-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 400 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง








 

การเลี้ยงชันโรงบ้านสู่เกษตรกร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ดำเนินการศึกษาวิจัย และทดลองมาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปีมีองค์ความรู้มากมายหลากหลายด้านที่จะถ่ายทอดสู่ประชาชน ได้นำไปปฏิบัติ และจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กปร. และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ได้ทำข้อตกลงในการขยายผลสำเร็จจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเผยแพร่ไปยังเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
   
ในขณะเดียวกันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากผลงานวิจัยสู่ชุมชน เรื่องการเลี้ยงชันโรงบ้าน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยในช่วงปี 2552 ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการถ่ายทอดสู่เกษตรกร รวม 236 ราย จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
   
โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี มีผู้เข้าร่วมโครงการ 70 คน เป็นเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี  เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมในโครงการต้นกล้าอาชีพของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
   
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี มีผู้เข้าร่วมโครงการ 79 คน ประกอบด้วย เกษตรกรเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
   
และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนครมีผู้เข้าร่วมโครงการ 87 ราย ประกอบด้วยเกษตรกรจากจังหวัดสกลนคร ผู้เข้าร่วมอบรมต้นกล้าอาชีพและเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
   
สำหรับชันโรงหรือผึ้งจิ๋วนั้น เป็นผึ้งพื้นเมืองของไทยทำหน้าที่ผสมเกสรพืชทางการเกษตร พบได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่ปัจจุบันประชากรของผึ้งจิ๋วในธรรมชาติมีจำนวนลดลง ซึ่งเป็นผลจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งจิ๋ว รวมทั้งการทำลาย เผาป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งและการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช
 
ประโยชน์จากการเลี้ยงผึ้งจิ๋ว นอกจากจะช่วยผสมเกสรพืชทางเกษตรแล้วภายในรังของผึ้งจิ๋วประกอบ ไปด้วยน้ำผึ้ง เกสร ผึ้งและชันผึ้ง (โปร โปลิส) ด้วย น้ำผึ้งของผึ้งจิ๋วมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผึ้งชนิดอื่น ๆ ราคาจึงแพงกว่าหลายเท่าตัว น้ำผึ้งของผึ้งจิ๋วมีสีคล้ำกว่าน้ำผึ้งปกติ เนื่องจากผึ้งจิ๋วจะเก็บน้ำหวานจากดอกไม้หลายชนิด และภายในถ้วยน้ำผึ้งก็มีส่วนผสมของยางไม้ซึ่งมีสีคล้ำ ทำให้น้ำผึ้งมีสีเข้มไปด้วย ซึ่งต่างจากผึ้งที่จะเก็บเกี่ยวน้ำหวานจากดอกไม้เฉพาะที่ชอบ หรือให้น้ำหวานมากเท่านั้น สำหรับชันผึ้ง  (โปรโปลิส) ในผึ้งจิ๋วจะมีจำนวนมากกว่ารังผึ้งทั่วไป เพื่อใช้สร้างรัง โดยการนำไปอุดตามรอยโหว่ รอยแตก หรือสำหรับสร้างชั้นป้องกันภัยโดยการปิดทับชันผึ้งหลายชั้นโดยเฉพาะปากทางเข้าออก ทำให้บริเวณนั้นเหนียวเหนอะหนะจึงป้องกันการบุกรุกของศัตรูจากภายนอกได้ดี
   
การเลี้ยงผึ้งจิ๋วนอกจากจะเลี้ยงเอา  ไว้ผสมเกสรของพืชเป้าหมายแล้ว ยังให้ผลิตภัณฑ์ คือชันผึ้งเหลวในรัง ที่สามารถเก็บรวบรวมมาใช้เป็นสมุนไพรได้ด้วย เพราะตัวผึ้งจิ๋วจัดเป็นตัวสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ดี โดยมีน้ำย่อยและสัญชาตญาณรู้ว่าพืชชนิดใด ส่วนใดมีสารที่นำมาฆ่าเชื้อโรคในรังของผึ้งจิ๋วได้ ผึ้งจิ๋วมีพฤติกรรมออกเก็บรวบรวมชันผึ้งเหลวทุกวัน และสามารถบังคับ ผึ้งจิ๋วออกหากินในรัศมีไม่เกิน 300 เมตรได้ โดยรอบ ๆ ปลูกพืชสมุนไพรที่คัดเลือกว่ามีสารออกฤทธิ์ทางยาจะเป็นการดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อนำน้ำผึ้งชนิดนี้มาผสมกับพืชสมุนไพรเป็นตัวยา สมุนไพรไทยก็จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
   
นับได้ว่าการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยว กับผึ้งจิ๋วที่กำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกรในขณะนี้นั้นจะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งที่ไม่เพียงแต่เพิ่มรายได้แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและการอนุรักษ์ผึ้งจิ๋วให้มีปริมาณมากขึ้น อีกด้วย.

tidtangkaset@dailynews.co.th


ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1588 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©