-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 311 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย94





สารจากพืชควบคุมวัชพืช




ผักกาดน้ำ
รายงานเรื่องเต็มผลการทดลองที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2549


1. ชื่อแผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาอารักขาพืช


2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม . วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
กิจกรรมย่อย วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช


3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช (Research and Development of Plant Extract for Weed Control)  การทดลองย่อย ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช  (Research for Application of Allelopathic Substance in Rorripa sp for Effective Weed Control)


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสาวศิริพร ซึงสนธิพร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช



5. บทคัดย่อ
- ผักกาดน้ำที่พบทั่วไปมากมีสองชนิด คือ ผักกาดน้ำ หรือผักกาดนำ (Rorippa dubia) และผักกาดน้ำดอกเหลือง (Rorippa indica)
- การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น ด้วยวิธี sandwich method พืชทั้งสองชนิดให้ผลการยับยั้งในทางเดียวกันและใกล้เคียงกัน แต่คือผักกาดน้ำดอกเหลืองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทดสอบได้มากกว่าทั้งพืชสดและพืชแห้ง และส่วนของใบให้ผลในการยับยั้งมากกว่าราก และต้น ตัวทำละลายในการสกัด ชนิดต่างๆ คือ Benzene, normal hexane, ethyl acetate, 70% methanol, 70% ethyl alcohol, dichloromethane, acetone, butanlol, น้ำร้อน และน้ำเย็น ปรากฏว่า การสกัดด้วยเมทานอล 70% ให้ผลการยับยั้งการเจริญรากของพืชทดสอบได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำ สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลืองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ไมยราบเครือ (Mimosa invisa Mart.) ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.) กระเฉดต้น (Neptunia sp.) กระเพาผี (Hyptis suaveolense ) โสนขน (Aeschynomene Americana ) ถั่วผี (Phaseolus lathyroides) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium eagyptium ) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon ) หญ้าขจรจบดอกใหญ่ (Pennisetm pedicellatum) ปรากฏว่า สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลือง อัตราเทียบเท่าสกัดจาพืชแห้ง 1 กรัม  สามารถยับยั้งการงอกของพืชทดสอบ เช่น ถัวผี หญ้าปากควาย ได้ดี แต่ที่อัตราต่ำ คือเทียบเท่าสกัดจากพืช 0.1 กรัม ทำให้ถัวผี และหญ้าปากควายงอกได้มากกว่าชุดควบคุม โดยอัตราที่สามารถยับยั้งการเจริญของพืช ทดสอบได้สูงสุดคือ เทียบเท่าสกัดจากพืช 1.0 กรัม ในน้ำ 5 มิลลิลิตร


6. การนำไปใช้ประโยชน์ :
จากผลที่ได้ดังกล่าวนี้ จะต้องศึกษาการออกฤทธิ์ของสารเหล่านี้ต่อวัชพืชที่เจริญเติบโตในดิน ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ อายุของวัชพืชที่ไวต่อสารนี้ อายุการออกฤทธิ์ของสาร เพื่อจะได้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปใช้ เพื่อลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์



แมงลักป่า

แบบรายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550
1. แผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

2. โครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
กิจกรรมย่อย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช


3. ชื่อการทดลอง(ภาษาไทย) วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช :
ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสกัดสารจากแมงลักป่าเพื่อให้ได้สารที่มี
ประสิทธภาพในการควบคุมวัชพืชสูงสุด


4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้ากิจกรรม นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นาง ชอุ่ม เปรมัษเฐียร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน น.ส. ศิริพร ซึงสนธิพร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


5. บทคัดย่อ
การสกัดสารฯจากแมงลักป่าด้วยน้ำเพื่อให้ได้สารสกัดฯที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงด้วยน้ำโดยนำแมงลักป่าทั้งต้น (ต้น+ใบ) ที่เจริญเติบโตในฤดูฝน ส่วนของใบ  ส่วนของลำต้น และแมงลักป่าทั้งต้น (ต้น+ใบ) ที่เจริญเติบโตในฤดูแล้ง มาแช่น้ำเป็นระยะเวลาต่างๆ กัน  ตั้งแต่ 1-8 สัปดาห์แล้วนำสารสกัดฯที่ได้ในแต่ละช่วงเวลาการสกัดสารฯมาทดสอบประสิทธิภาพที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้ หญ้าข้าวนกและผักกาดหอมเป็นพืชทดสอบพบว่าสารสกัดฯจากแมงลักป่าที่เจริญเติบโตในฤดูฝน ฤดูแล้งและจากส่วนใบและส่วนลำต้นของแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ระยะเวลาต่างๆกันนั้นให้สารสกัดฯ ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทุกระยะการแช่น้ำแต่ระยะที่เหมาะสมในการแช่ส่วนต่างๆของแมงลักป่าให้ได้สารสกัดฯที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงแตกต่างกัน แมงลักป่าทั้งต้น(ต้น+ใบ) ที่เจริญเติบโตสมบูรณ์ในฤดูฝนและส่วนของใบแมงลักป่าจะให้สารสกัดฯที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่สัปดาห์แรกของการแช่น้ำและสารสกัดฯที่ไดมี้ประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อแชน่ ํ้าไว 1- 2 และ 3 สัปดาห์


ส่วนสารสกัดฯจากส่วนลำต้นแมงลักป่าจะมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงเมื่อแช่น้ำไว้ 2-3 สัปดาห์ ส่วนสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งจะให้สารสกัดฯที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงเมื่อแช่น้ำไว้ 2-4 สัปดาห์ ส่วนสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นหรือจากส่วนต่างๆของแมงลักป่าที่ได้จากการแช่น้ำไว้ 5-8 สัปดาห์ยังมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชแต่ประสิทธิภาพนั้นลดลงและสามารถนำมาใช้ได้แต่ต้องเพิ่มอัตราการใช้ให้สูงขึ้น


ส่วนลำต้นแมงลักป่าจะมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงเมื่อแช่น้ำไว้ 2-3 สัปดาห์ ส่วนสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งจะให้สารสกัดฯที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงเมื่อแช่น้ำไว้ 2-4 สัปดาห์ ส่วนสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นหรือจากส่วนต่างๆของแมงลักป่าที่ได้จากการแช่น้ำไว้ 5-8 สัปดาห์ยังมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชแต่ประสิทธิภาพนั้นลดลงสามารถนำมาใช้ได้แต่ต้องเพิ่มอัตราการใช้ให้สูงขึ้น


6. คำนำ
เพื่อความมีชีวิตอยู่รอดของพืชในธรรมชาติ พืชจะสร้างสารขึ้นมาเพื่อป้องกันการทำลายจากศัตรู
ต่างๆซึ่งได้แก่โรค แมลงและสัตว์ศัตรูพืช ซึ่งเรียกขบวนการที่พืชสร้างสารขึ้นมาและปล่อยสารนั้นออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆอันได้แก่ พืช จุลินทรีย์ นี้ว่า อัลลิโลพาธี่ (Allelopathy) ซึ่งผลกระทบนั้นมีทั้งด้านบวกและลบและเรียกสารที่พืชสร้างนั้นว่าสาร อัลลิโลเคมิคัล (allelochemical) หรือ อัลลิโลพาธิค (allelopathic) ปัจจุบันสารที่มีในพืชนี้ได้ถูกนำพัฒนาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ สารจากไพรีทรัม(Chrysanthemum cinerariaefolium Vis.)ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตั้งแต่ปี 1851และพบว่าสารออกฤทธิ์ที่มีในไพรีทรัมได้แก่ Pyrethrin I, II , Cenerin I, II, Jusmolin I, II (Musumura, 1975, Moorman and Nguyen, 1997) สารที่มีในใบเบญจมาศหนู( Chrysanthemum morfolium cv. Ramat) เมื่อนำมาสกัดด้วย เมทานอล จะได้สาร chlorogenic acid, 3,5-O – dicaffeoylquinic acid
และ 3’,4’ 5-trihydroxyflavanone 7- O –glucuronide ซึ่งสารเหล่านี้ยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนคืบกะหล่ำ (Trichoplusia ni Hubner) และยับยั้งการสังเคราะห์แสงของ วัชพืชพวกแหน (Lemna gibba L.)ได้ด้วย (Clifford W.B. et al., 2004)


สารที่มีในพืชหลายชนิดพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช Singh et al. (2002) พบว่าสารparthenin สกัดจากวัชพืช Parthenium hysterophorus ซึ่งเป็นวัชพืชร้ายแรงในการปลูกพืชไร่ในประเทศอินเดียสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides L. ) อย่างรุนแรง และ ชอุ่ม และ ศิริพร (2538) ได้นำวัชพืชที่พบทั่วไปในสภาพไร่มาสกัดหาว่าวัชพืชแต่ละชนิดมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชมากน้อยแตกต่างกันอย่างไรซึ่งพบว่าวัชพืชร้ายแรงในไร่หลายชนิด เช่น สาบเสือ (Chromolaena odorata (L.) R.M. King & H. Robinson) กระเพราผีหรือแมงลักป่า(Hyptis suaveolens Poit.) และหญ้างวงช้าง ( Heliotropium indicum L.) ฯลฯ มีสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นอ่อนข้าวอย่างรุนแรง จึงได้นำวัชพืชเหล่านี้มาศึกษารายละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาใช้ในการควบคุมวัชพืชต่อไป


แมงลักป่าหรือกระเพราผีหรือแมงลักคามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyptis suaveolens Poit. จัดอยู่
ใน Family Labiatae เป็นวัชพืชอายุปีเดียวลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตรงข้ามเป็นคู่แผ่นใบรูปไข่ ขอบใบหยักเล็กน้อยเป็นร่องบริเวณเส้นใบ ใบมีขนและมีกลิ่นดอกเป็นช่อตามซอกใบมีสีม่วง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด และเป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่Premasthira and Zungsontiporn (1997) ได้สกัดสารจากส่วนต่างๆของแมงลักป่าแล้วนำมาหาประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชพบว่า สารอัลลิโลเคมิคที่มีในส่วนต่างๆของแมงลักป่ามีระดับความเป็นพิษแตกต่างกัน ส่วนของเมล็ดมีสารที่มีความเป็นพิษมากที่สุด รองลงมาคือสารที่มีในส่วนของใบ และลำต้นตามลำดับ แมงลักป่าเป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและพบได้ทั้งปี แมงลักป่าจึงเป็นวัชพืชที่มีศักยภาพสูงที่จะนำมาพัฒนาใช้ในการควบคุมวัชพืช การสกัดสารจากพืชสามารถใช้ตัวสกัดได้หลายชนิด เช่น ตัวทำละลายเคมี ได้แก่ เมทานอล เฮกเซน เอธิล-อซิเตต คลอโรฟอร์ม หรือสกัดด้วยน้ำ ซึ่งตัวสกัดแต่ละชนิดให้สารสกัดฯ ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกัน แต่เพื่อให้ผลการทดลองนี้มีประโยชน์แก่เกษตรกรในการนำสารสกัดจากแมงลักป่าไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืชจึงสกัดสารจากแมงลักป่าด้วยน้ำและเพื่อให้ได้สารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงจึงควรทราบว่าในการสกัดหรือแช่แมงลักป่าด้วยน้ำนั้นควรใช้เวลานานเท่าใดจึงจะได้สารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูง


7. อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
- แมงลักป่า
- ถ้วยพลาสติกพร้อมฝาปิด
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
- เมล็ดหญ้าข้าวนก
- เมล็ดผักกาดหอม
- วุ้น
- ตู้ควบคุมอุณหภูมิ
- ตู้อบแห้งและตาชั่ง ฯลฯ


วิธีการ
นำแมงลักป่าสดซึ่งมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมาตัดเป็นท่อนเล็กๆประมาณ 1 ซม แบ่ง
แมงลักป่าที่ตัดได้เป็น ถุงๆละ 100 กรัมแล้วนำมาสกัดสารฯโดยการแช่น้ำในอัตราส่วน 1:5 เพื่อหาว่าต้องแช่น้ำไว้นานเท่าใดจึงจะได้สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงสุดจึงแช่แมงลักป่าด้วยน้ำไว้ในระยะเวลาต่างๆ คือ 1 2 3 4 5 6 7 และ 8 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดตามแผนที่วางไว้ แยกสารสกัดที่ได้ออกจากกากแมงลักป่าแล้วนำสารสกัดฯที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพของสารฯดังกล่าวโดยใช้หญ้าข้าวนกและผักกาดหอมเป็นพืชทดสอบโดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด

ชุดที่1 ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าโดยใช้หญ้าข้าวนกเป็นพืชทดสอบนำ
สารสกัดฯที่ได้จาการแช่น้ำไว้ในแต่ละสัปดาห์มาใส่ในถ้วยแก้วซึ่งบรรจุวุ้น 20 มิลลิลิตร โดยใช้ความเข้มข้นของสารสกัดฯ 3 อัตรา คือ 1.0, 2.5 และ 5.0 % แล้วปลูกหญ้าข้าวนก


การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำ 1 สัปดาห์มีกรรมวิธี  ดังนี้
กรรมวิธีที่ 1 ปลูกหญ้าข้าวนกไม่ใส่สารสกัดแมงลักป่าเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ
กรรมวิธีที่ 2 ปลูกหญ้าข้าวนกในสารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 1.0 %
กรรมวิธีที่ 3 ปลูกหญ้าข้าวนกในสารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 2.5 %
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกหญ้าข้าวนกในสารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 5.0 %


การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำ 1 สัปดาห์ต่อการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนก ทุกกรรมมี 4 ซ้ำแล้วนำแก้วทดลองดังกล่าวปิดฝาและนำไปเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียสให้แสงตลอดเวลา หลังจากปลูกพืชแล้ว 7 วันทำการวัดความยาวของรากและยอดของหญ้าข้าวนก การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าที่ได้จากการแช่น้ำในระยะเวลาต่างๆ คือ 2-8 สัปดาห์ต่อการเจริญเติบโตหญ้าข้าวนกปฎิบัติเช่นเดียวกับการ

ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าทั้งต้นที่ได้จากการแช่น้ำ 1 สัปดาห์  ชุดที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าโดยใช้ผักกาดหอมเป็นพืชทดสอบ นำสารสกัดฯที่ได้จาการแช่น้ำไว้ในแต่ละสัปดาห์มาใส่ในถ้วยแก้วซึ่งบรรจุวุ้น 20 มิลลิลิตร โดยใช้ความเข้มข้นของสารสกัดฯ 3 อัตรา คือ 1.0 % 2.5%และ 5.0% แล้วปลูกผักกาดหอม


การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำ1 สัปดาห์มีกรรมวิธีดังนี้
กรรมวิธีที่ 1 ปลูกผักกาดหอมไม่ใส่สารสกัดแมงลักป่าเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ
กรรมวิธีที่ 2 ปลูกผักกาดหอมใส่สารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 1.0 %
กรรมวิธีที่ 3 ปลูกผักกาดหอมใส่สารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 2.5%
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกผักกาดหอมใส่สารสกัดแมงลักป่าที่แช่น้ำ1 สัปดาห์ความเข้มข้น 5.0 %


การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำ 1 สัปดาห์ต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม ทุกกรรมมี 4 ซ้ำ แล้วนำแก้วทดลองดังกล่าวปิดฝาและนำไปเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียสให้แสงตลอดเวลา หลังจากปลูกพืชแล้ว 7 วันทำการวัดความยาวของรากและยอดของผักกาดหอม


การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าทั้งต้นที่ได้จากการแช่น้ำ 2-8 สัปดาห์ต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมปฏิบัติเช่นเดียวกับการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากแมงลักป่าทั้งต้นที่ได้จากการแช่น้ำ 1 สัปดาห์  การหาเวลาสกัดที่เหมาะสมและการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากส่วนของใบและส่วนลำต้นของแมงลักป่าปฏิบัติเช่นเดียวกับการหาเวลาสกัดที่เหมาะสมและการทดสอบประสิทธิภาพของสกัดสารจากแมงลักป่าทั้งต้น


8. ระยะเวลา เดือน (เริ่มต้น – สิ้นสุด )
1 ปี 6 เดือน (เริ่มต้นตุลาคม 2548 – สิ้นสุด มีนาคม 2550)


9. สถานที่ดำเนินการ
9.1  แปลงเกษตรกร
9.2 ห้องปฎิบัตการ และเรือนทดลอง กลุ่มวิจัยวัชพืช


10. ผลการทดลองและวิจารณ์
ประสิทธิภาพของสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่ซึ่งสกัดโดยแช่น้ำไว้ระยะเวลาต่างๆกันคือ 1-8 สัปดาห์ต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมแสดงดังรูปที่ 1 พบว่าสารสกัดฯอัตรา 1 กรัมน้ำหนักสดที่ได้จากการแช่แมงลักป่าทั้งต้นไว้ในน้ำ 1, 2 3 และ 4 สัปดาห์มีความเป็นพิษต่อความยาวรากผักกาดหอมโดยผักกาดหอมมีความยาวราก 64, 18, 11 และ79 เปอร์เซ็นต์หรือรากผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 36, 82, 89 และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และยอดมีความยาว 29, 9, 50 และ 116 เปอร์เซ็นต์หรือยอดผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 71, 91, 50 และ -16 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  ซึ่งแสดงว่าสารสกัดที่ได้จากการแช่แมงลักป่าทั้งต้นไว้ 1 2 3 สัปดาห์ยับยั้งการเจริญเติบโตของรากและยอดของผักกาดหอมมากกว่าสารสกัดที่ได้จากการแช่แมงลักป่าทั้งต้นไว้ 4 สัปดาห์และสารสกัดที่ได้จากการแช่แมงลักป่าทั้งต้นไว้ 4 สัปดาห์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดผักกาดหอมและสารสกัดฯอัตราเดียวกันจากแมงลักป่าทั้งต้นที่แช่น้ำไว้ 5, 6, 7 และ 8 สัปดาห์ ทำให้ผักกาดหอมมีความยาวราก 20-80 เปอร์เซ็นต์ ที่สารสกัดฯอัตราสูงขึ้นความยาวรากและยอดของผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากขึ้น และความยาวยอดผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโตน้อยกว่าส่วนของราก ส่วนความยาวรากของหญ้าข้าวนกเมื่อได้รับสารสกัดฯที่แช่น้ำไว้ 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์มีความยาว 50, 70, 84 และ 84 เปอร์เซ็นต์หรือรากหญ้าข้าวนกยับยั้งการเจริญเติบโต 50, 30,16 และ16 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่เมื่อได้รับสารสกัดฯจากแมงลักป่าทั้งต้นที่แช่น้ำไว้ 5-8 สัปดาห์  หญ้าข้าวนกมีความยาวราก 93 - 100 เปอร์เซ็นต์หรือรากหญ้าข้าวนกถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 0- 7 เปอร์เซ็นต์ และรากของหญ้าข้าวนกถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากขึ้นเมื่อได้รับสารสกัดอัตราสูงขึ้นและส่วนยอดของหญ้าข้าวนกถูกยับยั้งการเจริญเติบโตน้อยกว่าส่วนของราก


จากผลการทดลองแสดงว่าสารสกัดจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่เมื่อแช่น้ำไว้ตั้งแต่ 1-3 สัปดาห์จะได้สารสกัดฯที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงกว่าเมื่อแช่น้ำไว้ 4-8 สัปดาห์ แมงลักป่าทั้งต้นเมื่อแช่น้ำไว้ 1 สัปดาห์จะให้สารที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและเมื่อแช่ไว้ 2-3 สัปดาห์สารสกัดที่ได้มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้นแต่เมื่อแช่ไว้ 4 สัปดาห์สารสกัดที่ได้มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชน้อยลงซึ่งอาจเกิดจากการแช่แมงลักป่าไว้นานสารสกัดฯ ที่ได้อาจเกิดการสลายตัวทำให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชลดลงสารสกัดฯ ของใบแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1-8 สัปดาห์เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม พบว่า สารสกัดฯ ที่ได้จากการแช่ใบของแมงลักป่าไว้ 1 และ 2 สัปดาห์ ที่อัตรา 1 กรัมน้ำหนักสด ทำให้ผักกาดหอม มีความยาวราก 121, 150 และความยาวยอด 185, 130 เปอร์เซ็นต์ หรือส่งเสริมการเจริญเติบโต ของรากผักกาดหอม 21, 50 และความยาวยอด 85 , 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ สารสกัดจากใบแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 4-8 สัปดาห์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากและยอดของผักกาดหอม ทำให้ผักกาดหอมมีความยาวราก 100 – 160 และความยาวยอด 107- 163 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสารอัลลิโลพาธิกหรือสารที่มีในพืชนั้นจะแสดงความเป็นพิษต่อพืชเมื่อพืชได้รับสารสกัดฯ ในปริมาณมากและจะส่งเสริมการเจริญเติบโตเมื่อพืชได้รับสารสกัดฯ ปริมาณน้อย ส่วนประสิทธิภาพของสารสกัดฯจากใบของแมงลักป่าที่มีต่อหญ้าข้าวนก พบว่าสารสกัดจากใบแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ที่อัตรา 1 กรัมน้ำหนักสด หญ้าข้าวนกมีความยาว 117, 121, 119 และ 152 เปอร์เซ็นต์ ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากใบแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1, 2  และ 3 สัปดาห์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกน้อยกว่าสารสกัดที่ได้จากการแช่ใบแมงลักป่าไว้ 4 สัปดาห์ และสารสกัดที่ได้จากการแช่ใบแมงลักป่าไว้ 5-8 สัปดาห์มีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากหญ้าข้าวนก 57-74 เปอร์เซ็นต์ คือ หญ้าข้าวนกมีความยาวราก 157-174 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าใบแมงลักป่าเมื่อแช่น้ำไว้ 1-3 สัปดาห์ จะให้สารสกัดฯ ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช สูงและประสิทธิภาพของสารสกัดจะลดลงถ้าแช่ใบแมงลักป่าไว้ 4-8 สัปดาห์ส่วนลำต้นแมงลักป่าเมื่อแช่น้ำไว้ 1-8 สัปดาห์ เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม พบว่า สารสกัดฯ ที่ได้จากการแช่ต้นของแมงลักป่าไว้ 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ที่อัตรา 2.5 กรัมน้ำหนักสด ทำให้ผักกาดหอม มีความยาวราก 113, 74, 106 และ 120 เปอร์เซ็นต์และความยาวยอด 108, 115, 114 และ 107 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับแสดงว่า สารสกัดจากต้นแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1 สัปดาห์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากผักกาดหอม 13 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดจากต้นแมงลักป่าที่แช่น้ำ 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของรากผักกาดหอม 26 เปอร์เซ็นต์ และ ส่งเสริมการเจริญเติบโต รากผักกาดหอม 6 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สารสกัดจากต้นแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 5-8 สัปดาห์ ทำให้ผักกาดหอมมีความยาวราก 100 – 120 และความยาวยอด107- 146 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสารสกัดฯที่ได้จากการแช่ใบแมงลักป่าในน้ำไว้ 2 -3 สัปดาห์มีความเป็นพิษต่อผักกาดหอมมากกว่าสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำไว้ในระยะเวลา 1 และ 4 - 8 สัปดาห์ 

ผลของสารสกัดจากต้นของแมงลักป่าที่มีต่อหญ้าข้าวนก พบว่าสารสกัดจากต้นแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ที่อัตรา 5 กรัมน้ำหนักสด หญ้าข้าวนกมีความยาว 135, 103, 102 และ 138 เปอร์เซ็นต์ ชี้ให้เห็นสารสกัดจากต้นแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 1 และ 4 สัปดาห์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกมากกว่าสารสกัดที่ได้จากการแช่ต้นแมงลักป่าไว้ 2 และ 3 สัปดาห์แสดงว่าการแช่ต้นแมงลักป่าไว้ 2-3 สัปดาห์จะได้สารสกัดที่มีความเป็นพิษมากกว่าเมื่อแช่ต้นแมงลักป่าไว้ 1 และ 4 สัปดาห์ และสารสกัดที่ได้จากการแช่ต้นแมงลักป่าไว้ 5-8 สัปดาห์ ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของรากและยอดหญ้าข้าวนกโดยส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากประมาณ 13-70 เปอร์เซ็นต์และส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดประมาณ 42-49 เปอร์เซ็นต์ซึ่งแสดงว่าส่วนของต้นแมงลักป่าเมื่อแช่น้ำไว้ 2-3 สัปดาห์จะได้สารสกัดที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงแมงลักป่าเป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปและเจริญได้ดีทุกสภาพพื้นที่แต่ในฤดูฝนและฤดูแล้งการเจริญเติบโตของต้นแมงลักป่าจะแตกต่างกันคือในฤดูฝนต้นแมงลักป่าจะมีลำต้นอวบสีเขียวสดและใบมีขนาดใหญ่สีเขียวสดสัดส่วนของใบจะมีมากกว่าส่วนของลำต้น แต่ต้นแมงลักป่าที่เจริญเติบในฤดูแล้งจะมีลำต้นเล็กแข็งสีเขียวเข้มและใบมีขนาดเล็กสีเขียวเข้มดังนั้นจึงนำแมงลักป่าที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งมาหาช่วงเวลาสกัดสารฯให้ได้สารสกัดที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตสูง


จากการนำแมงลักป่าที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งซึ่งมีต้นแคระแกรน ลำต้นมีขนาดเล็กมีสีเขียวปนน้ำตาลและใบมีขนาดเล็กมีสีเขียวเข้มสัดส่วนของใบจะมีน้อยกว่าส่วนของลำต้น มาสกัดหาสารฯโดยการแช่น้ำไว้เป็นระยะเวลาต่างๆกัน ปรากฏว่าเมื่อนำสารสกัดฯที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกพบว่า หญ้าข้าวนกที่ได้รับสารสกัดฯจากการแช่แมงลักป่าทั้งต้นในน้ำเป็นเวลา 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์อัตรา 1 กรัมน้ำหนักสด มีความยาวราก 149, 115, 120 และ 118 เปอร์เซ็นต์และความยาวยอด 113, 104, 107 และ 109 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และหญ้าข้าวนกที่ได้รับสารสกัดฯจากแมงลักป่าที่แช่น้ำไว้ 5, 6, 7 และ 8 สัปดาห์ ความยาวราก 144, 129, 125 และ 137เปอร์เซ็นต์ตามลำดับซึ่งแสดงว่าสารสกัดจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งเมื่อแช่น้ำไว้ 2- 4 สัปดาห์ จะให้สารสกัดฯ ที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของพืชสูงกว่าสารสกัดฯที่ได้จากการแช่น้ำ 1 และ 5 - 8 สัปดาห์


11. สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองแสดงว่าสารสกัดฯด้วยน้ำจากแมงลักป่าทั้งต้นที่เจริญเติบโตสมบูรณ์ซึ่งลำ
ต้นและใบมีขนาดใหญ่สีเขียวสดและสัดส่วนของใบมีมากกว่าส่วนของลำต้นนั้นเมื่อแช่น้ำไว้ 1 สัปดาห์จะได้สารที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของพืชสูง และเฉพาะส่วนของใบเมื่อแช่น้ำไว้ 1 สัปดาห์ จะให้สารที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นเดียวกับสารที่ได้จากแมงลักป่าทั้งต้น แต่ส่วนของลำต้นต้องแช่น้ำไว้ 2-3 สัปดาห์จึงจะให้สารที่มีประสิทธิภาพสูง ส่วนแมงลักป่าที่เจริญเติบโตในฤดูแล้งซึ่งต้นแคระแกรน ลำต้นมีขนาดเล็กมีสีเขียวปนน้ำตาลและใบมีขนาดเล็กมีสีเขียวเข้มและสัดส่วนของใบจะมีน้อยกว่าส่วนของลำต้นนั้นจะให้สารที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องแช่น้ำไว้ 2-4 สัปดาห์


12. การนำไปใช้ประโยชน์ :
การสกัดสารจากแมงลักป่าด้วยน้ำเป็นวิธีการที่ง่ายและเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้และการที่ทราบช่วงเวลาในการสกัดให้ได้สารที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชสูงจากส่วนต่างๆของแมงลักป่าและจากแมงลักป่าที่เจริญเติบโตในฤดูต่างจะช่วยให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากแมงลักป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังเป็นข้อมูลในการสกัดสารจากแมงลักป่าด้วยน้ำเพื่อนำสารสกัดฯไปศึกษาด้านอื่นๆ ต่อไป


13. เอกสารอ้างอิง
ชอุ่ม เปรมัษเฐียร, ศิริพร ซึงสนธิพร 2538 สารที่เป็นพิษต่อวัชพืชใบกว้าง วารสารวิทยาศาสตร์
เกษตร ปีที่ 28 หน้า 9-20



ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-29 (2784 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©