-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 421 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง




หน้า: 1/2


ไก่ชนไทย...





ไก่ชนพันธุ์เขียวเลาหางขาว

สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย กำหนดไว้เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๔ ในงานภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
ณ. อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

แหล่งกำเนิด
มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และ
อีกหลายจังหวัดในประเทศไทย

สีเปลือกไข่ เปลือกสีขาวอมน้ำตาล ลูกเจี๊ยบหัวขาว หน้าคอ หน้าอกสีขาว สันหลังดำ ปีกในดำ ไชปีกนอกขาว ปาก
แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง อมน้ำตาล ตาสีขาวอมเหลือง

ประวัติความเป็นมา ไก่เขียวเลาหางขาวเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้ในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช พระยาสมุหกลาโหม กำแพงเพชร นิยมไก่เขียวเลาหางขาว และสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ชาวกำแพงเพชรกำลัง
อนุรักษ์ไว้เป็นไก่ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

รูปร่างลักษณะเด่น
ของไก่เขียวเลาหางขาว รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ไหล่หน้าใหญ่ ลำตัวกลมยาว หาง
ยาว ท่าทางสง่างาม ทะมัดทะแมง

๑.ใบหน้า ใบหน้ากลมกลึงแบบหน้านกกา
๒.ปาก ปากใหญ่มีร่องน้ำสองข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย
๓.จมูก จมูกแบบราบ สีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
๔.ตา ตาเป็นรูปรีแบบตาวัว เป็นรูปตัววี ขอบตาสองชั้น ดวงตาสีเหลืองอมขาว ประกายตาแจ่มใส
๕.หงอน หงอนเล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม สีแดงสดใส
๖.ตุ้มหู ตุ้มสีแดง รัดติดหน้าไม่หย่อนยาน รูหูมีขนขาวดำขึ้นรอบๆ และมีขนเขียวปนขาวปิดรูหู
๗.เหนียง เหนียงรัดติดคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีหงอน
๘.กะโหลก กระโหลกหัวยาวสองตอน มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
๙.คอ คอใหญ่โค้งลอนเดียวแบบคอม้า คองูเห่า กระดูกปล้องคอชิด ร่องคอชิดไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอประบ่า
๑๐.ปีก ปีกยาวใหญ่เป็นลอนเดียวไม่โหว่ ไม่รั่ว ไม่ห่าง ขนปีกสีดำสนิท สร้อยหัวปีกสีเขียวเลา
๑๑.สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีเขียว บางชนิดปลาย
สร้อยขลิบทอง หรือมีขนขาวขึ้นแซมหรือปลายสร้อยมีกระจุด
๑๒.หาง หางพัดสีดำ หางกระลวยสีขาวปนดำ กระลวยคู่กลางจะขาวปลอด คู่อื่นๆขาวปลายดำ
๑๓.ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งหนาและตรงชิด
๑๔.แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสันแข้งเรียวกลม ท้องแข้งเป็นสันนูน 


ไก่เขียวเลาหางขาวพันธุ์แท้แต่โบราณมีอยู่ 5 สายพันธุ์

๑. ไก่เขียวเลาใหญ่พระเจ้าห้าพระองค์ เป็นสุดยอดของไก่เลาหางขาวศักดิ์ศรีพอกับไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้า
พระองค์ เป็นไก่พระยาสมุหกลาโหม กำแพงเพชร ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลา คือ ขน
สร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีเขียวอมดำแบบสีแมลงภู่ ขนปีกท่อนในสีดำ ท่อนนอกตอนชายปีกสีขาวแซม หางพัด
สีดำ หางกระลวยคู่เอกสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ตาสีขาวอมเหลือง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองอม
น้ำตาล ที่หัวปีกสองข้าง ข้อขาสองข้าง มีจุดกระประแป้งสีขาวอยู่เป็นหย่อมประปรายเรียกพระเจ้าห้าพระองค์ แบบไก่
เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์ ถือว่าเป็นไก่สกุลสูงอีกตัวหนึ่ง

๒. ไก่เขียวเลาเล็กหางขาว เป็นรองจากไก่เขียวเลาใหญ่พระเจ้าห้าพระองค์ ขนพื้นสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำ หางก
ระลวยสีขาวปนดำ กระลวยคู่กลางขาวปลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลาแซมขาว คือ โคนสีขาวปลาย
เขียวและมีขนขาวขึ้นแซมประปราย ตาสีขาวอมเหลือง ไม่มีหย่อมกระประแป้ง(พระเจ้าห้าพระองค์) ปากแข้งเล็บ
เดือยสีขาวอมเหลืองแบบเขียวเลาใหญ่

๓. ไก่เขียวดอกเลาหางขาว รองจากเขียวเลาเล็ก เขียวดอกเลาหางขาว ลักษณะอื่นๆเหมือนเลาเล็กหางขาว ตางกัน
ตรงสี ปลายสร้อยเป็นสีเขียวอมน้ำตาล

๔. ไก่เขียวเลาดอกกระ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำ ขนหางกระลวยสีขาวปนดำ สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อย
หลัง โคนขาวปลายเขียว และที่สำคัญที่ปลายสร้อยจะมีจุดกระขาวแบบประแป้งทั่วไป แต่ไม่มีหย่อมกระแบบเขียวใหญ่
ปากแข้งเล็บเดือย สีขาวอมเหลือง

๕. ไก่เขียวเลาสร้อยทองหรือเลาขลิบทอง ลักษณะเหมือนเขียวเลาเล็ก แต่ปลายสร้อยจะมีขลิบทองอยู่

จากลักษณะประจำพันธุ์ ๕ ชนิดนี้ จัดว่าเป็นไก่เขียวเลาหางขาวทั้งสิ้น ตามความนิยมที่เรียงไว้



ลักษณะประจำพันธุ์ไก่เขียวเลาหางขาวเพศเมีย

ไก่เขียวเลาหางขาวเพศเมียมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญ คือ ขนพื้นตัวสีดำ ขนหลังสีเขียวอมดำประจุดขาวเล็ก
น้อย ขลิบสร้อยคอสีเขียวประขาว ปากแข้งเล็บเดือยสีขาวอมเหลือง ตาสีขาวอมเหลือง จะเป็นเขียวเลาชนิดใด ให้
สังเกตที่ขลิบขน ปลายสร้อยคอเหมือนขนสร้อยตัวผู้ชนิดนั้นๆ




สายพันธุ์ไก่ชนนกกรดหางดำ

ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ

ไก่นกกรด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่า เป็นไก่ชนดุดันไม่กลัวใคร ไก่
นกกรดเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งบุเรงนอง
สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่พม่า โปรดให้พระน้องยาเธอสมเด็จพระเอกาทศรถนำไก่กรดไปชนหน้าพระที่นั่ง ได้
ชนะไก่พม่า และได้อยู่เป็นพ่อพันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน

แหล่งกำเนิด
ไก่นกกรดมีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่ง ไก่ดัง จะอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่งไก่ดังจะอยู่แถวๆ นครสวรรค์
ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร สุพรรณบุรี เพชรบูรณ์ เป็นต้น ประเภท ไก่นกกรดเป็นไก่ขนาดกลาง ตัวผู้
น้ำหนักโดยเฉลี่ย ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย ประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ
เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง ลูกเจี๊ยบแดงลายลูกหมูป่า หรือลายกระถิก ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนหัวสีแดง

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้
รูปร่างลักษณะไก่นกกรด เป็นไก่รูปทรงงดงามอีกพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงหงส์ ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่ยาวอยู่
เสมอ หางยาวเป็นพลูจีบหรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่คอยาว

ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้มสีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย

จมูก จมูกกว้าง ฝาปิดจมูกเรียบ รูจมูกกว้าง มีสีเดียวกับปาก

หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอด

หู-ตุ้มหู ขนปิดหู สีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้าดูกระชับไม่หย่อนยาน

เหนียง เหนียงรัดรึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนหงอน กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวชัดเจน

คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียว แบบคอม้า กระปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ

ปีก ปีกยาวใหญ่ ไม่โหว่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขน ปลายปีกสีแดงอม
น้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ

ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็ง ชิดและขนานกัน

หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกะลวย ดกยาวสีแดง หางเป็นลักษณะฟ่อน ข้าวหรือพลูจีบ

แข้งขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย

เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก มักมีเกล็ดพิฆาตสีเดียวกับแข้ง

นิ้ว นิ้วยาวเรียวกลม ใต้นิ้วมีตัวปลิงชัดเจน เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นเกล็ดพิฆาต สีเดียวกับแข้ง

เดือย เป็นเดือยงาช้างหรือเดือยลูกปืนสีเดียวกับแข้งและปาก

ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีแดงอมน้ำตาลเข้ม แบบสีแมลงสาบ
กิริยาท่าทาง ไก่นกกรดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้ง เปล่าเป็นไก่ชนดุดัน
ไม่กลัวใคร


ไก่นกกรด
แบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
1. นกกรดแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขน
สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู สีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง ตัวนี้เป็นตัวนิยม

2. นกกรดดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวย ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ
สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำ คล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสี
แดงเข้มอมดำ

3. นกกรดเหลือง ขนพื้นตัวสีดำ ปลายปีกสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่น ๆ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู
สีเหลืองอมดำปนน้ำตาล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง

4. นกกรดกะปูด หรือบางคนเรียก กรดนาก กรดลาย ตอนเล็กจะมีลายดำอยู่ที่ปีก ขนพื้นตัวสีดำ ขนพัดขนกะลวยสี
ดำ ขนปีกสีเหมือนแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปีกหู สีแดงดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกะปูด


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่นกกรดเพศเมีย

ขนพื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสันหรือสร้อยคอสีน้ำตาล ขนปีก ขนหลัง สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้ม
แบบสีแมลงสาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกรด
เฉดสีอะไรให้สังเกตดูที่สร้อยคอ จะเป็นขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้




ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
แหล่งกำเนิดป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ในภาคอีสาน ขอนแก่น มหาสารคาม ใน
ภาคกลางและภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น

ประเภท ไก่ลายหางขาวเป็นสายพันธุ์ไก่ชน ตัวผู้หนัก 3.0 – 4.0 กก. ตัวเมียหนัก 2.5 – 3.0 กก.
สีของเปลือกไข่ ไข่จะสีขาวอมน้ำตาล ที่เรียกว่าสีไข่ไก่ ลูกเจี๊ยบสีดำมอๆ หน้าอกขาว หัวจะมีจุดขาว ตา ปาก แข้ง เล็บ
เดือย สีขาวอมเหลือง

ประวัติความเป็นมา ไก่ลายหางขาวเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งสมัยสุโขทัย จัดเป็นไก่เก่งทางภาคเหนือที่เราเรียก กัน
ว่า “ไก่เบี้ย หรือ ไก่ข่อย” ทราบว่าในสมัยสุโขทัยพ่อขุนเม็งราย พระสหายพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดไก่เบี้ย
ไก่ข่อย หรือไก่ลายหางขาวมาก เคยชนกับไก่ประดู่แสมดำหางดำของพ่อขุนรามคำแหง ไก่ลายปัจจุบันมีอยู่ทั่วๆไป สี
คล้ายๆกับไก่บาร์พลีมัทร็อคของฝรั่ง เป็นไก่พันธุ์เนื้อและพันธุ์ไข่ แต่ของไทยเป็นพันธุ์ไก่ชน

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
รูปร่างลักษณะไก่พันธุ์ลายหางขาว เพศผู้ ขนพื้นตัวลายตลอดขนปีก ขนหางพัดลายเหมือนขนพื้นตัว ขนหางกะลวยสี
ขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีลาย ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง
ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีขาวอมเหลือง ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง
จมูก แบนราบสีเดียวกับปาก รู้จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี แบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น ลูกตากลางดำ ตารอบนอกสีเหลือง เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
หงอน หงอนเล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
ตุ้มหู ขนปิดรูหูมีลายเหมือนสร้อย
เหนียง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนหงอน
กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบ
ปีก ปีกลาย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังลาย
ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข้ง หนาและตรงชิด
หาง หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบ หางพัดลายเหมือนพื้นตัว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายลาย
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาลาย เป็นแข้งรูปลำเทียนหรือลำหวาย สีเดียวกับปาก
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
นิ้ว เรียวยาว เป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
เดือย เดือยตรงแกนใหญ่ ปลายโค้งงอนไปตามก้อย แข็งแรงมั่นคง สีเดียวกับปาก





ไก่ชนพันธุ์นกกด
ประวัติความเป็นมา
ไก่นกกด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผยชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่าเป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใครไก่
นกกดเป็นไก่สายพันธุ์แท้แต่โบราณมาแต่ ครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่ง
พระเจ้าบุเรงนอง ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าและได้เลี้ยงเป็นพ่อ พันธุ์สืบทอดใน
ประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน

แหล่งกำเนิด ไก่นกกด มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่วๆ ไปแถบ จังหวัดนครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี เป็นต้น
สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง
ลักษณะลูกไก่ มีขนสีแดงลายลูกหมาป่า หรือลายกระทิง ปาก แข้ง และเล็บ สีเหลืองอมแดง

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
# รูปร่างลักษณะ ไก่นกกดเป็นไก่รูปทรงงดงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงระหง ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่
และยาว หางยาวเป็นพลูจีบ หรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่ คอยาว ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บแลเดือย
# ปีก ปีกยกใหญ่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ
# ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย
# ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งชิดและขนานกัน
# จมูก จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
# หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกระรวยดก ยาวสีดำ หางเป็นลักษณะฟ่อนข้าวหรือพลูจีบ
# ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ตาสีเหลืองอมแดง เส้นตาสีแดง
# แข้งขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย
# หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกด หงอนมักจะเบ้ออกบ้างเล็กน้อย
# เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
# หู ตุ้มหู ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้า ดูกระชับไม่หย่อนยาน
# นิ้ว นิ้วเรียว ยาว กลม มีตัวปลิงชัดเจน
# เหนียง เหนียงรัดติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใส เหมือนหงอน
# เดือย เดือยเป็นเดือยงาช้าง สีเดียวกับแข้งและปาก
# กระโหลก กะโหลกหัวยาวสองตอน มีรอยไขหัวชัดเจน
# ขน ขนพื้นลำตัวสีดา ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้าสีแดงอมน้ำตาล ขนหางสีดำ
ขนปั้นขาสีดำ ขนปีกสีแดง ขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลเข้มคล้ายสีปีกแมลงสาบ
# คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียวแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิด แน่น
# กริยาท่าทาง ไก่นกกดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ขนเชิงตี เป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใคร

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
ขนพื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย สร้อยคอสีน้ำตาล ขนหลัง ขนปีก สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลง
สาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกดเฉดสีอะไรให้
สังเกตดูที่สร้อยคอ จะขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้

สายพันธุ์ไก่นกกด แบ่งได้ตามเฉดสีถึง 3 ชนิด คือ
1. ไก่นกกดแดง ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ
ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง

2.ไก่นกกดดำ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวย สีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ชน
สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำคล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอม
แดงอมดำ ตาสีแดงเข้ม

3.ไก่นกกดเหลือง ขนพื้นลำตัวสีดำ ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่นๆ บางตัวจะมีลายดำอยู่ที่
ปีก จึงเรียกว่า กดลาย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีแดงอมดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกระ
ปูด ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดงอมดำ





ขียวหางดำ
ประวัติความเป็นมา
ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทย
โบราณ สืบได้ตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลำหักลำโค่นดี นิยมเลี้ยง
แพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดำ ชื่อ ไก่พาลี
ไก่เขียวหางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้จะเป็นไก่อุตรดิตถ์ ชลบุรี (พนัสนิคม) อยุธยา และแถบภาคใต้หลายจังหวัด ไก่
เขียวหางดำเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีไทย เรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน หรือนางสิบสอง ที่เกี่ยวข้อง
กับประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหักเป็นชาวอุตรดิตถ์ ชอบกีฬาชกมวย ฟันดาบ และชนไก่มาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นได้
ร่ำเรียนวิชาการ หนังสือ และวิชาป้องกันตัว คือมวยไทย และฟันดาบและชอบการเลี้ยงไก่ชนโดยเฉพาะไก่เขียวหางดำ
เป็นไก่ที่มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า มีลำหักลำโค่นดี จะตีคู่ต่อสู้ไม่เกิน 3 อัน เป็นที่เลื่องลือ แม้แต่พระยาพิชัยดาบหัก
ยังยกย่องว่าไก่เขียวหางดำเป็นไก่เทวดา ต่อมาได้เข้ารับราชการรับใช้สมเด็จพระเจ้าตากสิน

ครั้งหนึ่งก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่ายกทัพมาล้อมทัพของพระยาพิชัยดาบหัก ได้ทำสงครามสู้รบกันทุกวัน กำลังทหาร
จึงล้มตายไปจำนวนมาก เสบียงอาหารก็ร่อยหรอ เห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้พม่าล้อมไว้อย่างนี้คงต้องพังแน่ ก็เลยออกกล
อุบายให้พักรบ 1 วัน ให้ทหารไปมาหาสู่กันนอกค่ายและจัดให้มีการชกมวย ชนไก่ ถ้าฝ่ายไทยชกมวยแพ้ ชนไก่แพ้
จะยอมให้ยึดค่าย แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ก็ให้เลิกทัพกลับไป พม่าหลงกลก็ยอมพระยาพิชัยฯ ให้ศิษย์เอกมวยไทยชกกับ
พม่า พม่าแพ้ และเอาไก่เขียวหางดำเป็นเหล่าพันธุ์ที่พระยาพิชัยฯ นิยมไปชนกับพม่า ไก่พระยาพิชัยฯ ชนะ พม่าต้อง
เลิกทัพกลับไป จึงเป็นการรักษาค่ายและชีวิตทหารเอาไว้ได้


ไก่เขียวเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย คือ ในเรื่องพระรถเมรี หรือนางสิบสอง พระรถเสนมีแม่และป้าตาบอดถึง 12 คน
ถูกขังไว้ในถ้ำอดข้าวอดน้ำ พระรถเสนจึงต้องออกหาอาหารและน้ำมาเลี้ยงแม่และป้าทุกวัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์
สงสาร จึงมอบไก่แก่พระรถเสนให้นำไปชนพนันเอาข้าว 12 ห่อ มาให้แม่และป้ากิน


แหล่งกำเนิด

ไก่เขียวหางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไป
ตามท้องถิ่น เช่น แถบภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม) เรียก “เขียวพระรถ” ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์
เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก
เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และ
พัฒนากันต่อไป

ประเภท

ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมียประมาณ 2.00
กิโลกรัมขึ้นไป

สีของเปลือกไข่
สีน้ำตาลนวล

ลักษณะลูกไก่
หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวเล็กน้อยคล้ายประดู่หางดำ ปาก แข้ง สีเขียวอมดำ หรือน้ำตาลอมดำ


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูปร่างลักษณะ ไก่เขียวแมลงภู่หางดำ มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด
  • หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา
  • ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา

  • คอ คอใหญ่ปานกลาง ยาวระหง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ
  • ใบหน้า ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากาหรือนกยูง
  • ปีก ปีกยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียว สีดำ สร้อยปีกสีเขียวอมดำ
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงอเล็กน้อย มีร่องปากหรือร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเขียวอมดำ สีรับกันกับสีแข้ง เล็บ และ
  • เดือย ปากบนใหญ่กว่าปากล่างหุบปิดสนิท ไม่มีร่องโหว่ เง่าปากใหญ่และแข็งแรง

  • ตะเกียบ แข็งแรง ชิด และตรง
  • จมูก รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก
  • หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก ยาวเป็น
  • ฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง ปลายหางชี้ตรง กระเบนหางคอดรัดขั้วหางใหญ่และชิด กระปุกน้ำมันเดี่ยว

  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี คิ้วนูนเรียบตามเบ้าตา ดวงตาสีเขียวอมดำ สีเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย ข้อขาตรง หนังปั้นขาออกสีชมพู ขนปั้นขาสีดำ
  • หงอน หงอนเป็นหงอนหิน มีแฉกเล็กๆ 2 ข้าง ผิวหงอนเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัด
  • กระหม่อม ไม่พับไม่ล้ม

  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเขียวอมดำรับกับสีปาก เกล็ดเรียบเป็นแถวเป็นแนวยาวปัดตลอด มักมีเกล็ดพิฆาต เช่น
  • กากบาท นาคราช เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ผลาญศัตรู งูจงอาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง


    ตุ้มหู
    ตุ้มหูรัดรึง ไม่หย่อนยาน สีแดงเหมือนสีหงอน รูหูกลม มีขนปิดหูสีเขียวอมดำเหมือนขนสร้อย

  • นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วหรือตัวปลิงแน่น เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นลักษณะต่างๆ เกล็ด เล็บ เดือย มีสีเขียวอมดำรับกับแข้งและปาก
  • หนียง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนสีหงอน
  • เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นและงาช้าง เดือยแหลมคม สีเดียวกับแข้งหรือปาก
  • กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ส่วนหน้ายาวเล็กกว่าส่วนท้าย เห็นรอยไขหัวที่กะโหลกชัดเจน
  • ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก สีดำตลอด ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก
  • สร้อยหลัง และระย้า สีเขียวอมดำแบบสีแมลงภู่ ก้านขนแข็งเหนียว ไม่เปราะหรือหักง่าย

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    เป็นไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียว
    อมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย
    ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย


  • สรุป
    ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ



  • แหล่งไก่เชิงเก่าแก่แต่โบราณ

         
    แหล่งไก่ชน
    เมื่อพูดถึงไก่เชิง หลายคนนักเลี้ยงไก่ นักเล่นไก่เชิงจะคิดไปถึง

    - ไก่ตราด
    - ไก่พนัส
    - ไก่บางคล้า
    - ไก่แปดริ้ว
    - ไก่จันทบุรี

    ไก่เหล่านี้ลล้วนแล้วแต่เป็นไก่ที่มีชั้นเชิงหลายรูปแบบหลายกระบวนท่าจนเป็นที่เลื่องลือและรู้จักกันมานาน

    แต่ก่อนเชิงไก่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะคนเล่นไก่จะเล่นกันแค่แพ้ชนะ แพ้ก็เสียเงิน ชนะก็ได้เงิน มักจะเล่นฝัง
    หัวยกบางกัน เล่นแบบไม่ออกตัว เขาจะหาไก่ตีหนักๆลำโตๆน็อคสถานเดียว มักนิยมไก่ตั้งกอด 2 หน้าตีแบบใครดีใคร
    อยู่ ไก่เชิงสมัยก่อนมักลำไม่โต ตีไม่หนักไม่ค่อยแข็งแรงและเชื่อกันว่ามักใจน้อยไม่อึด ทน เพราะปล้ำน้อยไม่ค่อย
    เจ็บจึงมักไม่แข็งพอพบคู่ต่อสู้อึดทนยืนหยัดได้ 6-7 อันไก่เชิงจะหมดท่าหมดเชิงหมดแรงมาเจอมาโจ้ตีกับไก่ตั้งก็
    ตายสถานเดียว ไก่เชิงเลยไม่ค่อยนิยมกัน มักนิยมไก่แข็งตั้ง 2 หน้า ลำหนักมีลำหักลำโตและแข็งแรง


    สมัยต่อมามีนักเล่นไก่ที่เป็นมืออาชีพและมีนักเลี้ยงไก่รับจ้างเลี้ยงไก่ได้เงินเดือนแพงๆ (มีรายได้มากกว่าคนเรียนจบ
    ปริญญาเสียอีก) เซียนนักเล่นไก่รู้จักเล่นออกตัวแพ้ชนะก็ได้เงิน บางครั้งแพ้กลับมาได้เงินมาก ถ้าเป็นต่อก่อนมากๆ
    แล้วมาแพ้ในอัน 4-5 ยิ่งได้เงินง่ายและมาก หรือได้เงินสองข้างเลยก็มี การเล่นการเลี้ยงไก่เชิงง่ายกว่าไก่ตั้งเพราะ
    ไก่เชิงจะมีกระบวนท่ามากกว่าไก่ตั้งมาก ทำให้ไก่ตั้งงวยงงหลงเชิงเสียเชิง ทำให้เป็นโอกาสไก่เชิงจะเข้าตี ถ้าไก่ตั้งทน
    ไม่ได้ก็จะแพ้ในอันต้นๆเพียง 2-3 อัน คนเล่นไก่เชิงจะได้เงินง่ายมาก


    ตอนหลังๆไก่เชิงมีการพัฒนามีการเลี้ยงให้แข็งแรงเป็นอย่างดีพอๆกับไก่ตั้ง เป็นอันว่าไก่ตั้งก็หมดสิทธิ์ไปเลย เซียนไก่
    ชนและนักเล่น ไก่ชนจึงหันมานิยมเล่นไก่เชิงกันเป็นส่วนมากมีผลต่อการเพาะเลี้ยงไก่ชนด้วย คนที่เพาะเลี้ยงไก่ชนเชิง
    จึงขายได้ดีกว่าเพาะเลี้ยงไก่ตั้งหรือไม่มีเชิง และราคาก็สูงตามไปด้วย นักเล่นนักเพาะจึงต้องหาสายพันธุ์มาเพาะเลี้ยง
    เพื่อให้ได้ไก่เชิงตามใจปรารถนา แหล่งกำเนิดไก่เชิงแต่โบราณมีอยู่ หลายแห่งเช่น


    1. แหล่งไก่เชิงตราด

    เป็นแหล่งไก่เชิงที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณแหล่งไก่เชิงตราดที่ดังๆ คือ ท่าพริก เป็นแหล่งไก่เชิงที่โด่งดังมาก ลักษณะ
    ของไก่เชิงตราด


    หน้าตา
    มักจะเป็นไก่หน้ากลมหงอนหินหรือหงอนเบ้คางรัดมีเหนียงเล็กน้อย กะโหลกยาว ตามีประกายแจ่มใส

    สีสัน มักจะเป็นไก่ประดู่หางดำ แข้งดำตาลาย หรือประดู่แดงหางหมกหรือหางดำ ในพันธุ์แข้งดำสีสร้อยคอจะเห็นชัด
    สร้อยปีก และสร้อยหลังจะมองดูอมเขียวปลายขนระย้าจะออกเหลืองเล็กน้อย ในพันธุ์หางหมกแข้งออกน้ำตาล สี
    สร้อยจะชัดเจน หางมักสั้นไม่ค่อยยาว ลักษณะหางดกตั้ง

    รูปร่าง จะเป็นไก่ค่อนข้างจับยาน กระดูกใหญ่ ลำตัวยาว ปั้นขาใหญ่ บั้นท้ายยาวโต คอยาว หางปุ้น

    แข้ง ขา เกล็ด ไก่ตราดมักเป็นไก่แข้งคัดมีเกล็ดพิฆาตดี แต่เกล็ดอันมีน้อยคือเกล็ดจากเดือยขึ้นไป เกล็ดเดิมพันไม่
    สูงนัก มักสลับมีขาดมีต่อ


    ชั้นเชิง
    ไก่ตราดส่วนมากเป็นไก่เชิงล้น คือมีเชิงมากไป มักจะชนได้สองคอ สองปีก สองขาเป็นหลัก ซึ่งเป็นเชิงนิยม
    การมีหลายเชิง จะมีทั้งดีทั้งเสีย ดีคือ ถ้าเป็นรองหรือพบตัวเก่ง จะสามารถเปลี่ยนแก้เชิงได้ เสียคือ ถ้าเป็นต่อมักจะเล่น
    เชิงมากไม่ค่อยเผด็จศึกทำให้ยืดเยื้อ


    สรุปไก่ตราดเป็นเชิงมากที่สุด ชนเอาตัวรอดได้ การเลี้ยงต้องเลี้ยงให้แข็งแกร่ง เพราะต้องใช้แรงมากในการเข้าทำเชิง
    ถ้าเลี้ยงไม่ดีเลยอัน 3 ไป แล้วยังเผด็จศึกไม่ได้จะลำบากจะหมดแรงและหมดเชิงตามมาอะไรจะเกิดขึ้นก็คงจะรู้


    2. ไก่เชิงพนัสนิคม

    อำเภอพนัสนิคม อยู่จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งกำเหนิดไก่เชิงอีกแห่งหนึ่งที่เราเรียกกันว่า "ไก่พระรถ" คือไก่พระรถเสน
    ในเรื่องนางสิบสอง หรือเรื่องพระรถเมรี เป็นไก่เชิงหลักจัด คือเชิงบน เชิงมัด แข้งเปล่า ลักษณะของไก่เชิงพนัสฯ


    หน้าตา
    ไก่พนัสฯจะมีหน้าตากลมใหญ่ ผิวหน้าหนา หงอนใหญ่ กะโหลกใหญ่ยาว หงอนมักจะบี้หรือเบ้เล้กน้อย ตา 2
    ชั้นมีประกาย แจ่มใสเป็นไก่ฉลาด


    สีสัน
    ไก่เมืองพระรถมีเก่งๆหลายสี เช่น เหลืองหางขาว สีเขียวหางดำ สีเขียวเลา สีเทาทองคำ สีเทาทองแดง สีเหลือง
    สีเทาค่อนข้างดี สีเขียวค่อนข้างหายาก ถ้าพบเห็นจะเก่ง ไก่พนัสฯจะมีสีสันชัดเจนกว่าไก่ตราด


    รูปร่าง
    ไก่พนัสฯเป็นไก่รอยใหญ่ กระดูกดี ลำตัวยาว หางยาว ปั้นขาใหญ่ จับมักได้เปรียบคู่ต่อสู้


    แข้ง ขา เกล็ด
    ไก่พนัสฯ มักเป็นเกล็ดจระเข้ขบฟัน เกล็ดมักใหญ่ นิ้วยาว แข้งเป็นลำหวาย มีเกล็ดพิฆาตหลายอย่าง
    เป็นไก่ตีแม่น ตีเจ็บ ลำหนักกว่าไก่ตราด


    ชั้นเชิง
    ไก่พนัสฯเป็นไก่ที่มีลีลาดีแห่งหนึ่ง ชน 2 คอ 2 หน้า 2 ปีกเป็นหลัก เชิงไม่มากเท่าไก่ตราดเรียกว่าไม่แพรว
    พราวเท่าตราด แต่เชิงไม่ล้นถ้าชนกันเกิน 3 อันแล้วไก่พนัสฯ จะยืนได้ดี แต่ถ้าอันต้นๆ 3 อันมักจะเสร็จไก่ตราด


    สรุป ไก่พนัสฯเป็นไก่เชิงหลักดีไม่ล้น การเลี้ยงต้องเลี้ยงให้แข็งแกร่งแรงมากจะดีมีโอกาสเผด็จศึกได้เร็วและช้าสุด
    แล้วแต่โอกาสเรียกว่า มีหลายก็อก


    3.ไก่เชิงบางคล้า แปดริ้ว

    บางคล้าแปดริ้วอยู่ใน จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเหล่าไก่เชิงดีอีกอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ไก่เชิงบางคล้า จะมีเชิงคล้ายๆ
    กัน จะชน 2 คอ 2 ปีก 2 ขา จะเน้น 2 คอ คือชนเชิงบน ขี่กอด ทับ ล็อคเป็นหลัก ไก่เชิงบางคล้าแปดริ้วจะเป็นไก่สี
    ประดู่หางดำหรือหางขาวจะเป็นเหล่าที่เก่งสีอื่นๆจะด้อยกว่า ลักษณะไก่เชิงบางคล้า


    หน้าตา
    ไก่เชิงบางคล้า จะเป็นไก่หน้าใหญ่ หน้ายาว หงอนมักบี้ ตามีประกาย คางรัดเหนียงแลบดูน่ากลัวกว่าไก่เชิงอื่นๆ


    สีสัน
    ไก่เชิงบางคล้า จะเป็นไก่ประดู่หางดำที่สวยงาม คือ ทั้งสวยทั้งเก่ง ในบ้านที่รักษาเหล่าสายพันธุ์ไว้ดีๆจะเป็น ไก่
    สีสันสวยงามมากประกวดได้เลย


    รูปร่าง
    ไก่แปดริ้ว เป็นไก่รูปร่างสวยงามจับยาวสองท่อน จับกลม บานหัวบานท้าย หางพัด หางกระลวยดกและยาว
    โดยเฉพาะพันธุ์ประดู่หางดำหางจะยาวมาก ปั้นขาใหญ่ยาว จะเป็นไก่รอยใหญ่ทั้งสวยทั้งเก่ง


    เกล็ดแข้ง
    ไก่เชิงบางคล้า เป็นไก่เกล็ด 2-3 แถว แบบจรเข้ขบฟันหรือปัดตลอด เป็นไก่ตีเจ็บ แข้งขาเป็นลักษณะ
    แข้งคัดออกเหลี่ยม นิ้วยาว


    ชั้นเชิงลีลา
    ไก่เชิงบางคล้า เป็นไก่เชิงบน คือเชิงชนคุมบนเก่ง ถ้าได้เหล่าเชิงล็อก กอด คออ่อนดีๆจะแพ้ยาก ไก่
    บางคล้าเก่งๆ จะชน 2 คอ 2 หน้า 2 ขา เป็นหลัก


    สรุป ไก่เชิงบางคล้า แปดริ้ว เป็นไก่ชนหลัก เชิงคุมบนดี ลำโต รูปร่างสวยงาม ประกวดก็ได้ ตีก็ดี



    4.ไก่เชิงจันทบุรี
    จันทบุรี นอกจากจะเป็นเมืองที่มีพลอยสวยงาม ทุเรียนอร่อย เงาะล่อนแล้ว จันทบุรียังมีไก่เชิงชนดี
    อีกด้วย ไก่จันทบุรี เป็นไก่ไม่ค่อยสวยแต่มีฝีเท้าจัด ชั้นเชิงพอๆกับไก่ตราดไม่แพ้กัน


    รูปร่าง
    เป็นไก่ทรงหางหอกตั้งจับยาน อกสั้น เป็นไก่ชนเร็ว หางสั้นๆปุ้นๆ ปั้นขาใหญ่ คอยาว ถ้าทรงคล้ายๆไก่
    เวียดนามจะเก่ง


    หน้าตา
    ไก่จันทบุรี เป็นไก่หน้าใหญ่ หงอนใหญ่เบ้บี้พับ กะโหลกใหญ่และยาว เป็นไก่ฉลาดดี


    สีสัน
    ไก่จันทบุรี มีเก่งๆ 2 สี คือสีประดู่กับสีเหลือง เป็นไก่สีแปลกไปกว่าตำรา คือประดู่หางหมก เหลืองหางดำจะ
    เก่งกว่าสีอื่นๆ ต้นตระกูลไก่จันทบุรีน่าจะมาจากไก่ประดู่ผสมเหลือง สีที่เก่งๆจึงเป็นสีผสม


    เกล็ด แข้ง ขา
    ไก่จันทบุรี จะมีเกล็ดแข้งใหญ่แบบไก่เวียดนาม ขนน้อย สร้อยสั้น หางสั้น แข้งเป็นลำหวาย นิ้วยาวมี
    เกล็ดพิฆาตดี


    ชั้นเชิงลีลา
    ไก่จันทบุรี มีชั้นเชิงเหมือนๆกับไก่ตราด จะชน 2 คอ 2 ปีก 2 ขา แบบไก่ตราด เชิงถนัดคือขี่ มัดปีก


    สรุปไก่จันทบุรี เหมือนๆกับไก่ตราด เป็นไก่ตีแข็งแรง ชนคล่องแคล่วว่องไว แต่เป็นไก่ตัวสั้นจะมีปัญหาเรื่องแรงถ้าชน
    มากอัน
    ไก่เชิงดีทั้ง 4 แหล่งดังกล่าวมานี้ หมายถึงไก่เชิงแต่โบราณ เป็นต้นตระกูลของไก่เชิงทั่วไปของประเทศไทย
    เป็นไก่เก่งแต่ก่อน ปัจจุบันนัก ผสมพันธุ์ไก่ได้พัฒนาหาจุดเด่นกำจัดจุดด้อยออกไป ไก่ทั้ง 4 แหล่ง ยังเป็นไก่ครบ
    เครื่องเหมือนเดิม ถ้าเราสามารถเลือกเอาจุดเด่นของแต่ละแหล่งมา เอาจุดด้อยออกไป แล้วผสมข้ามแหล่ง ระหว่าง
    ตราด - พนัสฯ - บางคล้า - แปดริ้ว และจันทบุรีก็จะได้ไก่ที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันก็มีคนทำขึ้นมาแล้วและ ได้ผลดีกว่า
    ไก่ยุคเก่าๆ



    จากนิตยสารสนามไก่ชน ฉบับที่ 9





    หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


    Content ©