-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 180 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น17





เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง



ความพอเพียงที่ขอให้ติดตามเราไปในทุกย่างก้าว หากเราได้ตั้งสติและยึดหลักตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โดย...วันพรรษา อภิรัฐนานนท์


ในยามที่บ้านเมืองมองไปทางใดมีแต่ความวุ่นวาย ขอน้อมนำปรัชญาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัตินำสู่ความสมดุลมาเป็นหลักคิดแก่คนไทยทั้งประเทศ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจสังคมไทยที่พึ่งพิงปัจจัยภายนอกสูง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรวดเร็ว จึงทรงเตือนให้พสกนิกรตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และทรงเน้นย้ำว่าการพัฒนาต้องเริ่มจากการ “พึ่งตัวเอง” ทำตามลำดับขั้นตอน สู่การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อพัฒนาตัวเองและชุมชนให้เข้มแข็งแล้ว|จะได้พัฒนาเครือข่ายเชื่อมสู่สังคมภายนอกอย่างเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญดังนี้


1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น


2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักคุณธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ “รู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค” และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ “รู้เขา รู้เรา รู้จักเลือกนำสิ่งที่ดีและเหมาะสมมาประยุกต์ใช้”


3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยง ปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที
 

การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอเพียงนั้นจะต้องเสริมสร้างให้คนในชาติมีพื้นฐานจิตใจในการปฏิบัติตนเสียก่อน


1.มีคุณธรรม
บุคคล ครอบครัว องค์กรและชุมชนที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ต้องนำระบบคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตมาประพฤติปฏิบัติก่อน โดยเริ่มจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว การศึกษาอบรมในโรงเรียน การสั่งสอนศีลธรรมจากศาสนา ตลอดจนการฝึกจิต ข่มใจของตนเอง


2.ใช้หลักวิชา-ความรู้
โดยนำหลักวิชาและความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ทั้งในขั้นตอนการวางแผนและปฏิบัติ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ


3.ดำเนินชีวิตด้วยความเพียร
ความอดทน มีสติ มีปัญญา และความรอบคอบ



การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

คนทุกคนสามารถน้อมนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือ การเกิดจิตสำนึก มีความศรัทธา เชื่อมั่น เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง ขยายจากตัวเองสู่ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติ ในที่นี้ขอหยิบยกเรื่องความพอเพียงในชุมชนมาพูดถึงพอเป็นแนวทางดังนี้


คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชนบนหลักของความรู้ รัก สามัคคี สร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในชุมชนและนอกชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ หรือองค์กรการเงินชุมชน สวัสดิการชุมชน การช่วยดูแลรักษาความสงบ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม


รู้ รัก สามัคคี

คนในชุมชน(ต้อง)ร่วมกันศึกษาข้อมูลในชุมชนเพื่อให้รู้จักตัวเอง ชุมชน ทรัพยากรในชุมชน โลกภายนอก รู้สาเหตุปัญหา ที่มาของผลกระทบต่างๆ แล้วร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาและวางแผนป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิด ขณะเดียวกันก็ร่วมกันพัฒนาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ สร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น


ขณะเดียวกันก็ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชุมชนให้มีความ “รู้ รัก สามัคคี” ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน รอบคอบ มีความเพียร มีสติปัญญา และที่สำคัญคือมีความสุขบนความพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่โลภ


ตบท้ายด้วยความพอเพียงที่ขอให้ติดตามเราไปในทุกย่างก้าว หากเราได้ตั้งสติและยึดหลักตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ด้านเศรษฐกิจ
ประชาชนไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สัมฤทธิผลและทันกาล


ด้านจิตใจ
ประชาชนต้องเข้มแข็ง กตัญญู มีความเพียร มีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มีคุณธรรมมั่นคง คิดดี ทำดี แจ่มใส เอื้ออาทร แบ่งปันและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก


ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ประชาชนทุกคนต้องช่วยเหลือเกื้อกูล ประสานสัมพันธ์ รู้ รัก สามัคคี เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ชุมชน ประเทศ เสริมสร้างความรักของชนในชาติ โดยเอาชนะความโกรธ ความเกลียด และข้ามพ้นวิกฤตไปให้ได้


ที่มา  :  โพสต์ทูเดย์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1167 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©