-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 342 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวทั่วไป






หลังคาใบตาล ป้องกันลูกเห็บ

พายุลูกเห็บนั้นเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารพักอาศัย โดยเฉพาะบริเวณหลังคาที่มักใช้วัสดุมุงหลังคาแผ่นแข็งที่ไม่สามารถต้านทานความเสียหายได้ และเศษวัสดุที่แตกเสียหายอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้พักอาศัยในอาคาร
   
ชวาน พรรณดวงเนตร นิสิตปริญญาโท คณะสถาปัตย   กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดลองทำวิจัยนำวัสดุธรรมชาติ “ใบตาล” มาเป็นวัสดุมุงหลังคาป้องกันลูกเห็บ ซึ่งมีข้อดีมีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนานถึง 5 ปี อีกทั้งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ปลูกและหาง่ายในประเทศไทย อีกทั้งวิธีการที่ทำที่เรียกว่า “หักคอม้า”สามารถเรียนได้ภายใน 5 นาที เทียบกับการผลิตหลังคาแบบอื่นไม่ว่าจะเป็นตับจาก หรือแฝก เป็นต้น สำหรับวิธีทำนั้น เริ่มจากนำใบตาลสดมาผึ่งไว้ครึ่งวัน ผ่าครึ่งใบตาลตามแนวก้านใบ ควั่นก้านใบบริเวณใกล้กับขั้วใบ และเฉือนก้านใบออกเป็นเส้นโดยไม่ให้ขาดออกจากก้านใบ จากนั้นหักก้านใบแล้วใช้ส่วนที่เฉือนออกมาเย็บกับใบตาล โดยตับใบตาลแบบหักคอม้า เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีความยาวตามแนวก้านใบประมาณ 1.4-1.6 เมตร มีความกว้างตั้งฉากก้านใบประมาณ 0.6 เมตร (ไม่รวมปลายใบ)
   
สำหรับหลังคาที่มุงด้วยใบตาลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แป สามารถใช้ความแข็งแรงของก้านใบตาลมาเป็นแป ส่วนจันทันทำจากไม้ไผ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว หรือเพื่อยืดอายุการใช้งานอาจใช้ไม้จริงเพราะจันทันไม้ไผ่มีอายุการใช้งานราว 3 ปี ทั้งนี้ระยะห่างของจันทันประมาณ 0.4-0.5 เมตร ระยะซ้อนทับด้านข้างประมาณ 0.2 เมตร โดยหันด้านท้องใบขึ้นด้านใบ ซึ่งภายหลังจากมุงหลังคาใบตาลไปแล้ว 1 ปี อาจทำการ   มุงทับเพื่อเพิ่มความแรงขึ้น
   
ชวาน กล่าวว่า งานวิจัยนี้จึงทำทดสอบวัสดุหลังคาใบตาลแบบหักคอม้า สรุปได้ว่าหลังคาใบตาลแบบหักคอม้าสามารถต้านทานความเสียหายจากลูกเห็บที่มีขนาด 5 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบในประเทศไทย) ได้มากกว่าหลังคาแผ่นแข็งที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด
   
นักวิจัยคนเดิมกล่าวอีกว่า หลังคาใบตาลเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว ชาวบ้านในจังหวัดเพชรบุรีใช้หลังคาใบตาลมุงโรงเรือนเคี่ยวตาล ซึ่งเขม่าควันไฟที่มาจากเตาเคี่ยวจะช่วยเคลือบผิวใบตาลให้มีความคงทนป้องกันมอดและแมลงได้ และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านใบตาลเป็นวัสดุที่มอดไม่กิน สังเกตได้จากการวางทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือเมื่อนำมามุงหลังคามอดจะเลือกกินไม้ไผ่มากกว่า อย่างไรก็ตามผลยืนยันทาง   วิทยาศาสตร์ด้านใบตาลทนต่อแมลงต้องรอการทดสอบด้านวนศาสตร์อีกที
   
หลังคาใบตาลแบบหักคอม้ายังมีข้อดีอีกหลายประการคือ น้ำหนักที่เบาจึงช่วยลดภาระให้กับโครงสร้างหลังคา ในกระบวนการผลิตของต้นตาลเป็นการตรึงธาตุคาร์บอนในอากาศ โดยการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างเป็นใบตาล ซึ่งสวนทางกับกระบวนการผลิตวัสดุอุตสาหกรรมโดยทั่วไป การใช้ใบตาลไม่ต้องทำลายต้นแม่จึงมีผลต่อปัจจัยด้านความยั่งยืนสูง แต่ยังมีสาเหตุที่ทำให้หลังคาใบตาลรวมถึงหลังคาจากวัสดุธรรมชาติชนิดอื่นไม่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ดังนี้วัสดุทางธรรมชาติถูกลดคุณค่าลงด้วยทุนทางสัญลักษณ์ของระบบเศรฐกิจสมัยใหม่ที่เรียกว่า “การครองอำนาจเชิงสัญลักษณ์” (Domination symbolique) ทำให้ทัศนคติของผู้บริโภค มองว่าวัสดุธรรมชาติเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ความยากจน ข้อจำกัดในการเข้าถึงวัสดุของผู้ที่อาศัยในเขตเมือง ข้อจำกัดด้านการลามไฟ หรือยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนของวัสดุ ขาดข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการทำงาน สถาปนิกผู้ออกแบบ ไม่ทราบวิธีการติดตั้ง
       
สำหรับข้อเสนอแนะ ของการวิจัยหลังคาใบตาลป้องกันลูกเห็บพบว่าใบตาลสามารถป้องกันลูกเห็บได้ แต่ยังขาดการทดลองเรื่องการต้านทานความเร็วลมจากพายุฤดูร้อน ซึ่งอาจทำให้หลังคาเสียหายก่อนที่จะเกิดลูกเห็บจึงเป็นหัวข้อที่อาจนำมาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้มีข้อมูลอ้างอิงตามหลักวิศวกรรมได้ แต่จากการสังเกตพบว่าการใช้งานหลังคาประเภทนี้เป็นยุ้งฉางเก็บเกลือในนาเกลือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสปะทะกับลมแรงได้เนื่องจากเป็นที่โล่ง และอยู่ใกล้ทะล และเมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมทำให้ทราบว่าสามารถใช้ปลายใบตาลในตับใบตาลแบบหักคอม้าร้อยผูกกับก้านใบล่างได้ ทำให้ลดโมเมนต์ที่รอยต่อก้านใบจึงทำให้หลังคาสามารถต้านทานแรงลมได้ดียิ่งขึ้น
   
ที่ผ่านมาใบตาลเป็นวัสดุพื้นถิ่นทางธรรมชาติที่ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายอย่างน้อยงานวิจัยจะเป็นตัวจุดประกายในภาคการก่อสร้างหันมามองหลังคาที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ใบตาลเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ.


ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (1713 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©