-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 397 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





กำลังปรับปรุงครับ


การเลี้ยงไก่งวงเลี้ยงไม่อยาก...





การเลี้ยงไก่งวงเลี้ยงไม่อยากครับต้องการให้หันมาเลี้ยงไกงวงกันเยอะๆ เลี้ยงเพื่อความสวยงามได้และยังเป็นอาหารได้ด้วยผมลองเลี้ยงแล้วได้ผลดีโดยศึกษาตามคู่มือและผู้มีความรู้ในการเลี้ยงไก่งวง โดยลองเลี้ยงในครั้งแรกได้ลูกไก่มาสองตัวแต่ก็ตายเนื่องจากพื้นที่ในการเลี้ยงมีสัตว์ที่เป็นภัยต่อลูกไก่อาทิเช่น สุนัข,หนูและแมว ที่นี้ก็ลองเอาทั้งลูกไก่,พ่อไก่และแม่ไก่มาเลี้ยงรวมกันเลย ผลที่ออกมารอด แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่รอดครับโดยในการเลี้ยงทั้งหมดที่ผ่านมาเป็นเวลา 4-5 เดือนใช้จ่ายงบประมาณส่วนตัวไปกว่า สองพันเลยที่เดียว แต่ได้ผลกับมาคุ้มโดยได้ลูกไก่งวงเพิ่มมาอีก 3 ตัว ลองเลี้ยงดูน่ะครับเพราะเป็นสัตว์ที่ชอบกินหญ้ามากและทำให้บริเวณบ้านสะอาดปราศจากต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมและเป็นการเลี้ยงแบบพอเพียงรวมถึงการลดภาวะโลกร้อนไปในตัวโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรกลหรือเครื่องมือที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ และสามารถมองดูได้เหมือนอยู่ในสวนสัตว์ยังงัยยังงั้นเลยครับ


http://www.gotoknow.org/blog/thongchaitpk/320040







เทคโนโลยีปศุสัตว์

ชนะ วสุรักคะ not.007@hotmail.com

ธนศักดิ์ คำด่าง หนุ่มนครพนม เลี้ยงไก่งวงบนพื้นที่ศูนย์ภูมิพลัง 70 ไร่

ไก่งวง จัดเป็นนกประเภทหนึ่ง และสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่ศูนย์ภูมิพลังหรือศูนย์การเรียนรู้การเกษตรแบบครบวงจร ตั้งอยู่เลขที่ 209 หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ได้มีแนวคิดเลี้ยงสัตว์ปีกประเภทนี้ เพื่อขยายผลในการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนและเกษตรกร ตลอดจนผู้ที่สนใจ

บนเนื้อที่ 70 ไร่ ของศูนย์ดังกล่าว นอกจากเลี้ยงไก่งวงแล้ว ยังจัดแบ่งโซนพื้นที่ปลูกพืช ไม้ผล ปลูกข้าว เลี้ยงปลา ทำปุ๋ยชีวภาพ แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา ปลูกต้นยูคาลิปตัส ไผ่ และเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรม ดูงานให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันองค์กรชุมชนองค์การมหาชน (พอช.) SIF กรมประมง กรมการปกครอง และกระทรวงสาธารณสุข

คุณธนศักดิ์ คำด่าง วัย 51 ปี ในฐานะประธานศูนย์เครือข่ายภูมิพลัง เล่าถึงที่มาที่ไปให้ฟังก่อนจะมาเลี้ยงไก่งวงว่า พื้นเพเป็นคนในพื้นที่ จบปริญญาตรี นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนไปเรียนต่อปริญญาโทด้านปฐพี (เรื่องดิน) ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังร่ำเรียนจนจบในปี 2538 จึงเข้าทำงานในฟาร์มผลไม้และเลี้ยงวัวนมที่นั่น มีหน้าที่ดูแลควบคุมเครื่องไฮโดรลิกส์ได้เงินเดือน 100,000 บาท ทำงานหลายปีจึงกลับภูมิลำเนา นำเงินเก็บไปซื้อที่ดินที่อยู่ในปัจจุบันเมื่อปี 2531 ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโคก ไร่ละ 2,000-3,000 บาท

ประธานศูนย์ภูมิพลังกล่าวต่อว่า เริ่มต้นจากปลูกกระต๊อบเล็กๆ อยู่อาศัย ก่อนนำเงินทุนจากการทำงานที่ญี่ปุ่น ตระเวนทั่วอีสานไปซื้อวัวพันธุ์บราห์มัน ฮินดู บราซิล กว่า 200 ตัว เมื่อปี 2535 ขณะที่โครงการวัวล้านตัว สมัย คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กำลังฮิตนโยบายในฝัน ปรากฏว่าเลี้ยงไปแล้วเจ๊ง หมดเงินไปถึง 1,700,000 บาท

จนกระทั่งในปี 2539-2540 จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืช ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลา แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา ลองผิดลองถูกจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จนปัจจุบันได้รับการยอมรับจากสถาบัน องค์กรต่างๆ ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และดูงานด้านการเกษตรของจังหวัดนครพนม และจังหวัดใกล้เคียง

คุณธนศักดิ์เล่าต่อว่า ส่วนสาเหตุที่มาเลี้ยงไก่งวง เพราะเคยมีพื้นฐานในการเลี้ยงสัตว์ปีกคือ เป็ดบาบารีมาก่อน และติดตามการเลี้ยงไก่งวงมาตั้งแต่ปี 2542 ประกอบขณะนั้นมีเพื่อนกลับมาจากต่างประเทศ จึงพาไปเที่ยวที่เวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว เห็นคนที่นั่นพากันเข้าคิวกินก๋วยเตี๋ยวและข้าวต้ม เส้นที่ทำจากไก่งวง ต่อมาจึงได้มีโอกาสไปดูงานในฟาร์มเลี้ยงไก่งวงของ คุณสถิตย์ ภักดิ์ศรีแพง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ในขณะนั้น ที่บ้านกอไร่ใหญ่ ตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จึงสนใจที่จะทดลองและวางแผนเลี้ยงจากนั้นเป็นต้นมา

โดยในปี 2548 เริ่มเดินทางไปคัดเลือกซื้อสายพันธุ์ไก่งวงที่ฟาร์มดังกล่าวด้วยตนเอง ซึ่งไก่แม่พันธุ์ที่ซื้อมา ลักษณะเป็นแม่พันธุ์ที่ดีจะต้องมีสีนิล ข้อ แข้ง ขาต้องใหญ่ เชิงกรานและหน้าอกกว้าง ขนงามตางาม ซื้อไก่งวงมาเลี้ยงครั้งแรกจำนวน 4 ชุด ชุดละ 14 ตัว เป็นเงิน 14,000 บาท ตั้งเป้าไว้ว่าเลี้ยงภายใน 45 วัน ต้องให้ไก่มันออกลูกให้ได้ จากไก่ 1 ชุด ตกลูกให้ครั้งแรก 170 ตัว หลังเลี้ยงไปอีก 4-5 เดือน มีไก่ตกลูกเพิ่มขึ้นเป็น 300 ตัว พอเลี้ยงถึงปี 2549 ผ่านไปแค่ 1 ปี มีไก่งวงมากถึง 3,000 ตัวแล้ว

ส่วนวิธีการเลี้ยง ถ้าเรารู้จุดอ่อนของมันจะเลี้ยงไม่ยากเลย แต่ก่อนเลี้ยงต้องมีการวางแผนให้ดีเสียก่อน ถึงจะสามารถผลิตประชากรของไก่ได้เพิ่ม โดยเฉพาะต้องใส่ใจดูแลพฤติกรรมการกินอาหารให้ดี และสร้างโรงเรือนให้เพราะไก่งวงมักจะไข่ไม่เป็นที่เป็นทาง เมื่อไข่ถูกฝนก็จะเสีย ช่วงไหนที่ฝนตกยิ่งห้ามปล่อยไปเพ่นพ่าน เพราะอาจจะเจ็บป่วยได้ง่าย ขณะเดียวกันถ้าปล่อยต้องคอยระวังสุนัขและแมว ที่อาจมาทำให้ไก่ที่เลี้ยงไว้บาดเจ็บจากการถูกกัด

คุณธนศักดิ์เล่าต่อไปว่า จัดแบ่งโรงเรือนไว้ 6 โรงเรือน คือ
1. โรงเรือนไว้สำหรับเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์จำนวน 200 ตัว
2. โรงเรือนไว้ให้ไก่รุ่นกกไข่ จำนวน 70 ตัว
3. โรงเรือนไก่รุ่นพร้อมขุนส่งขายตลาดจำนวน 400 ตัว
4. โรงเรือนไก่รุ่นเตรียมขุนส่ง 600 ตัว
5. โรงเรือนไก่รุ่น 1,000 ตัว เตรียมขุน และ
6. โรงเรือนสำหรับไก่รุ่นเล็ก

ในระยะการเลี้ยง 45 วันนั้น ต้องจัดระบบแต่ละโรงเรือนให้ดี เช่น โรงเรือนแม่พันธุ์มีหน้าที่ฟักไข่ก็ฟักไป ส่วนโรงเรือนที่จะไข่ก็ให้ไข่อย่างเดียว ส่วนตัวที่จะนำมาเลี้ยงหรือขุนก็ควรแยกออกจากกัน เป็นต้น

ก่อนที่จะนำไข่ไปให้แม่ไก่งวงฟัก จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อของกรมปศุสัตว์ผสมกับน้ำ โดยใช้สำลีหรือสก๊อตช์-ไบรต์ เช็ดทำความสะอาดไข่ในช่วงมีแดด จากนั้นค่อยนำไข่ 21 ฟอง ใส่ในที่ฟักที่เตรียมไว้ อาจเป็นไหหรือตะกร้าที่จักสานจากไม้ไผ่ ให้หน้าอกไก่งวงสัมผัสกับไข่ ประมาณ 5 นาที ก่อนตบหลังให้มัน ใช้เวลาฟักหลังกก ประมาณ 27-31 วัน ไข่ถึงจะฟักเป็นตัว การที่จะเก็บไข่ไปกกต้องเอาไข่ทางแหลมลง ห้ามเอาทางด้านคว่ำลงเด็ดขาด เพราะเซลล์ของน้ำเชื้อในไข่จะไม่อยู่ในลักษณะการฟักตัว โอกาสที่ไข่จะเสียมีน้อยมาก

ถ้ากรณีใช้ไก่แม่พันธุ์ 5 ตัว กกไข่ตัวละประมาณ 21 ฟอง ก็จะฟักออกมาประมาณ 80-90 ตัว จากนั้นค่อยเก็บเปลือกเศษไข่ และฟางที่ใช้รองพื้นไปเผาทิ้งให้หมด

ส่วนวิธีที่จะให้ไก่งวงผสมพันธุ์กันง่ายขึ้น ให้นำไก่แม่พันธุ์จุ่มลงในน้ำใสสะอาด 5 นาที ล้างตัวและขนด้วยน้ำยาล้างจาน เพื่อเสริมสวยให้ร่างกายสะอาด ปล่อยให้เดินตากแดด 1 สัปดาห์ ให้ขนและลำตัวเงางาม ก่อนปล่อยไก่แม่พันธุ์ใส่ฝูงไก่ตัวผู้ เมื่อตัวผู้เห็นตัวเมียสะอาด งาม และมีเสน่ห์ชวนมอง มันก็จะผสมพันธุ์กันได้ง่ายยิ่งขึ้น

หลังจากไก่ที่ฟักเป็นตัวเสร็จแล้ว ต้องนำสุ่มเลี้ยงไก่ตีมาครอบและนำตาข่ายมาขึงให้รอบเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด และไม่ให้ลมแรงโกรกนาน 2 สัปดาห์ ในช่วงที่เอาแม่มันมาเลี้ยงด้วย สังเกตให้ดีๆ ถ้าแม่ไก่เขี่ยอาหารทิ้งให้รีบแยกออกจากกัน และต้องสร้างพฤติกรรมการกินให้มันด้วย เช่น กินหญ้า 3 ส่วน และกินอาหาร 1 ส่วน หญ้าควรตัดให้สั้นและอย่าให้กินซ้ำติดต่อกัน 3 วัน นอกจากนี้ ในฤดูฝนจะให้ไก่กินมะม่วงสุกที่หล่นจากต้น ส่วนหน้าแล้งก็จะตัดใบไผ่ให้ไก่งวงกิน แทนที่จะให้กินหัวอาหารอย่างเดียว หรืออาจจะให้อาหารเสริมประเภทรำ ปลายข้าว ใบกระถิน หรือพืชผักต่างๆ

ที่สำคัญไก่งวงที่จะปล่อยให้ไปอยู่ในฝูงเดียวกันได้ จะต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ถ้าปล่อยให้อยู่รวมฝูง สัญชาตญาณของไก่ที่ใหญ่กว่าจะเอาตัวรอด ตัวเล็กจะบาดเจ็บจากการแตกตื่นและเหยียบกันในที่สุด เมื่อไก่งวงโตเต็มที่ประมาณ 10 เดือน จะให้ไข่เต็มที่ประมาณ 15-20 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าไก่งวงแต่ละตัวจะสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ส่วนรังของไก่ควรจะมีให้เพียงพอกับแม่พันธุ์ และจะต้องเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา

คุณธนศักดิ์ยังแนะนำถึงวิธีการดูแลในขณะเลี้ยงว่า ไก่ที่เกิดมาใหม่ๆ ช่วงแรกควรจะให้อาหารอย่างไม่ขาด เพราะถ้าให้อาหารไม่สม่ำเสมอจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ระยะแรกๆ ควรจะเปิดไฟให้แสงสว่างอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความอบอุ่นของร่างกาย และอย่าปล่อยให้ยุงกัด ส่วนโรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคฝีดาษ โรคไทฟอยด์ในสัตว์ปีก และโรคขี้ขาว แต่น้อยนักที่ไก่งวงจะเป็นโรคเพราะทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี วิธีป้องกันโรคได้ง่ายๆ คือจะต้องหมั่นดูแลและรักษาความสะอาดในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในไก่แรกเกิด 3-7 วัน ก็จะให้วัคซีนนิวคาสเซิล เพื่อป้องกันโรคหลอดลมอักเสบและอหิวาต์

ด้านการตลาดก็จะมีผู้บริโภคกันเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งเนื้อของไก่จะมีสีแดงและเนื้อนุ่ม ประกอบกับเมื่อนำไปประกอบอาหารจะมีราคาแพง อย่างไรก็ตาม จะมีรายได้จากการขุนไก่ตัวผู้เดือนละประมาณ 300 ตัว ส่งให้ได้น้ำหนักตัวละ 7-8 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 120 บาท โดยจะมีร้านอาหารในตัวเมือง 4-5 ร้าน ที่เป็นลูกค้าประจำ ถ้าสั่งครั้งละ 3-4 ตัว จะนำไปส่งให้ถึงที่

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเมนูไก่งวง สามารถแวะไปรับประทานกันได้ที่...ร้านหยาดลาบเป็ด ริมฝั่งโขง ใกล้วัดมหาธาตุ ร้านวิวโขง (ติดกับโรงแรมวิวโขง) ร้านเรือนไม้สีขาว (เยื้องปั๊มน้ำมัน ปตท.) ถนนสุนทรวิจิตร และที่ร้านอรอนงค์ลาบเป็ด (ชุมชนบ้านน้อยหนองเค็ม) มีทั้งเมนูไก่งวงอบ ลาบไก่งวง และต้มไก่งวงรสเด็ด แซ่บจนน้ำลายสอ

ต้องการเดินทางแวะมาดูการเลี้ยงไก่งวง หรือต้องการศึกษาหาความรู้ที่ศูนย์การเรียนรู้ภาคการเกษตรแบบครบวงจร อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางทางหลวงหมายเลข 22 สายนครพนม-สกลนคร ออกจากตัวเมืองมาประมาณ 13 กิโลเมตร ก่อนถึงสนามบินนครพนม 1 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านโพธิ์ตาก ตรงไปอีก 700 เมตร เห็นสามแยกให้เลี้ยวขวาตามป้ายปักบอก ตรงไปอีก 3 กิโลเมตร ก่อนถึงวัดในหมู่บ้าน ให้เลี้ยวขวาบริเวณศาลาไปตามถนนลูกรังอีก ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปจนสุดทางก็จะพบเห็นศูนย์ภูมิพลังเอง

หากไปไม่ถูก ลองกดโทรศัพท์ไปพูดคุยกับคุณธนศักดิ์ คำด่าง ได้ที่เบอร์โทร. (089) 863-6513 เขายินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน หรือจะมาเป็นหมู่คณะก็มีสถานที่ไว้รองรับ กรณีอยากจะชิมไก่งวงอบรสชาติเด็ดกันที่นี่ กรุณาโทร.บอกล่วงหน้าได้ที่หมายเลขดังกล่าวด้วย

ก่อนกลับคุณธนศักดิ์ ประธานศูนย์ภูมิพลังยังบอกกับผู้เขียนด้วยว่า ตนเองเป็นแฟนพันธุ์แท้ "มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน" ต้องซื้ออ่านหาเอาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอมิได้ขาด

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05090011051&srcday=&search=no








วิธีเลี้ยงลูกไก่ววงให้รอดตาย จากประสบการณ์ตรง...

สำหรับคนที่สนใจเลี้ยงไก่งวง ให้รอดตาย ในช่วงแรกเกิด อัตราการตายเป็นศูนย์ ไก่งวงตัวเล็กให้ไม่ตาย ถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรง จากผู้เคยเลี้ยงไก่งวงมาก่อน ไม่ตายเลย

วิธีเลี้ยงไก่งวงแรกเกิด ไม่ให้ตาย อัตราการตายเป็นศูนย์
1. หาพืนที่เลี้ยง ไม่ให้อากาศเข้าออก โดยก่อผนังอิฐ บล็อก รอบเหล้าไก่งวง หรือมีไก่งวงไม่มาก ก็ให้ใช้บล็อกก่อรอบ หรือท่อเลี้ยงปลา ก็ได้
2. ปูพื้นด้วยหนังสือพิมพ์ หรือ แกลบ วัสดุรองพื้นเพื่อไม่ให้ขี้ของไก่งวงติดเท้าไก่
3. ให้อาหารไก่เล็กเนื้อ ผัก และน้ำตามปกติ
4. เอามุ้งคลอบเหล้าไก่งวง เพื่อป้องกันยุ่งกัด เป็นโรคฝีดาษ
5. ตอนกลางคืน ให้เอาไก่งวงเก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันยุ่ง หรือเอาผ้าหรือ กระสอบ คลุมปากท่อ เลี้ยงไก่งวง เพื่อไม่ให้อากาศข้างนอกเข้าไปข้างใน ให้อุณภูมิอบอุ่น ไก่งวงจะได้แข็งแรง
6. เลี้ยงแบบนี้จนไก่งวงโตและแข็งแรงถึงจะย้ายไปเลี้ยงในเหล้าไก่ ได้ตามปกติ
7. ถ้าฉีดวัคซีนได้ก็ยิ่งดี เพื่อป้องกันโรคของไก่งวง
8. ข้อมูลดีๆ จากประสบการณ์ผู้เลี้ยง

http://www.ganook.com/board/index.php?board=51.0





การเลี้ยงไก่งวง

นายธนศักดิ์ คำด่าง เกษตรกรตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ 20 ไร่ โดยปลูกพืชแบบพึ่งพาอาศัยกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนในด้านปศุสัตว์จะเน้นเลี้ยงเป็นหลัก เกษตรกรเลี้ยงไก่งวงแบบอินทรีย์ประมาณ 1,000 ตัว โดยจัดทำคอกเลี้ยงแยกเป็นรุ่นๆ ได้แก่ คอกพ่อแม่พันธุ์ คอกฟักไข่ คอกอนุบาล  คอกไก่เล็ก คอกไก่รุ่น คอกไก่เตรียมขุน และคอกไก่ขุนทำให้ดูแลได้ง่ายและทั่วถึง

สำหรับอาหารเลี้ยงไก่งวง เกษตรกรจะผสมเอง โดยใช้หญ้าหยวกกล้วย ผักบุ้ง ที่มีอยู่ในพื้นที่ อย่างละ 1 ส่วน เป็นส่วนผสมหลักและนำไปผสมกับมันสำปะหลังป่น 1ส่วน รำ 4 ส่วน และ ปลาป่นอีก 1 ส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อใช้เป็นอาหารข้นสำหรับเลี้ยงไก่งวง

นอกจากนี้ได้นำพืชสมุนไพรต่างๆที่ปลูกในสวน เช่น เหงือกปลาหมอ ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน ไพล มาบด และผสมในอาหาร เพื่อบำรุงและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ไก่งวง โดยให้อาหารข้นวันละ 1ครั้ง ในช่วงเช้า
และให้เศษหญ้าและเศษผัก เป็นอาหารเสริมในช่วงบ่ายซึ่งค่าอาหารในการเลี้ยงไก่งวงแต่ละมื้อ มีต้นทุนเพียง 70 บาทเท่านั้น


การดูแลลูกไก่งวง

ไก่งวงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน เหมือนสัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ อยู่ที่เราจะมีแนวทางและวิธีการอย่างไร แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ เลี้ยงเพื่อการจำหน่ายตัวลูกไก่งวงเลย และ เลี้ยงเพื่อจำหน่ายเนื้อไก่งวง โดยการเลี้ยงลูกไก่งวงให้มีเปอร์เซ็นต์ความรอดสูงนั้นขึ้นอยู่ที่ความเอาใจใส่ดูแลของผู้เลี้ยง โดยจะต้องดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ขั้นตอนการฟักไข่จนถึงโตพอจับขาย โดยแม่ไก่งวง 1 ตัว จะออกไข่ประมาณ 20 ฟอง แม่ไก่งวงจะฟักไข่เองประมาณ 30 วัน


เทคนิคการเลี้ยงลูกไก่งวง
- เก็บลูกออกมาจากแม่เมื่อขนแห้ง นำลูกออกมาอนุบาล
- ใส่ไว้ในกล่องกระดาษ ประมาณ 15 วัน
- ให้อาหารไก่เล็ก และน้ำ
- กลางคืนปิดฝากล่องแล้วใช้ผ้าคลุมเพื่อให้ความอบอุ่น
- เมื่ออายุครบ 15 วันนำไปใส่ในกรง ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
- เมื่ออายุ 30 วัน ให้อาหาร รำรวม + หัวอาหาร อัตรา 1:1
- ให้อาหารตลอดทั้งคืน ห้ามให้ปลายข้าวเพราะจะขี้ขาว
- ถ้าไก่ไม่แข็งแรง (เหงา) ให้หัวอาหาร ให้เสริมด้วย ฟ้าทะลายโจร + ตะไคร้หอม + กระเพรา +โหรพา สับละเอียดผสมในอาหารให้กิน ไก่จะแข็งแรง
- กลางคืนใส่ซุ่มหาผ้าคลุมกันยุง
- เมื่อไก่อายุ 6 เดือน น้ำหนักประมาณ 5-6 กก. ไก่งวงจะเริ่มออกไข่
- อาหารที่ให้ จะให้รำผสมน้ำพอเปียกชุ่มๆ
- การจำหน่าย ไก่งวงที่เลี้ยงเพื่อจำหน่ายไปบริโภค ราคา กก.ๆละ 100 บาท
- ลูกออกมา 1-2 วัน ขายคู่ละ 100 บาท
- อายุ 10 วัน ตัวละ 100 บาท



ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1046&s=tblanimal

http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=78590



http://animal.siam55.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5.html











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (4504 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©