-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 213 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





การเลี้ยงไก่พื้นเมือง



การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 0-6 สัปดาห์
ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นต้องมีการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟัก ให้ทำการตัดปากบนออก 1 ใน3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่เพื่อให้ไก่อบอุ่นด้วยอุณหภูมิ 95 องศา F ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศา F กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ 
   
ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และว่างอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 ขวด ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ และโรคฝีดาษ เมื่อลูกไก่อายุ 1-7 วัน 
 
  
การให้อาหารลูกไก่ ระยะกก (1-14 วันแรก)
ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่ให้อย่างเหลือเฟือจนเหลือล้นราง ซึ่งเป็นเหตุให้ตกหล่


การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 7-16 สัปดาห์
การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-16 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.4 ตารางฟุต หรือไก่ 8 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย เลี้ยงปนกัน การเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง จะต้องเลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ มีอาหารในถังและรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถึงที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 24-32 ลิตร ต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ฉีดเมื่อลูกไก่อายุครบ 8 สัปดาห์
   
แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่กว้าง เช่น ในไร่นา หรือที่สวนปลูกไม้ผลหรือมีแปลงหญ้า ก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติแล้วเสริมอาหารผสมในเวลาเย็นใกล้ค่ำ และงดให้อาหารเช้าเพื่อบังคับให้ไก่ไปหากินเอง ถ้าเราให้อาหารเช้าไก่จะไม่ออกหากิน ดังนั้นจึงเปลี่ยนให้อาหารเวลาเย็นเวลาเดียวให้กินจนอิ่มเต็มกระเพาะ ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา ทำการป้องกันโรคระบาดนิวคาสเซิลโดยการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 16 สัปดาห์


การเลี้ยงไก่สาวอายุ 17-26 สัปดาห์
การเลี้ยงไก่สาว อายุ 17-26 สัปดาห์ เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตร เลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภทพิพเพอราซิน ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้ายคือ อาบน้ำยาให้ฆ่าเหาไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผงชื่อ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ยาชุนโทนหรือนูกาวอนก็ได้  นำไก่ลงจุ่มน้ำ ถูให้ขนเปียกจนถั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่จุ่มลงในน้ำก่อนหนึ่งครั้งเป็นอันเสร็จวิธีการฆ่าเหาไรไก่
    
การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน สุ่มชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตราฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอๆ เมื่อเห็นว่าพื้นคอกเปียกชื้น แฉะ การรักษาพื้นคอกไม่ให้ชื้น และแห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไก่ ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องสร้างคอกไก่ให้สามารถระบายอากาศได้ดี มีลมผ่านพัดความชื้นออกไป และมีอากาศเย็น และสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรจะมืดทึบ อับลม อับแสง
    
สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่เลี้ยงกว้าง เช่น ในไร่นา สวน สามารถปล่อยไก่ได้ แนะนำให้ปล่อยหากินเองตามธรรมชาติจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลงมาก เราเพียงเสริมอาหารเฉพาะในเวลาเย็นครั้งเดียวก็พอ เสริมในปริมาณ 70-75% ของอาหารที่เลี้ยงแบบขังคอก แต่จะต้องมีน้ำใส่ภาชนะให้ไก่ได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงปล่อยแปลงไก่จะแข็งแรง และไม่จิกขนกัน ไก่จะดูสวยงามขนเป็นมัน เลี้ยงปล่อยแปลงไปจนกว่าแม่ไก่เริ่มไข่ จึงเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นอาหารไก่ไข่หรือไก่พันธุ์ 
    
การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้จะต้องให้ไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนด และอัตราการไข่ทั้งปีไม่ไดี แต่จะดีเฉพาะใน 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้น แสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้อง กล่าวคือ ในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีนาคม-ตุลาคม เราไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำหรือกลางคืน โดยหลักการแล้ว แสงสว่างธรรมชาติ 8-12 ชั่วโมง เป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้า ส่วนฤดูหนาวที่ตะวันตกดิน และมืดเร็ว จำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่มแต่รวมแล้วไม่ให้เกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิล ที่ระดับตัวไก่การให้อาหารไก่สาวแบบขังคอก จะต้องจำกัดให้ไก่สาวกินอาหารตามตารางที่ 5 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เวลา 07.00-08.00 น. และบ่ายเวลา 14.00-15.00 น.  ให้กินน้ำตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่ายเวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12%  พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 0.90%  ฟอสฟอรัส 0.45%  เกลือ 0.55%  และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ



การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 26-72 สัปดาห์
1.ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุประมาณ 6-7 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ให้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่ รวมทั้งเพิ่มแคลเซียม จากเดิม 0.90% เป็น 3.75%  ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ 0.35%  เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 7)  ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่พันธุ์ แต่มีธาตุแคลเซียมต่ำกว่า คือ 0.90% และฟอสฟอรัส 0.45% เท่าๆ กับอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่จึงไม่จำเป็นจะต้องให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง และอีกประการหนึ่ง การให้ธาตุแคลเซียมสูงเช่นเดียวกับแม่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับแม่พันธุ์นั้น มีผลต่อการผลิตน้ำเชื้อมีปริมาณลดลง มีเปอร์เซนต์การผสมติดลดลง ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารไก่พ่อแม่พันธุ์ จำนวนอาหารที่แม่ไก่กินอยู่ระหว่าง 70-80 กรัม/ตัว/วัน การให้อาหารมากกว่นี้ เช่น วันละ 90-100 กรัม แม่ไก่จะอ้วนมาก ไข่ลดลง
   
2.แสงสว่าง มีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่ การให้แสงสว่างไม่เพียงพอ แม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ แสงสว่างที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟตแคนเดิลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน หากมากกว่านี้จะไม่เป็นผลดี ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา กระจัดกระจาย บางครั้งไข่กลางคืน ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก 
 
  
การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14.00 น. ทุกๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่ เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง จนถึงวันสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง  การให้แสงด้วยหลอดไฟนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่า สำหรับสีของแสงควรเป็นสีขาว เพราะหาได้ง่ายราคาถูกและให้ผลดีกว่าสีอื่นๆ




พลิกโฉมเลี้ยงไก่พื้นเมือง ปรับโรงเรือนสู่มาตรฐาน...

ไก่พื้นเมือง เป็นสัตว์ปีกที่อยู่ร่วมกับเกษตรกรไทยเป็นเวลาช้านาน   ผลผลิตในการเลี้ยงส่วนหนึ่งใช้บริโภคในครัวเรือน ที่เหลือส่วนใหญ่ก็นำไปขายเป็นรายได้ในครอบครัว ในขณะที่ไก่พื้นเมืองตัวผู้บรรดาพ่อบ้านก็นำไปพัฒนาเป็นไก่ชนซึ่งปัจจุบันมีราคาที่แพงมากบางพันธุ์มีราคาสูงหลักแสน ปัญหาคือการเลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงตามยถากรรม คือปล่อยให้เดินหากินอาหารเองจากธรรมชาติในบริเวณบ้านกลับเข้าเล้าหรือโรงเรือนในตอนเย็นและยังมีอยู่บางส่วนที่ไม่มีเล้าหรือโรงเรือนจะนอนตามต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะนี้ นอกจากทำให้ผลผลิตต่ำแล้วยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคระบาดโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก  
   
ขณะนี้ กรมปศุสัตว์กำลังพลิกโฉมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองจากเลี้ยงตามยถากรรม สู่การพัฒนาการเลี้ยงแบบมาตรฐานที่ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่น  ซึ่งนอกจากทำให้เพิ่มมูลค่าการผลิตแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยงและผู้บริโภคปลายทางอีกด้วย  
   
นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่ลดความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่นในไก่พื้นเมืองอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มผลผลิตของไก่พื้นเมืองให้สูงขึ้นและมีสุขภาพดี ทนทานต่อโรครวมถึงให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงการจัดการที่ถูกต้อง โดยจัดทำเป็นฟาร์มสาธิตประจำอำเภอทุกอำเภอ อำเภอละ 2 แห่งทั่วประเทศ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมืองรายอื่นในอำเภอทั่วประเทศ
     
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรด้านการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม รวมถึงการดูแลด้านสุขภาพสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นและปลอดภัยจากโรคระบาดใน รูปแบบการสร้างฟาร์มสาธิตการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่สามารถป้องกันโรคระบาดสัตว์ปีกได้ขึ้นในชุมชนทุกอำเภอทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นตัวอย่างหรือแนวทางให้กับเกษตรกรที่ อยู่ในชุมชนเดียวกันได้นำไปใช้ปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ปีกของตนเอง
   
รวมทั้งช่วยสร้างเกษตรกรเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์ปีกในระดับพื้นที่ ให้เป็นผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ  รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความ รู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปยังเกษตรกรรายอื่นหรือกลุ่มเกษตรกรในชุมชนให้สามารถเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดภัยจากโรคระบาด และเพิ่มรายได้ในครัวเรือนจากการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมืองไม่ว่าจะเลี้ยงเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรอง และช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งด้านการป้องกันโรคระบาดสัตว์ปีกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรกร ที่มีความรู้และมีความตื่นตัวตลอดเวลา รวมทั้งการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกอีกด้วย  
   
ด้าน นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์  กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาโรคระบาดในไก่พื้นเมืองบ่อยครั้ง  ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล โรคฝีดาษ โรคอหิวาต์สัตว์ปีก เป็นต้น มีความสำคัญทำให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งทำให้เกิดผลกระทบด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก ซึ่งนอกจากจะทำให้สัตว์ปีกป่วยตายเป็นจำนวนมากแล้วยังสามารถติดต่อสู่คนและทำให้คนเสียชีวิตได้อีกด้วย โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ตรวจพบโรคไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองของเกษตรกร 1,068 ราย คิดเป็น ร้อยละ 58.97
              
  กรมปศุสัตว์มีความมั่นใจว่าเมื่อเกษตรกรนำเอาแนวทางของโครงการฯ นี้ ไปใช้จริง จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคมากขึ้น รวมทั้งส่งผลให้ประสิทธิภาพการแจ้งโรคจากพื้นที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์การระบาดของโรคในที่สุด และนำไปสู่การปลอดการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่น ๆ ในประเทศไทยก็ได้.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1666 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©