-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 320 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

องุ่น




หน้า: 2/3



ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อองุ่น

                

        ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อองุ่นต่างจากไม้ผลยืนต้นอื่นๆ คือ ขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้บำรุงไว้ก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวของผลรุ่นที่ผ่านมา หลังจากพรุนกิ่งแล้วทาหรือพ่นฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกพร้อมกับระดมให้น้ำโดยไม่ต้องงดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้นก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเลย ดังนั้น จึงให้เข้าสู่ขั้นตอนบำรุงดอกต่อได้เลย
     
หมายเหตุ :
     เทคนิคการให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 ช่วงก่อนเรียกใบอ่อน1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยสร้างใบใหญ่เขียวเข้มหนา
              

       1. บำรุงดอก                
          ทางใบ  :               
        - ให้น้ำ 100 ล.+15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน               
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
                   
          ทางราก  :                 
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้น/เดือน
        - ให้น้ำสม่ำเสมอ  ทุก  2-3 วัน               
          หมายเหตุ  :               
       
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.)หรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
        - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
        - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน               
        - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ               
        - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
       - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้                
       - ดอกที่ออกมาถ้าตรงกับช่วงฝนชุกช่อดอกมักจะเป็นสีแดง เนื่องจากได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป แก้ไขโดยให้  “น้ำ 100 ล. + 10-45-10  หรือ  6-32-32 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100 ซีซี.”  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ก่อนฝนตก  1 ชม. หรือหลังฝนหยุดใบแห้ง  ควรให้ทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับฝนโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ให้
       - ให้จิ๊บเบอเรลลิน.ครั้งที่  1 เมื่อช่อดอกยาว 1.5-2 ซม.   ให้จิ๊บเบอเรลลิน.ครั้งที่  2 เมื่อดอกยังตูม (ไข่ปลา)  ตามอัตราที่ระบุในฉลากของแต่ละยี่ห้อ (ใช้จิ๊บเบอเรลลิน.ให้ระวังอัตราใช้และสภาพอากาศ)                   
       - ดอกที่สมบูรณ์จะมีลักษณะเป็นช่อขนาดใหญ่  ชาวสวนเรียกว่า  “ช่อนายพล” ปริมาณดอกที่โคนช่อมีมากทำให้ดูใหญ่ส่วนปลายช่อมีน้อยทำให้ดูเล็กเรียวแหลม
       

     2.  บำรุงผลเล็ก            
        ทางใบ  :               
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน               
         ทางราก  : 
          
      - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
      - ให้น้ำสม่ำเสมอ  ทุก 2-3 วัน               
        หมายเหตุ :               
      - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียวหรือหลังกลีบดอกร่วง
      - ระยะนี้เริ่มเห็นผลเป็นพวงแล้ว ถ้าพวงใดมีจำนวนช่อมากให้เด็ดทิ้งคงเหลือเพียงช่อเดียว/1 พวงจะทำให้ได้คุณภาพผลดีกว่าคงไว้มากกว่า 1 ช่อ/1 พวง
      - ให้จิ๊บเบอเรลลิน.ครั้งที่  3 เมื่อผลขนาดเม็ดถั่วเขียว       
 

    3. บำรุงผลกลาง            
       ทางใบ  :                
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
       ทางราก  :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 หรือ  8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน                 
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
        หมายเหตุ               
    
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)
             
     - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
     - ให้ทางใบด้วยไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบโดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
     - องุ่นสำหรับรับประทานผลสด ก้านผลออกมาก้านประธาน)โดยตรง เมื่อผลขนาดใหญ่ขึ้นจะเบียดกันจนเสียรูปทรง ให้ตัดแต่งช่อผล (ซอยผล) โดยใช้กรรไกปลายแหลมตัดที่ขั้วผลบางผลทิ้งไป วัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่โดยรอบสำหรับผลที่คงไว้ได้ขยายตัวอย่างอิสระ จำนวนผลที่ซอยทิ้งนี้มีประมาณ 1 ใน 4 ของจำนวนผลทั้งพวง แนะนำให้ซอยผลทิ้งเมื่อขนาดผลเท่าปลายนิ้วก้อยถึงปลายนิ้วชี้เพราะสามารถนำไปทำองุ่นดองได้
      - องุ่นสำหรับทำไวน์ (เหล้าองุ่น) ไม่จำเป็นต้องซอยผลเพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ผลขนาดใหญ่ และไม่จำเป็นต้องบำรุงผลด้วยสูตรหยุดเมล็ดสร้างเนื้อแต่ให้บำรุงด้วยสูตร “หยุดเนื้อ-สร้างเมล็ด” เพราะเมล็ดองุ่นขนาดใหญ่และฝาดจัดจะทำให้ไวน์มีคุณ
ภาพดี      

     4.  บำรุงผลแก่            
        ทางใบ  :               
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอปียกใบ               
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
        ทางราก  :               
      - ให้  9-26-26 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
      - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด               
        หมายเหตุ  :               
      - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
      - อัตราการให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณผลที่ติดบนต้น ถ้าติดมากควรให้มาก แต่ถ้าติดน้อยควรให้ปานกลาง
      - ปุ๋ยทางใบ (0-21-74)และปุ๋ยทางราก (8-24-24 หรือ 9-26-26)  นอกจากช่วยบำรุงคุณภาพผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวแล้วยังเป็นปุ๋ยสำหรับสะสมอาหารเพื่อการออกดอกของผลผลิตรุ่นต่อไปอีกด้วย                        







ปลูกองุ่นระบบใหม่ของโครงการหลวงปางดะ
ให้ผลผลิตคุณภาพดี-เจริญเติบโตเร็ว

องุ่น เป็นไม้ผลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าปลูกยากและมีความเสี่ยงในการปลูกสูง แต่ผลจากการศึกษาและพัฒนาการปลูกองุ่นของโครงการหลวงพบว่า สามารถทำให้การปลูกองุ่นประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น โดยใช้ระบบการตัดแต่งกิ่งและการสร้างกิ่งที่จะให้ผลผลิตทดแทนที่ดี การจัดการให้ต้นองุ่นเจริญเติบโตเหมาะสมกับฤดูกาลและอุณหภูมิการปลูกองุ่นโดยใช้หลังคาพลาสติค คุณชยาณ์ ไชยประสบ เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ กล่าวว่า การปลูกองุ่น หรือผลไม้อื่นทั่วไปผู้ปลูกดูสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสม แต่องุ่นไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องสภาพพื้นที่มากนัก เนื่องจากองุ่นปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่พื้นที่มีน้ำเพียงพอ สำหรับภูมิอากาศนับว่ามีอิทธิพลต่อการปลูกองุ่นเป็นอย่างมาก เพราะมีอิทธิพลต่อการสร้างตาดอกและการให้ผลผลิต องุ่นบางพันธุ์จะให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในขณะที่บางพันธุ์ก็สามารถให้ผลผลิตได้ในสภาพอากาศที่หลากหลาย เช่น พันธุ์บิวตี้ ซีดเลส ที่ปลูกได้ดีและมีคุณภาพ ถ้าสภาพอากาศไม่หนาวเย็นก็ควรจะเลือกปลูกองุ่นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตง่ายในสภาพอากาศร้อน และต้องมีการกำหนดระยะการปลูกที่เหมาะสม โดยใช้ต้นแบบ ตัว T และ ตัว H ซึ่งการปลูกองุ่นในระบบใหม่ของโครงการหลวงจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถจัดทรงต้นและสร้างกิ่งได้ทันทีหลังปลูกโดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูก คือในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูร้อน หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง มีนาคม แต่ไม่ว่าจะปลูกในเดือนใดของช่วงนี้ก็ต้องตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างกิ่งหลักให้ได้ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ซึ่งสภาพภูมิอากาศกำลังร้อนขึ้น เพื่อให้กิ่งหลักที่เกิดมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรง ซึ่งจะทำให้กิ่งสร้างกิ่งแขนงได้ดี ซึ่งกิ่งนี้จะเป็นกิ่งที่ใช้เพื่อตัดแต่งเอาผลผลิตต่อไป การเตรียมหลุมปลูกควรให้มีความกว้าง 70-100 เซนติเมตร แต่ไม่จำเป็นต้องลึกนัก คือ ประมาณ 30-50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต และผสมดินปลูกในหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ซึ่งถ้ามีการใส่วัสดุต่างๆ สำหรับปรับปรุงดินไว้เป็นอย่างดี ตั้งแต่การไถเตรียมพื้นที่ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำหลุมใหญ่นัก การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมจะต้องจัดรากให้กระจายออกไปรอบต้น เมื่อองุ่นโตขึ้นมาแล้ว ผู้ปลูกองุ่นต้องจัดทรงต้นองุ่น คือการจัดทรงให้ต้นองุ่นมีรูปทรงที่กำหนด โดยการจัดวางกิ่งต่างๆ ภายในต้นอย่างเป็นระบบ และเหมาะสม เพื่อให้องุ่นให้ผลผลิตที่ดีและสะดวกต่อการปฏิบัติดูแลรักษา ส่วนประกอบในทรงต้นองุ่นมี 4 อย่าง คือ ต้น กิ่งหลัก โครงสร้าง กิ่งที่ใช้ตัดแต่งกิ่งเพื่อเอาผลผลิต กิ่งใหม่ที่ให้ผลผลิต ซึ่งรูปแบบทรงต้นองุ่นจะเป็นแบบ ตัว H และทรง ตัว T โดยทรงต้นทั้งสองแบบจะทำให้ต้นองุ่นแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถปรับใช้ได้กับโรงเรือนหลายรูปแบบ


การตัดแต่งกิ่งเพื่อเอาผลผลิตเป็นขั้นตอนสำคัญมาก เพราะเป็นวิธีการทำให้ต้นองุ่นให้ผลผลิต และสร้างกิ่งสำหรับตัดแต่งเอาผลผลิตในครั้งต่อไป โดยการตัดแต่งกิ่งเป็นการบังคับให้แตกตาและเกิดเป็นกิ่งใหม่ที่มีดอกและติดผล จากนั้นเมื่อกิ่งใหม่แก่ ก็ใช้เป็นกิ่งสำหรับตัดเอาผลผลิตต่อไป ในการปลูกองุ่นโครงการหลวงได้พัฒนาระบบการตัดแต่งกิ่งแบบใหม่ที่ทำให้ต้นองุ่นให้ผลผลิตสูง และสามารถสร้างกิ่งทดแทนได้ดี โดยเป็นระบบการตัดแต่ง 2 ครั้ง ต่อปี และ 1 กิ่ง ตัดแต่ง 2 ครั้ง ดังนี้


ตัดแต่ง ครั้งที่ 1
แบบตัดยาวเป็นการตัดแต่งเพื่อมุ่งเอาผลผลิตในช่วงที่มีคุณภาพดีที่สุด คือฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง โดยหลังจากการจัดทรงต้นและตัดแต่งสร้างกิ่งในเดือนมกราคม กิ่งจะแก่และเริ่มตัดแต่งเอาผลผลิตตามระบบได้ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม วิธีการตัดแต่งกิ่งแบบยาว คือเหลือตาบนกิ่ง ประมาณ 5-10 ตา ขึ้นกับความสมบูรณ์ของตาและใช้สารไฮโดรเจน ไซยานาไมด์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ทาที่ตา 2-3 ตา จากปลายกิ่งเพื่อช่วยให้แตกตา และให้ผลผลิต โดยต้องรักษาไม่ให้ตาที่อยู่โคนกิ่งแตกออกมาเพื่อไว้ใช้ในการตัดแต่งครั้งที่ 2 ต่อไป การตัดแต่งครั้ง
ที่ 1 นี้ ถ้าทำในช่วงที่อากาศเย็นจะทำให้แตกตาช้าลง


ตัดแต่ง ครั้งที่ 2
แบบตัดแต่งสั้น เป็นการตัดแต่งเพื่อสร้างกิ่งใหม่ทดแทนกิ่งเดิมและเอาผลผลิต โดยหลังจากเก็บผลผลิตของการตัดแต่งครั้งที่ 1 ซึ่งจะอยู่ในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อนแล้วสามารถตัดแต่งกิ่งครั้งที่ 2 ได้ทันที โดยจะทำได้ตั้งแต่เดือนที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น คือเดือนมกราคมเพราะเหมาะต่อการสร้างกิ่งใหม่ให้สมบูรณ์ วิธีการคือตัดแต่งกิ่งเดิมอีกครั้งให้สั้นลงเหลือ 2-3 ตา จากนั้นพ่นสารไฮโดรเจนไซยานาไมด์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ทำลายการพักตัวของตา จะทำให้กิ่งที่เกิดใหม่ที่อยู่ใกล้กับกิ่งโครงสร้างเช่นเดิม โดยยังให้ผลผลิตได้ดี แต่ความหวานของผลอาจลดต่ำลงถ้าผลเก็บเกี่ยวในฤดูฝน ปกติกิ่งที่เกิดใหม่จะมากเกินไป จึงต้องตัดแต่งกิ่งออกตั้งแต่กิ่งที่ต้องการเท่านั้น ต่อไปเมื่อกิ่งแก่ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ก็ตัดแต่งเอาผลผลิตต่อไป โดยเป็นการตัดแต่งครั้งที่ 1 แบบตัดแต่งยาว วิธีการดังกล่าวจะทำให้กิ่งยืดยาว ห่างออกจากกิ่งหลักประมาณปีละ 5 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยวผลผลิตผลองุ่นต้องเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลสุกและมีรสชาติดีตั้งแต่บนต้น เพราะหลังเก็บเกี่ยวแล้วผลจะไม่มีการพัฒนาด้านรสชาติให้ดีขึ้นได้เหมือนไม้ผลบางอย่าง องุ่นแต่ละพันธุ์มีระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งถึงเก็บเกี่ยวต่างกัน และยังแปรปรวนตามฤดูกาลและพื้นที่ปลูกด้วย จึงเป็นแค่การประมาณว่าผลผลิตจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงใดเท่านั้น ดัชนีเก็บเกี่ยวของผลองุ่นเบื้องต้นจะพิจารณาจากลักษณะสีผิวของผลที่สามารถสังเกตได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตองุ่นที่คุณภาพสูง และเชื่อมั่นได้ ควรวัดความหวานของผลทุกช่อ เพราะถึงแม้ว่าจะตัดแต่งกิ่งพร้อมกัน แต่การบานของดอกยังคงมีความแปรปรวนอยู่มาก วิธีการทำโดยเก็บผลที่ปลายช่อมาวัดความหวาน ความหวานขององุ่นจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยองุ่นในพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส ในฤดูหนาวที่ผลผลิตมีคุณภาพดี จะมีความหวานประมาณ 18-20 องศาบริกซ์ แต่ในฤดูฝนจะมีความหวานประมาณ 14-16 องศาบริกซ์ การป้องกันโรคและกำจัดโรคขององุ่น ซึ่งองุ่นเป็นไม้ผลที่มีโรคและแมลงมากชนิดหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้การปลูกองุ่นต้องลงทุนสูง โรคขององุ่นมีดังนี้ โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา วิธีการป้องกัน คือ ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกลด์ เอพรอล หรือ อาลีเอท โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำจัดต้องตรวจสอบแปลงอยู่เสมอ และป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบการระบาด โดยใช้สารเคมีประเภทสัมผัส เช่น คูมูลัส-ดีเอฟ ดาโคนิล และแอนทราโคล ถ้าการระบาดรุนแรงให้ใช้สารประเภทดูดซึม เช่น คาลิกซิน นูสตาร์ ซาพรอล และสโตรบี้ โรคสแคบหรือโรคอีบุบ เกิดจากเชื้อราชั้นสูง ทันทีที่พบการระบาดควรพ่นยาประเภทดูดซึม เช่น อมิสตา ซาพรอล ท็อกซิน สลับกับ รอฟรัลโกลด์ ดาโคนิล สกอร์ โรคราสนิมเกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำจัด หากพบการระบาดพ่นด้วยไวตาแวกซ์ นูสตาร์ หรือโพรพิโคนาโซล ส่วนแมลงที่พบการระบาด เพลี้ยไฟ สารเคมีที่ใช้กำจัด เช่น คอนฟิดอร์ หรือ ทรีบอน ไรแดง สารป้องกันกำจัด ได้แก่ โอ ไมท์ 30 หรือนิสโซลัน นอกจากโรคและแมลงแล้ว อาจจะพบศัตรูพืชบางชนิดที่เข้าทำลายองุ่น โดยเฉพาะนกที่จะเข้าทำลายองุ่นในระยะสุก ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ตาข่ายที่มีช่องห่างพอขนาดป้องกันนกเข้าได้ ปิดคลุมโรงเรือนโดยรอบ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่สถานีวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เลขที่ 65 หมู่ที่ 1 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร. (053) 328-496-8





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©