-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 190 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง








ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา ta-nu-pong@hotmail.com

"เลี้ยงหมูหลุม" ต้นทุนต่ำ ได้เนื้อหมูปลอดสารพิษ ใช้ขี้หมูแทนปุ๋ยเคมี

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรคริสเตียนสาธารณกุศลเพื่อการพัฒนาเด็กผู้ยากไร้ด้อยโอกาส ตลอดจนผู้ประสบภัยพิบัติหรือตกอยู่ในภาวะยากลำบากต่างๆ ได้มีโครงการศึกษาดูงานพัฒนาศักยภาพเกษตรกรที่ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพให้กับหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ดังนั้น จึงได้มีกิจกรรมศึกษาดูงานหมูหลุม ที่บ้านตีนเป็ด จังหวัดพังงา และอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดใกล้เคียง พบว่ามีตัวอย่างการทำเกษตรแบบผสมผสานที่มีความหลากหลายทางสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งได้มีการบูรณาการโดยนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อมาใช้ในการทำเกษตรกรรม

ขณะเดียวกันก็ได้พบอีกว่า "การเลี้ยงหมูหลุม" ที่เกษตรกรเลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นการเลี้ยงโดยใช้ต้นทุนต่ำ อีกทั้งเนื้อหมูที่ได้ก็จะปลอดสารพิษ นอกจากนั้น ยังได้นำขี้หมูมาใช้ประโยชน์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี

เกษตรกรที่อาศัยในพื้นที่มีอาชีพการทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันได้นำขี้หมูมาใช้แทนปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ เพราะปุ๋ยเคมีสร้างผลกระทบทำให้ดินเสื่อมสภาพ พืชผลไม้ให้ผลผลิตน้อย ดังนั้น ประโยชน์ของขี้หมูจะทำให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูง ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนได้ด้วย

คุณจันทร์นิภา หวานสนิท หรือ พี่จอย อายุ 43 ปี เกษตรกรบ้านใสสด หมู่ที่ 7 ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม คุณจันทร์นิภาไม่ได้เป็นคนในครอบครัวศุภนิมิตฯ แต่เมื่อคนบ้านเรือนใกล้เคียง จำนวน 9 ครอบครัว ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่การสร้างคอกหมูหลุม คุณจันทร์นิภาจึงยินดีให้ความช่วยเหลือจัดทำเป็นโครงการเลี้ยงหมูหลุม เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับพวกเขาเหล่านั้น และยังสามารถทำปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงหมูหลุมไปใช้กับพืชสวนของบรรดาสมาชิกเหล่านั้นด้วย

คุณจันทร์นิภา นอกจากเป็นเจ้าของสวนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นหมอดินของชุมชน ได้แบ่งเนื้อที่บางส่วนที่มีอยู่ให้กับบรรดาสมาชิกเพื่อจัดสร้างเป็นคอกหมู

"ไหนๆ ที่นี่ก็เป็นศูนย์การเรียนรู้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าอยากให้คนอื่นได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงหมูหลุมด้วย และได้ทางมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนอีกแรง จึงเป็นโอกาสดีที่สมาชิกจะได้มีรายได้เสริมเพื่อเลี้ยงครอบครัว" คุณจันทร์นิภา เล่า

เมื่อเรื่องพื้นที่ลงตัวแล้ว สมาชิกจึงได้รวบรวมเงิน จำนวน 20,000 บาท เพื่อจัดสร้างโรงเรือน ส่วนหมูก็ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาฯ อำเภอลำทับ จำนวน 32 ตัว ทั้งนี้ โดยมีคุณจันทร์นิภาเป็นแกนหลัก

วิธีการเลี้ยงหมูหลุม ใช้วิธีลอกเลียนแบบการเลี้ยงหมูแบบพื้นบ้าน คือการให้อาหารพืชผักและรำข้าว แล้วปล่อยให้หมูหาอาหารกินเอง เมื่อถึงเวลาให้อาหารหมูจะกลับมาที่คอก ส่วนการเตรียมคอกเพื่อเลี้ยงหมูหลุมนั้น กำหนดว่าบริเวณพื้นจะต้องเป็นพื้นดินเท่านั้น แล้วให้ปูทับด้วยแกลบหรือขี้เลื่อย โดยในระหว่างชั้นจะต้องราดน้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนผสมของ EM และพด.6 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยย่อยสลายจุลินทรีย์และเป็นการช่วยดับกลิ่นในคอกหมูด้วย

วัสดุที่ใช้กั้นเป็นคอกอาจจะใช้ไม้กั้นและทำเป็นโครงสำหรับมุงหลังคา แต่หากมีการเลี้ยงหมูจำนวนหลายตัว ให้ใช้อิฐบล็อคกั้นเป็นคอกก็ได้ การให้อาหารหมูจะใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป เสริมด้วยผักบุ้ง ผักกระเฉด กระถิน หรือเศษผักที่เหลือๆ ส่วนการให้น้ำมีการให้น้ำหมัก (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ) พด.2 ผสมกับน้ำให้หมูกิน เป็นการป้องกันท้องเสีย

คุณอาภา นุ่นทิพย์ สมาชิกกลุ่มและสมาชิกของครอบครัวศุภนิมิตฯ เล่าให้ฟังว่า คอกหมูถูกสร้างใกล้เล้าไก่ในพื้นที่สวนขนาด 27 ไร่ อันร่มรื่นของพี่จอย ที่เต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นต้นยางพารา ปาล์ม มังคุด ทุเรียน ตลอดจนพืชผักสวนครัวชนิดต่างๆ จำนวนมาก รวมไปถึงบ่อปลาที่ชุกชุมไปด้วยปลาดุก ปลานิลดำ ปลานิลแดง ปลาทับทิม ปลาสวาย ปลาซิว ปลาขี้ขม ซึ่งเป็นปลาที่พี่จอยบอกว่าหายากมากในธรรมชาติ จึงได้เลี้ยงไว้ขยายพันธุ์

"หลายคนคงมีประสบการณ์ของการเข้าไปคอกหมู จะได้กลิ่นของขี้หมูและแมลงวันก็บินว่อน จนทำให้เหมือนกับเป็นการบังคับให้ออกจากบริเวณนั้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเข้าไปในคอกหมูชีวภาพแล้ว พบว่าสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมากลับไม่มีเลย จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ใจ ที่ไม่มีกลิ่นรบกวนเลยตลอดเวลาเกือบชั่วโมงที่ได้ยืนพูดคุยข้างคอกหมูกับคุณจันทร์นิภา" สมาชิกกลุ่มคนเดิมให้รายละเอียดเพิ่ม

ส่วนการนอนของหมู คุณจันทร์นิภาได้เล่าว่า ก็เอาใจใส่ไม่แพ้คนเช่นกัน เพราะทุกเย็นจะคอยจุดตะไคร้น้ำหอมรอบๆ คอกเพื่อไล่ยุง เพราะหมูก็คงเหมือนคน เวลายุงกัดก็นอนไม่หลับ มดกัดก็นอนไม่หลับ ดังนั้น ภายในคอกจึงต้องคอยสังเกตว่ามีมดหรือไม่

"สำหรับพื้นคอกที่เป็นดินผสมแกลบจะนุ่ม ทำให้หมูนอนหลับสบาย แต่หากเป็นซีเมนต์จะแข็ง เวลานอนจะเจ็บตามตัว แล้วมันจะร้องเสียงดัง แล้วอีกอย่างหมูมีความสุขที่ได้อยู่กับพื้นแบบนี้ เพราะมันได้ขุดดินเป็นหลุม ได้ออกกำลังกายตามธรรมชาติของมัน จึงเรียกกันว่า หมูหลุม" หมอดินชุมชนกล่าว

ท้ายนี้ ขอขอบพระคุณมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยเป็นอย่างสูง ที่กรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูลและรูปเพื่อประกอบการเขียนในครั้งนี้

ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน







  การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ
 








http://www.kasetchonnabot.com/sites/default/files/u6/DSC07992_1.JPG


http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/images/stories/knowlege/pighold/pig05.jpg

"หมูหลุม"  เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ เกษตรกรรมธรรมชาติ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด


ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
* ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
* ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
* ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน
* ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช


การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
4. พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร
* คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
* คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว


ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
1. ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร
2. ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม
3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย

* ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
* ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน
* เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน
* รำละเอียด 1 ส่วน


ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม
แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
พันธุ์สุกร

ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม


การจัดการเลี้ยงดู
1. การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม
2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
3. น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
5. หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม


การให้อาหาร
ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) ซึ่งประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและ ปลาป่น หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอร์รี่หมักแทนปลาป่นก็ได้ โดยนำไปผสมกับอาหารข้นในตอนที่จะให้หมูกินอาหาร เมื่อหมูน้ำหนัก 30 กิโลกรัมขึ้นไป จะให้รำ ปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก ซึ่งพืชหมักคือ การนำเอาผักต่าง ๆ ต้นกล้วย ต้นถั่วเขียว กระถิน หรือหญ้าขน หญ้าเนเปียร์ มาหมักเป็นเวลา 7วัน และผสมกับปลาหมัก หรือหอยเชอร์รี่หมักเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุให้กับหมู แทนปลาป่น ด้านน้ำดื่มจะใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาหมัก เพื่อให้หมูกินตลอดเวลา การทำน้ำหมักชีวภาพจะทำมาจากส่วนผสม บอระเพ็ด ตะโกส้ม สาบเสือ ตะไคร้หอม และมะกรูด ช่วยดับกลิ่น และช่วยบำรุงสุขภาพของหมู จะมีการราดน้ำหมัก และกลบปุ๋ยคอก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 100 กก.


วิธีการทำอาหารหมักหมูหลุม
1. ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2. ผสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)
3. ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน

การนำอาหารหมักมาใช้เลี้ยงหมู
การนำอาหารหมัก โดยเฉพาะพืชหมัก ซึ่งเป็นอาหารเยื่อใยที่ตามปกติหมูจะย่อยได้น้อย แต่การนำมาหมักจะช่วยให้หมูใช้ประโยชน์จากพืชหมักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้เลี้ยงหมูควรคำนึงถึงอายุของหมูด้วย โดยมีหลักการใช้อาหารหมัก ดังนี้

* หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.)
ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวัน

* หมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.)
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน

* แม่หมูอุ้มท้อง
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน


การทำน้ำหมักสมุนไพร
น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน

วิธีการทำ
1. ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห
3. ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน

การนำมาใช้
ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร



บทความจาก ....บล็อคศูนย์สร้างสุขเกษตรชนบท จ.ราชบุรี....


http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=thanthai&board=5&id=16&c=1&order=numreply









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2726 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©