-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 612 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ส้มโชกุน




หน้า: 2/2



เตรียมข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจปลูกส้มโชกุน-ส้มสายน้ำผึ้ง

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวของทุกปี ไม้ผลในกลุ่มของส้มเขียวหวาน จะทยอยกันสู่ตลาด ปัจจุบันแหล่งผลิตส้มที่ใหญ่ที่สุด ได้เปลี่ยนจากบริเวณทุ่งหลวงรังสิต ไปอยู่ที่เขตพื้นที่ภาคเหนือ คือ จ.กำแพงเพชร และ อ.ฝาง, อ.ไชยปราการ และ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ รวมพื้นที่ปลูกเพียง 2 จังหวัดนี้มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 200,000 ไร่ มีการคาดการณ์กันว่า ในฤดูการผลิตส้มในปีนี้ ปัญหาเรื่องราคาส้มเขียวหวานตกต่ำ เริ่ม เห็นชัดเจนขึ้น นอกจากเหตุผลที่ว่ามีการขยายพื้นที่ปลูกส้มกันมากขึ้นแล้ว จากที่เคยมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 80-100 บาท จะลดลงมาเหลือเพียง 20-30 บาท

ดังนั้นในขณะนี้ไม่แนะนำให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวาน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงมาก ถ้าจะปลูกพืชตระกูลส้มแนะนำให้ปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีและขาวน้ำผึ้ง แต่ถ้าคิดจะปลูกส้มโชกุน-ส้มสายน้ำผึ้ง จะต้องเตรียมข้อมูลให้ดีเสียก่อน เนื่องจากมีการบำรุงรักษาที่ยุ่งยากกว่า

ส้มโชกุนและส้มสายน้ำผึ้งเป็นส้มสายพันธุ์เดียวกัน แตกต่างกันตามพื้นที่ปลูกเท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเป็นส้มคนละสายพันธุ์กัน ส้มสายน้ำผึ้งจะต้องมีผิวสีเหลืองทองเมื่อผลแก่ และจะต้องปลูกในเขต อ.ฝาง และใกล้เคียงของ จ.เชียงใหม่ เท่านั้น สำหรับส้มโชกุนจะต้องปลูกในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้นและเมื่อผลส้มแก่ผิวจะมีสีเขียว แม่ค้าที่ซื้อส้มมาขายจะแยกขายระหว่างส้มทั้งสองชนิด เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อตามความพอใจ

ในแหล่งพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ผลผลิตส้มโชกุนจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยและอร่อยมาก จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ณ วันนี้ในช่วงเทศกาล สารทจีนที่ผ่านมาส้มโชกุนจากภาคใต้จากหลายสวนยังมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 60-80 บาท

เกษตรกรที่จะปลูกให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีการจัดการสวนและดูแลรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเตรียมพื้นที่ปลูกที่จะต้องเน้นในเรื่องแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และสภาพแปลงปลูกจะต้องมีการระบายน้ำที่ดี ถึงแม้จะมีการปลูกในสภาพที่ดอนก็ตามจะต้องยกร่องปลูกแบบลูกฟูก ปัญหาสำหรับผู้ปลูกส้มโชกุนที่จะต้องพบอย่างแน่นอนก็คือ ปัญหาเรื่องผลแตกในขณะที่ผลส้มมีอายุระหว่าง 4-5 เดือน หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องโรคดาวกระจายที่เป็นปัญหาใหม่และยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากการทำลายของแมลงหรือเกิดจากน้ำฝนที่ตกในช่วงเวลาบ่ายทำให้เกิดอาการ “Water burn”

ถ้าเกษตรกรปลูกส้มโชกุน สามารถจัดการในเรื่องปัญหาเหล่านี้ได้และผลิตส้มที่มีคุณภาพดีแล้วไม่ต้องห่วงในเรื่องของการตลาดมากนัก เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าส้มโชกุน-ส้มสายน้ำผึ้งของไทยเป็นส้มเปลือก ร่อนที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในโลก หนังสือ “ส้มสายน้ำผึ้ง-ส้มโชกุน” พิมพ์ 4 สี จำนวน 100 หน้า แจกฟรี, ผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 80 บาท ส่งมาขอได้ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 0-5661-3021.


http://pennisakowaim-a.blogspot.com/2008/09/blog-post.html



มช. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี
ช่วยเกษตรกรเชียงใหม่กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง


สวนส้มของเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ผลิตส้มคุณภาพดี ปลอดสารเคมีตกค้าง รับประกันความหวาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะเริ่มเก็บผลผลิตแรกในนามกลุ่มเดือน ธ.ค. นี้

นายนิรุตน์ กองปิงคำ (กลาง) ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย
ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข อธิบายวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างบนผลส้ม

สีม่วงแดง (ซ้าย) แสดงว่ามียังมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่บนผลส้ม

วัดความความของส้มด้วย refractometer พร้อมรับประกันคุณภาพความหวานไม่ต่ำกว่า 12 บริกซ์

ไส้อั่วปุ๋ย ไอเดีย ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข ใช้ไส้เทียมบรรจุปุ๋ยแบบธรรมดาแล้วเจาะรูเล็กๆ ให้ปุ๋ยค่อยๆซึมผ่านออกมา แทนการใช้ปุ๋ยชนิดละลายช้าที่มีราคาแพงกว่ามาก

คัดคุณภาพส้มแบ่งขายตามเกรด แต่ทุกเกรดต้องหวานไม่ต่ำกว่า 12 บริกซ์ และไม่แวกซ์ผิวส้มเช่นเดียวกัน พร้อมติดรหัส "QR Code" สำหรับตรวจสอบย้อนกลับได้

แยมส้ม อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มสายน้ำผึ้งเชียงใหม่

นักวิจัย มช. หวั่นสวนส้มสายน้ำผึ้งเชียงใหม่เสื่อม ซ้ำรอยบางมด-รังสิต เร่งลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อย หวังช่วยให้อยู่รอดได้ทั้งคนทั้งส้ม เน้นผลิตส้มคุณภาพระดับโกลเดนและพรีเมียม รสชาติเยี่ยม ปลอดสารเคมี ไม่มีแวกซ์ผิว โดนใจผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ใช้เทคนิคการจัดการสวนช่วยลดต้นทุน พร้อมระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

เมื่อวันที่ 2-3 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) พาคณะสื่อมวลชนรวมทั้งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมเทคโนโลยีการเพาะปลูกส้มสายน้ำผึ้งคุณภาพดีและปลอดสารเคมีตกค้าง ของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันในนาม วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัยภายใต้โครงการ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกส้ม เชียงใหม่ โดยมีกระทรวงพาณิชย์ให้การสนับสนุน

นายนิรุตน์ กองปิงคำ ประธานกลุ่มวิสาหกิจฯ เล่าว่า ระยะหลังมานี้ราคาส้มตกต่ำลงมาก ต้นส้มโทรม มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง ดินเสื่อมคุณภาพ ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูก็ราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เกษตรกรรายย่อยต้องขายส้มในราคาต่ำกว่าทุนมาก อีกทั้งยังขาดตลาดจำหน่ายที่แน่นอน ซึ่งปัจจุบันต้นทุนการผลิตส้มประมาณ 10-11 บาทต่อกิโลกรัม แต่เกษตรกรต้องขายให้ผู้ที่มารับซื้อไปในราคากิโลกรัมละประมาณ 7 บาท

เกษตรกรจึงรวมกลุ่มกัน และจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุนชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการของ มช. ในเรื่องการวางแผนกระบวนการผลิตและการจัดการ จากที่ดำเนินงานมาได้ประมาณ 8 เดือน พบว่าช่วยลดต้นทุนลงได้มาก ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีศักยภาพแข่งขันกับส้มนำเข้าจากต่างประเทศได้ ปัจจุบันมีเกษตรกรรายย่อยใน อ.แม่อาย เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 36 ราย รวมพื้นที่ปลูกส้มได้ประมาณ 235 ไร่

นายนิรุตน์ แจงต่อว่า โครงการได้มีการศึกษาความต้องการของตลาดและผู้บริโภคเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิตในกลุ่ม โดยพบว่าการแวกซ์ผิวส้มไม่มีผลต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ อีกทั้งการแวกซ์ไม่ได้ช่วยให้ส้มมีคุณภาพดีขึ้น ซ้ำยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นฉุนได้ การผลิตส้มของกลุ่มจึงไม่มีการแวกซ์ผลส้มแต่อย่างใด แต่จะเน้นปรับปรุงคุณภาพของส้มโดยการดูแลและจัดการสวนส้มอย่างเหมาะสม และจะไม่มีสารเคมีตกค้างเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด พร้อมทั้งมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) ผ่านโทรศัพท์มือถือ

คณะนักวิจัยได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรในการดูแลสวนส้ม เช่น วิธีการให้ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูอย่างเป็นระบบโดยมีช่วงเวลา ชนิดของสารเคมี และปริมาณการให้ที่แน่นอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และลดการสิ้นเปลือง ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรยังขาดความรู้ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จึงมักให้ปุ๋ยเกินความจำเป็นและไม่สมดุลกัน ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และเกิดสารเคมีตกค้างในดิน ดินเสื่อมคุณภาพ ส่วนยากำจัดศัตรูพืชหากใช้ไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตมีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ฉะนั้นเกษตรกรต้องใช้ให้ถูกวิธีและถูกฤดูกาล เพราะโรคและแมลงที่รบกวนต้นส้มจะแตกต่างกันไปในแต่ละระยะ รวมทั้งการตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและการกำจัดต้นที่เป็นแหล่งสะสมโรค

ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะต้องสุ่มตรวจก่อนว่ามีสารเคมีตกค้างบนผลส้มในแปลงปลูกหรือไม่ ซึ่งทำได้ไม่ยาก โดยใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาสกัดสารตัวอย่าง แล้วป้ายที่ผิวส้ม จากนั้นนำมาใส่ในหลอดแก้วแล้วใส่น้ำยาทดสอบอีก 3 ชนิด นำไปแช่ในน้ำร้อนสักครู่แล้วเติมสารทดสอบชนิดสุดท้ายลงไปเพื่อสังเกตสี หากใสไม่มีสี แสดงว่าไม่มีสารตกค้างแล้ว แต่หากปรากฏสีม่วงแดง แสดงว่ายังมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ จะต้องเว้นระยะเก็บเกี่ยวออกไปอีก 2-3 วัน เพื่อให้สารตกค้างหมดไป

เมื่อเก็บผลผลิตแล้วยังต้องผ่านการล้างด้วยน้ำยาล้างผลส้มเพื่อทำความสะอาดและกำจัดยาฆ่าแมลงบางส่วนที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ให้หมดไปก่อนบรรจุกล่องและจำหน่ายต่อไป ซึ่งน้ำยาล้างผลส้มดังกล่าวดังกล่าวคิดค้นโดย ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข นักวิจัยของโครงการฯ ซึ่งผลิตจากสารธรรมชาติ สามารถใช้ล้างและกำจัดสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ได้ทุกชนิด และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจฯ ตั้งเป้าการผลิตส้มในฤดูเอาไว้ 700 ตันต่อปี และส้มนอกฤดู 350 ตันต่อปี และจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกของกลุ่ม ซึ่งเป็นส้มในฤดู ในช่วงเดือน ธ.ค. - ก.พ. โดยแบ่งผลผลิตเป็น 3 เกรด ตามขนาดและคุณภาพ ได้แก่ โกลเดน, พรีเมียม และเฟรซชี แต่จะควบคุมคุณภาพความหวานของส้มทุกเกรดให้ไม่น้อยกว่า 12 บริกซ์ โดยขณะนี้เริ่มมีเอกชนหลายแห่งเริ่มเข้ามาติดต่อซื้อบ้างแล้ว

นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากส้ม เช่น แยมส้ม ถ่านผลส้ม สเปรย์กันยุง เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายรูปแบบการใช้ประโยชน์จากส้ม ส่วนคณาจารย์นักวิจัยก็ยังมีโครงการรณรงค์การบริโภคส้ม เพื่อให้ประชาชนหันมาบริโภคส้มกันมากขึ้น นอกจากจะได้ประโยชน์กับร่างกายแล้วยังได้ช่วยอุดหนุนเกษตรกรไทย รวมถึงแนะนำการทำอาหารจากส้มทั้งคาวหวานอีกหลายรูปแบบ นอกเหนือจากการบริโภคผลสดและน้ำส้มคั้น

ที่มา ; มช.




ภัยของชาวสวนส้ม  



คมชัดลึก :
บ้านเรานั้นยอมรับว่ามีการปลูกพืชเศรษฐกิจตระกูลส้มค่อนข้างจะมากพอสมควร ทั้งมะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และส้มเช้ง ปลูกกันทุกภาค โดยเฉพาะส้มเขียวหวานจะปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง สุโขทัย พะเยา เป็นต้น เนื่องจากภาคเหนือมีสภาพอากาศหนาวเย็นจะช่วยให้ผิวของผลส้มมีสีเหลืองส้มมากขึ้น

  
แต่การปลูกส้มนั้นต้องยอมรับว่า มีการใช้สารเคมีมากพอสมควร เพราะปัญหาของการปลูกส้มเขียวหวานนั้น ถ้าปลูกในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีมักจะมีปัญหาจากโรครากเน่า โคนเน่า ทำให้เกษตรกรมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก ทั้งปุ๋ย ยากำจัดแมลง และโรคพืชหลายชนิด ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แถมยังมีผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 


ตรงนี้ครับที่ทีมนักวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.สมจิตร อยู่เป็นสุข อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศ.ดร.เบญจวรรณ ฤกษ์เกษมเมธี นักวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงทำการวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดธาตุอาหารในต้นกล้าส้มเขียวหวาน มะนาว ส้มโอ และส้มเกลี้ยง ด้วยเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า โดยฝ่ายวิชาการของ สกว. ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ


เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าที่ว่านี้ เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชแบบพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุให้แก่พืช นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เนื่องจากเส้นใยของเชื้อราจะช่วยทำให้เกิดการจับตัวกันของอนุภาคดินทำให้เกิดเม็ดดิน ช่วยทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การระบายน้ำและอากาศ รวมทั้งช่วยทำให้พืชต้านทานต่อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุของโรคพืชได้มากขึ้นด้วย


จากการศึกษาพื้นที่เพาะปลูกส้มในภาคเหนือของประเทศไทย อาทิ สวนส้มเขียวหวานใน จ.เชียงใหม่และเชียงราย พบว่าเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าจะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นมะนาว ส้มโอ และส้มเขียวหวานพันธุ์คลีโอพัตรา ฟรีมองต์ โอเชียน และสายน้ำผึ้ง


ที่น่าห่วงก็คือ เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่ามีผลต่อการเจริญเติบโตของกิ่งตอนส้มเขียวหวานสายพันธุ์ต่างๆ และพืชตระกูลส้มบางชนิด เช่น มะนาว และส้มโอ แต่การที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในระดับที่แตกต่างกันหรือมากเกินไปจะทำให้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในรากและปริมาณสปอร์ในดินลดลงครับ


แสดงให้เห็นว่าผลการการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณมาก จะทำให้ศักยภาพของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในการส่งเสริมการเจริญของต้นส้มลดลง สิ่งที่ตามมาคือทำให้ต้นส้มอ่อนแอลงได้ ซึ่งตรงนี้ต้องระวังด้วย




"ดลมนัส  กาเจ"


http://www.komchadluek.net/detail/20090422/10022/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1.html





ธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มโชกุน

อิสริยาภรณ์ ดำรงรักษ์*


บทคัดย่อ

คุณภาพผลผลิตส้มโชกุนซึ่งเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดยะลาและของประเทศไทย มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับส้มชนิดอื่นๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ น้ำ ธาตุอาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ในส่วนของธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มได้มีการศึกษาไว้พอสมควร พบว่า ธาตุที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิตค่อนข้างเด่นชัด คือ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโบรอน

จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าส้มได้รับ N, K และ Mg ไม่เพียงพอจะทำให้มีขนาดผลเล็ก สำหรับ N ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะได้ผลเล็กเช่นเดียวกัน ทั้ง N และ K ถ้าส้มได้รับมากทำให้ผลแก่ช้า N และ Ca ช่วยส่งเสริมคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ทั้ง P และ Mg ถ้าส้มได้รับมากทำให้เปลือกบาง ในขณะที่ N กลับทำให้เปลือกหนา K และ Mg ถ้าส้มได้รับน้อยทำให้ของแข็งที่ละลาย และปริมาณกรดทั้งหมดต่ำ ส่วน P ถ้าได้รับไม่เพียงพอทำให้ปริมาณกรดทั้งหมดสูง สำหรับผลของ N และ K ต่อของแข็งที่ละลายและปริมาณกรดให้ผลค่อนข้างแตกต่างกันในส้มแต่ละชนิด ในส่วนของส้มโชกุนซึ่งเป็นส้มเปลือกล่อนก็ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าส้มขาดโบรอนทำให้ผลแข็ง น้ำส้มน้อย และอาจจะเกี่ยวกับอาการผลฟ่ามด้วย

สำหรับสิ่งที่ควรพิจารณาเบื้องต้นในเรื่องของธาตุอาหารพืชเพื่อการจัดการส้มให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ คือ ต้องชดเชยปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต จัดการธาตุอาหารหรือให้ปุ๋ยโดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ใบและดิน รวมทั้งสังเกตจากอาการผิดปกติของพืช


คำสำคัญ : ธาตุอาหารพืช คุณภาพผลผลิต ส้มเปลือกล่อน ส้มโชกุน
*ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

http://www.yru.ac.th/e-journal/file/pdf_36.pdf







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (39195 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©