-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 194 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ประมง








ชมรมปลาบึกโอด ออกล่าไม่สนไซเตส อ้างรายได้ไม่พอใช้
เชียงราย:นายพิสิทธิ์ วรรณธรรม ประธานชมรมปลาบึกหาดไคร้ ยังคงออกหาปลาบึกในแม่น้ำโขง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการทำข้อตกลงกับสหภาพอนุรักษ์แม่น้ำโขงที่รับปากจะซื้อมอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้ล่าปลาบึก จากชาวบ้านในชมรม 68 คน ในราคาผืนละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,360,000 บาท เพื่อหวังให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือไซเตสที่ระบุว่าปลา บึกเป็นสัตว์ใกล้จะสูญพันธุ์

ชมรมขออนุญาตกรมประมงนำเรือออกหาปลาบึกจำนวน 8 ลำ ซึ่งก็ได้เริ่มออกหาปลาแล้วจำนวน 6 ลำ ปัจจุบันจับได้ แล้ว 1 ตัว โดยเป็นลักษณะของการขออนุญาตจับเพื่อการสาธิตเท่านั้นแต่ก็ไม่จำกัดว่าเมื่อจับได้แล้วจะมีองค์กรภาครัฐหรือเอกชนรายใดเข้าไปซื้อไถ่บ้าง

นายพิสิทธิ์เปิดเผยอีกว่า เดิมมีการตกลงกันว่าหลังซื้อมองไปแล้วจะจัดหาอาชีพให้กับ ชาวบ้าน แต่ปรากฎว่าจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่การช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการพัฒนาอาชีพ โครงการต่างๆ ที่นำเสนอก็ยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอต่อการดำรงชีพ


ที่มา  :  แนวหน้า






เซ็ป โฮแกน (ขวา) กับคณะจับได้ตอนประมาณเที่ยงคืนวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา เป็นตัวเดียวที่จับได้ในปีนี้ (ภาพ: National Geographic Society)
       
นักวิจัยชาวอเมริกันกับชาวประมงพื้นบ้านจับปลาบึกขนาดใหญ่ได้ 1 ตัวในแม่น้ำโตนเลสาป (Tonle Sap) ของกัมพูชาเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาก่อนจะปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ
       
       ปลาบึกตัวนี้มีความยาวตลอดลำตัว 8 ฟุต หรือ 2.40 เมตร น้ำหนัก 204 กิโลกรัม ไม่ใช่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยจับได้ แต่หากเป็นเพียงตัวเดียวที่จับได้ในแม่น้ำโตนเลสาปปีนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลของนักอนุรักษ์
       
       "นี่เป็นเพียงปลาบึกตัวเดียวที่จับได้ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่แย่ที่สุดเท่าที่มีมาสำหรับสัตว์ยักษ์ชนิดนี้" เซ็ป โอแกน (Zep Hogan) แห่งมหาวิทยาลัยรีโน อริโซนา สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้จดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ก่อนจะปล่อยเจ้าบึกตัวล่าสุดลงน้ำไป โดยไม่มีอันตรายใดๆ
       
       นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าในครั้งหนึ่งปลาบึก (Pangasianodon hypophthalmus) หาพบได้ทั่วไปในแม่น้ำโตนเลสาปกับลำน้ำโขง รวมทั้งในบริเวณใกล้กับกรุงพนมเปญด้วย แต่ในศตวรรษที่ผ่านมาประชากรปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกพันธุ์นี้ลดลง 95-99% ปัจจุบันเชื่อว่ามีปลาบึกที่โตแล้วเหลืออยู่ไม่กี่ร้อยตัว
       
       นับตั้งแต่ปี 2543 ทั่วทั้งย่านแม่น้ำโขงเคยมีการจับปลาบึกได้ปีละ 5-10 ตัว ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเคยจับได้ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ความยาวถึง 2.7 เมตร หรือเกือบ 9 ฟุต น้ำหนัก 293 กก.
       
       นายโฮแกนได้เริ่มโครงการที่เรียกว่า MegaFishes Project เมื่อต้นปีนี้ เพื่อเริ่มทำบันทึกต่างๆ เกี่ยวกับปลาบึก โดยได้รับการสนับสนุนจาก National Geographic Conservation Trust and Expeditions Council
       
       ปลาบึกก็เช่นเดียวกันกับปลาอีกหลายชนิดในลำน้ำโขง ใช้ทะเลสาบโตนเลสาปในกัมพูชาเป็นที่วางไข่ ก่อนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปหากินตามลำน้ำโขงในลาวและประเทศไทย



หลายปีก่อนนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ MegaFishes Projects เคยจับได้ปีละ 5-6 ตัว และทำบันทึก-ติดเครื่องหมาย ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปลากยักษ์แม่น้ำโขงจะสูญพันธุ์ในเร็วๆ กว่าที่คิด (ภาพ: National Geographic Society)
       องค์การพัฒนาภาคเอกชนอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โครงการ TERRA กับโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้ออกแถลงการณ์สัปดาห์ที่แล้ว แสดงความห่วงใยต่อการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขง 6-7 แห่ง ทั้งในกัมพูชา ลาวและไทย
       
       องค์การอนุรักษ์เหล่านี้ได้เน้นให้เห็นอันตรายต่อสภาพนิเวศน์จากการสร้างเขื่อนดอนสะฮองในภาคใต้ของลาวซึ่งจะปิดกั้นทางผ่านเข้าสู่แม่น้ำโขงของฝูงปลานานาพันธุ์จากโตนเลสาปโดยตรง
       
       แถลงการณ์ได้เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ซึ่งประชุมร่วมกับประเทศผู้บริจาคในเมืองเสียมราฐวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ให้เอาใจใส่ต่อสภาพนิเวศน์ในลำน้ำโขงที่กำลังถูกบั่นทอนจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นลำน้ำ
       
       เดือน ต.ค.-ธ.ค.ทุกปี เป็นเดือนที่ปลาบึกกับปลาอีกหลากชนิด จะอพยพจากโตนเลสาป จ.เสียมราฐ ไปตามลำน้ำตอนโลสาป และเข้าสู่ลำน้ำโขงใกล้กับกรุงพนมเปญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกระสวนการดำรงชีวิตของชีวะนานาพันธุ์แถบนี้มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
       
       สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) หรือ IUCN ที่มีสำนักงานใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ได้ออกรายงาน “บัญชีแดง” (Red List) รายชื่อสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ครั้งเมื่อปี 2546 จัดให้ปลาบึกเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง

 
บิ๊กตัวนี้จับได้ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อหลายปีก่อน ความยาว 2.70 เมตร เท่าๆ กับความสูงของหมีกริซลี (Grizzly) ตัวหนึ่ง ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกเอาไว้ตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจปี 2524 (ภาพ: National Geographic Society)
       

       “ปลาบึก.หนังสือกินเนสส์บุ๊คออฟเร็คคอร์ดบันทึกให้เป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ในปัจจุบันหายากยิ่งในภาคเหนือของไทย ภาคใต้ลาวและเวียดนาม” IUCN กล่าว
       
       “มีการจับปลาบึกได้เพียง 11 และ 8 ตัวในปี 2544 และ 2545 ในปี 2546 ชาวประมงจับปลาบึกได้ 6 ตัวในกัมพูชา ทั้งหมดถูกปล่อยในเวลาต่อมาตามโครงการอนุรักษ์ปลาแม่น้ำโขง” IUCN กล่าว
       
       ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ติดแผ่นรหัสปลาไปประมาณ 2,000 ตัว ส่วนใหญ่เป็นปลาบึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโตนเลสาปและในแม่น้ำโตนเลสาปกัมพูชา
       
       ที่นี่ดูจะเป็นปราการสุดท้ายสำหรับปลายักษ์ที่เคยอยู่คู่อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมาแต่ครั้งโบราณ.

 

เวลาต่อมาบิ๊กบึกตัวนั้นเสียชีวิต เป็นลาภปากของชาวบ้านที่เชื่อว่ารับประทานเนื้อปลายักษ์จะมีโชคมีลาภและอายุยั่งยืนนาน (ภาพ: National Geographic Society)

            ถ้ามนุษย์เรายังคงมีแต่ความเห็นแก่ตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนเดิม  ทำลายสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา อีกหน่อย..พี่ผึ้งสงสัยว่าพวกเราจะไม่เหลืออะไรให้กิน .. ให้ใช้ .. เสียแล้วล่ะจ๊ะ  เพราะสัตว์ป่า..สัตว์น้ำ..สัตว์เลี้ยง ต่างก็มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ แม้จะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามจะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ไว้  แต่ทำไงได้ก็ผู้บริโภค..ผู้ทำลายมีจำนวนมากกว่าหลายร้อยเท่านิน่า  แล้วน้องๆ ล่ะมีความ

www.dek-d.com › Lifestyleอัพเดทข่าวไลฟ์สไตล์ -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1248 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©