-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 558 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย95





ที่มา [url]http://it.doa.go.th/refs/files/409_2550.pdf[/url]


บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ 


การศึกษาชนิดของโรคทุเรียนและส้มโอเพื่อการส่งออก

1. แผนงานวิจัย 24. แผนพัฒนาการอารักขาพืช

2. โครงการวิจัย 82. การกักกันพืช


กิจกรรม 1. วิจัยการกักกันพืช
กิจกรรมย่อย 1.1 วิจัยการกักกันพืชเพื่อการส่งออก


3. ชื่อการทดลอง 1.1.1 การจัดทำข้อมูลบัญชีรายชื่อศัตรูพืชของพืชส่งออก
การทดลองย่อย 1.1.1.2 การศึกษาชนิดของโรคทุเรียนและส้มโอเพื่อการส่งออก
Diseases Survey and Diagnosis for Export Durian and Pummelo


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการ อุดร อุณหวุฒิ
หัวหน้าการทดลอง บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พจนา ตระกูลสุขรัตน์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พรพิมล อธิปัญญาคม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ดารุณี ปุญญพิทักษ์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


5.บทคัดย่อ
จากการสืบค้นข้อมูลโรคทุเรียนและส้มโอในประเทศไทย ได้บัญชีรายชื่อโรคของทุเรียนและส้มโอที่พบในประเทศไทยพืชละ 1 ชุด โดยทุเรียนมีรายงานพบโรคทุเรียนที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ 22 ชนิด  คือ


- โรคทุเรียนที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อรา 20 ชนิด โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย 1 ชนิด

- ส้มโอมีรายงานพบเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอ 18 ชนิด คือ โรคส้มโอที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด โรคที่เกิด
จากแบคทีเรีย 1 ชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อรา 14 ชนิด โรคที่เกิดจากไวรัส 1 ชนิด โรคที่เกิดจาก Bacteria Like
Organism 1 ชนิด


การสำรวจโรคของทุเรียนและส้มโอระหว่าง ตุลาคม 2548- กันยายน 2549 ที่แปลงปลูกเกษตรกร จ.ศรีสะเกษ นครนายก ปราจีนบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ พิจิตร นครปฐม สมุทรสงคราม  กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา

พบโรคทุเรียน 6 โรค ได้แก่ โรคที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด คือสาหร่าย Cephaleuros virescence โรคเกิดจากเชื้อรา 5 โรค คือ โรคราสีชมพูเกิดจากเชื้อรา Corticium salmonocolor โรคราดำเกิดจากเชื้อรา Meliola sp. โรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่าเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันคือ Phytophthora palmivora โรคใบติดหรือใบแห้งเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani


การสำรวจโรคของส้มโอพบโรค 9 โรค เกิดจากเชื้อสาเหตุ 9 ชนิด คือ โรคใบจุดสาหร่าย เกิดจากสาหร่าย
Cephaleuros virescence โรคแคงเคอร์เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri โรคกรี
นนิ่งเกิดจาก Bacteria Like Organism โรคของส้มโอที่เกิดจากเชื้อรา 6 โรค ได้แก่ โรคใบจุดเกิดจากเชื้อ
รา Colletotrichum gloeosporioides โรคราดำเกิดจากเชื้อรา Meliola sp. โรคจุดดำเกิดจากเชื้อรา
Phyllosticta sp. โรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora โรคสแคปเกิดจากเชื้อรา
Sphaceloma fawcettii และโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Citrus Tristeza Virus (CTV)
ได้จัดทำตัวอย่างแห้งโรคของทุเรียนได้ 12 ตัวอย่าง และส้มโอได้ 20 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 32 ตัวอย่างเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืช

6. คำนำ
การบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชทำให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องประสบความยากลำบากในการแข่งขันด้านธุรกิจเกษตรกับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า และมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าทุกประการ แต่กฎเกณฑ์ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์และพันธกรณีพื้นฐาน (right and obligation) ในการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชจากต่างประเทศมิให้เข้าไปเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม วิธีการปฏิบัติ คือ ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรต้องมีการตรวจสอบศัตรูพืช โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk analysis : PRA) ซึ่งอาจจะเป็นโรคพืช แมลง ไร สัตว์ศัตรูพืช และวัชพืช ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะติดมากับสินค้าเกษตรที่นำเข้า การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของประเทศผู้นำเข้าจะดำเนินการได้ จะต้องมีการขอบัญชีรายชื่อศัตรูพืช และข้อมูลด้านศัตรูพืช แต่ละชนิดของสินค้าเกษตรนั้นๆ บัญชีรายชื่อศัตรูพืช (Pest List : PL) เป็นข้อมูลศัตรูพืชและโรคพืชที่เข้าทำลายพืชอาศัยแต่ละพืช  ในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาคข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของพืชอาหาร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตที่มีการนำเข้าและส่งออก ประเทศต่าง ๆ ที่จะส่งสินค้าไปต่างประเทศจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืชนี้ หากประเทศผู้ส่งออกไม่มีบัญชีรายชื่อศัตรูพืชและข้อมูลศัตรูพืชที่พร้อมหรือครบถ้วนตามความต้องการของผู้นำเข้าก็จะทำให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ไม่อาจกระทำได้ นำไปสู่การกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าเกษตรไปยังประเทศต่างๆได้ ในปัจจุบันทุเรียนและส้มโอจัดเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดและยังไม่มีคู่แข่งมากนัก การผลิตเพื่อการส่งออกต้องทำตามตามความต้องการของผู้ซื้อ และจะต้องคำนึงถึงมาตรการที่มีผลต่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น SPS ด้วยการเตรียมความพร้อมในการส่งออกทุเรียน และส้มโอ ไปขายต่างประเทศคือจะต้องมีบัญชีรายชื่อศัตรูพืชที่สมบูรณ์ของพืชทั้งสองไว้สำหรับการเจรจาต่อรองการค้าระหว่างประเทศ


7. อุปกรณ์และวิธีการ
7.1 การจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนและส้มโอที่มีรายงานพบในประเทศไทยตรวจเอกสารโรคของทุเรียน และส้มโอที่มีรายงานพบในประเทศไทย จากเอกสารวิชาการ งานวิจัย บทความ จัดทำเป็นบัญชีรายชื่อโรคของทุเรียน และส้มโอ


7.2 การสำรวจ รวบรวม โรคของทุเรียนและส้มโอ สำรวจและเก็บตัวอย่างโรคของทุเรียนและส้มโอในแหล่งปลูกต่างๆ โดยเลือกสุ่มสำรวจจำนวน 10% ของพื้นที่เพาะปลูก บันทึกลักษณะอาการส่วนที่เป็นโรค


7.3 การศึกษาลักษณะอาการและการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุโรคทุเรียนและส้มโอ  ศึกษาลักษระอาการของโรคในแปลงปลูก และดำเนินการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุโดย การศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และการแยกเชื้อโดยวิธี Tissue Transplanting เมื่อได้เชื้อบริสุทธิ์ทำการจำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุตามหลักการของโรคพืช


7.4 การจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุโรคของทุเรียนและส้มโอจากการสำรวจ นำผลการสำรวจโรคและผลการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนและส้มโฮ มาจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนและส้มโอจากการสำรวจ


7.5 การตัดตัวอย่างแห้งโรคพืช ตัดตัวอย่างพืชที่แสดงอาการโรคออกเป็นชิ้นขนาด (กว้างxยาว) 2x2 นิ้ว หรือให้ได้ขนาดพอดีที่แสดงอาการของโรคอย่างชัดเจน วางชิ้นตัวอย่างบนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษฟาง พร้อมกับใบบันทึกข้อมูลของตัวอย่าง วางกระดาษหนังสือพิมพ์ทับลงบนตัวอย่าง วางตัวอย่างพร้อมกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ทำเสร็จแล้วลงระหว่างกรอบไม้อัดตัวอย่างรัดให้แน่น เปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษฟางทุกวันเป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับความหนาของตัวอย่าง ระยะเวลาในการอัดตัวอย่างจนกระทั่งตัวอย่างแห้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ความชื้นของตัวอย่าง และสภาพแวดล้อม นำตัวอย่างที่แห้งแล้วใส่ลงในซองกระดาษบางใส สอดซองกระดาษใสที่บรรจุตัวอย่างลงในซองกระดาษแข็งอีกชั้น บันทึกข้อมูลของตัวอย่างที่หน้าซองกระดาษแข็งบรรจุตัวอย่างดังนี้


7.6 การบันทึกข้อมูล
บันทึกข้อมูลของตัวอย่างลงในคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลที่กำกับตัวอย่าง ข้อมูลภาพถ่าย ภาพวาดของเชื้อสาเหตุ


8. ระยะเวลา (เริ่มต้น-สิ้นสุด) เริ่มต้น ตุลาคม 2548 สิ้นสุด กันยายน 2550


9. สถานที่ดำเนินการทดลอง กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  แปลงปลูกทุเรียนและส้มโอของเกษตรกรในเขตภาคเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


10. ผลการทดลองและวิจารณ์ (พร้อมภาพประกอบ)
10.1 การจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนที่มีรายงานในประเทศไทย
จากการสืบค้นเอกสารโรคของทุเรียนที่มีรายงานในประเทศไทย ได้บัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนและเอกสารอ้างอิง 1 ชุด (ตารางที่ 1) โดยมีรายงานพบเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียน 22 ชนิด คือ โรคเกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด เกิดจากเชื้อรา 20 ชนิด และโรคเกิดจากไส้เดือนฝอย 1 ชนิด จากบัญชีรายชื่อนี้  พบว่ามีเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลทุเรียน 4 ชนิดจาก 3 โรค คือ เชื้อรา Meliola durionis เชื้อรา  สาเหตุโรคราดำ Oildium nephelii และ Oildium sp. สาเหตุโรคราแปง้ เชื้อรา Phytophthora palmivora  สาเหตุโรคผลเน่า ซึ่งทางประเทศคู่ค้าจะต้องเป็นผู้วิเคราะห์ความเสี่ยงของเชื้อสาเหตุทั้ง 4 ชนิดก่อนการนำเข้า


10.2 การสำรวจ รวบรวมโรคของทุเรียน
สำรวจรวบรวมโรคของทุเรียนในแปลงของเกษตรกรจาก จ.ศรีสะเกษ นครนายก ปราจีนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี และสงขลา ระหว่างเดือนตุลาคม 2548-กันยายน 2549 พบโรคของทุเรียน 6โรค คือ โรคใบจุด  สาหร่าย โรคราสีชมพู โรคราดำ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า โรคใบติดหรือโรคใบแห้ง (ตารางที่ 2) นำตัวอย่างโรคของทุเรียนมาศึกษาจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุในห้องปฏิบัติการ


10.3 การศึกษาลักษณะอาการและจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียน
จากการศึกษาลักษณะอาการของโรคที่พบในแปลงปลูก นำตัวอย่างตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ทำการแยกเชื้อสาเหตุในห้องปฏิบัติการ เพื่อการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุตามวิธีการทางด้านโรคพืช พบโรคของทุเรียน ดังนี้ โรคใบจุดสาหร่าย มีสาเหตุจากสาหร่ายชนิด Cephaleuros virescens Kunze โรคราสีชมพูมีสาเหตุจากเชื้อรา Corticium salmonicolor โรคราดำ (Sooty mould) มีสาเหตุจากเชื้อรา Miliola  sp. โรครากเน่า โคนเน่าและโรคผลเน่ามีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora palmivora โรคใบติดหรือโรคใบแห้งมีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solanii (ขจรศักดิ์, 2542 ก, ข; เตือนใจ และคณะ, 2545; พัฒนาและคณะ,2537;พรพิมลและศรีสุรางค์,2546)


10.4 การจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนจากการสำรวจ
ผลจากการสำรวจโรค และจากการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของทุเรียนสามารถจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนจากการสำรวจระหว่าง ตุลาคม 2548-กันยายน 2549 ได้ 1 ชุด (ตารางที่ 2) โดยพบสาหร่าย C. virescens สาเหตุโรคใบจุดสาหร่าย เชื้อรา C. salmonicolor สาเหตุโรคราสีชมพู เชื้อราMeliola sp. สาเหตุโรคราดำ เชื้อรา R. solani สาเหตุโรคใบติด และเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่า ผลจากการสำรวจนี้พบเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลในการส่งออก 2ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ และเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคผลเน่า


10.5 การทำตัวอย่างแห้งโรคพืช
เก็บตัวอย่างโรคใบจุดสาหร่าย ราดำ และโรคใบติด ที่แสดงอาการชัดเจนนำมาอัดแห้งทำเป็นตัวอย่างแห้งเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืชได้ 12 ตัวอย่าง


10.6 การจัดทำบัญชีรายชื่อโรคของส้มโอที่มีรายงานในประเทศไทย
จากการตรวจค้นเอกสารเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอที่มีรายงานพบในประเทศไทย ได้บัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอและเอกสารอ้างอิง 1 ชุด (ตารางที่ 3) โดยพบเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอ 18 ชนิด เชื้อสาเหตุโรคส้มโอที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด เกิดจากแบคทีเรีย 1 ชนิด เกิดจาก Bacteria Like Organism 1  ชนิด เกิดจากเชื้อรา 14 ชนิด และเกิดจากไวรัส 1 ชนิด จากบัญชีรายชื่อนี้พบว่าเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลส้มโอส่งออกได้ 5 ชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis สาเหตุโรคแคงเคอร์ เชื้อรา Capnodium citri, Meliola butleri และ Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ และเชื้อรา Phyllosticta sp.  สาเหตุโรคจุดดำ เชื้อรา Phytophthora parasitica และ Phytophthora sp. สาเหตุโรคผลเน่า เชื้อสาเหตุทั้ง 7 ชนิดนี้ประเทศผู้นำเข้าส้มโอจากประเทศไทยจะต้องเป็นผู้วิเคราะห์ความเสี่ยงก่อนการนำเข้า


10.7 การสำรวจ รวบรวมโรคของส้มโอ
ผลการสำรวจโรคของส้มโอในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิจิตร นครปฐม สมุทรสงคราม  กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา และศรีสะเกษ พบโรคส้มโอ 9 โรค คือ โรคใบจุดสาหร่าย โรคแคงเคอร์ โรคกรีนนิ่ง โรคใบจุดโรคราดำ โรคจุดดำ โรครากเน่าโคนเน่า โรคสแคป และโรคทริสเตซ่า (ตารางที่ 4) นำตัวอย่างโรคจากการสำรวจมาศึกษาเชื้อสาเหตุในห้องปฏิบัติการ


10.8 การศึกษาลักษณะอาการและจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอ
จากการศึกษาลักษณะอาการและเก็บตัวอย่างโรคของส้มโอทั้ง 9 โรค คือโรคจุดสาหร่ายมีสาเหตุจากสาหร่ายชนิด Cephaleuros virescens Kunze โรคแคงเคอร์มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri โรคกรีนนิ่งมีสาเหตุจากแบคทีเรีย Bacterial Like Organism (BLO) โรคใบจุดมีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penze. โรคราดำมีสาเหตุจากเชื้อรา Miliola sp. โรคจุดดำมีสาเหตุจากเชื้อรา Phyllosticta sp. โรครากเน่าโคนเน่ามีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora
parasitica โรคสแคปมีสาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma fawcettii โรคทริสเตซ่ามีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Citrus Tristeza Virus (CTV) (คนึงนิตย์, 2527; วิเชียร และสุพัตรา,2526; วิเชียรและคณะ, 2526; ไมตรี และนวลจันทร์, 2515; พัฒนา และคณะ, 2537; พิพัฒน์, 2532)


10.9 การจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอจากการสำรวจ
ผลการสำรวจและจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอจากการสำรวจระหว่าง ตุลาคม 2548-กันยายน 2549 สามารถจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอได้ 1 ชุด (ตารางที่ 4) พบเชื้อสาเหตุ 9 ชนิด คือสาหร่าย C. virescens สาเหตุโรคใบจุดสาหร่าย แบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri สาเหตุโรคแคงเกอร์ Bacterial Like Organism (BLO) สาเหตุโรคกรีนนิ่ง เชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุด เชื้อรา Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ เชื้อรา Phyllosticta sp. สาเหตุโรคจุดดำ เชื้อรา P.parasitica สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า เชื้อรา S. fawcettii สาเหตุสแคป และไวรัส Citrus Tristeza สาเหตุโรคทริสเตซ่า จากบัญชีรายชื่อที่ได้พบว่าเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลส้มโอ 4 ชนิด คือ แบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri เชื้อรา Meliola sp., Phyllosticta sp. และ S. fawcettii


10.10 การทำตัวอย่างแห้งโรคพืช
เก็บตัวอย่างโรคใบจุดสาหร่าย โรคราดำ โรคแคงเคอร์ โรคใบจุด และโรคจุดดำบนผล ที่แสดงอาการชัดเจนนำมาอัดแห้งทำเป็นตัวอย่างแห้งเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืชได้ 20 ตัวอย่าง


11. สรุปผลการทดลอง
จากการสืบค้นข้อมูลโรคทุเรียนในประเทศไทย ได้บัญชีรายชื่อโรคของทุเรียนที่พบในประเทศไทย 1 ชุด โดยมีรายงานพบเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียน 22 ชนิด คือ โรคทุเรียนที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อรา 20 ชนิด โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย 1 ชนิด  การสำรวจโรคของทุเรียนพบโรค 6 โรค ผลจากการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคทุเรียนจากการ  สำรวจจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุโรคของทุเรียนจากการสำรวจได้ 1 ชุด โดยมีเชื้อสาเหตุ 5 ชนิด คือ  สาหร่าย Cephaleuros virescence สาเหตุโรคใบจุดสาหร่าย เชื้อรา Corticium salmonocolor สาเหตุโรคราสีชมพู เชื้อรา Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ เชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่า และเชื้อรา Rhizoctonia solani สาเหตุโรคใบติดหรือใบแห้ง ผลจากการสำรวจนี้พบเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลในการส่งออก 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ และเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคผลเน่า เกษตรกรผู้ปลูกต้องมีมาตรการป้องกันกำจัดตั้งแต่ในแปลงปลูกจากการสืบค้นข้อมูลโรคส้มโอในประเทศไทย ได้บัญชีรายชื่อโรคของส้มโอที่พบในประเทศไทย 1ชุด โดยมีรายงานพบเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอ 18 ชนิด คือ โรคส้มโอที่เกิดจากสาหร่าย 1 ชนิด โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย 1 ชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อรา 14 ชนิด โรคที่เกิดจากไวรัส 1 ชนิด และโรคที่เกิดจาก Bacteria Like  Organism (BLO) 1 ชนิด


การสำรวจโรคของส้มโอพบโรค 9 โรค ผลจากการจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุของโรคส้มโอจากการสำรวจจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุโรคของส้มโอจากการสำรวจได้ 1 ชุด โดยมีเชื้อสาเหตุ 9 ชนิด คือสาหร่าย Cephaleuros virescence สาเหตุโรคเกิดจากสาหร่าย แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis  pv. citri สาเหตุโรคแคงเคอร์ BLO สาเหตุโรคกรีนนิ่ง โรคที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum  gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุด เชื้อรา Meliola sp. สาเหตุโรคราดำ เชื้อรา Phyllosticta sp. สาเหตุ  โรคจุดดำ เชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่า เชื้อรา Sphaceloma fawcettii สาเหตุโรคสแคป และไวรัส Citrus Tristeza Virus สาเหตุโรคทริสเตซ่า จากบัญชีรายชื่อที่ได้พบว่าเชื้อสาเหตุที่สามารถติดไปกับผลส้มโอส่งออก 3 ชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri เชื้อรา Meliola sp. และ Phyllosticta sp.

จากการสำรวจโรคของทุเรียนและส้มโอได้ตัวอย่างแห้งโรคใบจุดสาหร่าย โรคราดำ และโรคจุดดำและโรคใบติดของทุเรียน ได้ 12 ตัวอย่าง และโรคใบจุดสาหร่าย โรคราดำ โรคแคงเคอร์ โรคใบจุด และโรคจุดดำ ของส้มโอ ได้ 20 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 32 ตัวอย่างเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืช


12. การนำไปใช้ประโยชน์
12.1 ได้บัญชีรายชื่อเชื้อสาเหตุโรคของทุเรียนและส้มโอที่มีรายงานพบในประเทศไทยเพื่อรวบรวมเป็นบัญชีรายชื่อศัตรูพืชส่งให้ประเทศผู้นำเข้าใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง ในการส่งออกพืชทั้ง 2ชนิดไปยังประเทศคู่ค้า และใช้ในการถอดถอนรายชื่อเชื้อสาเหตุที่ไม่ปรากฏในประเทศออกจากบัญชีรายชื่อศัตรูพืชทั้ง 2 ชนิด


12.2 เป็นข้อมูลให้นักวิจัยใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย หาทางป้องกันกำจัดโรคที่มีเชื้อสาเหตุ สามารถติดไปกับสินค้าเกษตรส่งออก โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับในประเทศและระดับนานาชาติ


12.3 ได้ตัวอย่างแห้งโรคของทุเรียนและส้มโอเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืช



13. เอกสารอ้างอิง
ขจรศักดิ์ ภวกุล. 2542 ก. โรคที่สำคัญที่เป็นปัญหาส่งออก ทุเรียน ส้มโอ ลำไย ปทุมมา ขิง. ก้าวใหม่  ของงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา 22 เมษายน 2542 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ. หน้า 16-3

ขจรศักดิ์ ภวกุล. 2542 ข. โรคที่สำคัญของทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเทคโนโลยการผลิต
ไม้ผล วันที่ 8-10 กันยายน 2542. งานพืชสวน กลุ่มงานพัฒนาการผลิตสำนักส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานส่งเสริมเกษตรภาคใต้ 3 หน้า.

คนึงนิตย์ เหรียญวราการ. 2527. โรคของส้มโอและการผลิตพันธุ์ส้มโอให้ปราศจากโรค. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 62 หน้า.
เตือนใจ บุญ-หลง, สุชาติ วิจิตรานนท์ และ แสงมณี ชิงดวง. 2545. โรคไม้ผลกองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

วิเชียร กำจายภัย และสุพัตรา อินทรวิมลศรี. 2526. โรคโคนเน่าของส้มโอ. วารสารโรคพืช  3(4): 201-203.
วิเชียร กำจายภัย สุพัตรา อินทรวิมลศรี และวรวรรณ ศักดิ์วงศ์. 2526. เชื้อราที่เกี่ยวข้องกับโรคยางไหลของส้มโอ. วารสารโรคพืช 3(4):107-112.

ไมตรี พรหมมินทร์ และนวลจันทร์ ดีมา. 2515. การศึกษาค้นคว้าโรควิสาของส้ม. หน้า 105-
107. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2515. พืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

พัฒนา สนธิรัตน, ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน, ธนวัฒน์ กำแหงฤทธิรงค์, วิรัช ชูบำรุง และอุบล
คือประโคน. 2537. ดรรชนีโรคพืชในประเทศไทย. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการ
เกษตร, กรุงเทพฯ.

พิพัฒน์ เซี่ยงหลิว. 2532. ราดำในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์.
กรุงเทพฯ. 117 หน้า.

พรพิมล อธิปัญญาคม และศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช. 2546. การจำแนกรา Rhizoctonia สาเหตุโรค
พืช. รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็ม ปี 2546 เล่มที่ 2 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรม
วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 872-893.


14. ภาคผนวก (ถ้ามี)









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (2223 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©