-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 605 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม10







ศัตรู"ข้าว" และพืชน้ำอันตราย ต่อ การเกษตร    
เขียนโดย Administrators   

 

หอยเชอรี่ - จอกหูหนูยักษ.......สวยแต่มีภัย


ก่อน อื่นมารู้จักกับหอยเชอรี่ที่ระบาดหนักมาแล้ว เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่  หรือหอยโข่งน้ำจืดจากต่างประเทศ(แถบอเมริกาใต้)ทีี่ออกไข่สีสันสวยงาม ดูเหมือนชื่อที่ตั้งมา

 

    เจ้าหอยที่ว่านี้ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน  โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามประมาณ 388-3,000 ฟอง ไข่จะผักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่ จนทำให้หอยน้ำจืดบ้านเราอย่างหอยโขง หายไปหมดเจอแต่หอยเชอรี่ ซึ่้งปัจจุบันแพร่พันธุ์ทั่วเมืองไทย

 

การ ทำลายกิน พืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่นสาหร่าย ผักบุ้ง ผักกระเฉด แหน ตัวกล้าข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอหอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกันส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1-11/2 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบนานประมาณ 1-2 นาที  ทำให้ ชาวนาต้องค่อยกำจัด ศัตรูข้าวอีกชนิดที่ร้ายแรงมาก

 

การกำจัดมีหลายวิธี ทั้งการใช้ยา จับ ดัก อื่นๆ และยังมีนกอีกชนิดที่มาจาก ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งจะพบเห็นมากในปัจจุบันตามนาข้าว โดยเฉพาะที่มีหอยอยู่มาก

 

 นกปากห่าง(Anastomus oscituns) เป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ศ.2535  ซึ่ง กฎหมายมีข้อห้ามล่า ทำลายหรือจับไว้ครอบครอง เป็นนกที่อพยพมาจากประเทศบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน ในช่วงฤดูเข้าฤดูหนาวของประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปีเพื่อจะมารวมกลุ่มจับคู่ผสมพันธุ์ และวางไข่ ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์เมื่อฟักไข่ออกลูกเป็นตัว เพิ่มประชากรนกปากห่างมากขึ้น

นก ชนิดนี้จะกำจัดหอยเชอรี่แทนชาวนา สามารถเกื้อประโยชน์ต่อชาวนา เป็นประโยชน์ต่อสภาพป่าธรรมชาติ กลายเป็นนกที่แพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นจนเป็นนกประจำถิ่นพบเห็นมากในประเทศไทยตาม ทุ่งนา เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์

 

 

มาต่อกับพืชน้ำอีกชนิดที่เป็นอันตราย แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว แม้จะยังไม่ค่อยพบเห็นในไทย(อันตรายกว่าผักตบชวา)

 

จอก หูหนูยักษ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนทวีปอเมริกา เป็นวัชพืชที่เป็นภัยร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก และระบาดไปทุกทวีปทั่วโลก ได้แพร่เข้ามาในเอเชียครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2473 ที่ประเทศศรีลังกาหลังจากนั้นได้ขยายพื้นที่ปกคลุมออกไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว ในสหรัฐอเมริกาได้จัดจอกหูหนูยักษ์เป็นวัชพืชร้ายแรงและห้าม นำเข้า ซึ่งในพื้นที่ที่ระบาดหลายแห่งต้องเสียค่า ใช้จ่ายในการควบคุมและกำจัดออกจากแหล่ง  น้ำ เฉพาะในมลรัฐลุยเซียนาเพียงแห่งเดียว ประมาณการค่าใช้จ่ายในการควบคุมมากกว่า 9,950 ล้านบาท โดยเป็นค่าสารเคมีควบคุมวัชพืชประมาณ 1,600 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น กล่าวโดยรวมแล้วมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่า 17,600 ล้านบาท

ดร.ศิริ พร ซึงสนธิพร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จอกหูหนูยักษ์ร้ายยิ่งกว่าผักตบชวา เนื่องจากเจริญเติบโตรวดเร็ว เพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่าได้ในเวลา 2-4 วัน ถ้าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต สามารถเพิ่มมวลเป็น 2 เท่าภายในเวลา 7-10 วัน จากหนึ่งตันสามารถเจริญเติบโตปกคลุมพื้นที่ถึง 64,750 ไร่ ในเวลา 3 เดือน ได้น้ำหนักถึง 64 ตันต่อไป ซึ่งใกล้เคียงกับผักตบชวา
  
…จอกหูหนูยักษ์ มีลักษณะที่เด่น คือ ใบมีขนฟู เวลามองเห็นจะมีสีเขียว ขาวนวล ซึ่งทำให้บางคนมองเห็นความสวยงาม จึงนำเข้ามาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับและเผยแพร่กันออกไป แท้ที่จริงแล้วเป็นพืชอันตรายอย่างคาดไม่ถึง…


 

ดร.ศิริ พร เล่าถึงอันตรายของจอกหูหนูยักษ์ว่า เนื่องจากจอกหูหนูยักษ์เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ถ้าเรานำพืชตัวนี้มาทิ้งไว้ในแหล่งน้ำ 1 ตัน ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ก็จะสามารถครอบคลุมแหล่งน้ำทั้งหมด การขยายพันธุ์ คือการแตกยอดใหม่จากซอกใบของต้นเดิม และเนื่องจากลำต้นเล็กมากและหักง่าย เมื่อต้นหักออกไปและมีใบติดไปด้วย ก็จะสามารถสร้างยอดขึ้นมาใหม่และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว  เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ก็ขยายตัวอย่างหนาแน่นปกคลุมผิวน้ำทั้งหมด ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องลงไปถึงพื้นน้ำเบื้องล่างได้ ทำให้พืชน้ำที่อยู่ข้างล่างไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงมาก จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ประกอบกับการย่อยสลายของจอกหูหนูยักษ์ที่ตายทับถมกัน ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง โดยความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำจะตายหมด สัตว์ที่อยู่ภายใต้การปกคลุมของจอกหู หนูยักษ์อหาจจะสูญพันธุ์ไป และเมื่อทั้งสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณที่อยู่ใต้น้ำตายทับถมลงสู่ท้องน้ำก็จะทำ ให้ตื้นเขินและน้ำเน่าเสีย มนุษย์ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นได้
   
ใน ปี พ.ศ. 2550-2551 กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ได้จัดทำโครงการติดตามเฝ้าระวังการระบาดและการจัดการจอกหูหนูยักษ์ศัตรูพืช กักกันของประเทศไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาเห็นว่า จอกหูหนูยักษ์เป็นศัตรูพืชกักกันชนิดหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้วัชพืชตัว นี้เข้ามาในประเทศไทย จึงให้จัดทำโครงการติดตามเฝ้าระวังการระบาดและการจัดการจอกหูหนูยักษ์ศัตรู พืชกักกันของประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนโดยเงินรายได้จากการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตรของกรมวิชาการ เกษตร ทำการสำรวจและเฝ้าระวังจอกหูหนูยักษ์ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
   
ประเทศ ไทยมีพืชสกุลนี้อยู่ 2 ชนิด คือ จอกหูหนู และ แหนใบมะขาม เป็นเฟิร์นน้ำที่ พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดหรือในน้ำนิ่งและในนาข้าว ลักษณะเป็นแพลอยเหนือผิวน้ำ ขอบใบค่อนข้างห่อเข้าหากันเป็นกรวยคล้ายหูหนู จึงเป็นพืชที่ตั้งชื่อตามลักษณะที่เห็น แต่จอกหูหนูในบ้านเราเป็นพืชท้องถิ่น ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว จะตายไปเองตามฤดูกาล การเจริญเติบโตไม่รวดเร็วเหมือนจอกหูหนูยักษ์ จึงไม่เป็นพิษเป็นภัยแต่อย่างไร

 

ดัง นั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและป้องกันมิให้จอกหูหนูยักษ์ระบาดเป็นปัญหาใน ประเทศไทย หากผู้ใดพบเห็นและสงสัยว่าจะเป็นจอกหูหนูยักษ์ ให้รีบกำจัดออกจากแหล่งน้ำโดยเร็วที่สุดก่อนที่จะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ ออกไปอย่างรวดเร็ว
   
อย่างไรก็ ตาม เมื่อช้อนออกมาแล้วต้องนำมาตากให้แห้งและเผาทิ้งเพื่อมิให้มีการนำไปปลูกอีก ต่อไป หากไม่สามารถกำจัดเองได้ และไม่แน่ใจว่าจะใช่จอกหูหนูยักษ์หรือไม่ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-7409 โทรสาร 0-2579-4230


ทืี่มา
โดย www.dailynews.co.th









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2530 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©