-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 422 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ส้มเขียวหวาน




หน้า: 2/2



การผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดู


ส้มเขียวหวาน เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคของบุคคลทั่วไปเนื่องจากมีรสชาติดีและราคาไม่แพงจนเกินไป  

ส้มเขียวหวานนอกจากจะใช้บริโภคภายในประเทศอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีการส่งส้มเขียวหวานไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีก  เช่น  สิงคโปร์  ฮ่องกง  และมาเลเซียซึ่งปีหนึ่ง ๆ  มีมูลค่าหลายสิบล้านบาท   และจากการที่ส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคประกอบกับมีการส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศ จึงทำให้มีพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี  


ดังนั้นพอถึงช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จึงมักมีปัญหาในเรื่องผลผลิตล้นตลาดอยู่เสมอ ๆ ประกอบกับมีผลไม้ชนิดอื่นเริ่มทยอยอกสู่ตลาดมากขึ้น จึงทำให้ราคาของส้มเขียวหวานลดต่ำลงมา เมื่อเป็นเช่นนี้เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานก็พยายามที่จะหาวิธีการที่จะผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดูกาลขึ้นเพื่อให้ผลผลิตมีขายตลาดปีและจำหน่ายได้ในราคาสูง


วิธีการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูกาล :

***ปกติแล้วส้มเขียวหวานที่ปลูกกันโดยทั่วไปนั้นจะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ระยะเวลานับจากออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 9 เดือน แต่ถ้าจะนับจากเริ่มมีการกักน้ำจนเก็บผลผลิตก็ตกประมาณ 10 เดือนเต็ม

หากคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดู จะเห็นได้ว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกแบบยกร่องสามารถทำให้ออกดอกตามเวลาที่ต้องการได้ เนื่องจากสามารถควบคุมระดับน้ำได้ง่ายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมักจะมีปัญหาในเรื่องการให้น้ำเป็นประจำก็ต้องปล่อยให้มีการออกดอกติดผลตามฤดูปกติ และนับว่าธรรมชาติได้เป็นใจที่ให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือออกดอกช้ากว่าส้มที่ปลูกในภาคกลาง คือ จะเริ่มมีการออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และจะเก็บผลได้ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ส้มในภาคกลางกำลังจะหมดไปจากตลาดพอดี มีผลทำให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือจำหน่ายได้ในราคาที่ดีพอสมควร

*** การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดู*** จะนิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่องเพราะสามารถทำได้ง่าย กล่าวคือ ถ้าต้องการจะให้ผลส้มแก่ในช่วงไหนก็ต้องนับย้อนหลังไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มทำการงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นกระตุ้นให้ต้นส้ม มีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและน้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้นจนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิม ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่ทำการงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียวหวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอดทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบได้แก่ปุ๋ยสูตร 1:3:3 เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยทำการงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่ทำการงดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อนก็คือจะทำให้ต้นโทรมมากและระบบรากก็จะเสียไป ทั้งนี้เพราะรากจะต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต

*** วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป ๆ ไป*** โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะเห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อจากนั้นควรให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงจนถึงโคนต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร แล้วจึงลดระดับน้ำลงอยู่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนที่จะทำการงดน้ำ แต่ถ้าเป็นส้มเขียวหวานที่มีใบแก่ แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วงนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 7 วันจะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมีดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วัน

ต่อมาดอกจะบานและมีการติดผลในช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือให้ใส่ปุ๋ยเกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-16 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุผลได้ประมาณ 5 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับผลส้มด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วันควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อจะไม่ฉ่ำน้ำและสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่าแบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้

จะเห็นได้ว่าการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมีผลดี คือสามารถกำหนดวันที่จะจำหน่ายผลผลิตได้แน่นอน และผลผลิตที่ได้จะออกมาพร้อมกันและมีปริมาณมากในครั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งทำให้สะดวกในการขายผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ย่อมจะมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือจะทำให้ต้นส้มโทรมเร็วกว่าการปล่อยให้ออกดอกติดผลตามฤดูปกติ แต่เมื่อคำนึงถึงรายได้และราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ย่อมคุ้มค่ากับการที่ท่านจะยอมเสี่ยงมิใช่หรือ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ โทร. 0 5387 3938-9


ocals.in.th/index.php?topic=9030.0 -




 
ผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดูอย่างไร  

เป็นที่ทราบกันดีว่า ณ ปัจจุบันนี้พืชที่สร้างฐานะให้กับชาวสวนบ้านเราได้ร่ำรวยไป ตามๆ กันคงหนีไม่พ้น “ส้ม” ดังจะเห็นได้จากการขยายพื้นที่ปลูกที่นับวันจะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จนหลาย คนเริ่มหวั่นวิตกว่าตอไปในอนาคตส้มไทยจะเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าส้มจะเป็นผลไม้ที่ขายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาสแต่เมื่อใดที่ส้มล้นทะลักออกมาพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมากเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลไม้ เมืองร้อยออกมด้วยแล้ว โอกาสของส้มก็น้อยลงได้เช่นกัน ดังนั้นจะผลิตส้มอย่างไรไม่ให้ผลผลิตออกมา ชนกับส้มทางอื่นและให้ได่ราคาดี หรือจะผลิตส้มนอกฤดูกาลอย่างไรให้ได้คุณภาพ เหล่านี้เป็นคำถาม ยอดฮิตของชาวสวนส้มมือใหม่ที่ต้องการคำตอบ

รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง “วิธีการผลิตส้มนอก ฤดูกาล” ดังต่อไปนี้ 

ธรรมชาติของการแตกแยกยอดส้ม
โดยทั่วไปแล้วส้มบ้านเราจะไม่มีการพักตัวในเรื่องของการแตกยอดนานเนื่องจากตั้งอยู่ ในเขตร้อน หากนับเวลาแล้วจะมีการพักตัวของใบระยะสั้นๆ แค่ช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่ออากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นต้นส้มจะกลับเข้าสู้วงจรเดิมคือมีการแตกยอดออกใหม่พร้อมๆกับ การออกดอกซึ่งดอกชุดนี้เรียกว่า”ส้มปีหรือส้มฤดู”โดยธรรมชาติของต้นส้มหากมีการพักตัวในฤดูหนาวยอดอ่อนที่ออกช่วงนี้จะมีดอกและดอกรุ่นนี้ค่อนข้างจะปลอดภัยในเรื่องของของโรค-แมลงรบกวนแต่ เมื่อใดที่ส้มปีออกดอกพร้อมๆกันจะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่าผลผลิตส้มที่จะออกมาตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม๙งรสชาติก็อร่อยใกล้เคียงกันไม่ว่าจะปลูกที่ไหน ดังนั้นหลายคนพยายามลดการผลิตในช่วงนี้และหันไปผลิตส้มในช่วงอื่นแทน นั่นคือการผลิตส้มรุ่นสองและรุ่นสาม ดังนั้นต้องทำความเข้าใจกับรุ่นของส้มก่อน การทำส้มต้องรู้จักเดินหน้าเป็นโดยการนับและการนับและถอยหลังให้ เป็นโดยการใช้ความจำ

ส้มรุ่นที่สอง ในแถบเอเชียรวมทั้งบ้าแนเรานับว่ามีโอกาสมากเพราะมีฤดูกาลอันหนึ่งที่ จะเข้ามาพร้อมกับลมมรสุมซึ่งจะเริ่มต้มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และถ้ายอดชุดนี้ใครทำได้ พร้อมดอกที่ปลายยอดเรียกดอกรุ่นสองดอกรุ่นนี้จะเก็บผลหลังดอกรุ่นแรกไปแล้วถ้าสามารถบังคับให้ แตกยอดในช่วงเดือนเมษายนแต่ไม่เกินกลางเดือนมิถุนายน ถ้าไม่ทำใบยอดก่อนฝนในฤดูฝนต้นส้มมักจะมีการแตกแบบกะปริดกะปรอยโดยเฉพาะในต้นส้มเล็ก ใบส้มถ้าไม่มีการบังคับให้แตกเป็นรุ่น อย่างน้อยยอดที่แสดงอาการใบแก่จะแตกยอดอ่อนพร้อมกันได้แล้วเลี้ยงดูตามใจชอบ อยากใส่ปุ๋ยก็ใส่ รดน้ำน้ำก็รดพอหน้าฝนจะแตกยอดอ่อนและมีใบแก่อยู่ด้วยดอกรุ่นนี้จะเริ่มเก็บผลผลิตได้ประมาณ ปลายเดือนมกราคมของปีถัดไป ซึ่งช่วงนั้นจะได้ราคา 2 เท่าตัวของส้มรุ่น 1 เพราะส้มราคาเฉลี่ยมัก เป็น 3 เท่าตัวของส้มรุ่นที่ 1 เสมอ

อายุต้นส้มมีผลต่อคุณภาพส้ม ?
ส้มที่อายุต่างกันการเก็บผลจะไม่เท่ากันกล่าวคือ ต้นส้มที่อายุน้อย 2-5 ปีสามารถเก็บ ผลได้เร็วกว่าต้นส้มอายุมากกว่าอย่างน้อย 1 เดือน ต้นส้มบางแห่งอายุน้อยถ้าเลี้ยงผลให้ดี จะได้ส้มเบอร์ใหญ่ แต่รสชาติไม่ดี น้ำหนักเบา สีซีด แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อดิน และสภาพดิน ฟ้าอากาศ เป็นตัวกำหนดด้วย ในกรณีที่ต้นส้มที่อายุมากตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไปและปลูกด้วยกิ่งตอนบางแห่งมีอายุ มากกว่า 20 ปี แต่ก็ยังให้ผลผลิตได้ดี ต้นส้มที่มีอายุมากนอกจากจะให้ผลผลิตที่มีคุรภาพแล้วยัง สามารถยืดเวลาเก็บได้ 1–2 เดือน แต้ทั้งนี้การดึงลูกไว้นานก็ทำให้ต้นส้มโทรมได้ ส้มที่อร่อยจริงๆ ต้องเก็บให้ได้อายุ ปกติต้นส้มเขียวหวานอายุน้อยเก็บผลเมื่ออายุ 8 เดือนไม่เกิน 9 เดือน ส้มโชกุนหรือสายน้ำผึ้งเก็บผลอายุไม่เกิน 11 เดือน

ทำอย่างไรให้ได้ส้มนอกฤดู
ก่อนอื่นต้องถามตัวเองว่าพร้อมแล้วหรือยังและเข้าใจคำว่าการกักน้ำ เว้นน้ำ ขึ้นน้ำ คือ อะไร ผลบนต้นอายุเท่าไหร่ ใบนิ่งๆ แปลว่าอะไรและต้องรู้ขนาดของใบที่ได้มาตรฐาน เช่น
ส้มเขียวหวานขนาดเล็กสุดต้องกว้าง 2 ยาว 4 ซม. โชกุนหรือสายน้ำผึ้ง กว้าง 2 ยาว 5 ส่วนขนาดใหญ่ สุดของส้มเขียนหวานกว้างไม่เกิน 2.5 ยาวไม่เกิน 5 ส้มโชกุนหรือสายน้ำผึ้ง กว้าง 2.5 ยาวไม่เกิน 6.5 ถ้ายังทำใบมาตรฐานไม่ได้การที่จะทำให้ใบออกดอกพร้อมกันก็ยาก ทั้งหมดจึงเป็นวิทยาศาสตร์และต้องควบคุมการให้ปริมาณธาตุอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อทำให้แตกใบอ่อนยอดอ่อนได้ ทั้งนี้การที่จะให้ส้มแตกยอดพร้อมกันได้ต้องทำให้ใบแก่หยุดนิ่งพร้อมกัน จึงจะแตกยอดอ่อนใหม่ได้พร้อมกัน การ จัดระบบการแตกยอดอ่อนต้องทำเป็นชุดให้ได้รอบของการแตกใบ ซึ่งปกติใบส้มมีอายุ 55 วัน นั่นคือถ้า เราเห็นใบแก่ และพร้อมจะทำใบชุดที่ 2 ไม่เกิน 2 เดือน หรือทุก 2 เดือนต้องทำใบใหม่ให้ได้ 1 ชุด

การที่จะบังคับให้ต้นส้มออกดอกพร้อมกันต้องอาศัยเทคนิค 3 ข้อคือ
1. เริ่มเว้นน้ำให้ น้อยลงเพื่อทำให้ใบบนต้นแก่
2. กักน้ำคือเริ่มให้น้ำกับต้นส้ม 2–5 วัน บางมด 21 วันแต่ไม่จำเป็น
ส้มจะออกดอกถ้าขาดน้ำแล้วได้รับน้ำส้มก็จะแทงยอดอ่อนขึ้นมาทันทีพร้อมๆ กับดอกส้มหนึ่งผล ต้องการใบขนาดมาตรฐาน 5–11 ใบ ปริมาณใบและปริมาณผลควรจะสมดุลกันจึงจะได้ส้มที่มี คุณภาพและต้นส้มไม่โทรมหรืออายุยืน)


ต้นตอส้ม…สำคัญฉันใด
การเลือกต้นตอส้ม (Root Stock) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของการปลูกส้ม ดังนั้นจะต้องเลือกต้นตอที่มั่นใจว่าปลอดโรคจริงๆ ทั้งนี้การใช้ต้นตอที่เหมาะสม มีผลต่อรสชาติส้มด้วย

ปัจจุบันในบ้านเราใช้ต้นตอคลีโอพัตรา ทรอยเยอร์ คาร์ริโซและสวิงเกิ้ล ซึ่งล้วนแต่ต้านทานโรครากเน่า ได้พอสมควรแต่ระดับที่ต่างกัน กล่าวคือต้นตอส้มคลีโอพัตราทนโรคได้น้อยที่สุด ปัจจุบันที่ดีที่สุดคือ ส้มสามใบหรือเลือดผสมของส้มสามใบซึ่งเกิดจากลูกผสมของทรอยเยอร์ สวิงเกิ้ล และคาร์ริโซ ขณะนี้มี 2 ชนิดคือ โวคาเเมอร์เลียนาและแลงเพอร์ไลม์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินด้วย ต้นตอคลีโอพัตรา ปลูกได้ในดินเหนียว ทนดินเปรี้ยวได้ ส่วนกรณีของต้นตอแลงเพอร์ไลม์ และ โวคาเเมอร์เลียนาเหมาะสำหรับดินด่าง ต้นตอทุกชนิดถ้ามีเลือดสามใบอยู่จะมีคุณสมบัติกับคุณภาพของผลบนต้นทั้งทางบวก และทางลบ ทางบวกคือ ผลโตเร็วสม่ำเสมอ ส่วยลบคือ กลิ่นมักหาย กากหยาบรสชาติไม่ดีเท่าที่ควร

สำหรับส้มโชกุนที่ใช้ต้นตอคลีโอพัตราจะได้ผลส้มที่มีกลิ่น รสชาติดี แต่ขนาดผลเล็กและมีโอกาสเป็นไฟ ทอปธอร่าได้ง่าย ต้องยอมรับกับตรงนี้ด้วย

ปลูกส้มแบบร่องลูกฟูกดีไหม
พื้นที่ปลูกส้มที่ดีที่สุดไม่อาจสรุปได้ว่าต้องปลูกบนที่ราบ ที่เนิน ที่ดอนหรือที่สวน แต่จากการสังเกตพื้นที่ปลูกส้มใยสวนต่างประเทศส่วนใหญ่ปลูกกันในลักษณะเป็นเนินเสมอไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูกเพราะดินมีการระบายน้ำได้ดีอยู่แล้ว ในขณะที่บ้านเรามีข้อเสียเยอะ คือ เป็นดินเหนียว ดิน เปรี้ยว ปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศเฉลี่ย 1,000-1,000 มม./ปี ดังนั้นการปลูกแบบร่องลูกฟูกอาจจะช่วยระบายน้ำได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรือพื้นที่ปลูกด้วย หากดินมีการระบายน้ำได้ดี อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องแลลลูกฟูกก็ได้ อย่างไรก็ตามหากจะทำส้มรุ่น 3 ได้จะต้องปลูกบนเนิน หรือร่องลูกฟูกเท่านั้น เพราะส้มรุ่น 3 จะแตกดอกพร้อมยอดใหม่ในเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคมเท่านั้นซึ่งร่องลูกฟูกจะช่วยบังคับให้ดินแห้งได้เร็วกว่า

ปฏิบัติกับต้นส้มสาวอย่างไร
ต้นส้มหลังปลูกอายุ 1–2 ปี อย่างเพิ่งทำดอก ณ ขวบปีแรกให้ทำงาน 2–3 อย่างคือ ให้ดูแลว่าต้นส้มโยกหรือไม่ เอาไม้รวกปักค้ำต้น ต้นส้มที่ดยกในฤดูฝนระบบรากจะไม่ลึกจึงต้องค้ำต้นเพื่อสร้างให้เป็นระบบรากลอยให้ได้ผิวหน้าดินลงไปเพื่อระบายให้รากแข็งแรง ถ้าปล่อยให้ โยกหลังปลูก ขวบปีครึ่งแรกต้นส้มจะไม่มีรากฝอยหรือรากแขนง แต่จะแตกดิ่งลึกทรงสุ่มซึ่งที่ดีต้องเป็นทรงกะทะลึกไม่ เกิน 60 ซม.เท่านั้น รากฝอยน้อยการดูดกินธาตุอาหารได้น้อย ในกรณีที่ต้นส้มโทรม อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นโรคทั้งหมดและโหมใช้สารกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ต้นส้มในปีแรกควรจะเน้นใส่อินทรีย์วัตถุในดิน ให้มากๆ ปีหนึ่งอย่างน้อย 1–2 ครั้ง และควรถือกรรไกรเดินสำรวจพร้อมๆกับแต่งต้นส้มก่อนฤดูฝน และหลังเก็บผลรุ่นใหญ่ ในปีแรกต้องจัดการทรงพุ่มให้ได้ วิธีการจัดทรงพุ่มเป็นหัวใจสำคัญของการบังคับการออกดอกในปี 2

ส้มนอกฤดู
สรุปว่าถ้าต้องการทำส้มนอกฤดูให้ได้ ณ วันนี้ต้องทำให้ได้ใบส้มชุดที่สำคัญที่สุดก่อน ฝนให้ได้ คือช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และต้องบังคับให้ออกดอกโดยกักน้ำ เว้นน้ำ ถ้าเป็นต้นส้มที่เริ่มให้ผลผลิต 2 ปีขึ้นไปให้เริ่มสอนดอกจะทำให้ได้ดอกส้มออกเป็นรุ่น กล่าวคือต้องจัดการกับการเจริญเติบโตของต้นส้มให้รู้จักแตกยอดอ่อนและมีดอกติดที่ปลายยอดบ้างประปราย ทั้งนี้การสอน ดอกในปีที่ 2 จะมีโอกาสได้ดอกออกเป็นชุดในปีที่ 3 นอกจากนี้การจัดการเรื่องโรคและแมลงก็ง่ายขึ้น เพราะการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจะเป็นชุดไม่ต้องใช้หลายชนิดพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตามการผลิตส้มนอกฤดูอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติส้มที่ล้นตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สามารถบังคับให้ผลผลิตส้มออกในช่วงไหนก็ได้ตามความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นหน้าที่ที่ชาวสวนจะต้องเรียนรู้ต่อไป คือ จะวางแผนการผลิตออกมาในช่วงไหนดีเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมาพร้อมๆ กันอีก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นนั่นเอง หากการรวมกลุ่มประสบความสำเร็จอนาคตของส้มก็คงไม่น่าเป็น ห่วงมากนัก


สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย

 
http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=26:2009-07-20-07-52-02&catid=1:2009-07-16-05-16-29 


ส้มเขียวหวานบางมด

เป็นผลไม้ที่หากินได้ง่ายในบ้านเรา มีให้กินตลอดทุกฤดูกาล แถมยังเป็นผลไม้ที่มีราคาถูก และอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามิน บี. และวิตามิน ซี. ซึ่งช่วยป้องกันโรคหวัด ลดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด บรรเทาอาการกระหาย ทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นปกติ รวมทั้งมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และมีกรดอินทรีย์อีกหลายชนิด ส้มเขียวหวาน จึงถือว่าเป็นผลไม้ที่ทรงคุณค่ามากมายเลยทีเดียว”

หากเราเดินไปในตลาด เราจะพบส้มมากมายหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน หรือแม้แต่ส้มสายพันธุ์จากต่างประเทศ แต่หากย้อนไปดูตลาดส้มเขียวหวานในเมืองไทยเมื่ออดีต ซึ่งเด็กๆ รุ่นปัจจุบันคงไม่เคยรู้มาก่อนว่า จริงๆ แล้วหนึ่งในส้มเขียวหวานที่ได้ชื่อว่ารสชาติอร่อยที่สุดและมีชื่อเสียงที่ สุดต้องยกให้ “ส้มเขียวหวานบางมด” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ส้มบางมด” เหตุ ที่ส้มบางมดอร่อยนั้นเพราะว่า เนื้อส้มจะนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสชาติหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของส้มบางมดเลยทีเดียว แต่ใครจะคิดหละว่าในวันนี้ ส้มบางมดแท้ๆ กลับหายากเต็มที

“ส้มบางมด” ที่เคยมีชื่อเสียงเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมานั้น ปลูกกันมากในตำบลบางมด (อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี) และเป็นที่มาของชื่อส้มบางมด โดยสันนิษฐาน ว่าบริเวณนี้มีทรัพยากรดินอันอุดมสมบูรณ์ของดินตะกอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ดินมีการสะสมของธาตุอาหารสูง รวมทั้งการมีพื้นที่ติดกับชายทะเลที่มักเกิดปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง นานวันเข้าดินจึงได้รับอิทธิพลจากความเค็มของน้ำกร่อยผสมผสานกัน ทำให้ผลไม้หลายชนิดที่ปลูกมีรสชาตินิ่มนวลและหวานแหลมเป็นพิเศษ เมื่อผลไม้เริ่มสุก จะมีมดมากินผลไม้ ทำให้สามารถพบเห็นมดในพื้นที่สวนได้อย่างมากมาย แต่ปัจจุบันสวนส้มบางมดเหลือเพียงไม่กี่สวนเท่านั้น จนทำให้หลายคนคิดว่า ส้ม บางมดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว หากเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุใดจึงยังพบเห็นส้มบางมดวางขายอยู่ทั่วไป หรือส้มบางมดที่วางขายอยู่เหล่านั้น ถูกเอาชื่อไปแอบอ้าง เพราะเมื่อเราชิมแล้วบางครั้ง จะรู้สึกได้เลยว่ารสจืด ไม่จัด ไม่เหมือนส้มบางมดที่เคยกินเมื่อก่อน

แต่จากการศึกษาทำผู้เขียนก็ได้ทราบว่า เหตุที่ทุกวันนี้ “ส้มบางมด” คลาย ชื่อเสียงเนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลงไปนั้น ก็เป็นเพราะว่า แหล่งเพาะปลูกส้มบางมดประสบกับปัญหาหนักที่รุมเร้าหลากหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมหนัก รวมถึงปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้หลายต่อหลายครั้งทำให้ต้นส้มที่ถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน รากเน่าและยืนต้นต้นตายในที่สุด ซึ่งผลกระทบใหญ่ที่สุดที่ตามมาคือ เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถฟื้นตัวและกลับมาตั้งต้นได้อีกครั้ง ชาวสวนส่วนใหญ่จึงจำใจขายสวนส้มบางมดให้กับนายทุนเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมืองไล่เข้ามา พื้นที่ที่เคยเป็นสวนส่วนใหญ่จึงถูกขายไปกลายเป็นพื้นที่สร้างหมู่บ้านจัด สรรและโรงงาน ยิ่งทำให้ย่านบางมดแหล่งที่เคยเป็นที่ปลูกส้มบางมดอันลือชื่อ แทบจะกลายเป็นเพียงเรื่องให้เล่าขานกัน แต่ในตอนนั้น ยังมีเกษตรบางส่วนได้ไปหาพื้นที่ทำสวนส้มแหล่งใหม่ เช่น รังสิตกำแพงเพชร พิจิตร โดยนำภูมิปัญญาเดิมเมื่อตอนที่เคยทำสวนส้มบางมดไปใช้กับสวนส้มในแหล่งใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวสวนส้มบางมดแท้ ๆ ที่ไม่ได้ทิ้งถิ่นฐานไป เนื่องจากยังมีความผูกพันกับสวนส้มบางมดที่เคยอยู่ ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูสวนส้มบางมดให้กลับมาอีกครั้ง ทำให้สวนส้มบางมดยังไม่สูญหายไปหมดอย่างที่เราหลายๆ คนนึกถึง ถึงแม้จะไม่เฟื่องฟูเหมือนเมื่อก่อนก็ตาม แต่ผู้เขียนเชื่อว่า หากพวกเราพยายามช่วยกันส่งเสริม รับรองว่าอีกไม่นาน พวกเราจะได้กลับมารับประทานส้มบางมดรสชาติหวานจัดจ้านเหมือนเดิมแน่นอน


ลุงอำพล และป้ามาลี ขวัญบัว อายุกว่า 55 ปี สองสามีภรรยาลูกหลานย่านบางมดตัวจริงที่ยังคงทำสวนส้มบางมดอยู่ทุกวันนี้ บนพื้นที่เช่ากว่า 5 ไร่ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ในลักษณะสวนเกษตรผสมผสาน โดยอาศัยภูมิปัญญาที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ป้ามาลีเล่าว่า “ทุกวันนี้ทำด้วยใจ อยากให้รุ่นลูกหลานได้กินส้มบางมดแท้ ๆ เน้นรอด ไม่เน้นรวย เพราะในหลวงเมตตา สร้างทำนบกั้นน้ำเค็ม พวกเราจึงมีทุกวันนี้” นอกจากนั้น ป้ามาลีได้เล่าว่า รสชาติส้มบางมดทุกวันนี้ ไม่เข้มข้นเหมือนในอดีต เนื่องจาก ปัจจุบันเรากินผลจากต้นส้มสาว อายุ 3-4 ปี และเก็บเมื่อผลส้มอายุ 8-9 เดือน เท่านั้น ซึ่งต่างจากในอดีตที่เก็บผลส้มเมื่อตอนอายุ 12 เดือน และแถมยังต้องเก็บเมื่อต้นส้มอายุ 5 ปี ขึ้นไปอีกด้วย แต่เนื่องจากปัจจุบันย่านบางมดประสบปัญหาน้ำท่วม น้ำเค็ม และปัญหาการระบาดของโรคกรีนนิ่งซึ่งรุนแรง ทำให้ต้นส้มตายเมื่ออายุ 3 ปี หรือเริ่มติดผล


ลุงสุพร และป้าบุญช่วย วงศ์จินดา อายุกว่า 50 ปี เจ้าของ “สวนส้มในฝัน” แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ทุกวันนี้ลุงกับป้าเช่าพื้นที่กว่า 10 ไร่ ทำสวนเกษตรผสมผสาน เลี้ยงปลาในร่องสวน และปลูกผักไว้กินเอง และเป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่พยายามฟื้นฟูสวนส้มบางมดให้กลับมาอีกครั้ง โดยลุงเล่าให้ฟังว่า “ลุงเป็นคนนครปฐม ในชีวิตผ่านเรื่องราวมามากมาย แต่งงานกับป้าบุญช่วย (สกุลเดิม โกมลวิทย์) ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวสวนย่านบางมดและปลูกส้มเก่งมาก แต่ในปี พ.ศ. 2526 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เลยพากันเจ๊งหมดเลย ตอนนั้นน้ำท่วมเสร็จ น้ำเค็มก็หนุนขึ้นมา มันจมอยู่ก้นคลอง ดูด้านบนไม่รู้หรอก ส้มมันก็ดูดน้ำเค็มไว้ พอฝนตกห่าเดียว ร่วงหมดเลย เช้าวันรุ่งขึ้นรากก็เน่าหมด” จากเหตุการณ์ครั้งนั้นลุงสุพรและป้าบุญช่วยได้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ป้าบุญช่วยเล่าว่า “ ปีนั้นป้าขายส้มได้แพงมาก 3 ลำ (เรือ) แสน บาทเพราะน้ำมันท่วม แต่สวนเราอยู่ไกลเลยไม่เป็นไร คราวนั้นโละหนี้ได้เยอะ เงินก็ยังเหลือใช้อีกบานเลย” หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ลุงสุพรและป้าบุญช่วยก็ยังคงทำสวนส้มบางมดเรื่อยมา แต่น้ำท่วมใหญ่ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2536 ทำให้สวนส้มบางมดรุ่นสุดท้ายตายหมด

แต่เมื่อน้ำลดระดับลงแล้ว น้ำในคลองบางมดและในร่องสวนกลายเป็นน้ำกร่อยจึงไม่เหมาะกับการปลูกส้มบางมด ปี พ.ศ. 2538 ลุงกับป้าจึงได้เริ่มต้นทำสวนกล้วยน้ำว้าตามโครงการปลูกกล้วยน้ำว้าของ สมเด็จย่า และเริ่มกลับมาปลูกส้มบางมดอย่างจริงจังตอนปี 2541 ก่อนหน้านั้นลุงฝันว่าในหลวงท่านเอากิ่งส้มให้ 1 กิ่ง ท่านบอกว่า “ทำให้ได้นะลูก ถ้าพ่อให้ต้องทำได้” ลุงเลยเชื่อและพยายามทำกันเรื่อยมา รวมถึงได้ตั้งปณิธานไว้ว่า สวนฉันจะเป็นโครงการตามรอยพระบาท เน้นเศรษฐกิจพอเพียง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2549 ลุงสุพร ได้เข้าเป็นสมาชิกของกล่มเกษตรพัฒนาสวนส้มบางมดในฐานะรองประธาน โดยการชักชวนของลุงอำพล ขวัญบัว (ประธาน)

ถึง แม้ว่าทุกวันนี้ได้มีการฟื้นสวนส้มบางมดให้กลับคืนมา และมีหน่วยงานให้ความสนใจ อาทิ การสร้างประตูกั้นน้ำเค็มของมูลนิธิชัยพัฒนา การสนับสนุนกิ่งพันธุ์ส้มของสำนักงานเขตบางขุนเทียนและสำนักงานเขตจอมทอง การกำหนดให้ส้มบางมดเป็นพืชนำร่องในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของสำนักงานเขตจอมทอง แต่ชาวสวนส้มบางมดยังคงประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตต่าง ๆ อาทิ ค่าปุ๋ยเคมี ค่ายากำจัดศัตรูพืช และค่าน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาน้ำเสีย น้ำเน่า ในคลองบางมด รวมไปถึงการเช่าที่ดินทำสวน โดยลุงสุพรเล่าให้ฟังว่า “เรื่องที่เช่าทำให้พวกเราไม่กล้าลงทุนอะไรไปมากนัก ได้แต่ปลูกแซมต้นที่ตายไป คือเราทำสัญญาปีต่อปี เขาไม่ให้ขุดดิน ขุดอะไรมาก แล้วก็ไม่แน่ว่าจะขายที่ไปตอนไหน ถ้าเราลงส้มไปเต็มที่ เกิดเจ้าของที่เลิกให้เช่า เราก็เจ๊ง เพราะในสัญญาเขาระบุไว้เลย ห้ามเรียกร้องอะไร อันนี้เป็นปัญหามาก เพราะปลูกส้มมันต้องใช้เวลา มันต่างจากปลูกอย่างอื่น และเราไม่มีที่ทำกินกัน เพราะเขาจะขายกันหมดแล้ว”  ซึ่งสอดคล้องกับความรู้สึกของอาสัมพันธ์  มีบรรจง อายุกว่า 40 ปี ชาวสวนส้มบางมด แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง อาสัมพันธ์เล่าว่า เมื่อความเจริญมาเยือน สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ “ทำส้มทั้งปีไม่รวย แต่ขายที่ดินวันเดียวรวยเร็วกว่า” นอกจากนี้ อาสัมพันธ์ได้พูดถึงภาพสมัยเด็กที่จำได้คือ สวนตัวเองเป็นส้มบางมด รอบสวนเป็นมะพร้าว จึงมีความผูกพันกับวิถีการเกษตร ในขณะที่แม่ไม่อยากให้ทำสวน กลัวลูกลำบาก จึงส่งให้เรียนครูตามความคิดที่ว่า “ต้องเป็นเจ้าคนนายคน” เมื่อเรียนจบแล้ว อาสัมพันธ์ได้รับราชการเป็นครูกว่า 25 ปี จึงลาออกมาทำสวนวนเกษตรตามที่ฝันไว้บนแผ่นดินอันเป็นมรดกของแม่ เป็นการทำสวนที่อาศัยภูมิปัญญาและการค้นคว้าหาความรู้ เรียกว่า “ลองผิด ลองถูก” ด้วยตัวเอง ดีแล้วจึงบอกต่อ รวมทั้ง “พยายามอ่านมาก ๆ เชื่อไม่เชื่อลองดู” โดยใช้วัตถุดิบง่ายที่มีในสวนหากจำเป็นหรือขาดจึงซื้อหา

ดังนั้นเมื่อพวกเราพูดถึงว่า จะทำอย่างไรให้สวนส้มในย่านบางมดอยู่ได้อย่างยั่งยืน ลุงอำพลและป้ามาลี จึงให้ข้อเสนอแนะว่า “อยากให้รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเรื่องโซนนิ่งพื้นที่สีเขียว โดยรับซื้อพื้นที่สวนที่ปล่อยรกร้างที่รอขายให้กับนายทุนหรือนายหน้า เพื่อนำไปจัดสรรให้ชาวสวนคนละ 3 ไร่ ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าหน่วยงานช่วยอย่างจริงจัง ส้มบางมดจะยั่งยืน” สำหรับความรู้สึกของลุงสุพรนั้น เล่าว่า “ชาว สวนต้องเน้นชีวภาพ ปรับปรุงสภาพดินเพราะดินเราแข็งมาก ถ้าดินร่วนซุยดี รากเจริญดี และอยากให้ทุกคนทำตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งอยากให้รัฐช่วยดูแลเรื่องน้ำ เพราะถ้ามีน้ำดีอนาคตสวนส้มก็ยังมีอยู่” ในขณะที่อาสัมพันธ์ได้ให้แง่คิดว่า “อาชีพการเกษตรในสังคมเมืองมีความเสี่ยง เกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติควรปรับตัว หน่วยงานภาครัฐควรคำนึงถึงการจัดการผังเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรโดยตรง” ถึงแม้ปีนี้สวนส้มบางมดของอาสัมพันธ์และชาวสวนคนอื่นในพื้นที่เขตจอมทองต้อง ประสบผลส้มร่วง เนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน ชาวสวนไม่สามารถสูบน้ำออกได้ทัน เพราะคลองที่เคยเป็นแหล่งรับน้ำถูกถมเพื่อสร้างบ้านเรือนและถนนหนทาง ต้นส้มจึงดูดน้ำเข้าสู่ลำต้นอย่างต่อเนื่องและมากเกินไป ด้วยกลไกธรรมชาติต้นส้มจึงสลัดลูกทิ้ง แต่ถึงกระนั้นอาสัมพันธ์และชาวสวนก็ยังภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู สวนส้มบางมด

 เมื่อได้อ่านมาถึงตรงนี้ผู้เขียนเองอยากจะบอกเหลือเกินว่า ถึงแม้ในปัจจุบันส้มบางมดจะได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสนับสนุนจากหลายหน่วย งาน รวมถึงได้ถูกยกให้เป็นพืชนำร่องในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในฐานะที่ใกล้ จะสูญพันธุ์ รวมถึงมีชาวสวนจำนวนหนึ่งที่มีใจรักและผูกพันกับส้มบางมดช่วยกันปลูกฟื้นฟู เพื่อเป็นมรดกไว้ให้ลูกหลานก็ตาม แต่มันจะประสบความสำเร็จได้ยากหรือไม่ได้เลย หากพวกเราทุกๆ คนไม่ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ด้วยวิธีง่ายๆ ที่เราจะช่วยกันไดก็คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างประหยัด ช่วยกันดูแล และรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่ดีตลอดไป



เขียนโดย : นางวาสนา มานิช

เรียบเรียง : นางสาวเบญจวรรณ ดำรงค์กิจการ

ที่มา : http://web.kmutt.ac.th/pr/news/detail.php?ID=1914


http://www.meedee.net/magazine/edu/pickedup-stories/6061




 
ผลิตส้มเขียวหวานนอกฤดูอย่างไร  

เป็นที่ทราบกันดีว่า ณ ปัจจุบันนี้พืชที่สร้างฐานะให้กับชาวสวนบ้านเราได้ร่ำรวยไป ตามๆ กันคงหนีไม่พ้น “ส้ม” ดังจะเห็นได้จากการขยายพื้นที่ปลูกที่นับวันจะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จนหลาย คนเริ่มหวั่นวิตกว่าตอไปในอนาคตส้มไทยจะเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าส้มจะเป็นผลไม้ที่ขายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาสแต่เมื่อใดที่ส้มล้นทะลักออกมาพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมากเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลไม้ เมืองร้อยออกมด้วยแล้ว โอกาสของส้มก็น้อยลงได้เช่นกัน ดังนั้นจะผลิตส้มอย่างไรไม่ให้ผลผลิตออกมา ชนกับส้มทางอื่นและให้ได่ราคาดี หรือจะผลิตส้มนอกฤดูกาลอย่างไรให้ได้คุณภาพ เหล่านี้เป็นคำถาม ยอดฮิตของชาวสวนส้มมือใหม่ที่ต้องการคำตอบ

รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง “วิธีการผลิตส้มนอก ฤดูกาล”ดังต่อไปนี้ ธรรมชาติของการแตกแยก


ธรรมชาติของการแตกแยกยอดส้ม
โดยทั่วไปแล้วส้มบ้านเราจะไม่มีการพักตัวในเรื่องของการแตกยอดนานเนื่องจากตั้งอยู่ ในเขตร้อน หากนับเวลาแล้วจะมีการพักตัวของใบระยะสั้นๆ แค่ช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่ออากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นต้นส้มจะกลับเข้าสู้วงจรเดิมคือมีการแตกยอดออกใหม่พร้อมๆกับ การออกดอกซึ่งดอกชุดนี้เรียกว่า”ส้มปีหรือส้มฤดู”โดยธรรมชาติของต้นส้มหากมีการพักตัวในฤดูหนาวยอดอ่อนที่ออกช่วงนี้จะมีดอกและดอกรุ่นนี้ค่อนข้างจะปลอดภัยในเรื่องของของโรค-แมลงรบกวนแต่ เมื่อใดที่ส้มปีออกดอกพร้อมๆกันจะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่าผลผลิตส้มที่จะออกมาตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม๙งรสชาติก็อร่อยใกล้เคียงกันไม่ว่าจะปลูกที่ไหน ดังนั้นหลายคนพยายามลดการผลิตในช่วงนี้และหันไปผลิตส้มในช่วงอื่นแทน นั่นคือการผลิตส้มรุ่นสองและรุ่นสาม ดังนั้นต้องทำความเข้าใจกับรุ่นของส้มก่อน การทำส้มต้องรู้จักเดินหน้าเป็นโดยการนับและการนับและถอยหลังให้เป็นโดยการใช้ความจำ

ส้มรุ่นที่สอง ในแถบเอเชียรวมทั้งบ้าแนเรานับว่ามีโอกาสมากเพราะมีฤดูกาลอันหนึ่งที่ จะเข้ามาพร้อมกับลมมรสุมซึ่งจะเริ่มต้มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และถ้ายอดชุดนี้ใครทำได้ พร้อมดอกที่ปลายยอดเรียกดอกรุ่นสองดอกรุ่นนี้จะเก็บผลหลังดอกรุ่นแรกไปแล้วถ้าสามารถบังคับให้ แตกยอดในช่วงเดือนเมษายนแต่ไม่เกินกลางเดือนมิถุนายน ถ้าไม่ทำใบยอดก่อนฝนในฤดูฝนต้นส้มมักจะมีการแตกแบบกะปริดกะปรอยโดยเฉพาะในต้นส้มเล็ก ใบส้มถ้าไม่มีการบังคับให้แตกเป็นรุ่น อย่างน้อยยอดที่แสดงอาการใบแก่จะแตกยอดอ่อนพร้อมกันได้แล้วเลี้ยงดูตามใจชอบ อยากใส่ปุ๋ยก็ใส่ รดน้ำน้ำก็รดพอหน้าฝนจะแตกยอดอ่อนและมีใบแก่อยู่ด้วยดอกรุ่นนี้จะเริ่มเก็บผลผลิตได้ประมาณ ปลายเดือนมกราคมของปีถัดไป ซึ่งช่วงนั้นจะได้ราคา 2 เท่าตัวของส้มรุ่น 1 เพราะส้มราคาเฉลี่ยมัก เป็น 3 เท่าตัวของส้มรุ่นที่ 1 เสมอ

อายุต้นส้มมีผลต่อคุณภาพส้ม ?
ส้มที่อายุต่างกันการเก็บผลจะไม่เท่ากันกล่าวคือ ต้นส้มที่อายุน้อย 2-5 ปีสามารถเก็บ ผลได้เร็วกว่าต้นส้มอายุมากกว่าอย่างน้อย 1 เดือน ต้นส้มบางแห่งอายุน้อยถ้าเลี้ยงผลให้ดี จะได้ส้มเบอร์ใหญ่ แต่รสชาติไม่ดี น้ำหนักเบา สีซีด แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อดิน และสภาพดิน ฟ้าอากาศ เป็นตัวกำหนดด้วย ในกรณีที่ต้นส้มที่อายุมากตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไปและปลูกด้วยกิ่งตอนบางแห่งมีอายุ มากกว่า 20 ปี แต่ก็ยังให้ผลผลิตได้ดี ต้นส้มที่มีอายุมากนอกจากจะให้ผลผลิตที่มีคุรภาพแล้วยัง สามารถยืดเวลาเก็บได้ 1–2 เดือน แต้ทั้งนี้การดึงลูกไว้นานก็ทำให้ต้นส้มโทรมได้ ส้มที่อร่อยจริงๆ ต้องเก็บให้ได้อายุ ปกติต้นส้มเขียวหวานอายุน้อยเก็บผลเมื่ออายุ 8 เดือนไม่เกิน 9 เดือน ส้มโชกุนหรือสายน้ำผึ้งเก็บผลอายุไม่เกิน 11 เดือน


ทำอย่างไรให้ได้ส้มนอกฤดู
ก่อนอื่นต้องถามตัวเองว่าพร้อมแล้วหรือยังและเข้าใจคำว่าการกักน้ำ เว้นน้ำ ขึ้นน้ำ คือ อะไร ผลบนต้นอายุเท่าไหร่ ใบนิ่งๆ แปลว่าอะไรและต้องรู้ขนาดของใบที่ได้มาตรฐาน เช่น ส้มเขียวหวานขนาดเล็กสุดต้องกว้าง 2 ยาว 4 ซม. โชกุนหรือสายน้ำผึ้ง กว้าง 2 ยาว 5 ส่วนขนาดใหญ่ สุดของส้มเขียนหวานกว้างไม่เกิน 2.5 ยาวไม่เกิน 5 ส้มโชกุนหรือสายน้ำผึ้ง กว้าง 2.5 ยาวไม่เกิน 6.5 ถ้ายังทำใบมาตรฐานไม่ได้การที่จะทำให้ใบออกดอกพร้อมกันก็ยาก ทั้งหมดจึงเป็นวิทยาศาสตร์และต้องควบคุมการให้ปริมาณธาตุอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อทำให้แตกใบอ่อนยอดอ่อนได้ ทั้งนี้การที่จะให้ส้มแตกยอดพร้อมกันได้ต้องทำให้ใบแก่หยุดนิ่งพร้อมกัน จึงจะแตกยอดอ่อนใหม่ได้พร้อมกัน การจัดระบบการแตกยอดอ่อนต้องทำเป็นชุดให้ได้รอบของการแตกใบ ซึ่งปกติใบส้มมีอายุ 55 วัน นั่นคือถ้า เราเห็นใบแก่ และพร้อมจะทำใบชุดที่ 2 ไม่เกิน 2 เดือน หรือทุก 2 เดือนต้องทำใบใหม่ให้ได้ 1 ชุด

การที่จะบังคับให้ต้นส้มออกดอกพร้อมกันต้องอาศัยเทคนิค 3 ข้อ คือ
1. เริ่มเว้นน้ำให้ น้อยลงเพื่อทำให้ใบบนต้นแก่
2. กักน้ำคือเริ่มให้น้ำกับต้นส้ม 2–5 วัน บางมด 21 วัน แต่ไม่จำเป็น

ส้มจะออกดอก ถ้าขาดน้ำแล้วได้รับน้ำ ส้มก็จะแทงยอดอ่อนขึ้นมาทันทีพร้อมๆ กับดอกส้มหนึ่งผล ต้องการใบขนาดมาตรฐาน 5–11 ใบ ปริมาณใบและปริมาณผลควรจะสมดุลกันจึงจะได้ส้มที่มี คุณภาพและต้นส้มไม่โทรมหรืออายุยืน)




ต้นตอส้ม…สำคัญฉันใด
การเลือกต้นตอส้ม (Root Stock) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของการปลูกส้ม ดังนั้นจะต้องเลือกต้นตอที่มั่นใจว่าปลอดโรคจริงๆ ทั้งนี้การใช้ต้นตอที่เหมาะสม มีผลต่อรสชาติส้มด้วย

ปัจจุบันในบ้านเราใช้ต้นตอคลีโอพัตรา ทรอยเยอร์ คาร์ริโซและสวิงเกิ้ล ซึ่งล้วนแต่ต้านทานโรครากเน่า ได้พอสมควรแต่ระดับที่ต่างกัน กล่าวคือ ต้นตอส้มคลีโอพัตราทนโรคได้น้อยที่สุด ปัจจุบันที่ดีที่สุด คือ ส้มสามใบ หรือเลือดผสมของส้มสามใบซึ่งเกิดจากลูกผสมของทรอยเยอร์ สวิงเกิ้ล และคาร์ริโซ ขณะนี้มี 2 ชนิดคือ โวคาเเมอร์เลียนาและแลงเพอร์ไลม์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินด้วย ต้นตอคลีโอพัตรา ปลูกได้ในดินเหนียว ทนดินเปรี้ยวได้ ส่วนกรณีของต้นตอแลงเพอร์ไลม์ และ โวคาเเมอร์เลียนาเหมาะสำหรับดินด่าง ต้นตอทุกชนิดถ้ามีเลือดสามใบอยู่จะมีคุณสมบัติกับคุณภาพของผลบนต้นทั้งทางบวก และทางลบ ทางบวกคือ ผลโตเร็วสม่ำเสมอ ส่วยลบคือ กลิ่นมักหาย กากหยาบรสชาติไม่ดีเท่าที่ควร

สำหรับส้มโชกุนที่ใช้ต้นตอคลีโอพัตราจะได้ผลส้มที่มีกลิ่น รสชาติดี แต่ขนาดผลเล็กและมีโอกาสเป็นไฟ ทอปธอร่าได้ง่าย ต้องยอมรับกับตรงนี้ด้วย


ปลูกส้มแบบร่องลูกฟูกดีไหม
พื้นที่ปลูกส้มที่ดีที่สุดไม่อาจสรุปได้ว่าต้องปลูกบนที่ราบ ที่เนิน ที่ดอนหรือที่สวน แต่จากการสังเกตพื้นที่ปลูกส้มใยสวนต่างประเทศส่วนใหญ่ปลูกกันในลักษณะเป็นเนินเสมอไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูกเพราะดินมีการระบายน้ำได้ดีอยู่แล้ว ในขณะที่บ้านเรามีข้อเสียเยอะ คือ เป็นดินเหนียว ดินเปรี้ยว ปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศเฉลี่ย 1,000-1,000 มม./ปี

ดังนั้นการปลูกแบบร่องลูกฟูกอาจจะช่วยระบายน้ำได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรือพื้นที่ปลูกด้วย หากดินมีการระบายน้ำได้ดี อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องแลลลูกฟูกก็ได้ อย่างไรก็ตามหากจะทำส้มรุ่น 3 ได้จะต้องปลูกบนเนิน หรือร่องลูกฟูกเท่านั้น เพราะส้มรุ่น 3 จะแตกดอกพร้อมยอดใหม่ในเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคมเท่านั้นซึ่งร่องลูกฟูกจะช่วยบังคับให้ดินแห้งได้เร็วกว่า


ปฏิบัติกับต้นส้มสาวอย่างไร
ต้นส้มหลังปลูกอายุ 1–2 ปี อย่างเพิ่งทำดอก ณ ขวบปีแรก ให้ทำงาน 2–3 อย่าง คือ ให้ดูแลว่าต้นส้มโยกหรือไม่ เอาไม้รวกปักค้ำต้น ต้นส้มที่ดยกในฤดูฝนระบบรากจะไม่ลึกจึงต้องค้ำต้นเพื่อสร้างให้เป็นระบบรากลอยให้ได้ผิวหน้าดินลงไปเพื่อระบายให้รากแข็งแรง ถ้าปล่อยให้ โยกหลังปลูก ขวบปีครึ่งแรกต้นส้มจะไม่มีรากฝอยหรือรากแขนง แต่จะแตกดิ่งลึกทรงสุ่มซึ่งที่ดีต้องเป็นทรงกะทะลึกไม่ เกิน 60 ซม. เท่านั้น รากฝอยน้อยการดูดกินธาตุอาหารได้น้อย ในกรณีที่ต้นส้มโทรม อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นโรคทั้งหมดและโหมใช้สารกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ต้นส้มในปีแรกควรจะเน้นใส่อินทรีย์วัตถุในดิน ให้มากๆ ปีหนึ่งอย่างน้อย 1–2 ครั้ง และควรถือกรรไกรเดินสำรวจพร้อมๆกับแต่งต้นส้มก่อนฤดูฝน และหลังเก็บผลรุ่นใหญ่ ในปีแรกต้องจัดการทรงพุ่มให้ได้ วิธีการจัดทรงพุ่มเป็นหัวใจสำคัญของการบังคับการออกดอกในปี 2


ส้มนอกฤดู
สรุปว่าถ้าต้องการทำส้มนอกฤดูให้ได้ ณ วันนี้ต้องทำให้ได้ใบส้มชุดที่สำคัญที่สุดก่อน ฝนให้ได้ คือช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และต้องบังคับให้ออกดอกโดยกักน้ำ เว้นน้ำ ถ้าเป็นต้นส้มที่เริ่มให้ผลผลิต 2 ปีขึ้นไปให้เริ่มสอนดอกจะทำให้ได้ดอกส้มออกเป็นรุ่น กล่าวคือต้องจัดการกับการเจริญเติบโตของต้นส้มให้รู้จักแตกยอดอ่อนและมีดอกติดที่ปลายยอดบ้างประปราย ทั้งนี้การสอน ดอกในปีที่ 2 จะมีโอกาสได้ดอกออกเป็นชุดในปีที่ 3

นอกจากนี้การจัดการเรื่องโรคและแมลงก็ง่ายขึ้น เพราะการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจะเป็นชุดไม่ต้องใช้หลายชนิดพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตามการผลิตส้มนอกฤดูอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติส้มที่ล้นตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สามารถบังคับให้ผลผลิตส้มออกในช่วงไหนก็ได้ตามความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นหน้าที่ที่ชาวสวนจะต้องเรียนรู้ต่อไป คือ จะวางแผนการผลิตออกมาในช่วงไหนดีเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมาพร้อมๆ กันอีกซึ่งก็หนีไม่พ้นการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นนั่นเอง หากการรวมกลุ่มประสบความสำเร็จอนาคตของส้มก็คงไม่น่าเป็น ห่วงมากนัก


สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย

http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_blog_calendar&year=2009&month=07&day=20&modid=79&limitstart=40   



ส้มบางมด


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสวนส้ม กรณีศึกษา สวนส้มบางมด พื้นที่ทุ่งครุ – บางขุนเทียน โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2550

จากการทำวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีพื้นที่สวนส้มบางมดประมาณ 300 ไร่ ปัญหาสำคัญที่พบ ได้แก่ การระบาดของโรคกรีนนิ่ง โครงสร้างดินแน่น น้ำทะเลหนุนสูง และน้ำเสียจากชุมชน โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนางานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในการจัดการโรคและแมลงโดยวิธีผสมผสาน ด้วยการทดลองปลูกกิ่งส้มปลอดโรคร่วมกับกล้วยน้ำว้า และไม้ผลอื่นๆ ร่วมกับแปลงปลูกผัก พืชสมุนไพร ลักษณะสวนผสมผสานในสวนของเกษตรกร จัดการโรคและแมลงโดยวิธีผสมผสาน เน้นการใช้สารสกัดสมุนไพร อาทิ หนอนตายหยาก เมล็ดสะเดา ไพล ขมิ้น ขิง กลอย เม็ดมันแกว ยาฉุน ตะไคร้หอม บอระเพ็ด หางไหลขาวและแดง เปลือกมังคุด และจัดการดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกษตรกรผลิตขึ้นจากจอก แหน ผักบุ้ง ผสมมูลวัวและมูลค้างคาว เริ่มปลูกส้มปลอดโรคเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน พบว่าการทำสวนผสมผสานกิ่งส้มปลอดโรคกับพืชชนิดอื่น จัดการโรคและแมลงโดยวิธีผสมผสาน และใช้สารสกัดสมุนไพรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สามารถลดการระบาดของโรคกรีนนิ่งได้ และพบการเข้าทำลายของโรคและแมลงเพียงเล็กน้อย เมื่อวิเคราะห์ตัวอย่างดินก่อนและหลังการวิจัยพบว่า ความเป็นกรด-ด่างอยู่ในระดับกรดปานกลาง (5.7) และอยู่ในระดับกลาง (6.4) ตามลำดับ สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง (2.6 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง (3.6 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับธาตุไนโตรเจน คือ อยู่ในระดับปานกลาง (0.12 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง (0.2 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในระดับสูงมาก เท่ากับ 214 และ 252 ppm ตามลำดับ สำหรับธาตุโพแทสเซียมอยู่ในระดับสูงมากเช่นเดียวกัน มีค่า 206 และ 350 ppm ตามลำดับ กล่าวได้ว่า คุณภาพของกิ่งพันธุ์ส้มที่ดี การจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นส้มและการระบาดของโรค จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของการวิจัยครั้งนี้ เกษตรกรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และสามารถแก้ปัญหาการจัดการโรคและแมลงรวมทั้งคุณภาพดินได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเทคโนโลยีที่ใช้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการอนุรักษ์ส้มบางมด นอกจากนี้ ผลการวิจัยได้ส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่ให้การสนับสนุนกิ่งส้มปลอดโรคกับเกษตรกร สำหรับการขยายพื้นที่ปลูกส้มเชิงอนุรักษ์ รวมถึงทำให้มีจำนวนชาวสวนที่ผลิตปุ๋ยหมักและสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม พบว่าสิ่งที่เกษตรกรต้องการคือ การแก้ปัญหาน้ำเค็มและน้ำเสีย การให้เช่าพื้นที่ทำสวนระยะยาว (อย่างน้อย 10 ปี) กิ่งพันธุ์ปลอดโรค และความรู้และการจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมแปลงสาธิตของโครงการตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 43/11 หมู่ 3 ถนนสมานมิตรพัฒนา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

จัดทำโดย ศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทร.02-4709709




*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

http://www.vcharkarn.com/vblog/50549                       
         







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (21402 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©