-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 398 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย97





เตาอบแห้งลำไย สมองกลอัจฉริยะ



วท.เดินหน้าสนองตอบเกษตรกร
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รมว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงเดือน ก.ค. นี้เป็นช่วงสำคัญของพี่น้องเกษตรกรสวนลำไยในภาคเหนือที่คาดว่าจะมีผลผลิตลำไยอบแห้งเพื่อส่งออกกว่า 2 แสนตัน มูลค่าประมาณ 2,900 ล้านบาท ล่าสุดทีมนักวิจัยของ ม.แม่โจ้ และ ม.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงวิทย์ฯ โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอ นิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนา ชุดควบคุมเตาอบแห้งลำไยสมองกล ที่ให้ความร้อนสม่ำเสมอ ร่นเวลาการอบจาก 3 วันเหลือเพียง 2 วัน รวมทั้งยังสามารถทํานายความชื้นของลําไยและทํานายเวลาที่เหมาะสมในการกลับทิศทางลมเพื่อลดความเสี่ยงของผลลำไยบุบเสียหาย


ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชพงษ์ ผอ.เนคเทค เปิดเผยว่า โครงการนี้เนคเทคและ สวทช. ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจาก โปรแกรมสมองกลฝังตัว มาช่วยให้คำปรึกษา ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวนี้ สามารถตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถของพี่น้องเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือได้ว่าอุปกรณ์สมองกลชุดนี้เป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สำคัญทีมนักวิจัยได้พัฒนาไปถึงขั้นการถ่ายทอดผลงานไปสู่วิสาหกิจชุมชน มีอุตสาหกรรมขนาดย่อมรับเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวไปผลิตในเชิงธุรกิจและบริการ สร้างอุตสาหกรรมให้กับชุมชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงได้ใช้เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการและราคาเหมาะสม


ผศ.ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้ ในฐานะหัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวเสริมว่า ทีมนักวิจัยและบริษัทที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยแบบสลับทิศทางลมร้อน ให้กับ โรงงานแปรรูปลำไยอบแห้ง วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ต.สันทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จำนวน 8 ตู้อบ แต่ละตู้สามารถอบลำไยได้ครั้งละ 2 ตัน ลดเวลาการอบจาก 3 วันเหลือเพียง 2 วัน ส่งผลให้เกษตรกรได้ลำไยอบแห้งที่มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้สั่งซื้อรายใหญ่โดยเฉพาะจาก ประเทศจีน และวางแผนการอบแห้งได้แม่นยำมากขึ้น

คาดว่าในฤดูผลิตลำไยของ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูนในปีนี้ ทีมนักวิจัยและบริษัทที่รับติดตั้งจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สมองกลเพื่อควบคุมเตาอบแห้งลำไยให้วิสาหกิจชุมชนใน จ.เชียงใหม่ ได้จำนวน 30 เตาจากจำนวนเตาอบแห้งลำไยทั้งหมดเกือบ 400 เตา


“เดิมจะใช้ฟืนหรือก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง ควบคุมความร้อนด้วยประสบการณ์ของคนควบคุมเตา แต่อุปกรณ์ชุดนี้จะใช้สมองกลควบคุมโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้พลังงานความร้อนอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้เชื้อเพลิงอย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นการลดมลพิษที่ปล่อยสู่อากาศ เป็นการลดภาวะโลกร้อนไปด้วย” หัวหน้าคณะนักวิจัยเตาอบแห้งลำไยสมองกล ระบุ.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (1041 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©