-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 221 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สัตว์เลี้ยง





ไก่คอล่อน

                                                                                                
ยรรยง บุณยรัตน์    สมศักดิ์ นวลสม

1.ประวัติความเป็นมา

การเลี้ยงไก่คอล่อนในภาคใต้จากข้อมูลพบว่า เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่คอล่อนกับไก่พื้น
เมืองของจังหวัดพัทลุง (ไก่ชน)

“ไก่คอล่อน” เชื่อว่าเป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ของฝรั่งเศส ที่นำมาเลี้ยงในประเทศเวียดนามและ
กัมพูชา เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทหารญี่ปุ่นได้นำไก่คอล่อนจากประเทศเวียดนามและ
กัมพูชามาเป็นอาหารในกองทัพ โดยทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัด
สงขลา มีการจัดสร้างถนนยุทธศาสตร์สายสงขลา–พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่ดังกล่าว
โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุงและจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง และได้มีการคัดเลือกปรับปรุงสายพันธุ์จนเรียกว่า
ไก่คอล่อนพัทลุงต่อมา

          
2.ลักษณะมาตรฐานประจำสายพันธุ์
ลักษณะประจำพันธุN
ไก่คอล่อนเป็นไก่ประเภทให้เนื้อ มีลักษณะคล้ายไก่พื้นเมือง (ไก่ชน) โดยบริเวณกระเพาะพักจนถึง
ปากไม่มีขน หรือมีขนแต่หนาไม่เกิน 1.5 นิ้ว จึงเรียกว่า “คอล่อน”  สีขนมีสีเขียวจนถึงดำ (ยกเว้นสี
น้ำตาลตลอดลำตัว) หงอนถั่ว แข้งเหลือง ผิวหนังสีเหลืองหรือสีขาว สำหรับสีขนนั้นมีลักษณะของสี
ประจำมาจากสายพันธุ์ของบรรพบุรุษ โดยไม่เกี่ยวกับปริมาณของขนและน้ำหนักตัว  โดยทั่วไปไก่คอ
ล่อนจะมีสีปากและขา สีดวงตาและขนจะมีสีเดียวกัน ส่วนคอไม่มีขนและรูขุมขน แนวสันหลังเปลือย
ล่อน ขนน่อง

ในเพศผู้แทบจะไม่มี เพศเมียมีบ้างเล็กน้อย ลักษณะหน้าอกใหญ่ เนื้อหน้าอกเยอะ ไหล่กว้าง  มอง
ด้านบนเป็นรูปสามเหลี่ยม สีหน้าจะมีสีชมพู ลำตัวเมื่อกางปีกจะไม่มีขน


ขนาดน้ำหนักตัว
วัยเจริญพันธุ์  ตัวผู้อายุประมาณ 7 เดือน ตัวเมีย อายุประมาณ 5.5 เดือน โดยมีน้ำหนักตัว เพศผู้
หนัก 2.5–3.0 กก. เพศเมียหนัก 1.5–2.0 กก. เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0–4.5 กก.
เพศเมียหนัก 2.0–2.8 กก.
การผสมพันธุ์

ไก่คอล่อนแม่พันธุ์ สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 5–5.5 เดือน ส่วนตัวผู้จะใช้ทำพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7–
8 เดือน พ่อพันธุ์ 1 ตัว สามารถคุมแม่พันธุ์ได้ 7–10 ตัว อัตราการไข่เฉลี่ยปีละ 4–5 ชุด ชุดละ
12–15 ฟอง ฟักเป็นตัว 10–12 ตัว เลี้ยงรอด 8–10 ตัว (แม่ไก่ฟักและเลี้ยงลูกเอง)


คุณลักษณะที่ดu
1. การเจริญเติบโตเร็ว เนื้อแน่น น้ำหนักตัวดี
2. ทนทานต่อโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีอากาศร้อน
3. ให้เนื้อมากและนุ่มกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป
4. เนื้อล่อนไม่ติดกระดูก เหมาะที่นำไปบริโภค
5. ตลาดมีความต้องการ นิยมบริโภค
6. ขนที่คอและลำตัวมีน้อย การชำแหละใช้เวลาน้อย
7. เลี้ยงลูกเก่ง อารมณ์ดี ไม่ดุร้าย
8. เหมาะที่จะเลี้ยงรวมเป็นฝูง ในที่โล่งกว้าง
9. ผสมกับไก่พันธุ์อื่นจะได้ลักษณะเด่นลูกออกมาเป็นคอล่อน

การเลี้ยงดู
1.เลี้ยงแบบปล่อยลาน จะต้องมีเนื้อที่กว้าง และมีอาหารจำพวกหญ้าและธัญพืชอย่างสมบูรณ์ 
เพราะไก่คอล่อนชอบอยู่อย่างอิสระสภาพพื้นแห้ง มีเนินดินน้ำไม่ท่วม มีไม้พุ่ม ไม้อาศัยนอน

2.ลี้ยงแบบขังคอก จะต้องจัดกลุ่มหรือฝูงไก่ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน และฝูงหนึ่งๆ ไม่ควรเกิน 50 ตัว
เพราะถ้ามีพื้นที่เลี้ยงน้อยไก่จะจิกตีกัน และจะต้องให้อาหารที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูง เพราะเลี้ยงขัง
คอกไม่สามารถหาอาหารโปรตีนจากแหล่งอื่นได้ การเตรียมคอกโดยโรยปูนขาวให้ทั่ว ใช้วัสดุรองพื้น
เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รองพื้นคอกหนา 1 นิ้ว พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อให้ทั่วก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง

ระยะเวลาการเลี้ยงดู
1.การเลี้ยงแบบปล่อยลาน จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3–4 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ
1.5–1.8 กก.

2.การเลี้ยงแบบขังคอก จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2.5–3 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ
1.4–1.6 กก.


การให้อาหาร
1.การเลี้ยงแบบปล่อยลาน ให้อาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระยะ ดังนี้
-  ระยะแรก อายุ 0–4 สัปดาห์ ให้อาหารไก่เนื้อเล็ก
-  ระยะสอง อายุ 4–12 สัปดาห์ ให้รำผสมปลายข้าวและอาหารไก่รุ่น อัตรา 55:35:10 กก.
-  ระยะสาม อายุ 12–16 สัปดาห์ ให้รำละเอียดผสมปลายข้าวและอาหารไก่ใหญ่อัตรา 50:40:
10 กก.

2.การเลี้ยงแบบขังคอก ใช้อาหารสำเร็จรูป เช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่เนื้อทุกประการ
การป้องกันรักษาโรค

โรคระบาดที่ทำความเสียหายให้แก่ไก่คอล่อน ได้แก่ โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคฝีดาษ

โรคอหิวาต์เป็ด – ไก่ การทำวัคซีน ทำตามโปรแกรมการทำวัคซีนของกรมปศุสัตว์ การถ่ายพยาธิ ทั้ง
พยาธิภายในและภายนอกให้ทำทุกๆ 6 เดือน  แหล่งที่มีการเลี้ยงไก่คอล่อนจำนวนมากในภาคใต้อยู่
ที่จังหวัดพัทลุงส่วนจังหวัดอื่น ๆ มีเลี้ยงจำนวนน้อย     

                                                    

ที่มาข้อมูล
จากการสัมมนาโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองประจำถิ่น
นักวิชาการสัตวบาล 8 ว สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนักวิชาการ
สัตวบาล 5 ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช





ไก่คอล่อน-ไก่เบตง
ในตอนที่ผ่านมาดิฉันได้นำเสนอเรื่องราวของไก่พื้นเมืองไทย และได้นำเสนอพันธุ์ไก่ชนในประเทศไทย
กันไปแล้ว ต่อไปจะขอนำเสนอเรื่องราวของพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่มาจากต่างถิ่นกันต่อไปนะคะ

2. ไก่พื้นเมืองมีที่มาจากต่างถิ่น
ไก่พวกนี้เป็นไก่พันธุ์ต่างประเทศเช่น ไก่จีน ไก่ฝรั่งเศส ซึ่งถูกนำมาเลี้ยงในเมืองไทยนานมาแล้วจนเป็น
ไก่พื้นเมืองประจำถิ่น ได้แก่

2.1 ไก่คอล่อน(พัทลุง)
ไก่คอล่อน หรือบางคนเรียกว่า ไก่คอเปลือย สนง.เกษตร จ.พัทลุง รายงานไว้ว่า "ไก่คอล่อน
พัทลุง"เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่คอล่อนของฝรั่งเศสกับไก่ชนของ จ.พัทลุง (ไก่คอล่อนของฝรั่งเศส
เป็นไก่คอล่อนที่นำมาเลี้ยงในอินโดจีน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้นำเข้ามาใน
ประเทศไทยเป็นอาหารของทหาร ได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลามีการสร้างถนน
สายยุทธศาสตร์สงขลา-พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง) แต่มีบางกระแสว่า
"ไก่คอล่อนพัทลุง" เป็นไก่ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500

ลักษณะประจำพันธุ์ไก่คอล่อน
เป็นไก่ที่มีรูปร่างลักษณะหลายส่วนคล้ายไก่บ้านหรือไก่อูเช่นมีขนสีดำเหลือบเขียว แต่จะมีลักษณะ
พิเศษที่แตกต่างได้แก่ ที่บริเวณไหล่ ลำคอไปถึงศีรษะไม่มีขน จึงเรียกว่า "ไก่คอล่อน" ตรงบริเวณ
ด้านหลังศีรษะ (ท้ายทอย)จะมีขนเป็นกระจุกคล้ายสวมหมวก และบริเวณต้นคอด้านหน้าทั้งซ้ายและ
ขวาจะมีปอยขนอยู่ข้างละกระจุกเล็กๆ ถ้าเป็นไก่แบบคอล่อนแท้จะพบว่าบริเวณต้นคอ หน้าอก หลัง
และน่อง ก็จะไม่มีขนด้วย ลักษณะขน มักมีสีดำเหลือบเขียวทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ ขนปีกและหาง อาจมีสี
ขาวแซมบ้าง ลักษณะหงอน มีลักษณะแบบมงกุฎแต่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ชน ลักษณะเหนียง จะไม่เป็น
เหนียงที่ชัดเจนเหมือนของไก่ฝรั่งแต่จะมีผิวหนังที่ใต้คางจนถึงลำคอส่วนบนเป็นแผ่นย้วยห้อยลงมา
คล้ายหนังคอวัวอินเดีย ขนาดและน้ำหนักตัว เมื่อวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้หนัก 2.5-3.0 กก. เพศเมีย
หนัก 1.5-2.0 กก.เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0-3.5กก. เพศเมียหนัก 2.0-2.8 กก.
รูปร่างของไก่คอล่อน รูปร่างลำตัวคล้ายไก่ชนแต่มีบางลักษณะเด่นกว่าไก่ชน เช่น มีหน้าอกกว้าง เนื้อ
หน้าอกเป็นมัดใหญ่มาก ถ้าเทียบกับไก่ชน ถ้ายังเป็นๆ ผู้บริโภคอาจรังเกียจบ้างเพราะส่วนที่ไม่มีขนจะมี
หนังสีแดงดูรูปร่างไม่สวยงามเหมือนไก่ชน แต่ถ้าทำการฆ่าถอนขนแล้ววางคู่กับไก่บ้าน(ชน) คนก็จะ
เลือกไก่คอล่อนเพราะมีรูปร่างดีดูมีเนื้อมากกว่าไก่บ้าน(ชน) ที่ได้ชื่อว่าไก่คอล่อน(พัทลุง) ก็เพราะ
เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในอำเภอต่างๆ ของจ.พัทลุง แต่จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีการเลี้ยงกัน
อยู่ทั่วไปในภาคใต้ตอนล่าง แต่ไม่หนาแน่นเท่าที่จังหวัดพัทลุง

2.2 ไก่เบตง
ประวัติความเป็นมาของ ไก่เบตง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รายงานว่า ตามประวัติความ
เป็นมาของไก่พันธุ์เบตง เข้าใจว่าเป็นไก่ที่มีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์แลงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน
สาธารณรัฐประชาชนจีน ไก่เบตงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งควบคู่กันไปในหมู่คนจีนเบตง คือ ไก่กวางไส (กวางไส
เป็นเมืองหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) คนจีนได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองกวางไส
และนำไก่พันธุ์นี้เข้ามาทางประเทศมาเลเซีย นำมาเลี้ยงในพื้นที่อำเภอเบตง และอำเภอธารโต จังหวัด
ยะลา และบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันนี้ไก่พันธุ์นี้มีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการเกิดโรค
ระบาดและการกลายพันธุ์ ขาดการคัดเลือกพันธุ์ที่ดี

ลักษณะขนของไก่เบตง
ขนมีสีเหลืองทอง หรือเหลืองอ่อนตลอดตัว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วงอายุยังน้อย จะมีขนน้อย อายุ
ประมาณ 4 เดือน จึงจะมีขนขึ้นเต็มตัว ลักษณะหาง เป็นไก่ที่มีขนหางสั้น หางเป็นดอก ไม่มีขนแผ่น
แข็ง ลักษณะปาก จงอยปากงองุ้มแข็งแรง มีสีเหลือง ลักษณะหงอน เป็นหงอนจักร ประมาณ 5–6
จักร สีแดง (ตัวเมีย มีเพียง 4–5 จักร) ลักษณะปีก มีขนปีกสั้น ไม่มีขนปีกแข็ง (long flight
feather) และไม่มีขนสีดำแซม ลักษณะหาง เป็นดอก ลักษณะผิวหนัง มีสีเหลือง, แดงเรื่อๆ
ลักษณะแข้ง มีสีเหลือง ลักษณะนิ้ว มีสีเหลือง ลักษณะเล็บนิ้ว มีสีขาวอมเหลือง น้ำหนักตัวผู้โตเต็มที่
หนักประมาณ 3 กิโลกรัม น้ำหนักตัวเมียโตเต็มที่ หนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม

    
งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร.  (074) 211030-49  ต่อ 2370  ต่อ 14,212849 ต่อ 14   แฟกซ์ (074) 212823

สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz
ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55  น.
โทร.  (074) 211030-49 ต่อ 2999


 

กวาวเครือขาว : สมุนไพรไทย เพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมือง

ทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

นักวิจัยไทยพบสรรพคุณของ กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์
แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัย
สำหรับผู้บริโภค

  

ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ : พบสรรพคุณของ  กวาวเครือขาว  สมุนไพรไทย สามารถเพิ่ม
น้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอส
โตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

อาจารย์วิศาล อดทน  หัวหน้าคณะผู้วิจัย กล่าวว่า ปัจจุบันการเลี้ยงไก่พื้นเมืองตอน ชาวบ้านนิยมใช้
การตอนแบบฝังฮอร์โมนที่เรียกว่าเฮกเอสตรอล (hexoestrol) ที่ออกฤทธิ์ไปกดการทำงานของ
อัณฑะไม่ให้มีการเจริญพัฒนาและไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศผู้ได้ มีผลทำให้ร่างกายไก่สะสมไขมัน
มากขึ้น โดยฮอร์โมนมีระยะการออกฤทธิ์ประมาณ 45-50 วัน ฉะนั้น การตอนไก่แบบฝังฮอร์โมนจึง
ต้องนำไก่ไปรับประทานหลังฝังฮอร์โมนประมาณ 60 วัน แต่ในทางปฏิบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ฝัง
ฮอร์โมนไม่ได้คำนึงถึงผลตกค้างฮอร์โมนในเนื้อ จึงนิยมนำไก่ออกขายหลังตอนประมาณ 30-45 วัน
เพราะหลังจาก 45 วันไปแล้วไก่จะน้ำหนักตัวลดลง และใช้อาหารเปลือง กำไรลดลง และเนื่องจาก
ฮอร์โมนตกค้างทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคไก่ตอน กระทรวงสาธารณสุข จึงมีคำสั่งที่ 417/2529
ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 ให้เพิกถอนทะเบียนตำหรับยาที่มีตัวยา Hexoestrol (ราชกิจจา
นุเบกษา, 2529) ทั้งนี้เพราะมีสารตกค้างจนอาจถึงระดับทำให้เกิดอาการพิษต่อผู้บริโภคได้ แต่ใน
ทางปฏิบัติก็ยังคงมีเกษตรกรลักลอบใช้


สารเคมีนี้ในการตอนไก่อยู่จนถึงปัจจุบัน

การตอนไก่แบบผ่าข้างนั้นทำได้โดยตัดเอาอัณฑะที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศผู้ออก ทำให้ไม่สามารถ
ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (testosterone) มีผลทำให้ไก่เพศผู้ตอนเป็นไก่ไม่มีเพศ และ
มีการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น แต่การตอนวิธีนี้มีความยุ่งยากในการตอน และไก่มีความเสี่ยงต่อ
การตายสูง รวมทั้งยังใช้เวลาในการเลี้ยงนานประมาณ 8-12 สัปดาห์ จึงจะจำหน่ายได้


กวาวเครือขาวมีสาระสำคัญอยู่ในกลุ่ม Isoflavonois เช่น Miroestrol และ
Deoxymiroestrol ที่ถูกสร้างโดยธรรมชาติและออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นถ้า
ใช้กวาวเครือขาวผสมลงในอาหารไก่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมและเลี้ยงไก่ในช่วงอายุที่พอเหมาะ ทำให้
ไก่แสดงออกทางด้านสมรรถภาพการผลิตได้ใกล้เคียงกับการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (สมโภชน์ และ
คณะ, 2549) ส่วนการใช้กวาวเครือขาวในการผลิตไก่นั้น สุชาติและคณะ (2545) ได้ทำการ
ศึกษาระดับของกวาวเครือขาวในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองในระดับ 2% 4% และ 6% นาน 8
สัปดาห์ พบว่าไก่ทั้ง 3 กลุ่ม มีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) และไม่มีการ
สะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ทุกกลุ่ม ดังนั้น การใช้กวาวเครือขาวที่เป็นพืช
สมุนไพรของประเทศไทยเพื่อการผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ถูกห้ามใช้ จึง
เป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งที่สามารถผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังลดต้น
ทุนการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อีกด้วย 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ อาจารย์วิศาล อดทน  คณะเทคโนโลยีและการพัฒนชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  โทร. 074-693996  หรือ 084-2525518  หรือที่
งานประชาสัมพันธ์ โทร. 074-311885-7 ต่อ 7207



ข้อมูลเพิ่มเติม
ไก่คอล่อน จังหวัดพัทลุง หรือบางคนเรียกว่า ไก่คอเปลือย สนง.เกษตร จ.พัทลุง รายงานไว้ว่า "ไก่
คอล่อนพัทลุง เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่คอล่อนของฝรั่งเศสกับไก่ชนของ จ.พัทลุง (ไก่คอล่อนของ
ฝรั่งเศสเป็นไก่คอล่อนที่นำมาเลี้ยงในอินโดจีน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้นำเข้ามาใน
ประเทศไทยเป็นอาหารของทหาร ได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลามีการสร้างถนน
สายยุทธศาสตร์สงขลา-พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง) แต่มีบางกระแสว่า
"ไก่คอล่อนพัทลุง" เป็นไก่ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500

ลักษณะประจำพันธุ์ไก่คอล่อน เป็นไก่ที่มีรูปร่างลักษณะหลายส่วนคล้ายไก่บ้านหรือไก่อูเช่นมีขนสีดำ
เหลือบเขียว แต่จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างได้แก่ ที่บริเวณไหล่ ลำคอไปถึงศีรษะไม่มีขน จึงเรียกว่า
"ไก่คอล่อน" ตรงบริเวณด้านหลังศีรษะ (ท้ายทอย)จะมีขนเป็นกระจุกคล้ายสวมหมวก และบริเวณ
ต้นคอด้านหน้าทั้งซ้ายและขวาจะมีปอยขนอยู่ข้างละกระจุกเล็กๆ ถ้าเป็นไก่แบบคอล่อนแท้จะพบว่า
บริเวณต้นคอ หน้าอก หลัง และน่อง ก็จะไม่มีขนด้วย ลักษณะขน มักมีสีดำเหลือบเขียวทั้งตัวเป็นส่วน
ใหญ่ ขนปีกและหาง อาจมีสีขาวแซมบ้าง ลักษณะหงอน มีลักษณะแบบมงกุฎแต่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ชน
ลักษณะเหนียง จะไม่เป็นเหนียงที่ชัดเจนเหมือนของไก่ฝรั่งแต่จะมีผิวหนังที่ใต้คางจนถึงลำคอส่วนบน
เป็นแผ่นย้วยห้อยลงมาคล้ายหนังคอวัวอินเดีย ขนาดและน้ำหนักตัว เมื่อวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้หนัก
2.5-3.0 กก. เพศเมียหนัก 1.5-2.0 กก.เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0-3.5กก. เพศ
เมียหนัก 2.0-2.8 กก. รูปร่างของไก่คอล่อน รูปร่างลำตัวคล้ายไก่ชนแต่มีบางลักษณะเด่นกว่าไก่
ชน เช่น มีหน้าอกกว้าง เนื้อหน้าอกเป็นมัดใหญ่มาก ถ้าเทียบกับไก่ชน ถ้ายังเป็นๆ ผู้บริโภคอาจรังเกียจ
บ้างเพราะส่วนที่ไม่มีขนจะมีหนังสีแดงดูรูปร่างไม่สวยงามเหมือนไก่ชน แต่ถ้าทำการฆ่าถอนขนแล้ววาง
คู่กับไก่บ้าน(ชน) คนก็จะเลือกไก่คอล่อนเพราะมีรูปร่างดีดูมีเนื้อมากกว่าไก่บ้าน(ชน) ที่ได้ชื่อว่าไก่
คอล่อน(พัทลุง) ก็เพราะเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในอำเภอต่างๆ ของจ.พัทลุง แต่จากการสำรวจใน
เบื้องต้นพบว่ามีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปในภาคใต้ตอนล่าง แต่ไม่หนาแน่นเท่าที่จังหวัดพัทลุง




* หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดย
ลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน
ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน
วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำ
ซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ
วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใด
ไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต
ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้
สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3391 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©