-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 203 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อะโวคาโด




หน้า: 1/2


                           อะโวคาโด                

          ลักษณะทางธรรมชาติ
               
       * เป็นพืชอายุยืนหลายสิบปี ทรงพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ ไม่ผลัดใบแม้ช่วงพักต้นหน้าแล้งปัจจุบันนิยมปลูกในเขตภาคเหนือ  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท  เนื้อดินลึก  อินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี  และไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
                

       * ต้องการความชื้นหน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนช้างสูง
                
       * ช่วงพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องการความแล้ง   หลังจากพักต้นสู่แตกใบอ่อนจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องการน้ำสม่ำเสมอ
               
       * ต้นที่ปลูกจากเพาะเมล็ดมีรากแก้ว  หาอาหารเก่ง  ติดผลดก  ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 7-8 ปีหลังปลูก  ต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 2-3 ปีหลังปลูก
                

       * ใช้พันธุ์โทปา-โทปา.  หรือแม็กซิโคลา.  เพาะเมล็ดแล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีที่ต้องการจะได้ต้นที่มีคุณสมบัติดีพร้อมทุกประการ
                

       * เป็นพืชน้ำมัน  ดังนั้นการปฏิบัติบำรุงให้ต้นได้รับสารอาหารสม่ำเสมอต่อเนื่องตั้งแต่ให้ผลผลิตปีกแรกก็จะให้ผลผลิตทุกปี  แต่ถ้าปีใดต้นได้รับสารอาหารน้อยจะเว้นให้ผลผลิตและอาจจะเว้นต่อไปในรุ่นปีการผลิตถัดไปด้วย  ดังนั้น  การปฏิบัติบำรุงจะต้องเน้น  การสะสมอาหารเพื่อการออกดอก  และ  ปรับ ซี/เอ็น เรโช.   ให้เต็มที่จริงๆเท่านั้น
                

       * ให้ผลผลิตปีละ  1 รุ่น  ออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งแก่ และตามลำต้น  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกในต้นเดียวกันหรือต่างต้นได้
 
                 

          สายพันธุ์   
               
          กลุ่มกัวเตมาลัน.  ได้แก่พันธุ์  เทเลอร์.  นาเมล.  แฮสส์.  ฮิกสัน.  ลินดา.  ปากช่อง 1-14.  ปากช่อง 2-8.   เป็นสายพันธุ์ที่ชอบอากาศค่อนข้างเย็น  ทนต่อสภาพอากาศน้อยหรือเย็นปานกลางได้สูง  ผลขนาดกลางถึงใหญ่  ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม  ขั้วผลขรุขระ  เนื้อหนาและไขมันสูง   เปลือกผลหนา  อายุผลผลิตตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยว  8 เดือน
          กลุ่มพันธุ์แม็กซิกัน.   ได้แก่พันธุ์  พลูบา.  โทปา-โทปา.  แม็กซิโคล่า.  ทนต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีมาก    อายุผลผลิตตั้งผสมติดถึงเก็บเกี่ยว 6-7 เดือน              
         กลุ่มพันธุ์เวสอินเดียน. ได้แก่พันธุ์  ฟูเซีย.  ซิมมอนต์.  รูเฮิร์ต. คาโน. โพลล็อค.  วอลติน. แทรฟ.  เจริญเติบโตดีในสภาพอากาศร้อน  ไม่ทนต่อสภาพอากาศเย็น  ผิวเปลือกสีเขียวอมเหลือง  ผิวผลเรียบเป็นมันวาว  เปลือกผลบาง  เนื้อมีไขมันน้อย  รสหวานเล็กน้อย  อายุผลผลิตตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยว 6-8 เดือน      
                
 
         สายพันธุ์นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่  รูเฮิร์ต.  โพลล็อก.  และคาโน.  เป็นพันธุ์เบา  ออกดอกตั้งแต่ ต.ค. – ก.พ.  และสายพันธุ์  ลินดา.  บูซ-7.  บูซ-8  เป็นพันธุ์หนัก  ออกดอกตั้งแต่ ธ.ค. – ก.พ. 
               
          พันธุ์บูซ-7  ให้ผลดกมากจนบางครั้งต้องซอยผลออกทิ้งบ้าง  ปกติติดผลดกทุกปีแต่ปีใดต้นได้รับสารอาหารแบบสะสมต่อเนื่องไม่ดีพอจะเว้นปีให้ผลผลิต  เนื้อสีเหลืองอ่อน  รสชาติดี  เก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ ต.ค. – ธ.ค.
          พันธุ์บูซ-8   ให้ผลดกมาก  ติดผลเป็นพวง 1-3 ผล  เนื้อสีครีมอ่อน  รสชาติพอใช้ได้  เก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ ต.ค. – ธ.ค.                     
          พันธุ์โพลล็อก    ให้ผลดกปานกลาง  ขนาดผลใหญ่  ผิวผลสีเขียวอ่อนมีจุดประสีเขียวอมเหลืองกระจายทั่วผล  เมื่อแก่เนื้อสีเหลืองอมเขียวและเมื่อบ่มสุกเนื้อสีม่วงหรือเขียวอมเหลือง  เก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ ก.ค. – ส.ค.
     
                                

          ขยายพันธุ์
               
          เพาะเมล็ด (หลายพันธุ์และให้ผลผลิตช้ามาก).  ตอน (ดีที่สุด).
                      

          ระยะปลูก
               
          ระยะปกติ  6 X 6  ม. หรือ  8 X 8 ม.
               
          ระยะชิด   4 X 4  ม. หรือ  4 X 6  ม.
                

            เตรียมดิน และอินทรีย์วัตถุ  
               
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
          หมายเหตุ :
               
        - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
               
        - ให้กลูโคสเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน........ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
        - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

          เตรียมต้น 
               
            ตัดแต่งกิ่ง :
               
          ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค  กิ่งมุมแคบ  และกิ่งแห้งตาย ให้ตัดออกทั้งหมด  ลักษณะทรงพุ่มที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ภายในรงพุ่มต้องโปร่ง
                
          ตัดแต่งราก :
                
        - อะโวคาโดต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
               
        - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  



                    
    ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่ออะโวคาโด        

       1.เรียกใบอ่อน
                  
          ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (200 กรัม) หรือ 46-0-0 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน
10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด   ฉีดพ่นพอเปียกใบ                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
  
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
         หมายเหตุ :
                
       - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ  เป็นการเรียกใบอ่อนชุดแรกของปีการผลิต  วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา
               
       - อะโวคาโดไม่จำเป็นต้องแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งชุด  เพราะเมื่อถึงช่วงออกดอกก็ออกไม่พร้อมกันทั้งต้นอยู่แล้ว    
              

       2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก    
                
          ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้   น้ำ 100 ล. + นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่  
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - ให้ 8-24-24  หรือ 9-26-26 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                
         หมายเหตุ :
               
       - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
               
       - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
               
       - ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น  ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก  ถ้ามีการให้  “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี”  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ  ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก  จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ  2  ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย           
                
       - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
               
       - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
       - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
   
                       

       3.ปรับ ซี/เอ็น เรโช 
                   
          ทางใบ :
                
       - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอ/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1-2 รอบฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น  จนกระทั่งต้นเริ่มเกิดอาการใบสลดหรืออั้นตาดอกดี
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - เปิดหน้าดินโคนต้นโดยการนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
               
       - งดให้น้ำเด็ดขาด   กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
                
         หมายเหตุ :
               
       - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม”  ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และปรับ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
       
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
      - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น               
       - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
               
       - มาตรการเสริมด้วยการ  “รมควัน”  ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำครั้งละ 10-15 นาที  3-5 รอบห่างกันรอบละ 2-3 วัน  จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช  สำเร็จเร็วขึ้น
       

       4.เปิดตาดอก   
                
          ทางใบ :
                
          สูตร 1....น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.)+ 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
          สูตร 2....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 กรัม               
          ทางราก :
                
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
       - ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24  หรือ 9-26-26 (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
         หมายเหตุ :
               
       - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
       - ระหว่างสูตร 1- 2  ใช้สลับกัน  ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน               
       - การใช้สาหร่ายทะเลร่วมในการเปิดตาดอกจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อต้นเกิดอาการอั้นตาดอกเต็มที่  ถ้าต้นอั้นตาดอกไม่เต็มที่ต้นจะแตกใบอ่อนแทน
       - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ธรรมชาติของอโวคาโดจะทยอยออกดอกมาเรื่อยๆ  ไม่เป็นชุด  ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตา
ดอกซ้ำ
        

       5.บำรุงดอก   
               
          ทางใบ :
               
       - ให้น้ำ  100 ล.+ 10-45-10 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100
 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียก  ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น               
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
         ทางราก :
               
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
       - ใส่ 8-24-24  หรือ  9-26-26 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
         หมายเหตุ :               
               
       - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล....เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิ
ภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ.  แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.(ทำเอง) ซึ่งจะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความ
เข้มข้นแน่นอนกว่า
               
       - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
               
       - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
               
       - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
               
       - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น  เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน  
               
       - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
               
       - ระยะดอกบาน ถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.......มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
                
       - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจนมีผึ้งหรือมีแมลงธรรม
ชาติอื่นๆเข้ามาจำนวนมาก  แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
       - การบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น         

       6.บำรุงผลเล็ก
               
          ทางใบ : 
               
       - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14  (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
         ทางราก :
               
       - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
               
       - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
       - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  25-7-7 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม -5 ม./ครั้ง/เดือน
 
      - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                
         หมายเหตุ :               
               
         เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
        

      7.บำรุงผลกลาง    
                
        ทางใบ :
                
      - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วันฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
         ทางราก :
               
       - ให้ 21-7-14  (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
  
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
         หมายเหตุ :
               
       - เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
               
       - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์
       - ให้ทางใบด้วยฮอร์โมนสมส่วน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม
       - การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง  ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผลไม่โต หากมีฝนตกหนักลงมาก็อาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้
       - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน.  1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น        

      8.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
                
         ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ  0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.(เน้น กำมะถัน) + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
         ทางราก :
                
       - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
 
       - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
         หมายเหตุ :
                
       - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
                 
       - ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ สีและกลิ่นดี
       - การให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี
       - การให้กำมะถัน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยบำรุงผลให้สีของเปลือกสวย
       - การสุ่มเก็บผลลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก่อนลงมือเก็บเกี่ยวจะทำให้รู้ว่าควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจึงเก็บเกี่ยว               
       - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม  หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที 
                 
       - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อ และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
   
        










แหล่งปลูกอะโวกาโดคุณภาพดีที่สุด

ว่าที่ร้อยตรีหญิง พิมพ์ใจ กัญชนะ

บ้านแม่ขนิลเหนือ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งปลูกอะโวกาโดคุณภาพดีที่สุด



อะโวกาโด เป็นไม้ผลที่มีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ แต่ในประเทศไทยไม่เป็นที่นิยมบริโภคมากนักเนื่องจากประเทศไทยนั้นมีผลไม้อยู่หลากหลายชนิด จึงมีทางเลือกการบริโภคผลไม้ ทั้งนี้คนไทยนิยมบริโภคผลไม้ที่มีรสหวาน กลิ่นหอมนุ่มนวล ซึ่งรสชาติเมื่อนำมาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารและเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นพบว่า อะโวคาโดมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น จึงถือว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพ" เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ทำให้คนไทยหันมารับประทานกันมากขึ้น ส่วนพื้นที่ปลูกอะโวกาโดต้องปลูกให้สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป ซึ่งบ้านแม่ขนิลเหนือ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากระดับน้ำทะเลที่เหมาะสมในการปลูกอะโวกาโดที่มีคุณภาพและได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากที่สุด


คุณพนิต เจริญบูรณ์ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า "อะโวกาโดเข้ามาปลูกในเชียงใหม่นานกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นผลไม้ที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว สำหรับพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สูงที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกหลายแห่ง แต่ที่ตำบลแม่ขนิลเหนือ มีพื้นที่ปลูกอะโวกาโดมากที่สุด และปลูกมานานแล้ว ซึ่งการปลูกอะโวกาโดเป็นแนวทางการนำพืชมาปลูกเพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกพืชที่ได้ราคาต่ำ โดยในอนาคตมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูกอะโวกาโดให้มากขึ้น เพื่อทดแทนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่ราคาตกต่ำ ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น"

คุณพิเชษฐ์ ภาโสพระ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผล โครงการหลวงทุ่งเริง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า "โครงการหลวงทุ่งเริง ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกพืชผัก ผลไม้ หลายชนิด และอะโวกาโดเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ทางโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอะโวกาโด พันธุ์ที่ปลูกมีพันธุ์ Hass พันธุ์ปักคาเนีย พันธุ์ปิโดสัน ซึ่งอะโวกาโดเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความสูงจากน้ำทะเลถึง 650 เมตร ทำให้ผลผลิตอะโวกาโดที่ได้มีคุณภาพ เนื้อมัน ไม่มีเส้นใย รสชาติดี เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกอะโวกาโด โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 71 คน มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 135 ไร่ ผลผลิตที่ได้ในปี 2552 จำนวน 45 ตัน และในปี 2553 คาดว่ามีผลผลิตถึง 50 ตัน"

คุณเมือง ไชยลวน ผู้ใหญ่บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า "ตนเองได้เริ่มปลูกอะโวกาโดมานานแล้ว โดยปลูกพืชผัก มาปลูกอะโวกาโดในแปลงพืชผักอินทรีย์ ในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 50 ต้น แต่พอต้นอะโวกาโดโต จึงได้ย้ายพืชผักอินทรีย์ไปปลูกแปลงใหม่ ส่วนพันธุ์ที่ปลูกมี พันธุ์ Hass พันธุ์ปิโดสัน และปักคาเนีย การดูแลอะโวกาโดไม่ยุ่งยาก อะโวกาโดจะให้ผลผลิตในเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน การเก็บผลผลิตอะโวกาโด เลือกเก็บลูกที่ผลสุกก่อน จึงทำให้ผลผลิตจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดของโครงการหลวงรับซื้อผลผลิตอะโวกาโดเกือบทั้งหมด มีบางส่วนเท่านั้นที่พ่อค้าทั่วไปเข้ามารับซื้อซึ่งมีจำนวนไม่มาก ราคาประมาณกิโลกรัมละ 20-25 บาท โดยผลผลิตที่ได้ต่อต้นต่อปี ประมาณ 300-500 กิโลกรัม"

ผู้สนใจเกี่ยวกับอะโวกาโดสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิเชษฐ์ ภาโสพระ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผลโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้างปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (089) 261-4532



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05023150953&srcday=&search=no
http://info.matichon.co.th/techno/



                           

Written by จอมพล             
“ อโวคาโด”

ผลไม้รูปร่างประหลาดผิวดำขรุขระ  เมื่อผ่าออกจะพบเมล็ดใหญ่มีเนื้อนิ่มสีเขียว  นามว่า “อโวคาโด” นี้ดูจะห่างไกลจากความคุ้นเคยของคนไทยโดยเฉพาะคนไทยในประเทศไทย  ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่เมืองไทยนั้น  เจ้านายเป็นฝรั่งอเมริกันได้นำผลอโวคาโด  เข้าใจว่าซื้อมาจากซุปเปอร์มาร์เก็ตของฝรั่งในเมืองไทย  นำมาให้ลองชิมกัน  หลายๆคนเมื่อได้ชิมแล้วก็เบือนหน้าหนีเพราะกลิ่นเขียวๆมันๆเลี่ยนๆและไม่มีรสหวานของอโวคาโดไม่ถูกปากคนไทยที่ชอบผลไม้รสจัด  เทียบกันไม่ติดกับทุเรียนซึ่งมีเนื้อคล้ายๆกัน  บางคนถึงกับพูดว่ากินอโวคาโดนี้กินกล้วยยังอร่อยเสียกว่า  อโวคาโดจึงไม่เป็นที่นิยมในเมืองไทย  นั่นก็เป็นเพราะคนไทยกินอโวคาโดไม่เป็นนั่นเอง แท้จริงแล้วอโวคาโดนี้เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารมาก   ถึงแม้อโวคาโดจะมีแคโลรี่มากและ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของแคโลรี่นั้นมาจากไขมัน ซึ่งเรามักจะกลัวว่าทำให้อ้วน  ในความเป็นจริงไขมันในผลอโวคาโดนี้เป็นmonounsaturated fat ซึ่งเป็นไขมันตัวดีที่จะไปช่วยเพิ่ม high-density lipoprotein (HDL) cholesterol ที่ร่างกายต้องการเข้าไปล้างลิ่มไขมันในเส้นเลือด  ฉะนั้นอโวคาโดจึงเป็นผลไม้ที่สมควรรับประทานเป็นประจำนอกจากนี้อโวคาโดยังอุดมไปด้วยโปแตสเซียมซึ่งมีมากกว่ากล้วยถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ อันโปแตสเซียมนี้เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์  ช่วยในการทำงานของสมองและไต ผลอโวคาโดอุดมไปด้วยไวตามินบี  ซึ่งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค มีไวตามินอี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญอันเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และไวตามินเค ซึ่งช่วยให้เลือดแข็งตัวและซ่อมแซมผนังเส้นเลือด  นอกจากนี้อโวคาโดยังมีกากใยมากซึ่งช่วยเพิ่มไฟเบอร์ในร่างกายช่วยทำให้อิ่มและขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดี  ดังนั้นอโวคาโดจึงเป็นผลไม้ที่ต้องรับประทานไม่ใช่เพื่อความอร่อยแต่เพื่อเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ


ด้วยความที่อโวคาโดไม่มีในประเทศไทย  คนไทยจึงไม่รู้จักวิธีรับประทานอโวคาโด  ผลไม้นี้มีแต่รสมันไม่มีรสหวาน  จึงไม่นิยมปอกรับประทานเป็นของหวาน  คนส่วนมากจึงรับประทานอโวคาโดกับอาหารเพื่อช่วยเพิ่มรสหอมมัน  และเชื่อเถิดว่าเมื่อทานเป็นแล้ว  คุณจะชอบรสชาติมันๆของอโวคาโดที่เข้ามาช่วยแทนที่อาหารมันๆเลี่ยนๆที่มีแต่โทษต่อสุขภาพ


ฝรั่งนั้นกินอโวคาโดกับสลัด  หรือฝานใส่แซนวิช  ม้วนกับแป้งตอเตียของแม็กซิกัน  หรือรับประทานเคียงไปกับอาหารต่างๆไม่ว่าจะเป็นสเต็ก  ไก่ย่าง  ปลาอบ  หรืออื่นๆ  อโวคาโดจะช่วยเสริมรสชาติของอาหารนั้นๆ  อโวคาโดเป็นส่วนประกอบสำคัญของซูชิและโรลในอาหารญี่ปุ่นแบบแคลิฟอร์เนีย


อาหารคลาสสิคที่สุดที่ใช้อโวคาโดเป็นเครื่องปรุงสำคัญนั้นเรียกว่า “กัวคาโมลี” (Guacamole)  ซึ่งแท้ที่จริงนั้นก็คืออโวคาโดบดละเอียดนั่นเอง  กัวคาโมลีนี้เป็นเครื่องจิ้มสำหรับตอร์ติลลาชิบ  ซึ่งก็คือแป้งทอดแบบแม็กซิกัน  ขายกันเป็นถุงๆใหญ่ ๆ คนแม็กซิกันจะรับประทานตอร์ติลลาชิบนี้เป็นเครื่องเคียงในอาหารทุกประเภท  ผู้เขียนแนะนำให้ท่านผู้อ่านลองทำกัวคาโมลีนี้  เก็บใส่ตู้เย็นเอาไว้ใช้รับประทานได้ทุกวัน  โดยใช้แทนเนย หรือมายองเนส เวลารับประทานแซนวิช  หรือแม้แต่แฮมเบอร์เกอร์  หรือจะรับประทานเปล่าๆกับสลัด  หรือจะจิ้มทานกับตอร์ติลลาชิบเป็นของว่างก็ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากเช่นกัน


ลองมาพิจารณาดูคุณค่าทางอาหารของกัวคาโมลีเปรียบเทียบกับเครื่องทาและเครื่องจิ้มชนิดอื่นๆดังตารางต่อไปนี้



ตารางการเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่างอโวคาโดกับเครื่องทาและเครื่องจิ้ม


อโวคาโด

เนย,เกลือ

ซาวครีม

เชดดาชีส

มายองเนส,กับเกลือ

ปริมาณ (1-ounce)

2 ช้อนโต๊ะหรือ.
2-3 ชิ้นหั่นบาง

2 ช้อนโต๊ะ.

2 ช้อนโต๊ะ.

1 ช้อนโต๊ะ

2 ช้อนโต๊ะ

Calories

50

204

60

114

109

Total Fat (g)

4.5

23

6

9.4

9.4

Sat Fat (g)

0.5

14.6

3.7

6

1.4

Cholesterol (mg)

0

61

13

30

7

Sodium (mg)

0

164

15

176

199



จากตารางจะเห็นได้ว่าการรับประทานอโวคาโดแทนเครื่องทาและเครื่องจิ้มชนิดอื่นๆจะช่วยลดปริมาณแคโลรี่  ปริมาณไขมัน คลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดตลอดจนโซเดียมซึ่งเป็นอันตรายต่อความดันเลือดได้อย่างมาก  แถมรสชาติก็ยังหอมอร่อย  ทานแล้วจะติดใจวางไม่ลงเสียด้วยซ้ำ  ผู้เขียนได้นำวิธีทำกัวคาโมลีนี้มาฝากดังนี้

เครื่องปรุง

  • ผลอโวคาโดสุก ๔ ผล  ปอกเปลือกเอาแต่เนื้อแล้วบดให้ละเอียดด้วยทัพพีพลาสติก  วิธีการเลือกซื้ออโวคาโดนั้นก็คือเมื่อไปซื้อที่ตลาดให้เลือกจับบีบเบาๆถ้านิ่มก็เป็นอันใช้ได้  ถ้าซื้อแล้วยังไม่ต้องการใช้ให้ซื้อแบบยังแข็งอยู่  เมื่อนำมาถึงบ้านให้วางไว้ในอุณหภูมิห้อง  ถ้าต้องการให้นิ่มเร็วขึ้นให้ใส่ถุงกระดาษแล้วปิดปากถุงให้แน่น  ถ้าใส่รวมกับกล้วยหรือมะม่วงจะช่วยทำให้สุกเร็วขึ้นมาก  เมื่อได้ผลอโวคาโดมาแล้วให้ใช้มีดผ่าครึ่ง  เวลากดมีดลงไปจะติดเมล็ดไม่ต้องหั่นเมล็ดแต่หมุนมีดไปรอบๆ  จากนั้นบิดผลอโวคาโด  ผลจะหลุดออกมา  ใช้ส้นปลายแหลมของมีดสับเบาๆบนเมล็ดและบิด  เมล็ดจะติดมีดขึ้นมา  จากนั้นใช้ช้อนตักเนื้ออโวคาโดออกมา  วิธีง่ายๆนี้ทำให้ได้เนื้ออโวคาโดล้วนๆอย่างรวดเร็ว
  • น้ำมะนาว ๒ ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมบดละเอียด ๒ ช้อนชา
  • มะเขือเทศหั่นลูกเต๋า ๑ส่วน ๔ ถ้วย
  • ผักชีสับ ๑ส่วน ๔ ถ้วย
  • หอมแดงสับ ๑ ส่วน ๔ ถ้วย
  • ยี่หร่า ๑ ส่วน ๔ ช้อนชา  ไม่มีไม่ต้องใส่
  • เมล็ดพริกเจอเลอแปนโย  ใส่พริกป่นแบบไทยก็ได้ถ้าชอบเผ็ด
  • เกลือตามชอบ


วิธีปรุง

นำทุกอย่างมาผสมให้เข้ากันดีแล้วใส่ในกล่องที่มีฝาปิด  แช่ตู้เย็นเก็บไว้รับประทานได้สามถึงสี่วัน  จึงควรทำทีละน้อย  กัวคาโมลีนี้ไม่ควรซื้อที่ทำสำเร็จและไม่ควรรับประทานเวลาไปทานอาหารแม็กซิกันที่มักจะมีสลัดบาร์ที่มี ซัลซา กับกัวคาโมลี วางให้คนตักอยู่เพราะมีการปนเปื้อนของอาหารโดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทำให้ท้องร่วง  อาหารสองอย่างนี้ติดอันดับอาหารที่ทำให้คนป่วยมากที่สุดในอเมริกา


 

กัวคาโมลีกับแป้งตอติลลา

ต้นกำเนิดของอโวคาโดนั้นมาจากรัฐพิวบาประเทศแม็กซิโก  มีการค้นพบหลักฐานของการบริโภคอโวคาโดนี้ในถ้ำตั้งแต่๑๐,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล  คำว่า “อโวคาโด” นี้เป็นภาษานาวาทเทิล ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของแม็กซิโก  มีความหมายว่า “ลูกอัณฑะ” ซึ่งเข้าใจว่าลักษณะของผลดูคล้ายกับลูกอัณฑะ  ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่า  การรับประทานอโวคาโดจะช่วยเสริมความต้องการทางเพศได้  ซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง  อโวคาโดแพร่หลายในอเมริกากลางและอเมริกาใต้  ต้นอโวคาโดจะมีความสูงถึง ๒๐ เมตร  ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นได้ถึงศูนย์องศาเซลเซียส  ต้องการปุ๋ยและน้ำที่พอเพียง  ฉะนั้นการปลูกอโวคาโดในแคลิฟอร์เนียร์นี้จึงมีต้นทุนที่สูงกว่าอโวคาโดในแม็กซิโก   อเมริกาพยายามหยุดยั้งการนำเข้าอโวคาโดจากแม็กซิโกเพราะต้องการปกป้องชาวไร่ของตน  เนื่องด้วยอโวคาโดแม็กซิกันนั้นมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่า  ในช่วงปี ๑๙๙๔ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการออกข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศNorth American Free Trade Agreement (NAFTA)  ประเทศแม็กซิโกได้โอกาสพยายามส่งอโวคาโดเข้าอเมริกา  แต่ถูกอเมริกากีดกันโดยอ้างว่าอโวคาโดแม็กซิกันนั้นมีแมลงและมีเชื้อโรคที่อาจจะเข้ามาทำลายและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์วิทยาในอเมริกา  อย่างไรก็ตามแมลงเหล่านั้นก็หาทางเข้ามาในอเมริกาจนได้  และท้ายที่สุดอเมริกาก็ต้องยอมจำนน  ปัจจุบันนี้อโวคาโดที่เราเห็นทั่วไปนั้นกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์นำเข้าจากแม็กซิโก


 

แฮส อโวคาโด

อโวคาโด พันธุ์ที่เราเห็นอยู่ทั่วไปนั้นเรียกว่าพันธุ์ แฮส (Hass) แฮสอโวคาโดจะมีสีค่อนข้างดำมีผิวขรุขระ  ผู้ที่คิดค้นแฮสอโวคาโดนี้ขึ้นมาเป็นบุรุษไปรษณีย์นามว่า  รูดอล์ฟ  แฮส  เขาเป็นเกษตรกรสมัครเล่นแห่งเมืองวิสเทีย  แคลิฟอร์เนียร์นี้เอง  แฮสปลูกต้นอโวคาโดจากเมล็ด  โดยใช้เมล็ดจากที่ต่างๆที่หาได้  นำมาปลูกในหลุมเดียวกันหลุมละสามต้น  เขาจะเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรงที่สุดเอาไว้  อาจจะเกิดจากการข้ามสายพันธุ์ของมันเองหรือโชคช่วยอย่างไรก็ตาม  ต้นแฮสอโวคาโดต้นแรกก็ถือกำเนิดขึ้น  มีลักษณะแปลกกว่าอโวคาโดทั่วไปคือมีผลกลมกว่าและมีรสชาติหอมอร่อยและมีรสมันเหมือนถั่ว  แฮสจดทะเบียนลิขสิทธิ์แฮสอโวคาโดของเขาเมื่อปี ๑๙๓๕ และจากนั้นเป็นต้นมาแฮสอโวคาโดก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว  และปัจจุบันกลายเป็นอโวคาโดพันธุ์ที่มีขายมากกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ในอเมริกา



ปัจจุบันต้นแม่ของแฮสอโวคาโดได้ตายไปเสียแล้วด้วยโรครากเน่าหลังจากมีชีวิตอยู่ถึง ๗๖ ปี  หลังจากถูกโค่นลง  ชาวเมืองลาฮาบรา ไฮ้ส์ได้ล้อมกรอบบริเวณนั้นและมีป้ายบอกว่า  บริเวณนี้คือที่ที่เคยมีต้นแฮสอโวคาโดต้นแรกอยู่  และจะมีเทศกาลฉลองแฮส อโวคาโดที่เมืองนั้นทุกปีในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม


อโวคาโดเป็นอาหารชั้นยอดที่ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสุขภาพ  แถมยังมีรสชาติอร่อย เป็นทางเลือกให้กับคนที่ชอบอาหารที่มีความหอมมัน  โดยไม่ต้องอ้วนและยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือดให้ได้อีก  มาทานอโวคาโดกันดีกว่า  สำหรับคนไทยแค่เจียวไข่ใส่อโวคาโดแล้วรับประทานกับซอสศรีราชาคงจะอร่อยทานข้าวหมดจานไม่รู้ตัวเลยทีเดียว



http://thailanews.net/index.php?option=com_content&view=article&id=230:2010-07-15-23-41-57&catid=67:life-styles&Itemid=96
thailanews.net/index.php?option=com_content...id... -




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©