สามารถประหยัดค่าอาหารได้อีกทางหนึ่ง


นวัตกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่นักวิจัยได้พัฒนาขึ้นมาช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกร นั่นคือ โต๊ะขยับสารละลายสำหรับแปลงเพศปลา โดย รศ.ดร.เพ็ญพรรณ กล่าวว่า การเลี้ยงปลาในกระชัง จำเป็นต้องใช้ลูกปลาแปลงเพศ เพราะการเลี้ยงปลานิลต้องการปลาเพศผู้ โดยกระบวน การแปลงเพศปลาปกติจะใช้ฮอร์โมนเพศผู้ผสมลงไปในอาหาร ใช้เลี้ยงลูกปลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ และหลังจากนั้นก็เลี้ยงตามปกติ โดยไม่ใช้ฮอร์โมน แต่ในการศึกษาวิจัยแทนที่จะใช้ฮอร์โมนผสมในอาหาร ก็ นำฮอร์ โมนมาผสมในน้ำแล้วเอาปลามาแช่ นำถาดแช่ลูกปลาวางบนโต๊ะขยับสารละลายสำหรับแปลงเพศปลา ใช้ระยะเวลา เพียง 1-2 วันเท่านั้น ก็จะได้ปลานิลเพศผู้ประมาณ 80% ซึ่งวิธีนี้สามารถประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการซื้อฮอร์โมน ได้ถึงครึ่งหนึ่งของวิธีการผสมฮอร์โมนกับอาหาร ให้ปลากิน


นอกจากนี้ ทีมงานวิจัยยังได้แนะนำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินและในกระชัง ควร ติดตั้งปั๊มลมหรือปั๊มน้ำด้วย เพื่อแก้ปัญหาเวลาเกิดน้ำเสีย หรือวันไหนแดดไม่พอ ฝนตกหนัก ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ ก็สามารถเปิดปั๊มลมเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ช่วยให้ปลาไม่ตายได้


นี่คือวิถีชีวิตของคนลำน้ำพอง อีกหนึ่งอาชีพที่ทำรายได้ให้อย่างงดงาม นั้นคือ การเลี้ยงปลานิลทั้งในบ่อดิน และกระชัง โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นก็ได้ลงมาช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยง ปลานิล ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี


หากท่านใดสนใจวิธีการ พัฒนาระบบการจัดการฟาร์มปลานิล หรือการเลี้ยง ปลาแบบบูรณาการ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 08-4402-1658 ในวันเวลาราชการ


http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2660.msg4593.html#msg4593






2. ปลานิลจิตรลดา 4


ตามทันเกษตร วันนี้ ก็ยังอยู่ที่เรื่องของปลานิลสายพันธุ์ใหม่ เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ ที่ทางศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำปทุมธานีได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาขึ้นมา ให้ชื่อว่า "ปลานิลจิตรลดา 4" ซึ่งเจริญเติบโตได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงมาแนะนำ

ปลานิลจิตรลดา 4 ได้จากการคัดปลานิลสายพันธุ์ GIFE ของหน่วยงาน World Fish แล้วกรมประมง นำมาคัดลักษณะเด่นอีกครั้ง จนได้ปลาสีเทาดำคล้ายกับปลานิลทั่วไป แต่ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา เนื้อมาก เจริญเติบโตเร็วกว่าปลานิลทั่วไป 20-30 เปอร์เซ็นต์ อายุ 6-8 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 500-800 กรัม และตัวโตกว่า

วิธีการเลี้ยง สามารถเลี้ยงได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยไม่เกิน 5 พีพีที. ค่า พีเอช. หรือความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6-8 โดยให้อาหารเม็ด สูตรสำหรับเลี้ยงปลานิลหรือปลาดุกได้ ให้ผลผลิตสูงกว่าปลานิลทั่วไป ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกร สามารถนำปลานิลสายพันธุ์ใหม่นี้ ไปเลี้ยงขุนได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน ทางศูนย์วิจัยฯ มีทั้งปลานิลจิตรลดา 4 ที่แปลงเพศแล้ว และยังไม่แปลงเพศไว้จำหน่าย หากเกษตรกรเลี้ยงจนได้พ่อแม่พันธุ์ สามารถให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งจะวางไข่ทั้งปี ทุกๆ 15 วัน เฉลี่ยแม่พันธุ์ตัวละ 200-1,000 ฟองต่อครั้ง



ช่อง 7 สี :
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=142854

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2462.0/prev_next,next.html#new





3. วัคซีนปลานิล


โรคสเตรปโตคอคโคซิส (Streptococcosis) หรือที่เรียกกันว่า "โรคตาโปน" เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งจะระบาดได้ทุกช่วง ในประเทศไทย พบมากในปลานิล จะแสดงอาการให้เห็นคือ มีจุดเลือดช้ำตามลำตัว ตาขุ่น โปน ปลาจะว่ายน้ำหมุนควง ไม่เกิน 7 วัน จะตายได้กว่า 70-90 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น และการเลี้ยงหนาแน่น เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซีเตดตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline) ผสมอาหารให้ปลากิน แต่มักมีปัญหาสารตกค้าง และไม่ได้ผล

รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ด๊อกเตอร์เจนนุช ว่องธวัชชัย และคณะวิจัย จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้พัฒนา "ออโตจีนัสวัคซีนควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซีส" ขึ้น โดยรวบรวมเชื้อแบคทีเรียจากทั่วประเทศ นำมาคัดให้ได้สายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุด แล้วทำให้เชื้อตายเพื่อผลิตเป็นวัคซีนซึ่งจากการทดลองใช้ในฟาร์มของ เกษตรกรกว่า 2 ปี พบว่าได้ผลดี โดยฉีดลูกปลานิลตั้งแต่ขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร จนถึงปลาพ่อ-แม่พันธุ์ แล้วจะกระตุ้นให้ปลาสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ปลานิลที่เลี้ยงในสภาพเสี่ยง มีอัตราการรอดสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปลานิลที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมีอัตราการรอดเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

การฉีดวัคซีนนี้กับปลานิล 1 ตัว จะมีต้นทุนครั้งละ 50 สตางค์ ขณะที่ถ้าใช้วัคซีนจากต่างประเทศจะมีต้นทุนถึง 30 บาท แต่การฉีดวัคซีนควรอยู่ในการดูแลของนักวิชาการหรือสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม

(ติดต่อ รศ.ดร.เจนนุช ว่องธวัชชัย คณะสัตวแพทยศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร.02-2189591)




ช่อง 7 สี :
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=128362

http://www.aquatoyou.com/webboard/index.php/topic,2129.0/prev_next,next.html#new









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2075 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©