-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 180 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม16





สุพจน์ สอนสมนึก suphotso@matichon.co.th.

สมหมาย วงศ์แสน เลี้ยงกบขายส่งลูกอ๊อด ทำเงินงาม ที่เมืองสกลนคร

ลูกอ๊อด หรือภาษาอีสานเรียกว่า ?ฮวก? เป็นลูกกบตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ภายหลังกบวางไข่แล้ว ตัวอ่อนจะเติบโตมีหางเพื่อใช้แหวกว่ายในน้ำ แต่ถ้าตัวอ่อนหรือลูกอ๊อดมีขาโผล่ออกมาเป็นอวัยวะเมื่อไหร่ พร้อมกับหางหายไป เราถึงจะเรียกกันว่า ?กบ?

กล่าวถึง กบ ผู้คนมักนิยมนำไปปิ้ง ย่าง ผัดเผ็ดใส่พริกแกงใบกะเพรา โขลกกระชายใส่เม็ดพริกไทยอ่อน ชิมรสชาติเมื่อไหร่อร่อยลิ้น หรือจะนำไปต้มซั่วคล้ายซั่วไก่ ก็อร่อยไปอีกแบบ แต่สำหรับลูกอ๊อดจะนิยมรับประทานกันในภาคอีสานบางจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี ขอนแก่น เลย สกลนคร และนครพนม บางอำเภอประกอบอาหารโดยนำไปหมก หรือต้มเป็นแกงอ่อม และส่วนหนึ่งนำไปเป็นเหยื่อที่ใส่เบ็ดตามลำน้ำ

ที่บ้านน้อยจอมศรี หมู่ที่ 4 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีประชากร 243 หลังคาเรือน เป็นหมู่บ้านขนาดกลางติดกับชานเมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก คนหนุ่มสาวก็เหมือนคนชนบทภาคอีสานทั่วไป ที่นิยมไปทำงานในเมืองหลวง

ในยามสภาพสังคมที่ปากกัด ตีนถีบ เอาตัวรอดเป็นลักษณะอย่างนี้ งานหายาก ค่าแรงงานถูก ก็ต้องดิ้นรนออกทำมาหากิน ทิ้งให้พ่อแม่คนแก่และลูกหลานเฝ้าบ้านเฝ้าเรือนประกอบอาชีพเสริมตามความถนัด นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบ หรือลูกอ๊อดเป็นส่วนใหญ่ โกยเงินเป็นล่ำเป็นสัน เรียกกันว่า ?เถ้าแก่น้อย? ในหมู่บ้าน

ในกลุ่มผู้เลี้ยงกบบ้านน้อยจอมศรีกว่า 10 ราย หนึ่งในกลุ่มนั้น มี คุณสมหมาย วงศ์แสน วัย 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 บ้านน้อยจอมศรี หมู่ที่ 4 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

คุณสมหมาย เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพหลักคือทำนามาตั้งแต่เกิด พอแต่งงานกับ คุณกาบอ้อย วงศ์แสน มีบุตร 2 คน ก็ได้รับมรดกที่นาจากพ่อแม่ ปลูกข้าว กข 6 และข้าวหอมมะลิบนที่นาตัวเอง 13 ไร่ บางส่วนนำมาจำหน่าย และเก็บไว้กินเองในครอบครัว

?สำหรับความลำบาก ไม่ต้องบอก เนื่องจากไม่ได้เรียนหนังสือจบสูง แต่จบตามภาคบังคับสมัยก่อนคือ ป.4 ก็ออกมา แต่งงานอายุ 23 ปี ยังเคยทำงานก่อสร้างในตัวอำเภอและที่กรุงเทพฯ มาแล้ว แต่ก็พอแค่ได้กิน ไม่มีเก็บ ก็กลับมาอยู่บ้าน และรับจ้างพร้อมทำนา ก่อนที่จะเริ่มหันมาเลี้ยงกบในหมู่บ้าน แรกๆ มีอยู่ 3-4 ราย เลี้ยงในปี 2544-2545 ขณะนั้นมีเงินทุน 2,000 บาทเศษ เห็นเขาเลี้ยงกบและมีเงิน ตลอดจนการเลี้ยงจิ้งหรีด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงหันมาลงทุนเลี้ยงกบ แบบเรียนรู้ด้วยตนเอง มีเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันเลี้ยงกบ ปรากฏว่าในแต่ละปี มีเงินเก็บนับแสนบาท จึงอยากลองเลี้ยงบ้าง โดยนำเงินทุนที่มีอยู่ไปซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบเหลืองหัวเขียว และกบพื้นบ้าน ประมาณ 40-50 ตัว พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบ กิโลกรัมละ 80 บาท ตัวขนาด 2 นิ้ว 1 กิโลกรัม ได้ประมาณ 40 ตัว ลงทุนลงแรงเลี้ยงกบในที่นาตัวเอง โดยใช้ท่อปูนซีเมนต์ ร่วมกับภรรยาเพียง 2 คน คือ คุณกาบอ้อย อายุ 39 ปี ส่วนบุตรมี 2 คน เป็นหญิงทั้ง 2 คน เลี้ยงกบส่งเสียเงินให้เล่าเรียนจนจบภาคบังคับ และจะให้เรียนต่อ แต่คนพี่บอกว่าต้องการออกมาทำงานช่วยพ่อแม่ จึงเหลือแต่ลูกคนเล็กกำลังเรียนต่อ ม.3 ในขณะนี้? คุณสมหมาย กล่าว

เจ้าของบ่อเลี้ยงกบ เล่าว่า สำหรับการเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ เพื่อผลิตตัวอ่อนหรือลูกอ๊อด มีขั้นตอนการเลี้ยงยุ่งยากกว่าเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดอื่น ใจไม่สู้ เลี้ยงไม่ได้ ไปไม่รอด ปัจจุบัน ตนเองมีกบพ่อพันธุ์ จำนวน 2,000 ตัว แม่พันธุ์ 2,000 ตัว โดยกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เหล่านี้จะนำมาเลี้ยงไว้ที่ท่อซีเมนต์ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 45 ท่อ แต่ละท่อจะมีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปล่อยเลี้ยงประมาณ 50-60 ตัว

ส่วนการผสมพันธุ์นั้น เริ่มจากใช้คันนาดินที่เป็นบ่อกั้นไว้ให้แล้ว นำตาข่ายไนล่อน ภาษาอีสานเรียก ?ดาง? หรือ ?แหยง? ตาถี่ มาขึงกาง

ตาข่ายกว้าง 1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดคันนาเป็นมาตรฐาน ใช้ไม้ไผ่สูงขนาดเท่ากับตาข่ายค้ำยัน กั้นเพื่อขึงตาข่ายให้ตึง ป้องกันกบกระโดดหนี ระยะห่าง 2 เมตร ต่อเสา และควรกั้นไว้หลายๆ บ่อเพื่อคัดแยกขนาดของกบและลูกอ๊อดออกจากกัน กบพันธุ์ไม่แข็งแรงเหมือนกบนา จะกระโดดเฉพาะช่วงผสมพันธุ์กันและมีฝนตก และควรเตรียมบ่อผสมพันธุ์ไว้ตามต้องการ แต่ควรเว้นระยะ เนื่องจากการจำหน่ายต้องไม่ขาดช่วง หากทำพร้อมกันจะทำให้กบไข่มาก ทำให้ขายไม่ทัน

วิธีการก็คือ นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบที่คัดแยกจากท่อที่เลี้ยงไว้ 4 ท่อ และตัวเมีย 4 ท่อ รวม 8 ท่อ นำตัวผู้และตัวเมียอย่างละ 200 ตัว รวม 400 ตัว ผสมเยอะไม่ได้ กบจะกระโดดหนีใส่ตาข่ายจนบาดเจ็บปากแดง วิธีคัดแยกกบมาผสมกัน สังเกตกบตัวผู้จะคางย่นพอง ควรให้ผสมพันธุ์กันในช่วงเย็น ถ้าฝนไม่ตกให้เปิดน้ำแทนฝน จะผสมพันธุ์กันดี พอรุ่งเช้าให้แยกตัวผู้ ตัวเมียกลับท่อ ถ้าแดดร้อนจัดลูกอ๊อดจะขยายพันธุ์รวดเร็ว ถ้าไม่มีแดดต้องรอข้ามคืน ตกเย็นในวันเดียวกันจะเห็นลูกอ๊อดลอยน้ำในบ่อผสม ช่วงนี้ลูกอ๊อดจะกินคราบไข่ในบ่อผสมก่อน 2 วัน ถึงจะให้อาหารเป็นหัวอาหารเม็ดที่ให้ปลาดุกกิน อาหารเบอร์ 11 สำหรับลูกอ๊อด ส่วนเบอร์ 12 เป็นอาหารพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ตกกระสอบละ 480 บาท

จากนั้น ให้เตรียมบ่อดิน ซึ่งหมายถึงบ่อที่พื้นไม่ใช้พลาสติครองเหมือนบ่อฟักไข่ที่เรียกว่าบ่ออนุบาล ประมาณ 5 วัน ก็นำลูกอ๊อดออกจากบ่ออนุบาลไปลงที่บ่อดินที่เตรียมไว้

คุณสมหมาย เล่าเป็นฉากเป็นตอนให้ฟังละเอียดว่า ให้สังเกตว่าในบ่อมีลูกอ๊อดมากน้อยหรือไม่ ถ้าหว่านหัวอาหารเยอะ ลูกอ๊อดจะตาย แรกๆ ลูกอ๊อดอยู่ในน้ำใส ข้อควรระวังยิ่ง ควรปรับสภาพน้ำให้เขียวขุ่น โดยใช้น้ำหมักชีวภาพที่รดใส่แปลงพืชผัก ผสมกับกากน้ำตาลเทใส่บ่อ เพื่อสร้างอุณหภูมิปรับน้ำให้เขียว เพื่อให้ลูกอ๊อดอำพรางตัวไม่ให้เห็นกัน ถ้าอยู่ในน้ำใส ตัวใหญ่จะกินตัวเล็ก เป็นธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้ ระยะเวลาหลังผสมพันธุ์กันเสร็จ 25 วัน ลูกอ๊อดจะโตเต็มที่จะขายได้ ตัวใหญ่จะได้น้ำหนัก อาจจะได้ 200-300 กิโลกรัม ขึ้นไป

คุณสมหมาย บอกว่า สิ่งที่ต้องทำและควรหมั่นเอาใจใส่มีดังนี้คือ เมื่อลูกอ๊อดโตได้ 5 วัน ให้รีบเอาออกจากบ่อผสมพันธุ์ นำไปพักไว้ในบ่อดินที่เตรียมไว้ บ่อละ 200-300 กิโลกรัม หลังคัดเกรดเสร็จก็ควรจะกระจายลงไปในบ่อที่ว่างอีก จากนั้น ต้องคัดตัวใหญ่แยกออกจากตัวเล็กที่ไม่สมบูรณ์ ไม่งั้นลูกอ๊อดกินกันเองไม่เหลือผลผลิตตามเป้าแน่ และควรให้หัวอาหารเช้า-เย็น วันละ 2 กระสอบ

ในช่วงแรกๆ ราคาลูกอ๊อดตกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120-180 บาท แต่หากขายในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ราคาจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 180-250 บาท ก็มี แต่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ราคาลดลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 120-200 บาท แต่ถ้าลูกอ๊อดขางอกขึ้นมาเป็นกบเมื่อไหร่ จะขายไม่ได้ราคา ก็ต้องคัดแยกมาไว้ในบ่อขุนกบหนุ่มสาวต่างหาก พอขุนกบได้อายุ 1 เดือน จะจับขายได้ ตกกิโลกรัมละ 80-100 บาท ปัจจุบัน มีท่อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 45 ท่อ อีก 4,000 ตัว

คุณสมหมาย บอกว่า การเลี้ยงกบนั้น ไม่ได้ศึกษาจากที่ใด อาศัยประสบการณ์ลองผิดลองถูก เมื่อมีปัญหาก็จะไปสอบถามคนที่เลี้ยงมาก่อน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี ปัจจุบัน กบของตัวเองที่เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 1 ตัว จะสามารถผสมเพาะได้ 10-12 ครั้ง หลังจากนั้น ก็จะนำออกมาจำหน่าย เพราะกบเรียกกันว่าโทรมมากแล้ว และไม่สามารถที่จะเพาะพันธุ์ได้ จะนำตัวไปจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท ซึ่งกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์นี้จะมีขนาดใหญ่ 2 ตัว/กิโลกรัม จากนั้นจะคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ใหม่มาแทน

?ข้อดี กบจะต้านทานโรคได้มากกว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดอื่น ส่วนข้อเสีย ตามที่ได้ฟังและอ่านจากหนังสือว่า กบจะใจเสาะมากที่สุด และเป็นสัตว์ที่มีความเครียดสูงต้องคอยเอาใจใส่พอสมควร ฤดูกาลของลูกอ๊อดผลผลิตจะเริ่มออกในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม แต่จะออกเยอะในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน เนื่องจากมีอากาศเย็นและมีฝนตกลูกอ๊อดไม่ค่อยตาย ต้นฤดูที่ผสมใหม่ๆ จะทำเงินให้สูง ตกกิโลกรัมละ 250 บาท เลยทีเดียว? เจ้าของบอก

คุณสมหมาย กล่าวด้วยว่า สำหรับลูกอ๊อดที่เตรียมจะขายส่ง ตนจะนำถุงพลาสติคใสใบใหญ่บรรจุลูกอ๊อด ถุงละ 1 กิโลกรัม เพื่อไม่ให้แออัดและมีโอกาสรอดตายสูง ก่อนอัดออกซิเจนโดยจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นลูกหลาน ให้ค่าจ้างวันละ 100-120 บาท เรื่องตลาดไม่น่าเป็นห่วง จะมีลูกค้าและนายทุนขาประจำนำรถมารับผลผลิตถึงบ้าน ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าจากจังหวัดอุดรธานี เป็นตลาดขายส่งหลัก และหนองคาย ขอนแก่น ผลผลิตลูกอ๊อด 20 วัน ต่อครั้ง ตนสามารถผลิตได้แค่ 500-600 กิโลกรัม ทำเงินในรอบ 20 วัน เป็นเงิน 40,000-50,000 บาท ถือว่าเป็นจำนวนไม่เยอะเมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่น

?ทุกวันนี้ ผมสามารถขายได้วันละ 50-100 กิโลกรัม โดยได้ใช้วิธีเพาะพันธุ์แบบให้เป็นระยะ ไม่ทำครั้งเดียว เพราะถือว่าทำได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง จะอยู่ที่วันละ 8,000-15,000 บาท ซึ่งหากหักค่าใช้จ่ายจากพวกหัวอาหารแล้ว ก็มีกำไรมากกว่าครึ่งของรายได้? คุณสมหมาย บอก

หากผู้เลี้ยงหน้าใหม่ต้องการข้อแนะนำในการเลี้ยง ให้กดโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ (084) 794-0645 เป็นเบอร์ของคุณสมหมายได้ทุกวัน

หรือสะดวกจะเดินทางไปเอง ขอแนะนำให้ไปก่อนเดือนเมษายน ถ้ามาจากจังหวัดอุดรธานี ขับรถถึง 4 แยกบ้านธาตุ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เลี้ยวซ้ายไปทางจังหวัดนครพนม ประมาณ 2 กิโลเมตร สุดเขตเทศบาลเมืองสกลนครพอดี จะพบทางเข้าหมู่บ้านน้อยจอมศรี ถามหาคุณสมหมาย สอบถามเป็นที่รู้จักทั่วไป

ส่วนทางด้าน คุณบังอร ไชยเสนา อายุ 33 ปี สมาชิกกลุ่มเลี้ยงกบบ้านน้อยจอมศรี บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 4 ตำบลฮางโฮง อีกคนหนึ่งเล่าว่า แต่งงานกับ คุณสันต์ ไชยเสนา อายุ 40 ปี สามี จากนั้นก็ทำนาทำสวนเหมือนกับคนทั่วไป ได้รับแบ่งปันที่ดินจากพ่อแม่มา 10 ไร่เศษ จึงปลูกทุกอย่างที่ทำให้ได้เงิน โดยคิดกันว่าการทำการเกษตรน่าจะทำให้สามารถมีเงินได้ นอกจากการทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย จึงได้ตกลงใจพลิกฟื้นผืนดินที่ได้รับมา ทำให้เป็นเกษตรแบบเงินมาหา ปลูกพริก ขิง ข่า พืชผักสวนครัวทุกชนิด แม้แต่นาบัวก็ทำ และปลูกดอกไม้ เช่น ดาวเรือง ก็ปลูก พร้อมกับเลี้ยงปลาเสริม เมื่อผลผลิตออกมาจึงได้นำไปขายในตลาดทุกวัน นอกจากนั้น ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเดินทางมาซื้อเองถึงที่ จึงเป็นที่มาว่าทำการเกษตรแบบเงินมาหา แต่ก็พออยู่ได้ไม่ขัดสน

คุณบังอร เล่าอีกว่า แต่ที่ทำมาก็ไม่พอใช้ ดังนั้น เมื่อเห็นเพื่อนบ้านเลี้ยงกบ จึงหันมาทดลองเลี้ยงดู ตั้งแต่ 7 ปี ที่แล้ว โดยเบื้องต้น เลี้ยงเพียง 50-60 ตัว เท่านั้น โดยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ปรากฏว่าสามารถขายได้และทำเงินให้ได้ดีพอสมควร จึงพัฒนาทำควบคู่กับเกษตรอย่างอื่นไปด้วย

คุณบังอร บอกว่า วันนี้ พื้นที่ 10 ไร่เศษ ที่ได้มาไม่พอกับการทำการเกษตรแบบเงินมาหา จึงได้ขอเช่าที่เพื่อนบ้านอีกรายเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 13 ไร่ (เช่าปีละ 13,000 บาท) โดยทำแปลงเลี้ยงกบ และปลูกดอกบัว ปลูกดอกดาวเรือง และพืชผักสวนครัว ส่งตลาด

ในส่วนของกบก็ได้พัฒนาจากเลี้ยงบ่อปูนซีเมนต์มาเป็นแบบท่อปูนซีเมนต์แทน เพราะสะดวกในการขนย้าย โดยท่อปูนซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 1 เมตร โดยจะนำมาเรียงซ้อนกันเป็น 2 ท่อ ต่อกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 60 ตัว เรียกว่า 1 ท่อ ปัจจุบันมีกบพันธุ์ จำนวน 80 ท่อ

การเลี้ยงกบแบบใช้ท่อ ไม่จำเป็นต้องเลือกพื้นที่ แต่ขอให้มีที่วางท่อ และควรมีแหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

ท่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบตามจำนวนกบที่มี และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร โดยก่อคันดินสูงประมาณ 15 เซนติเมตร ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำ พื้นล่างใช้พลาสติครองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด (เรียกว่า บ่อเพาะ) ด้านข้างใช้ตาข่ายไนล่อน ตาถี่ มาขึงกาง ป้องกันการกระโดดออกของกบ ซึ่งบ่อเพาะขนาดนี้สามารถนำกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาปล่อยเพื่อเพาะพันธุ์ จำนวน 20 คู่/แปลง

พันธุ์กบที่เพาะเลี้ยงเป็นกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปาก ส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง

วิธีการเพาะพันธุ์กบ

เมื่อเตรียมแปลงเพาะพันธุ์แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้ เพื่อให้ไข่กบเกาะ นำกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เตรียมไว้มาปล่อยลงในแปลง จำนวน 20 คู่ รวมกันประมาณ 1 คืน รุ่งเช้ากบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก นำไปเก็บที่ท่อตามเดิม โดยแยกตัวพ่อพันธุ์ออกไปอีกท่อหนึ่ง

การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน ลูกอ๊อด

เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้น จึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบ วันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟอง ต่อลูกอ๊อด 1 ครอก เมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 5 วัน นำออกไปยังแปลงบ่อดินที่เตรียม ซึ่งบ่อดิน จะเป็นบ่อที่ทำคล้ายกับบ่อเพาะ แต่ต่างกันตรงที่บ่อดินจะไม่ใช้ถุงพลาสติครองพื้น แต่ใช้พื้นดินและใช้ดางหรือแหยงขึงล้อมไว้ แต่น้ำจะมีความลึกประมาณ 1 ฟุต

เมื่อลูกกบอายุได้ประมาณ 20-25 วัน ก็จะตักขายเป็นลูกอ๊อด หรือ ที่เรียกว่า ?ฮวก? หากปล่อยไว้ถึง 1 เดือน ขึ้นไป ลูกกบจะออกหางและมีขาจะกลายเป็นลูกกบ

หากต้องการขายเป็นลูกกบจึงต้องลงมือคัดลูกกบ ขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว ต่อไป

คุณบังอร แนะนำว่า ปัจจุบัน อาชีพเลี้ยงกบทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้ว่า ขณะนี้กบที่ปล่อยขายในตลาด ที่เป็น ?ฮวก? หรือลูกอ๊อด ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม-มิถุนายน จะขายราคากิโลกรัมละ 120-180 บาท โดยช่วงต่อไปกบจะมีราคาสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 250 บาท และกบจะไม่ยอมผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวหรือที่คนเลี้ยงกบเรียกกันว่า ?กบจำศีล? ซึ่งในกลุ่มจะมีการขายในราคาเดียวกัน ไม่แย่งกันขาย โดยมีกติกาว่าจะต้องขายแบบเดียวกัน

ในปีที่ผ่านมาตลอดทั้งปี สามารถเพาะกบขายมีรายได้อยู่ที่ 300,000 บาท ซึ่งปัจจุบันต้องให้น้องสาวและครอบครัวเข้ามาช่วยกันอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายการเพาะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว

ส่วนปัญหาพบว่า การเลี้ยงกบในปัจจุบันหัวอาหารกบมีราคา 480/กระสอบ และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน แต่ก็ยังพอทนอยู่ได้ ซึ่งมีบางรายก็เลิกไปเพราะราคาอาหารไม่คงที่

ส่วนตลาด/แหล่งจำหน่าย ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร และออเดอร์ที่สั่งเข้ามาและมารับถึงปากบ่อ หากมีผู้สนใจสามารถติดต่อได้ โทร. (085) 744-4430 ทุกวัน

คุณบังอร บอกอีกว่า ข้อแนะนำตามประสบการณ์ที่พบมา คือ

1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาด ขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ

2. การเลี้ยงกบ ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกัน ห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง

3. อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้

4. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 1-2 วัน ยังไม่เห็นไข่กบ ก็จับพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่

ที่สำคัญคนเลี้ยงกบต้องรู้จักศึกษาอ่านหนังสือหาความรู้ และสังเกตกบว่าเป็นอย่างไร และควรปรับเปลี่ยนไปตามนั้น เพราะประสบการณ์จะทำให้เราได้เรียนรู้ดีกว่าการอ่าน แล้วมาลองทำ เพราะอาจทำให้เสียเวลาได้ สุดท้าย ก็เสียเงินล้มเหลวไม่ประสบผลสำเร็จ




ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1459 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©