-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 434 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง




หน้า: 1/2


แพะเพื่อชีวิต ของครอบครัวศิริพัฒน์

เพราะล้มเหลวกับอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ฮินดูบราซิล ที่ต้องประสบปัญหาราคาโคตกต่ำ จนไม่สามารถแบกรับภาระได้ไหวจึงทำให้ อาจารย์สถาพร ศิริพัฒน์ ตัดสินใจที่จะเลือกเข้าสู่อาชีพการเลี้ยงแพะ และสามารถก้าวมาสู่ความสำเร็จได้ในวันนี้ เกิดทั้งอาชีพเสริมและรายได้ให้กับครอบครัว

"แต่ก่อนนี้ก็นึกว่าเลี้ยงโคแล้วจะไปได้ดี เพราะช่วงนั้นราคาดีมาก จึงตัดสินใจนำเงินก้อนที่เก็บไว้ มาซื้อโคพ่อพันธุ์เข้ามา แต่ปรากฏว่าพอเราลงมือปุ๊บ ก็เจอภาวะโคราคาตก ขาดทุนไปพอสมควร" อาจารย์สถาพร กล่าวถึงสิ่งที่ได้ประสบ

แม้จะเจอปัญหา แต่ไม่ท้อ อาจารย์สถาพรเริ่มมองหาสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่เขาจะสามารถเริ่มต้นด้วยอีกครั้ง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้เสริมให้กับครอบครัว นอกเหนือจากรายได้หลักที่มาจากเงินเดือนในตำแหน่งครู 2 สาระภาษาต่างประเทศ ของโรงเรียนสูงเนิน

วันนี้จึงกล่าวได้ว่า แพะ เป็นสัตว์ศรษฐกิจที่พลิกชีวิตครอบครัวศิริพัฒน์อย่างแท้จริง...

"พอดีไปอ่านในหนังสือเจอเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงแพะ ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่เคยสนใจ ไม่เคยเข้าไปสัมผัสกับอาชีพนี้เลย แต่พอได้อ่านหนังสือแล้ว จึงเกิดความสนใจ คราวนี้จึงได้เดินทางไปยังฟาร์มเลี้ยงแพะเพื่อขอคำปรึกษา และสุดท้ายได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะของชมรมผู้เลี้ยงและพัฒนาแพะแกะ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งทำให้เราได้ความรู้เป็นอย่างมาก จนตัดสินใจทำฟาร์มเลี้ยงแพะในนาม อมตะฟาร์ม มาถึงวันนี้"

โดยอมตะฟาร์มนั้น ตั้งอยู่ที่ 293 หมู่ที่ 1 ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โทร. (086) 245-8482 ซึ่งในวันที่อาจารย์สถาพรต้องไปสอนหนังสือ ภาระในฟาร์มทั้งหมดจะอยู่ในการดูแลของคุณวาสนา ผู้เป็นภรรยา

แม้จะเริ่มต้นด้วยความไม่รู้เกี่ยวกับการเลี้ยงแพะเลย แต่ไม่ใช่สิ่งยาก ที่อยู่นอกเหนือการเรียนรู้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจารย์สถาพรได้เรียนรู้ทั้งจากประสบการณ์ของตนเอง จากการทำฟาร์ม และการเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนเกษตรกรที่มีความชำนาญเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะอย่างต่อเนื่อง จนในวันนี้กล่าวได้ว่า อาจารย์สถาพรเป็นคนหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะเป็นอย่างยิ่ง

ในวันนี้ อาจารย์สถาพรได้เน้นการทำฟาร์มในรูปแบบของฟาร์มจำหน่ายแพะพันธุ์ โดยเน้นการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ดีที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเลี้ยง เพื่อผลิตลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพ เพราะเขามองว่าจุดสำคัญของเกษตรกรที่จะเข้ามาเริ่มต้นในอาชีพการเลี้ยงแพะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการเริ่มจากพันธุ์แพะที่ดี

"เพราะเรามีประสบการณ์กับความล้มเหลวในการเริ่มต้นมาก่อน จากที่แรกๆ นั้น ได้เดินทางไปดู ไปถาม ก็ได้คำแนะนำมาเป็นที่พอใจ แต่เมื่อเราลงทุนจริงๆ กลายเป็นว่า สิ่งที่เขาบอกว่า เลี้ยงแล้วจะได้ 10 นั้น จริงๆ มีเพียงแค่ 2 เขาไม่ได้บอกเรื่องจริงเราทั้งหมด ผมนำแพะเข้ามาเลี้ยง 30 ตัว ในครั้งแรก ปรากฏว่าเลี้ยงไม่กี่เดือนตายไปแล้ว 7 ตัว ทำให้เราต้องเสียทั้งเงินและเวลา และผลที่ได้รับก็ไม่เหมือนกับที่คิดไว้ ถ้าเป็นคนอื่นอาจท้อ แต่ผมไม่ ผมสู้ต่อ"

ด้วยประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง อาจารย์สถาพรจึงตั้งปณิธานว่า หากต่อไปมีเกษตรกรรายใดที่สนใจจะเลี้ยงแพะแล้ว อาจารย์สถาพรจะต้องให้ข้อมูลข้อเท็จจริง มาศึกษาแล้วต้องไปเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จ ไม่ต้องผิดหวังเหมือนกับที่อาจารย์สถาพรเคยประสบ

ดังนั้น ในวันนี้ อมพตะฟาร์ม จึงเป็นฟาร์มอีกแห่งหนึ่งที่มีเพื่อนเกษตรกรผู้สนใจเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงแพะมาดูงานอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำฟาร์มแพะแล้วเป็นจำนวนไม่น้อย

โดยที่อมตะฟาร์มในวันนี้ มีจำนวนแพะขนาดต่างๆ ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 100 ตัว โดยในจำนวนนี้เป็นแพะพ่อพันธุ์ดี จำนวน 4 ตัว ประกอบด้วย ขุนคลัง มีเงิน นำโชค เป็นต้น

ส่วนสนนราคาที่จำหน่ายแพะในฟาร์มนั้น อาจารย์สถาพรบอกว่า จะขึ้นอยู่กับสายเลือด ขนาด ความสมบูรณ์ โดยราคาอย่างแม่พันธุ์จะมีตั้งแต่ราคา 2,500 บาท ขึ้นไป

"เรื่องของสายพันธุ์นั้น ผมคิดว่าอย่างไรเสีย พันธุ์พื้นฐานที่ต้องมีอยู่แน่นอนคือ พันธุ์ซาแนน เพราะเราต้องการนมมาเลี้ยงลูกด้วย เมื่อแพะเรามีสายพันธุ์ซาแนนผสมแล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพในเรื่องการให้นมดี จากนั้นเราจะนำสายพันธุ์แพะแบบไหนมาใส่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องพิจารณาตามเป้าหมายที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ในส่วนของสายพันธุ์ซาแนนที่ผสมนั้น ควรมีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นการดีที่สุด"

"ด้วยประสบการณ์ที่ผมมีมานั้น วันนี้หากมีคนมาปรึกษาเกี่ยวกับการเริ่มต้นอาชีพการเลี้ยงแพะ ผมอยากให้เขาทำควบคู่กันไประหว่างการเลี้ยงแพะขุนและทำแพะสายพันธุ์ออกขาย จะเป็นสิ่งที่ทำให้มีรายได้เร็ว และต้นทุนก็ไม่ต้องสูง ในรอบปีคุณก็จะสามารถขายได้หลายครั้ง ตรงนี้จะช่วยให้การทำฟาร์มประสบความสำเร็จ" อาจารย์สถาพรกล่าว

สำหรับการจัดการฟาร์มแพะนั้น อาจารย์สถาพรบอกว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญมากประกอบด้วย สายพันธุ์ และความสะอาดของฟาร์ม

"เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมีความจริงใจกับคนอื่น ดังนั้น ในเรื่องของสายพันธุ์ เราจึงเน้นคัดเฉพาะแพะพันธุ์ดีจริงๆ ตัวไหนดีเราก็บอกดี ตัวไหนไม่ดีก็บอกไม่ดี ไม่โกหกไม่หลอกลวงกัน ไม่อยากให้เป็นเหมือนที่ผมเคยโดนมา ดังนั้น ในเรื่องสายพันธุ์ เราจึงให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง"

"ส่วนเรื่องของความสะอาด ผมได้รับคำแนะนำมาจากลุงเป้ง ที่เป็นประธานชมรมฯ แพะแกะมวกเหล็ก เพราะการที่คอกของเราสะอาด จะมีผลดีต่อแพะที่เลี้ยง รวมถึงผลดีต่อผู้เลี้ยงและผู้มาเยี่ยมเยือนเรา ผมจะกวาดคอกทุกวัน เช้า-เย็น รวมถึงการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกัน โดยจะใช้ปูนขาวสาดให้ทั่ว หรือถ้าให้มั่นใจมากขึ้นก็จะใช้ยาฆ่าเชื้อมาฉีดพ่น เพราะถ้าเราไม่ทำให้คอกสะอาดแล้ว ผลที่ตามมาคือ โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อนั้นเราจะเกิดความสูญเสียอย่างไม่คาดคิด"

อีกจุดที่น่าสนใจในฟาร์มแห่งนี้คือ การใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นในเรื่องของอาหาร ซึ่งสำหรับอาหารหยาบนอกจากจะใช้หญ้าจากแปลงที่ปลูกเองแล้ว ยังเก็บกระถินมาให้แพะกินเป็นหลักด้วย ส่วนอาหารข้นจะซื้อสิ่งเหลือใช้จากการทางเกษตรมาผสมให้แพะกิน เช่น ฝุ่นข้าวโพด กากมันสำปะหลัง เปลือกถั่วเขียว กากเต้าหู้ เป็นต้น

"แพะนั้นกินอาหารได้เป็นร้อยชนิด ซึ่งในส่วนของอาหารข้นเราจะให้เสริมหลังจากที่กินอาหารหยาบแล้ว โดยให้กินพอประมาณตามความต้องการ อย่าให้มากจนแพะกลายเป็นหมู ซึ่งเราจะให้อะไรกินนั้น ขอให้พิจารณาในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงที่สามารถซื้อหาได้สะดวกและราคาไม่แพง แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าแต่ละตัวที่จะให้นั้นมีคุณค่าทางอาหารอย่างไรด้วย เหมาะสมกับแพะหรือไม่ เรื่องอาหารผมว่าเป็นอีกจุดที่คนทำฟาร์มสามารถลดต้นทุนได้ หากรู้จักที่จะศึกษาว่าอะไรที่เรามีอยู่แล้ว มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้ได้" อาจารย์สถาพร กล่าว

"ตอนนี้มีคนสนใจหันมาเลี้ยงแพะกันมากขึ้น ซึ่งผมเห็นว่าในวันนี้หากมีทุนแล้ว แพะ นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีอนาคตและตลาดไม่มีปัญหา ซึ่งอย่างที่ฟาร์มของผมเองและของเครือข่ายของผม ก็จะมีตลาดที่ทางชมรมฯ แพะแกะมวกเหล็ก ประสานให้เข้ามารับซื้ออยู่ตลอดเวลา ซึ่งวันนี้บอกได้เลยว่า แพะที่เลี้ยงกันอยู่นั้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการ" อาจารย์สถาพร กล่าวในที่สุด

เชิญร่วมงานประกวดแพะสระบุรี ครั้งที่ 2
ในงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ วันที่ 10 มกราคม 2553
คุณเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ ประธานชมรมส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์แพะแกะ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า ในงานวันเทศกาลโคนมแห่งชาติ ครั้งที่ 27 ปี 2553 ระหว่าง วันที่ 4-13 มกราคม 2553 จังหวัดสระบุรี โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี สมาคมสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชมรมส่งเสริมพัฒนาพันธุ์แพะแกะ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีกำหนดจัดการประกวดแพะสระบุรี ครั้งที่ 2 ขึ้น ณ ลานประกวดโคนมองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ในวันที่ 10 มกราคม 2553

"จึงขอเชิญเกษตรกรจากทั่วทุกภูมิภาค และผู้สนใจส่งแพะเข้าประกวดเพื่อชิงถ้วยรางวัล โล่รางวัล ใบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์แพะ ทั้งสายพันธุ์เนื้อและสายพันธุ์นมที่แข็งแรง โตเร็ว มีความต้านทานโรคได้ดี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย และเป็นการส่งเสริมมูลค่าแพะ" ประธานชมรมกล่าว

ทั้งนี้ ในวันที่ 10 มกราคม 2553 จะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เวลา 08.00-12.00 น. ลงทะเบียนรับแพะเข้าประกวด (ถ่ายรูปแพะและเจ้าของแพะทุกตัทุกคนคน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) และเวลา 12.00-14.00 น. เสวนาเรื่อง "ทิศทางตลาดแพะในปัจจุบันและอนาคตในมุมมองของผู้เลี้ยงแพะ" วิทยากร : คุณสมคิด ภูมิภาค ประธานชมรมผู้เลี้ยงแพะอีสานเหนือั้คุณสุทธิพงศ์ ถิ่นเขาน้อยต้นหว้าฟาร์มอำเภอสวี จังหวัดชุมพร คุณสถาพรศิริพัฒน์ อมตะฟาร์มกลุ่มเกษตรอีสานใต้ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา คุณณรงค์ เขียวคงรุ่งเรืองฟาร์มอำเภอสระโบสถ์จังหวัดลพบุรี ดำเนินรายการโดย :คุณอรัญญา โรเซ็นเบิร์ก

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการชมและชิม การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน ตลาดนัดแพะ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น สบู่ โลชั่น เครื่องหนัง และการใช้ประโยชน์จากมูลแพะ อาหารที่ทำจากเนื้อแพะแกะหลากหลายรสชาติ

สำหรับประเภทแพะที่จัดประกวด รวม 12 รุ่น ได้แก่
1. แพะนม เพศผู้ ลูกผสมพันธุ์ซาแนน แอลไพน์ ทอกเกนเบิร์กฯ ฟันแท้ 2 คู่ ขึ้นไป
2. แพะนม เพศเมีย ลูกผสมพันธุ์ซาแนน แอลไพน์ ทอกเกนเบิร์กฯ ฟันแท้ 2 คู่ ขึ้นไป
3. แพะนม เพศผู้ ลูกผสมพันธุ์ซาแนน แอลไพน์ ทอกเกนเบิร์กฯ ฟันแท้ไม่เกิน 1 คู่
4. แพะนม เพศเมีย ลูกผสมพันธุ์ซาแนน แอลไพน์ ทอกเกนเบิร์กฯ ฟันแท้ไม่เกิน 1 คู่
5. แพะเนื้อ เพศผู้ ลูกผสมพันธุ์บอร์ แองโกล จามาปารี และลูกผสมพันธุ์อื่นๆ ฟันแท้ 2 คู่ ขึ้นไป
6. แพะเนื้อ เพศเมีย ลูกผสมพันธุ์บอร์ แองโกล จามาปารี และลูกผสมพันธุ์อื่นๆ ฟันแท้ 2 คู่ ขึ้นไป
7. แพะเนื้อ เพศผู้ ลูกผสมพันธุ์บอร์ แองโกล จามปารี และลูกผสมพันธุ์อื่นๆ ฟันแท้ไม่เกิน 1 คู่
8. แพะเนื้อ เพศเมียลูกผสมพันธุ์บอร์ แองโกล จามาปารี และลูกผสมพันธุ์อื่นๆ ฟันแท้ไม่เกิน 1 คู่
9. แพะเพศผู้ ลูกผสม กึ่งเนื้อ-นม ยังไม่ผลัดฟัน
10.แพะเพศเมีย ลูกผสมกึ่งเนื้อ-นม ยังไม่ผลัดฟัน
11.แพะแสนรู้น่ารัก ทุกสายพันธุ์
12.แพะขวัญใจคนชม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณเฉลิมพร เหมราสวัสดิ์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี โทร. (036) 211-527

คุณไพโรจน์ สนิทไชย ปศุสัตว์อำเภอมวกเหล็ก โทร. (081) 994-3329 คุณขจรยศ ศึกขุนทด หัวหน้าศูนย์ธุรกิจโคนม (อ.ส.ค.) โทร. (081) 974-5003 คุณเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ ประธานชมรมส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์แพะแกะ โทร.(089) 203-1424 คุณจรัล ชัยราช ประชาสัมพันธุ์ชมรม โทร. (081) 947-7459 คุณสุทธิพงศ์ ถิ่นเขาน้อย โทร. (086) 780-9523 คุณเด่นชัย น่วมวงศ์ โทร. (081) 923-1382



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน








รวมกลุ่มเลี้ยงแพะแบบปล่อย รายได้ดี-ตลาดต้องการ-ราคาสูง

ดลมนัส  กาเจ

         
ตลาดแพะเนื้อภาคใต้บูมสุดขีด ขนาดเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ความต้องการแพะสูงจนราคาทะยานขึ้นตาม คือแพะชั่งทั้งตัว หากโตเต็มวัย ขายกัน กก.ละ 150 บาท ทำให้ชาวบ้านท่าม่วง หมู่ 8 ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล กว่า 30 คน รวมกลุ่มเลี้ยงแบบปล่อย แม่แพะ 1 ตัว เลี้ยง 14 เดือน มีรายได้กว่า 8,000 บาท หากเลี้ยง 40 ตัว สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย 
         
นิติภูมิ หลงเก ประธานกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์บ้านท่าม่วง บอกว่า เดิมชาวบ้านมีอาชีพด้านการเกษตรทำสวนยางพารา ข้าวโพดหวาน ความเป็นอยู่ของเกษตรกรในระดับปานกลาง ต่อมาปี 2547 ได้รวบรวมชาวบ้านตั้งกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกทั้งหมด 33 คน ส่วนใหญ่เลี้ยงแพะ ปัจจุบันรวมทั้งกลุ่มมีทั้งหมดกว่า 300 ตัว และส่วนหนึ่งมีการเลี้ยงสัตว์ปีกจำพวกเป็ดไข่และเป็ดเทศ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น
         
สาเหตุที่นิติภูมิเลือกเลี้ยงแพะ เพราะเห็นว่าแพะเป็นที่ต้องการของตลาดในภาคใต้สูงมาก ขนาดเศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าบางอย่างขายไม่ออก แต่แพะกลายเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น และราคาสูงขึ้นด้วย อย่างแพะตัวเมียขายทั้งตัว กก.ละ 120 บาท ตัวผู้ กก.ละ 130 บาท หากเป็นพ่อพันธุ์ หรือแพะมีอายุกว่า 2 ปี ซึ่งสามารถใช้ประกอบในพิธีสำคัญของชาวมุสลิมได้แล้ว ตก กก.ละ 150 บาท แต่แพะที่มีอายุ 4-5 เดือน น้ำหนัก 20-30 กก. เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด
         
“เมื่อก่อนผมเลี้ยงแพะลูกผสมที่หาซื้อตามชุมชน เลี้ยงกันแบบพื้นบ้าน กึ่งขังกึ่งปล่อยอยู่ในสวนปาล์ม แม่แพะ 1 ตัว เลี้ยงแบบปล่อยไม่ต้องลงทุนค่าอาหาร จะออกลูก 7 เดือนต่อครั้ง เลี้ยง 14 เดือน จะมีรายได้ 8,000 บาทต่อแม่แพะ 1 ตัว เดิมผมเลี้ยง 20 ตัว จะได้ 1.6 แสนบาทต่อ 14 เดือน ถ้าเลี้ยงแบบให้อาหารเสริมบ้างจะได้กว่า 1 หมื่นบาทต่อ 14 เดือน ต่อมาปี 2550 ได้รับมอบแพะเนื้อพันธุ์บอร์ จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผ่านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มา 3 ตัว ทำให้ผมมีแม่แพะอยู่ 23 ตัว แพะพันธุ์บอร์ที่ว่านี้ เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะเนื้อดี ที่สำคัญมีลักษณะเด่น คือ แข็งแรง โตเร็ว เลี้ยงง่าย เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันหากเลี้ยงแพะอย่างเดียว ไม่มีอาชีพอื่น เลี้ยงแม่พันธุ์ 40 ตัวอยู่ได้อย่างสบาย" นิติภูมิ กล่าว
         
ด้าน สมบัติ ปิยะพันธุ์ ตัวแทนจากซีพีเอฟ บอกว่า ในฐานะที่ซีพีเอฟเป็นผู้นำด้านธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารชั้นนำของประเทศไทย ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ จนประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์สุกร พันธุ์ไก่ และพันธุ์แพะ โดยพันธุ์แพะที่ดีที่สุดคือ แพะเนื้อพันธุ์บอร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกาใต้ มีความโดดเด่นคือเจริญเติบโตที่ดี ปลอดโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย และให้ผลผลิตเนื้อที่ดี มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันซีพีเอฟมีฟาร์มแพะมาตรฐานคือฟาร์มแพะกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเน้นด้านการศึกษา  วิจัย และขยายพันธุ์ เพื่อให้สายพันธุ์แท้คงเลือด 100% ไว้ นอกจากนี้ยังพัฒนาให้ได้สายพันธุ์เลือด 75% และ 50% เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยด้วย
         
"สายพันธุ์แพะที่ดี เรานำไปส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง ถือเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนพันธุ์แพะแก่ภาครัฐ สำหรับนำไปปรับปรุงแพะพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้สายพันธุ์แพะที่เหมาะสมและมีปริมาณเพียงพอต่ออุตสาหกรรมในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการบริจาคแพะพันธุ์ดีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริจาคพันธุ์แพะแก่เกษตรกรใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่าน ศอ.บต. จำนวน 300 ตัว ล่าสุดปี 2552 ได้จัดโครงการบริจาคแพะอีกจำนวน 439 ตัว ผ่านกองทัพไทย เพื่อนำไปส่งเสริมอาชีพประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" สมบัติ กล่าว

         
         

         ที่มา  :  คม ชัด ลึก





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©