-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 333 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





.....




วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงจิ้งหรีด 


 



จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่
และ แข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้ จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่าง

จากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพสเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร เพราะมีโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ ในธรรมชาติจะหาจิ้งหรีดมาเพื่อบริโภคได้ไม่มากนัก บางฤดูมีมาก บางฤดูแทบจะหาไม่ได้เลย เช่นฤดูหนาว จิ้งหรีดจะขนายพันธุ์ช้า หากมีการจัดการที่ดี จะมีจิ้งหรีดไว้บริโภคหรือจำหน่ายได้ตลอด



ชนิดของจิ้งหรีด
จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด
1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกล้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามะรรมชาติมี 3 สี คือ สีดำ สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด
2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมต้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น
3. จิ้งหรีดเล็ก มีขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด เป็นต้น ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทอดแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนี่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง

4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น
5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครี่งตัว และชนอดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองดแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง



ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค
3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
4. เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็น ปลา และอื่น ๆ
5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
6. เพื่อการกีฬา เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา



ชีววิทยาของจิ้งหรีด
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย รูปร่างลักษณะเป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม
ลำตัวกล้างงบประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทอดงแดงลายแต่เล็กกว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง ลักษณะนิสัย กินอาหารเก่ง โตไว ไม่ชอบบิน
เดินนุ่มนวลน่ารัก



วงจรชีวิต
ไข่ มีสีขาวนวล ลักษณะเรียวยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร ไข่เมื่อฟักนาน ๆ จะมีสีเหลือ และดำ ก่อนจะฟักออกเป็นตัวอ่อน ใช้เวลาประมาณ 13 -14 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวประมาณ 20 วันตัวอ่อน ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีครีมต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำและมีลายม่วง มีการลอกคราบ
7 ครั้ง ระยะตัวอ่อนประมาณ 40 วันตัวเต็มวัย อายุ 40 วันขึ้นไป มีสีน้ำตาลเข้ม ตัวเล็กกว่าพันธุ์ทองแดง



ความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมีย
เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น สามารถทำให้เกิดเสียงได้ โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน เสียงที่จิ้งหรีดทำขึ้น เป็นการสื่อสารที่มีความหมายของจิ้งหรีด เพศ เมีย ปีกคู่หน้าเรียบ และมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลม คล้ายเข็มยาวประมาณ 1.50 ซม. การทำเสียงของเพศผู้ เกิดจากการใช้ปีกคู่หน้าถูหรือสีกัด ปกติปีกจะทัยกันเหนือลำตัว เพศผู้ปีกขวาจะทับปีกซ้าย ส่วนเพศเมียปีกซ้ายจะทัยปีกขวา เวลาร้องจะยกปีกคู่หน้าขึ้นใช้ขอบของโคนปีกซ้ายูหรือสีกับฟันซี่เล็ก ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวที่โคนด้านในของปีกขวาพร้อม ๆ กับการโยกตัว เสียงร้องจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของจิ้งหรีดในขณะนั้น เช่น



ลักษณะ แสดงพฤติกรรม
1. กริก…กริก…กริก…นานๆ อยู่โดนเดี่ยว ต้องการหาคู่ หรือหลงบ้านบางครั้งพเนจรร้องไปเรื่อย ๆ
2. กริก…กริก…กริก..เบา ๆ และถี่ ติดต่อกัน ต้องการผสมพันธุ์ ตัวผู้จะท้ายหลังเข้าหา ตัวเมีย เพื่อขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์
3. กริก…กริก…กริก..ยาวดัง ๆ 2 – 3 ครั้ง โกรธ หรือแย่งความเป็นเจ้าของ
4. กริก…กริก..กริก..ลากเสียงยาว ๆ ประกาศอาณาเขต หาที่อยู่ได้แล้ว



การผสมพันธุ์
เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็ววัยประมาณ 3-4 วัน ก็จะเริ่มผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย ตอนแรกจะส่งเสียงดังและร้องเป็นช่วงยาว ๆ เพื่อให้ตัวเมียเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ จิ้งหรีดจะอาศัยเสียงร้องเท่านั้น จึงจะเห็นเพศตรงข้าม เนื่องจากสายตาไม่ดี หนวดรับการสัมผัสไม่ค่อยดี จะสังเกตได้ เมื่อตัวเมียเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตัวผุ้จะเดินผ่านไปทั้ง ๆ ตัวเมียอยู่ใกล้ เมื่อพบตัวเมียแล้วเสียงร้องจะเบาลงเป็นจังหวะสั้น ๆ กริก..กริก..กริก.. ถอยหลังเข้าหาตัวเมีย เพื่อให้ตัวเมียขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์ ใช้เวลาประมาณ
10–15 นาที โดยตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศเมีย แล้วปล่อยถุงน้ำเชื้อมี


ลักษณะ
ปลายเป็นลูกศรออกไปติดที่อวัยวะเพศเมีย หลังจากนั้น ถูงนำเชื้อจะฝ่อลง ตัวเมียจะใช้ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป



การวางไข่
หลังากผสมพันธุ์แล้ว 3-4 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็ม
ความยาวประมาณ 1.50 ซม. แทงลงไปในดินลึก 1-1.50 ซม. และวางไข่เป็นกล่ม ๆ ละ 3–4 ฟอง ตัวเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 1,000–1,200 ฟอง ปริมาณไข่สูงสุดช่วงวันที่ 15-16 นับจากการผสมพันธุ์ จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จนหมดอายุขัย



วัสดุ อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. บ่อจิ้งหรีด วัสดุที่จะนำมาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง เช่น บ่อซีเมนต์ กะละมัง ปิ๊ป โอ่ง ถังน้ำ เป็นต้น
2. เทปกาวใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ ใช้พลาสติกกว้างประมาณ 5 ซม. ให้ยาวเท่าเส้นขอบวง
3. ยางรัดปากวง ใช้ยางในรถจักรยานยนต์ ตัดให้มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอก เพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง
4. ตาข่ายไนล่อนสีเขียว เป็นตาข่ายสำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและ ป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีดตัดให้มีขนาดใหญ่กว่าบ่อจิ้งหรีดเล็กน้อย
5.วัสดุรองพื้นบ่อ ใช้แกลบใหม่ๆ รองพื้นหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
6.ที่หลบภัย ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว อาศัยอยู่ เช่น ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ เข่งปลาทู
7. ถาดให้อาหาร ควรเป็นถาดที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดได้กินอาหารได้สะดวก
8. ภาชนะให้น้ำ ใช้ที่ให้น้ำสำหรับลูกไก่และต้องมีหินวางไว้สำหรับให้จิ้งหรีดเกาะได้ไม่ตก น้ำ
9. ถาดไข่ สำหรับใช้เป็นที่วางไข่โดยใช้ขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป วัสดุที่ใส่ ใช้ขี้เถ้าแกลบดำ รดน้ำให้ชุ่ม



การจัดการ
1. สถานที่เลี้ยง ต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น โรงเรือนเลี้ยง ใต้ถุนบ้าน ชายคา บ้าน เป็นต้น
2. พ่อแม่พันธุ์จิ้งหรีด ได้จากจิ้งหรีดตัวเต็มวัยที่ผสมพันธุ์แล้ว โดยไม่ต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ใน 1 บ่อ มี ประมาณ 8,000 ตัว
3. การขยายพันธุ์ วางถาดไข่สำหรับวางไข่ 4-6 อัน ย้ายถาดไข่ออกวางถาดไข่อันใหม่อีก 4-6 อัน จะได้จิ้งหรีด ที่เป็นรุ่นเดียวกัน ใน 1 บ่อ สามารถวางถาดไข่ได้ 2-3 ครั้ง
4. การให้น้ำให้ดูขวดที่ใส่น้ำถ้าแห้งให้เติมใหม่ ถ้าสกปรกให้ล้างออก หรือใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็น ท่อนๆ แตงกวา ชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงโม น้ำเต้า ให้จิ่งหรีดดูดกินน้ำ เมื่อตัวเล็กๆ
5. การให้อาหาร อาหารหลักได้แก่ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาด กะหล่ำ หญ้า มะละกอ อาหารรองใช้อาหารไก่เล็ก ผสมกับแกลบอ่อน อัตรา 1: 1 เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50 วัน พร้อมที่จะนำมาบริโภคและจำหน่ายต่อไป
6. เมื่อจับจิ้งหรีดในบ่อแล้ว ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงโดยการเก็บวัสดุรองพื้นบ่อออกให้หมด ส่วนขวดน้ำ ถาดอาหาร ถาดไข่ ที่หลบภัย ทำความสะอาดสามารถนำมาใช้ได้อีกค่าตอบแทน



โรคและศัพตรูของจิ้งหรีด
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูรบกวนมากนัก ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการกำจัด ซึ่งจะเป็ฯอันตราต่อจิ้งหรีดและผู้บรืโภค

โรคทางเดินอาหาร เกิดจากจิ้งหรีดได้รับอาหารที่ไม่สะอาด เกิดเชื้อรา วิธีป้องกัน คือ การให้อาหารที่มีจำนวนพอเหมาะกับจำนวนจิ้งหรีดเมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรทำ ความสะอาดบ่อก่อนนำจิ้งหรีดรุ่นใหม่มาเลี้ยง

สัตว์ศัตรู เช่น มด จิ้งจก ไร แมงมุน ป้องกันโดยโช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด



ต้นทุน การเลี้ยง 1 บ่อ ไม่รวมอุปกรณ์การเลี้ยง
- ค่าอาหารไก่ 3 กก. ละ 16 บาท รำอ่อน 3 กก. ๆละ 8 บาท รวม 72 บาท
- ค่าแรงในการจัดการเลี้ยง 100 บ่อ แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2 เดือน คิดเฉลี่ยทำงานวันละ 1 ชม. = 7.5 วัน คิดเป็นเงิน 9.75 บาท
- ค่าพันธุ์จิ้งหรีด 120 บาท รวมบ่อละ 201.75 บาท
รายได้ จิ้งหรีด 1 บ่อ จะได้ประมาณ 2-3 กก. ๆละ 150-200 บาท รวมบ่อละ 300-600 บาท
ถาดไข่ 4 อันๆละ 60 บาท รวม 240 บาท
รายได้ 1 บ่อ ประมาณ 338.25-638.25 บาท





http://www.eazydo.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94/








การเลี้ยงจิ้งหรีด

การเลี้ยง จิ้งหรีด
การเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม

เมื่อจิ้งหรีดเจริญเติบโตเต็มวัยจะมีการผสมพันธุ์และวางไข่ในแต่ละรุ่นใช้ เวลาประมาณ 15 วันต่อครั้งต่อรุ่น เมื่อวางไข่รุ่นสุดท้ายตัวเมียจะตาย จากการศึกษาการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบประสบการณ์ของ ครูณรงค์ ปัตโชติชัย โรงเรียนบ้านนาจาน ต.บ้านโพน อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร พบว่าวิธีการผสมพันธุ์ของจิ้งหรีดนั้น ตัวผู้จะทำเสียงโดยยกปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงเพื่อเรียก ตัวเมีย จังหวะเสียงจะดังเมื่อตัวเมียเข้ามาหาบริเวณที่ตัวผู้อยู่ ตัวผู้จะเดินไปรอบ ๆ ตัวเมีย 2-3 รอบ ตัวเมียจะขึ้นคร่อมตัวผู้
 

หลังจากนั้นตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศไปที่อวัยวะเพศตัวเมีย ประมาณ 14 นาทีถุงน้ำเชื้อก็จะฝ่อลงแล้วตัวเมียจะใช้ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป ระยะตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สามารถแยกเพศจิ้งหรีดได้อย่างชัดเจน เพศผู้จะมีปีกคู่หน้าย่น สามารถทำให้เกิดเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกันจะทำให้เกิดเสียง ส่วนเพศเมียจะมีปีกคู่หน้าเรียบและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มที่ยื่น ออกมาจากส่วนท้อง
 

การวางไข่ของตัวเมียจะใช้อวัยวะวางไข่ที่ยาวแหลมคล้ายเข็มแทงลงไปในดิน ลักษณะไข่ของจิ้งหรีดจะมีสีขาวเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ใช้เวลาฟักตัวอยู่ใต้ดินนานประมาณ 10-14 วันจะออกเป็นตัวอ่อน ตลอดอายุของจิ้งหรีดตัวเมียสามารถวางไข่ได้เฉลี่ย 600-1,000 ฟอง จะวางไข่เป็นรุ่น ๆ ประมาณ 4 รุ่น และในการวางไข่แต่ละรุ่นจะใช้เวลาห่างกันประมาณ 15 วัน เมื่อถึงระยะจิ้งหรีดจะวางไข่ ให้นำเอาถาดทรายใส่น้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ มาวางให้จิ้งหรีดไข่ โดยใช้เวลาประมาณ 1 วัน ก็นำ เอาถาดทรายออกไปใส่ไว้ในกล่องเปล่าเพื่อรอการฟักตัวของไข่ เมื่อจิ้งหรีดฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ให้นำเอาผ้าชุบน้ำใส่ถาดมาวางไว้ให้จิ้งหรีดดูดกินและเอาถาดใส่หัวอาหารมา วางไว้ให้กิน


ครูณรงค์ยังได้อธิบายขั้นตอนในการเลี้ยงจิ้งหรีดเล็กในกล่องฟิวเจอร์บอร์ด แผ่นใหญ่ ซึ่ง จะง่ายต่อการดูแลโดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาความสะอาดเพราะไม่มีดิน, ทรายและเศษหญ้าเหมือนที่เลี้ยงในท่อ จิ้งหรีดวัยอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ นั้นจะมีลักษณะคล้ายมดและมีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 8 ครั้ง จึงจะเป็นตัวเต็มวัยอาหารที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเล็กนั้น จะใช้หัวอาหารไก่เนื้อระยะแรกเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก่อนนำออกจำหน่าย 1-2 วันจะให้รำอ่อนมา กินแทน การให้น้ำและอาหารจะให้ตลอดเวลาหรือเห็นว่าใกล้จะหมดก็จัดการให้ใหม่ทันที จิ้งหรีดที่ออกจากไข่เลี้ยงไปจนตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน


โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม


สรุปสภาพโรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม หลังคามุงด้วยสังกะสี ฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นใหญ่ นำมาตัดด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ยาวด้านละ 30 เซนติเมตร พับขึ้นทั้ง 2 ด้านให้เป็นกล่อง มีกระป๋องน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่เล็ก, ถาดผลไม้พลาสติกใส่ทรายเพื่อให้จิ้งหรีดไข่และถาดใส่อาหาร.



ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
dailynews 

http://news.enterfarm.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2118 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©