-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 361 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวทั่วไป






"แทรกแซงราคา" ทางออก "วิกฤติผลไม้" ภาคตะวันออก !

การเกิดวิกฤติปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำในภาคตะวันออก แม้ทุกภาคส่วนได้เตรียมการแนวทางป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นล่วงหน้าทุกๆ ปีที่ผ่านมา แต่ทว่ากลับไม่บังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากนัก โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมๆ กัน ทำให้ปัญหาต่างๆ อาทิ ราคาผลผลิตตกต่ำ การระบายออกสู่ตลาดช้าไม่ทันท่วงที ก็ยังมีให้เห็นกันอย่างซ้ำซากเหมือนเดิม

สยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองบอกว่า ในช่วงฤดูผลไม้ จ.ระยองจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกวันจันทร์เพื่อประเมินราคาผลไม้ ในส่วนของทุเรียน ลองกอง ก็ไม่มีปัญหา เพราะราคาขายยังสูงกว่าราคากลาง ส่วนมังคุดปริมาณผลผลิตที่อยู่ในสวนเหลือน้อยมาก คิดว่าเหลืออยู่ประมาณ 10% เพราะฉะนั้นราคาก็มีแนวโน้มเริ่มสูงจากเดิม เกษตรกรก็ไม่เดือดร้อนมากนัก


ส่วนเงาะเป็นผลไม้ที่จะต้องดูแลแก้ไขปัญหากันต่อไป เพราะปริมาณผลผลิตที่อยู่ในสวนยังไม่ออกมา และที่จะต้องเก็บเกี่ยวออกมาคิดว่าเหลืออีกประมาณ 40% และคงจะออกมาในช่วง 7 วัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่คิดว่าน่าเป็นห่วง ก็น่าจะมีผลไม้ชนิดเดียวคือเงาะ ส่วนการแก้ปัญหาของทางจังหวัด ใช้แนวทางในการระดมงบประมาณจากแหล่งต่างๆ เข้าไปช่วยรับซื้อ เพื่อพยุงราคาเงาะไม่ให้ต่ำลงไปมากนัก ขณะนี้ราคาในตลาดของเงาะก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 7-8 บาท การเข้าไปแทรกแซงหรือรับซื้อโดยทางจังหวัด อำเภอ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าไปรับซื้อในราคาที่สูงกว่า กิโลกรัมละ 1-2 บาท 


"คิดว่าการแทรกแซงหรือรับซื้อจะดำเนินการไปอีกไม่เกิน 7 วัน จากนั้นแล้วความเดือดร้อนในเรื่องของเงาะก็คงจะคลี่คลายลงไป ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในหลังจากนี้ คือเงาะของทางจังหวัดใกล้เคียงเริ่มออกมา โดยเฉพาะที่จันทบุรี ถ้ามีเงาะของจันทบุรีเข้ามาก็ให้เป็นเรื่องของกลไกการตลาด เพราะเกษตรกรในระยองก็คงไม่เดือดร้อนมากแล้ว"


ผู้ว่าฯ ระยองยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาในเรื่องของการแทรกแซงหรือการรับซื้อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็จะต้องดำเนินการในทุกปี ส่วนระยะยาวคงจะต้องขยายตลาดต่างประเทศ โดยจะต้องอาศัยหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ เพราะถ้าหากว่าไม่มีการขยายตลาดต่างประเทศ การแก้ไขปัญหามันก็จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างนี้ทุกปี นอกจากนี้เรื่องของการแปรรูป ในระยะยาวจุดที่จะต้องส่งเสริมก็คือสนับสนุนให้มีการแปรรูปผลไม้ และมีการสนับสนุนให้มีการลงทุนโดยภาคเอกชน คือซื้อเงาะไปแปรรูป ก็จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้มาก 


ด้าน สังคม ประเสริฐเตชาโต เกษตรจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาผลไม้ในจังหวัดระยอง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี จึงมีแผนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยแผนเร่งด่วนได้ใช้เงิน คชก. 60 ล้านบาท ในการประชาสัมพันธ์ การควบคุมคุณภาพทุเรียนอ่อน 30 ล้านบาท และอีก 30 ล้านบาท จัดให้ อบจ.รับผิดชอบให้เกษตรกรกู้ยื่ม รวมทั้งการผลิตกล่องใส่ผลไม้จำนวน 2 แสนกล่อง เป็นการจ่ายขาดให้เกษตรกร และผลิตตะกร้าใส่ผลไม้จำนวน 4 แสนใบ ให้เกษตรกรยืม และยังมีการช่วยเหลือจากอบจ. จากผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง สนับสนุนงบประมาณ เข้าช่วยพยุงราคาในช่วงที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก


ในส่วนของแผนระยะยาว ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนด้านวิชาการ แก่เกษตรกร ให้ความรู้เรื่องของคุณภาพผลไม้ เพราะที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบความสำเร็จไปแล้ว คือที่อบต.บางบุตร โดย อบจ. ได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 7 แสนบาท ดำเนินโครงการ “บางบุตรโมเดล”ในการดูแลสวนผลไม้ในพื้นที่ต.บางบุตร กว่า 200 สวน จนกลายเป็นสวนคุณภาพ ผลไม้ทั้งหมดถูกส่งขายในประเทศจีน โดยภาครัฐไม่ต้องเข้าไปช่วยแทรกแซง หรือพยุงราคาแต่อย่างใด   
 

รัฐเตรียมแผนรับมือผลไม้ภาคใต้ปี 53

อรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเผยถึงสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ปี 2553 ว่าปีนี้ไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้มี 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ซึ่งจากการประมาณการเบื้องต้นในระยะออกดอก คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 700,269 ตัน โดยผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2553 และจะออกมากระจุกตัวพร้อมกันมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2553 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 พบว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.19 (ปี 2552 ผลผลิต 692,251 ตัน) ประมาณการผลผลิต แบ่งเป็น มังคุด 151,853 ตัน ลดลงร้อยละ 4.12 เงาะ 138,311 ตัน ลดลงร้อยละ 2.01 ทุเรียน 306,484 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 และ ลองกอง 103,621 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.02


ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ จึงเห็นชอบให้จังหวัดเป็นแกนหลักในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาของจังหวัด โดยมีส่วนกลางให้การสนับสนุน และให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัดเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ และกำกับดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ในพื้นที่


"ในปี 2553 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมเสนอของบประมาณจำนวน 536 ล้านบาทจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อนำมาใช้บริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ เป้าหมายจำนวน 91,433 ตัน โดยดำเนินการใน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภาคใต้ตอนบนรวม 4 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และจังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 5 จังหวัด คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา"
 
 อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ จากการประมาณการผลผลิตในภาพรวมเบื้องต้น พบว่า ปริมาณผลไม้ของภาคใต้เพิ่มขึ้น และผลไม้จากพื้นที่ทุกจังหวัดภาคใต้ออกสู่ตลาดมากในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ประกอบกับมีปัจจัยอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการตลาดและราคาผลไม้ที่เกษตรกรจะขายได้ เช่น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้พ่อค้าไม่กล้าเดินทางเข้าพื้นที่เพื่อไปรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรได้ ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต่ำในช่วงที่ผลไม้ออกพร้อมๆ กันและกระจุกตัว จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อให้ผลผลิตกระจายออกจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว


สำหรับมาตรการที่นำมาใช้ดำเนินการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ มี 3 มาตรการหลัก ประกอบด้วย

มาตรการที่ 1 พัฒนาคุณภาพผลผลิต เป้าหมาย 20,164 ตัน 
มาตรการที่ 2 กระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ภาคใต้ เป้าหมาย 90,933 ตัน  และ
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมการบริโภคและตลาดผลไม้ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ส่งเสริมการบริโภคและตลาดผลไม้ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายในประเทศ และในต่างประเทศ โดยเปิดจุดส่งเสริมการขาย ณ จุดจำหน่ายในรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย



อัจฉรา วิเศษศรี


ที่มา  :  คม ชัด ลึก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1206 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©