-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 310 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม16






ต้นไม้ดูดพิษ

 

ดร.บีซี วูฟเวอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยอวกาศองค์การนาซาของอเมริกาได้ทำวิจัยมากว่า 25 ปี ค้นพบถึงประสิทธิภาพของการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศของไม้ประดับ และได้เขียนหนังสือเรื่อง Eco-Friendly House Plant แนะนำไม้ประดับที่มีความสามารถดูดไอพิษจากอากาศเช่น สารพิษ ฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน ฯลฯ จำนวนถึง 50 ชนิด

ธรรมชาติสร้างให้ไม้ประดับเล็กๆ มีความสามารถดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆรากของมันซึ่งมีความย่อย สลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสาร อินทรีย์ที่เป็นแก๊สและย่อยหรือถ่ายโอนของเสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหาร สำหรับจุลินทรีย์ เหตุนี้เองทำให้ไม้ประดับสามารถดูดสารพิษ ได้อีกทั้งกระบวนการ “คายน้ำ”ก็เป็นอีกวิธีที่พืชใช้เคลื่อนย้ายสารที่เป็นมลพิษ ไปยังจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆรากของมันกระบวนการคายน้ำต้องใช้กระแสความร้อน ทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศในขณะที่น้ำไหลจากรากขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืชอย่างรวดเร็วอากาศจะถูกดึงลงไปสู่ดินรอบๆรากก๊าซออกซิเจนและก๊าซ ไนโตรเจนในอากาศเมื่อถูกดึงไปอยู่ที่รากก๊าซไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนไปโดย จุลินทรีย์เป็นไนเตรทกลายเป็นอาหารของพืชกระบวนการคายน้ำและสังเคราะห์อาหาร ได้เองของพืชจำพวกไม้ประดับนี่เองที่ดูดสารพิษ
นั่นก็เพราะต้นไม้โดยเฉพาะจำพวกที่อยู่ในตระกูลไม้ประดับ เป็นพืชที่มีการปรับตัว และเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงน้อย และสามารถดูดสารพิษด้วยกรรมวิธีการคายน้ำ โดยจะทำการดูดก๊าซพิษที่อยู่รอบๆ ลงสู่ดินและจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะเป็น ตัวเปลี่ยนให้สารพิษเหล่านั้นกลายไปเป็นอาหารของพืชนั่นเอง



เข็มริมแดง (Dragon Tree)
เข็มริมแดง เป็นไม้ประดับที่เด่นด้วยสีสันของใบ ที่มีทั้งเขียว เหลือง แดงอยู่ในใบเดียวกัน แต่ขอบใบจะเป็นสีแดงซึ่งทำให้เป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี และทนต่อที่ที่มีแสงน้อยได้ หากปลูกในอาคาร ต้องรดน้ำ 2 วันครั้ง และหาตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดบ้างจะทำให้สีใบสวยงาม ควรฉีดละอองน้ำให้ใบมีความชุ่มชื่น เข็มริมแดงมีความสามารถในการดูดสารพิษจำพวก ไซรีน และไตรคลอโรเอทไทรีน  เช่นครื่องใช้สำนักงาน   เครื่องถ่ายเอกสาร  เครื่องพิมพ์   เครื่องโรเนียว


หนวดปลาหมึกแคระ
เป็นไม้พุ่มประดับที่สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร นิยมใช้ปลูกเป็นแนวสวนของบ้าน เพราะฟอร์มใบเป็นแฉกสวยงาม เลี้ยงดูง่าย ชอบแดดกึ่งร่ม ชอบน้ำและความชื้น หากปลูกในอาคารควรรดน้ำวันเว้นวัน มีทั้งหวดปลาหมึกแคระเขียว และหนวดปลาหมึกด่าง

เศรษฐีรับเงิน (สโนว์ดรอป)
เป็นพืชในตระกูลเดียวกับสาวน้อยประแป้ง ลูกผสมเป็นไม้ประดับใบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประดับในสำนักงานและบ้านเรือนด้วยรูปสีสันและลวดลายของใบ ที่คลายกับหินอ่อนใบรูปใบพายขอบใบมีสีเขียว แผ่นใบมีสีขาวอมเหลืองไม่มีจุดมากเหมือนสาวน้อยประแป้งเส้นกลางใบสีขาว ก้านใบยาวสีเขียวอ่อนอมแดง โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดพอสมควร หากนำมาปลูกภายใน และได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ สีสันและลวดลายของใบจะเปลี่ยนไป เป็นไม้ประดับที่มีความสูงไม่มากนักแต่มีใบใหญ่ จึงคายความชื่นสู่บรรยากาศภายในห้องได้ดี นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศได้อีกด้วย


แววมยุรา (Prayer Plant)
เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า “แววมยุรา” ส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม แววมยุราเป็นไม้ประดับในอาคารที่ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้ ดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม


เศรษฐีเรือนใน
เป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา  ว่ามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เศรษฐีเรือนในเป็นไม้กอขนาดเล็กที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร โดยปลูกในกระถางแขวนหรือปลูกเป็นพืชคลุมดินก็ได้ ใบมีลักษณะคล้ายใบหญ้า ขอบใบมีสีเขียวยาวตลอดใบ กลางใบเป็นสีขาว ใบมีความยาว 15–30 ซม. โค้งงอลงด้านล่าง เศรษฐีเรือนใน มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เมื่อแก่เต็มที่จะมีลำต้นอ่อนแตกออกมาเป็นกิ่ง มีต้นอ่อนเล็กๆ เป็นกระจุกอยู่ตรงปลายของกิ่ง ดูน่ารักดี ฝรั่งจึงเรียกว่า ต้นแมงมุม (Spider Plant) หรือ ต้นเครื่องบิน (Airplane Plant) เนื่องจากเวลาลมพัดต้นอ่อนจะแกว่งไปมาเหมือนเครื่องบิน ต้นอ่อนที่แตกออกมานี้สามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อย่างง่ายดาย เศรษฐีเรือนในเป็นพืชที่ไม่ค่อยคายน้ำเท่าใดนัก แต่มีการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีมากชนิดหนึ่ง


เดหลี
เป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม จึงมักเป็นที่นิยมนำไปเป็นไม้ประดับในอาคาร เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30–60 เซนติเมตร โดยธรรมชาติเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคารเดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี แม้จะมีความชื้นต่ำและรับแสงจากหลอดไฟฟ้า เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เป็นไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีรีน เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์ และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก จึงไม่ควรลืมที่จะนำเดหลีประดับไว้ในสำนักงานหรือบ้านเรือน

 
เขียวหมื่นปี (Aglonema Modestum)
เขียวหมื่นปี หรือ อโกลนีมา ไม้ประดับผู้เป็นที่กล่าวขานของนักสะสม มีตั้งแต่ราคา 2 หลัก ไปถึงราคา 7 หลัก และมีหลากหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างด้วยสีสัน ลวดลายของใบ ยังไม่รวมพ่อค้าหัวใสที่ไปตั้งชื่อเสียจนเป็นต้นไม้มหามงคล อโกลนีมาชอบแสงแดดอ่อนๆ เติบโตดีในที่ร่มและรำไร มีความทนทาน สามารถเติบโตได้ดีในที่แล้งและมีความชื้นต่ำ จุดเด่นของเขียวหมื่นปีคือทั้งต้น ใบ ก้านเขียวตลอด และข้อดี คือ อโกลนีมาชนิดใบเขียวที่แสนถูกนี่แหละ มีคุณค่าในการดูดสารพิษได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ


โกสน
เป็นพันธ์ไม้ตระกูลเดียวกับ โป๊ยเซียน โกสนมีอยู่มากมายหลายพันธ์ ทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ความโดดเด่นอยู่ที่ลักษณะของใบที่มีหลากหลาย และมีสีสันสดใสงดงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตามปกติโกสนเป็นไม่ประดับที่ปลูกไว้ภายนอกอาคาร เพราะเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด สีสันของโกสนจะสวยงามอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการได้รับแสงแดดเพียงพอ ดังนั้นเมื่อนำโกสนมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในจึงควรวางในที่ ๆ ได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงหรือมีแสงแดดส่องถึง มิฉะนั้นสีของใบโกสนจะซีดลงโกสนมีความสามารถอยู่บ้างในการดูดมลพิษในอากาศ ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับไใประดับชนิดอื่น ๆ แต่มีข้อได้เปรียบที่สีสันสวยงามของโกสนและความทนทาน ทำให้ได้รับเลือกเป็นไม้ประดับยอดนิยมชนิดหนึ่ง


เศรษซีเรือนนอก (ซุ้มกระต่าย)
เป็นพืชตระกูล Lily ที่สามารถปลูกประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร ใช้เป็นไม้คลุมดินเมื่อยู่ภายนอกอาคาร ในอาคารปลูกเป็นไม้กระถาง เป็นไม้กึงแดดกึงร่ม หากปลูกในอาคารรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็เพียงพอ มีความสามารถในการดูดสารพิษจำพวกแอมโมเนียได้ดี เช่น ยาย้อมผม น้ำยาเช็ดกระจก


พลูด่าง
เป็นไม้เถาเลื้อยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี นิยมนำมาเลี้ยงใส่กระถางตั้งในอาคารสำนักงาน ด้วยลักษณะรูปใบหัวใจที่มีสีเขียว ด่างขาวบ้าง หรือสีเขียวอ่อนเหมือนสีทองบ้าง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยและสดชื่นได้ดี พลูด่างเลี้ยงง่าย ปักชำในน้ำก็สามารถเติบโตได้ ต้องการแสงสว่างจากแดดหรือไฟในอาคารพอควร พลูด่างสามารถดูดสารพิษได้ปานกลาง แต่คายความชื้นในอากาศได้ดีมาก พลูด่างเป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีรากงอกออกมาตามข้อ ใบกลมป้อมคล้ายรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนใบโค้งมนเล็กน้อย ในมีสีเขียวและมีรอยด่างเหลืองอยู่ที่ใบ พลูอ่างเป็นพืชที่ปลูกง่าย แม้เพียงปักชำในน้ำ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการน้ำมาก และแสงแดพอควร แต่ก็สามารถอยนู่ได้แม้มีแสงและน้ำน้อย นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือกะถางที่มีเสาเหล็กให้เลื้อยพันหรือให้เลือยตามโคนต้นไม้ใหญ่ ถ้าปลูกลงดินใบจะใหญ่มาก พลูด่างมีความสามารถในการดูดสารพิษได้ปานกลางแต่คายความชื้นมาก


พลูด่าง (Devil's Ivy)
พลูด่าง เป็นไม้เถาเลื้อยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี นิยมนำมาเลี้ยงใส่กระถางตั้งในอาคารสำนักงาน ด้วยลักษณะรูปใบหัวใจที่มีสีเขียว ด่างขาวบ้าง หรือสีเขียวอ่อนเหมือนสีทองบ้าง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยและสดชื่นได้ดี พลูด่างเลี้ยงง่าย ปักชำในน้ำก็สามารถเติบโตได้ ต้องการแสงสว่างจากแดดหรือไฟในอาคารพอควร พลูด่างสามารถดูดสารพิษได้ปานกลาง แต่คายความชื้นในอากาศได้ดีมาก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2298 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©